ประนมมือ | ก. กระพุ่มมือ, พนมมือ ก็ว่า. |
กราบ ๒ | (กฺราบ) ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผาก จดลงกับพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็นคำแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. |
ชุลี | ก. ประนมมือ, ไหว้, เช่น ชุลีลาลงเรือเหลืออาลัย (นิ. ภูเขาทอง). |
ซ้องหัตถ์ | ก. ประนมมือ. |
เทพชุมนุม | ชื่อภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวลำดับกันขึ้นไป ๓ ชั้นถึง ๕ ชั้น เป็นต้น ตามฝาผนังด้านข้างในพระอุโบสถหรือหอพระ. |
เทพนม | (เทบพะนม) น. ชื่อภาพเทวดาครึ่งตัวประนมมือ, เทพประนม ก็ว่า |
เทพประนม | น. ชื่อภาพเทวดาครึ่งตัวประนมมือ, เทพนม ก็ว่า. |
นางแต่งตัวสะ | น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก. |
นางสะ | น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก. |
พนมมือ | ก. กระพุ่มมือ, ประนมมือ ก็ว่า. |
สาวสะ | น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ นางสะ ก็เรียก, โดยปริยายหมายถึงสาวรุ่น. |
อัญชลี | น. การประนมมือ, การไหว้, บางทีใช้เป็น อัญชุลี หรือ ใช้ละว่า ชุลี ก็มี. |