กายทุจริต | (กายยะทุดจะหฺริด, กายทุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ๑ การลักทรัพย์ ๑ การประพฤติผิดในกาม ๑. |
ทุ ๑ | ว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). |
ทุจจิณณะ | ว. ประพฤติชั่วแล้ว, ทำชั่วแล้ว, อบรมไม่ดี. |
ทุจริต | (ทุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. |
ทุราจาร | น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. |
ประพฤติ | กระทำ, ดำเนินตน, ปฏิบัติตน, เช่น ประพฤติดี ประพฤติชั่ว. |
มโนทุจริต | (มะโนทุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง ได้แก่ ความโลภอยากได้ของของผู้อื่น ๑ ความพยาบาท ๑ ความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม ๑. |
มือถือสาก ปากถือศีล | ว. มักแสดงตัวว่าเป็นคนมีศีลมีธรรม แต่กลับประพฤติชั่ว. |
วจีทุจริต | (วะจีทุดจะหฺริด) น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การพูดเท็จ ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดเพ้อเจ้อ ๑. |
อนาจาร | (อะนาจาน) น. ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติน่าอับอาย |
อัชฌาจาร | (-จาน) น. ความประพฤติชั่ว, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี. |