ปลาหมอตายเพราะปาก | น. คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย. |
ปลาหมอแถกเหงือก | ก. กระเสือกกระสนดิ้นรน. |
เหงือกปลาหมอ ๑ | น. โรคที่เกิดตามฝ่าเท้าทำให้หนังฝ่าเท้าแตกเป็นกลีบ ๆ. |
เหงือกปลาหมอ ๑ | ดูใน เหงือก. |
เหงือกปลาหมอ ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Acanthus วงศ์ Acanthaceae ชนิด A. ebracteatus Vahl ขึ้นตามริมนํ้าบริเวณนํ้ากร่อย ดอกสีขาว ขอบใบเป็นหนาม และชนิด A. ilicifoliusL. ดอกสีม่วงอ่อน บางทีขอบใบเรียบ, จะเกร็ง หรือ อีเกร็ง ก็เรียก. |
เข็ง | น. ปลาหมอ. (ดู หมอ ๓). |
จะเกร็ง | ดู เหงือกปลาหมอ ๒. |
นิล ๒ | (นิน) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Oreochromis niloticus (Linn.) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลาหมอเทศ แต่มีลำตัวสีเขียวหรือฟ้าปนน้ำตาล มีจุดดำด่างทั่วตัว ปลาขนาดเล็กจะมีลายเข้มพาดขวางลำตัว ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางมีลายหรือแนวจุดสีคลํ้าหรือขาวพาดขวางหรือทแยงอยู่โดยตลอด ขนาดยาวได้ถึง ๔๖ เซนติเมตร ทำรังเป็นแอ่งดินและปกป้องดูแลลูกอ่อนไว้ในโพรงปาก สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า ปลานิล. |
หมอตาล | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Helostoma temminckiiCuvier ในวงศ์ Helosotomatidae ลำตัวแบนข้างและกว้างมากกว่าปลาหมอ ปากยืดหดได้ และมีนิสัยเอาปากชนกับตัวอื่น จึงเรียกกันว่า ปลาจูบ พื้นลำตัว หัว และครีบสีนํ้าตาลอ่อนหรือขาวนวล พบในเขตที่ลุ่มน้ำนิ่ง ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ใบตาล อีตาล อีโก๊ะ หรือ วี ก็เรียก. |
หมอช้างเหยียบ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pristolepis fasciata (Bleeker) ในวงศ์ Pristolepidae พบทั่วไป รูปร่างคล้ายปลาหมอ หรือ ปลาเสือ แต่แบนข้างและกว้างกว่า ข้างตัวมีลายคลํ้าหลายลายพาดขวาง ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, ช้างเหยียบ หมอโค้ว กระตรับ ตะกรับ หน้านวล ก๋า หรือ อีก๋า ก็เรียก. |
อีเกร็ง | (-เกฺร็ง) ดู เหงือกปลาหมอ ๒. |