Arts, Panamanian | ศิลปกรรมปานามา [TU Subject Heading] |
Panama Canal (Panama) | คลองปานามา (ปานามา) [TU Subject Heading] |
Andean Community (Communidad Andina - CAN) | ประชาคมแอนเดียน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู และสมาชิกสมทบ 4 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัยและปารากวัย และประเทศผู้สังเกตการณ์ 2 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก และปานามา [การทูต] |
Andean Community (Communidad Andina -CAN) | ประชาคมแอนเดียน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2515 ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู และสมาชิกสมคบ ประเทศ ได้แก้ อาร์เจนตินา บราซิล อุรุกวัย และปารากวัย และประเทศผู้สังเกตการณ์ 2 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก และปานามา [การทูต] |
East Asia Latin American Forum | เวทีหารือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา " ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศจาก ภูมิภาคลาตินอเมริกา 12 ประเทศ เม็กซิโก ปานามา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา เปรู บราซิล ชิลี อาร์เจนตินา อุรุกวัย ปารากวัย และโบลิเวีย " [การทูต] |
Forum for East Asia - Latin America Cooperation | เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเม ริกา สมาชิก 32 ประเทศ จากภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา โดยมีสมาชิก จากฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ คือ กลุ่ม ASEAN (10 ประเทศ) จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และจากฝ่ายลาตินอเมริกา 17 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา นิการากัว คิวบา ปานามา เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา บราซิล โบลิเวีย เอกวาดอร์ ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินา และชิลี วัตถุประสงค์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง -ประเทศทุก 2 ปี ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ปีละ 2 ครั้ง และคณะทำงาน 3 คณะ ปีละ 2 ครั้ง (คณะทำงานด้านการเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา / ด้านเศรษฐกิจและสังคม / และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเวทีปรึกษาหารือและร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศเอเชียและ ลาตินอเมริกา โดยมีเป้าหมายไปที่การดำเนินโครงการความร่วมมือในทุกสาขาที่ประเทศสมาชิกมี ความสนใจร่วมกัน [การทูต] |
Free Trade Area of the Americas | เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา " ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมดขององค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States หรือ OAS) ยกเว้นประเทศคิวบา มีเป้าหมายที่จะจัดตั้งให้สำเร็จในปี พ.ศ. 2548 (OAS มีสมาชิกทั้งหมด 35 ประเทศ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย คอสตาริกา คิวบา โดมินิกัน เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส นิการากัว ปานามา ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา แอนติกัวและบาร์บูดา เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ จาเมกา บาร์เบโดส เกรนาดา สุรินาเม โดมินิกา เซนต์ลูเซีย บาฮามาส เซนต์คิดตส์และเนวิส เบลิซ กายอานา ตรินิแดดและโตบาโก) " [การทูต] |
Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] |
Plan Puebla-Panama | สมาชิก เม็กซิโก เบลิซ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ นิการากัว คอสตาริกา และปานามา วัตถุประสงค์ ริเริ่มโดยประธานาธิบดี Vicente Fox ของเม็กซิโก เมื่อปี พ.ศ. 2543 เพื่อแสวงหาความร่วมมือและให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ประเทศภูมิภาค อเมริกากลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมและสาธารณูปโภค เช่น ถนน สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจจากเม็กซิโกลงไปยังประเทศทางตอนใต้ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศร่วมกัน และเพื่อแก้ไขปัญหาการอพยพของแรงงานผิดกฎหมายจากประเทศในแถบอเมริกากลางเข้า สู่เม็กซิโก หมายเหตุ Puebla เป็นชื่อเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเม็กซิโก และเป็นจุดเริ่มต้นโครงการ ซึ่งสิ้นสุดที่ปานามา [การทูต] |
Rio Group | กลุ่มริโอ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2529 ตามปฏิญญาแห่งเมืองรีโอเดจาเนดรปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 23 ประเทศ/องค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา เบลิซ โบลิเวีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย คอสตาริกา คิวบา สาธารณรัฐโดมิกัน เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา กายอานา เฮติ ฮอนดูรัส เม็กซิโก นิการากัว ปานามา ปารากวัย เปรู อุกรุกวัย และเวเนซุเอลา แและ CARICOM [การทูต] |
Central American Integration System หรือ Sistema de la Integracion Centromericana | ระบบการรวมกลุ่มในอเมริกากลาง ก่อตั้งเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534 เพื่อกระตุ้นกระบวนการบูรณาการกลุ่มประเทศในภูมิภาคอเมริกากลาง ประกอบด้วยสมาชิก 7 ประเทศจากอเมริกากลางได้แก่ เบลิซ คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว และปานามา และสมาชิกสมทบ 1 ประเทศ คือ สาธารณรัฐโดมิกัน และประเทศผู้สังเกตการณ์ 3 ประเทศ ได้แก่ สเปน จีน และเม็กซิโก [การทูต] |