Petroleum engineering | วิศวกรรมปิโตรเลียม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
The American Petroleum Institute Gravity | หน่วยวัดค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมันดิบเป็นองศา, หน่วยวัดค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมันดิบเป็นองศา กำหนดขึ้นโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Petroleum Institute), Example: เป็นค่าที่แสดงความหนักเบาของน้ำมัน โดยปรกติน้ำมันดิบจะมีค่าความถ่วง API อยู่ระหว่าง 20-45 องศา และสามารถแบ่งน้ำมันดิบออกเป็น 3 ชนิด คือ น้ำมันดิบชนิดเบา มีค่าความถ่วง API มากกว่า 34 องศา น้ำมันดิบชนิดกลาง มีค่าความถ่วง API อยู่ระหว่าง 34-20 องศา และน้ำมันดิบชนิดหนัก มีค่าความถ่วง API น้อยกว่า 20 องศา [ปิโตรเลี่ยม] |
Net Pay | ความหนารวมของชั้นหินที่ให้ปิโตรเลียม [ปิโตรเลี่ยม] |
Cap Rock | ชั้นหินที่ไม่ยอมให้ของเหลวหรือก๊าซไหลผ่าน, ชั้นหินที่ไม่ยอมให้ของเหลวหรือก๊าซไหลผ่าน ปิดทับอยู่ด้านบนของชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม และปิดกั้นไม่ให้ไฮโดรคาร์บอนหนีออกมาถึงพื้นผิวดินได้ [ปิโตรเลี่ยม] |
Operator | บริษัทที่เป็นผู้ดำเนินงานการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม, บริษัทที่เป็นผู้ดำเนินงานการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในแปลงสัมปทานที่มีผู้ร่วมถือหุ้นอยู่ด้วยกันหลายบริษัท [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Liquefied petroleum gas | ก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Concession | สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง, สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ที่รัฐอนุญาตให้เอกชนมาดำเนินการได้ภายใต้สัญญาสัมปทาน [ปิโตรเลี่ยม] |
Petroleum Reserves | ปริมาณสำรองปิโตรเลียม, Example: ปริมาณปิโตรเลียมที่สามารถจะผลิตขึ้นมาได้อย่างคุมค่าต่อการลงทุนจากแหล่งปิโตรเลียม ภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐศาสตร์ในขณะนั้น [ปิโตรเลี่ยม] |
Plug and Abandon | การอัดซีเมนต์เข้าไปในหลุมเจาะ, การอัดซีเมนต์เข้าไปในหลุมเจาะที่ไม่พบปิโตรเลียมเพื่อการสละหลุม [ปิโตรเลี่ยม] |
Possible Reserves | ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่เป็นไปได้ว่าจะมีอยู่, Example: โดยมีข้อมูลทางธรณีวิทยาและวิศวกรรมปิโตรเลียมบ่งชี้ว่าน่าจะสามารถผลิตปิโตรเลียมได้ ซึ่งจะมีความมั่นใจน้อยกว่า Proved และ probable reserves (ดูคำ Proved และ Probable reserves) [ปิโตรเลี่ยม] |
Source Rock | หินต้นกำเนิดปิโตรเลียม, Example: หินชั้นหรือหินตะกอน (Sedimentary rock) ที่มีสารอินทรีย์มาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพทางธรณีวิทยา ภายใต้ความร้อนและความกดดัน สารอินทรีย์เหล่านี้ก็จะเปลี่ยนแปลงและสลายตัวให้ปิโตรเลียม หินต้นกำเนิดปิโตรเลียมจะต้องมีปริมาณของสารอินทรีย์อย่างน้อย 0.5% และโดยทั่วไปควรจะมากกว่า 1.5% สารอินทรีย์ชนิด Type II จะให้น้ำมันดิบ (crude oil) Type III จะให้ก๊าซ ปริมาณของไฮโดรเจนในสารอินทรีย์ควรจะมากกว่า 7% โดยน้ำหนัก สำหรับการเกิดน้ำมัน หินดินดานสีเทาดำหรือดำ และพวก reef limestone ส่วนใหญ่จะเป็นหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมที่ดี [ปิโตรเลี่ยม] |
Production Well | หลุมผลิตปิโตรเลียม, หลุมผลิตปิโตรเลียม [ปิโตรเลี่ยม] |
Produced Water | น้ำตามธรรมชาติที่มีอยู่ในแหล่งปิโตรเลียม, Example: ผลิตขึ้นมาได้พร้อมกับการผลิตน้ำมัน หรือเป็นน้ำที่อัดเข้าไปในแหล่งเพื่อช่วยเพิ่มการผลิต [ปิโตรเลี่ยม] |
Probable Reserves | ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่คาดว่าจะมี, Example: มีข้อมูลทางธรณีวิทยาและวิศวกรรมปิโตรเลียมสนับสนุนว่าจะสามารถผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาได้ Probable reserves มีความไม่แน่นอนสูงกว่า proved reserves ในด้านขนาดหรือขอบเขตที่แน่นอนของแหล่ง ความสามารถที่จะผลิตขึ้นมาได้ [ปิโตรเลี่ยม] |
Proved Reserves | ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้ว, Example: ปริมาณสำรองที่ได้มาโดยการคำนวณและประมาณการจากข้อมูลการเจาะและทดสอบหลุมปิโตรเลียมซึ่งได้มีการพิสูจน์ทราบแล้ว รวมทั้งมีหลักฐานข้อมูลการผลิต หรือข้อมูลทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ที่มีความแน่นอนค่อนข้างสูงมาสนับสนุนว่า จะสามารถผลิตปิโตรเลียมขึ้นมาได้คุ้มค่าการลงทุนภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐศาสตร์ในขณะนั้น [ปิโตรเลี่ยม] |
Recovery Factor | ค่าตัวแปรที่ใช้บ่งถึงอัตราส่วนของปริมาณปิโตรเลียมที่เราสามารถนำขึ้นมาใช้ได้, ค่าตัวแปรที่ใช้บ่งถึงอัตราส่วนของปริมาณปิโตรเลียมที่เราสามารถนำขึ้นมาใช้ได้ต่อปริมาณทั้งหมดที่มีอยู่ในแหล่ง [ปิโตรเลี่ยม] |
Reserves | ปริมาณสำรองปิโตรเลียม , ปริมาณสำรองปิโตรเลียม, Example: ค่าประมาณของปริมาตรปิโตรเลียมซึ่งคาดว่าจะผลิตขึ้นมาได้ในเชิงพาณิชย์ จากบริเวณที่แน่ใจแล้วว่ามีปิโตรเลียมอยู่และสามารถผลิตได้จากวันที่กำหนด ภายใต้สภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น และเป็นค่าที่เปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีข้อมูลเพิ่มขึ้นและมีการคำนวณใหม่ [ปิโตรเลี่ยม] |
Reservoir | แหล่งกักเก็บปิโตรเลียม, Example: โดยปิโตรเลียมซึ่งได้แก่น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจะสะสมตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างหิน เช่น ชั้นหินทราย [ปิโตรเลี่ยม] |
Reservoir Rock | หินกักเก็บปิโตรเลียม, หินกักเก็บปิโตรเลียม, Example: หินที่มีรูพรุนและยอมให้ของไหลซึมผ่านได้สูง (Good porosity and permeability) เช่น หินทราย (sandstone) หินคาร์บอเนต หินปูน หินโดโลไมต์ เพื่อที่จะสามารถกักเก็บปิโตรเลียมในปริมาณมากได้ นอกจากจะต้องมีความพรุนสูงแล้ว ควรจะต้องมีความหนาด้วย ในแหล่ง ปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์ส่วนมากหินกักเก็บจะมีความพรุนสูงกว่า 10% และมีความหนามากกว่า 10 ฟุต จะต้องมีความต่อเนื่องและครอบคลุมบริเวณกว้าง เพื่อที่จะได้มีปริมาตรกักเก็บปิโตรเลียมได้สูง [ปิโตรเลี่ยม] |
Migration | การเคลื่อนที่ของปิโตรเลียมจากหินต้นกำเนิดไปยังแหล่งกักเก็บ, Example: การเคลื่อนที่มีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ การเคลื่อนที่แบบปฐมภูมิ (primary migration) เป็นการเคลื่อนที่ของไฮโดรคาร์บอนออกจากหินต้นกำเนิด การเคลื่อนที่แบบทุติยภูมิ (secondary migration) เป็นการเคลื่อนที่ผ่านชั้นหินที่มีคุณสมบัติในการซึมผ่านสูงหรือในหินกักเก็บเอง และการเคลื่อนที่แบบตติยภูมิ (tertiary migration) เป็นการเคลื่อนที่จากแหล่งกักเก็บหนึ่ง (trap) ไปยังอีกแหล่งหนึ่ง หรือเป็นการเคลื่อนที่หายไปของไฮโดรคาร์บอนจากแหล่งกักเก็บ [ปิโตรเลี่ยม] |
Single Well Offshore Production System | ระบบการผลิตปิโตรเลียมในทะเลจากหลุมเดี่ยว [ปิโตรเลี่ยม] |
Floating Production Storage and Offloading | เรือผลิตและกักเก็บปิโตรเลียม [ปิโตรเลี่ยม] |
Gas Cap | แหล่งปิโตรเลียมที่มีทั้งก๊าซและน้ำมัน, ในแหล่งปิโตรเลียมที่มีทั้งก๊าซและน้ำมัน ก๊าซจะอยู่ส่วนบนของแหล่งกักเก็บ เรียกว่า Gas cap [ปิโตรเลี่ยม] |
Hydrocarbon | ส่วนประกอบสำคัญของปิโตรเลียม, ส่วนประกอบสำคัญของปิโตรเลียมไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดิบ คือ คาร์บอน (C) และ ไฮโดรเจน (H) ในรูปของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) นอกจากนี้ก็มีสารอื่นๆที่เป็นส่วนประกอบของปิโตรเลียม เช่น กำมะถัน (S) ไนโตรเจน (N) และอื่นๆ, Example: สารที่นอกเหนือจากไฮโดรคาร์บอนถือเป็นสิ่งแปลกปลอมและไม่เป็นที่ต้องการ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของปิโตรเลียมนั้น อาจอยู่ในสภาพของก๊าซ ของเหลว หรือของแข็ง ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ขึ้นอยู่กับจำนวนและการจัดตัวของอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุล โดยทั่วไปโมเลกุลของไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอนไม่เกิน 4 อะตอมจะมีสถานะเป็นก๊าซ ถ้ามีคาร์บอนระหว่าง 5-19 อะตอม จะมีสถานะเป็นของเหลว และถ้ามีคาร์บอนตั้งแต่ 20 อะตอมขึ้นไป จะมีสถานะเป็นของแข็ง [ปิโตรเลี่ยม] |
Petroleum | ปิโตรเลียม [เศรษฐศาสตร์] |
Liquefied petroleum gas | ก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว [TU Subject Heading] |
Liquefied petroleum gas industry | อุตสาหกรรมก๊าซปิโตรเลียมอัดเหลว [TU Subject Heading] |
Petroleum | ปิโตรเลียม [TU Subject Heading] |
Petroleum in submerged lands | ปิโตรเลียมในพื้นดินใต้ทะเล [TU Subject Heading] |
Petroleum industry and trade | อุตสาหกรรมปิโตรเลียม [TU Subject Heading] |
Petroleum law and legislation | กฎหมายปิโตรเลียม [TU Subject Heading] |
Petroleum pipeline industry | อุตสาหกรรมปิโตรเลียมทางท่อ [TU Subject Heading] |
Petroleum products | ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม [TU Subject Heading] |
Petroleum workers | คนงานในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม [TU Subject Heading] |
Petroleum | ปิโตรเลียม, Example: 1. คำทั่วไปหมายถึงสารผสมของไฮโตรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจมีสภาพเป็นของเหลว แก๊ส และของแข็งก็ได้ ได้แก่ น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ และสารพลอยได้อื่น ๆ 2. สารผลมของไฮโดรคาร์บอน ซับซ้อนชนิดเหลวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งเมื่อนำมากลั่นและกำจัด สารเจือปนออกไปแล้วจะได้สารเชื้อเพลิงตามลำดับชั้นต่าง ๆ เช่น เคมีภัณฑ์ปิโตรเลียมและน้ำมันหล่อลื่น [สิ่งแวดล้อม] |
ASEAN Council on Petroleum | คณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม เป็นกลไกการหารือระหว่างวิสาหกิจแห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประกอบ กิจการด้านปิโตรเลียม มีการประชุมปีละ 2-3 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแสวงหาความร่วมมือระหว่างกัน [การทูต] |
Joint Development Area | พื้นที่พัฒนาร่วม " หมายถึง พื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแก้ไขปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะแปรปัญหาเขตทับซ้อนในไหล่ทวีป ซึ่งมีพื้นที่ 7,250 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วม โดยการแสวงหาและนำเอาทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าวมาใช้และแบ่งปันผล ประโยชน์ บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันในลักษณะ 50 : 50 ซึ่งนับว่าเป็น ตัวอย่างที่ดีในการแก้ไขกรณีพิพาทเกี่ยวกับเขตทับซ้อนทางทะเลสำหรับประเทศ อื่น ๆ " [การทูต] |
โรงกลั่น | โรงกลั่น, โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง สถานที่ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และหมายความรวมถึงโรงแยกก๊าซและโรงงานอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและสารละลายด้วย [พลังงาน] |
ก๊าซ | ก๊าซ, ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นก๊าซหุงต้มหรือก๊าซไฮโดรคาร์บอนเหลว ซึ่งได้แก่ โปรเปน โปรปิลีน นอร์มัลบิวเทน ไอโซ-บิวเทน หรือบิวทีลีนส์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเป็นส่วนใหญ่ [พลังงาน] |
น้ำมันเชื้อเพลิง | น้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [พลังงาน] |
ผู้ค้าน้ำมัน | ผู้ค้าน้ำมัน, ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยซื้อนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใดเพื่อจำหน่าย และให้หมายความรวมถึงผู้กลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม [พลังงาน] |
ปริมาณสำรองปิโตรเลียม | ปริมาณสำรองปิโตรเลียม, ปริมาณที่ค้นพบแล้วและจะสามารถผลิตขึ้นมาใช้ให้คุ้มค่าได้ค่อนข้างแน่นอน ประกอบด้วยปริมาณที่พิสูจน์แล้วและปริมาณที่ยังไม่ได้พิสูจน์ [ปิโตรเลี่ยม] |
ปิโตรเลียม | สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอน มักพบอยู่ในชั้นหินตะกอน ทั้งในสภาพของแข็ง ของเหลวและก๊าซ [ปิโตรเลี่ยม] |
Carbon black | ผงเขม่าดำได้จากการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม มีสีดำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคปฐมภูมิอยู่ในช่วง 1-10 นาโนเมตร นิยมใช้เป็นสารเสริมแรงในอุตสาหกรรมยาง เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความทนต่อการสึกหรอให้แก่ผลิตภัณฑ์ยาง [เทคโนโลยียาง] |
Nitrile rubber or Acrylonitrile butadiene | ยางไนไทรล์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นโคพอลิเมอร์ของอะไค รโลไนไทรล์และบิวทาไดอีน ประกอบด้วยอะไครโลไนไทรล์ตั้งแต่ร้อยละ 18-51 ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน ยางไนไทรล์เป็นยางที่มีความเป็นขั้วสูงมีสมบัติเด่น คือ ทนต่อน้ำมันปิโตรเลียมและตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อความร้อนและต้านทานต่อการขัดถูได้ดี จึงนิยมนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับน้ำมัน เช่น ปะเก็นน้ำมัน ยางโอริง ยางซีล ยางเชื่อมข้อต่อ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Synthetic rubber | ยางที่ผลิตขึ้นใข้แทนยางธรรมชาติ โดยสังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม มีสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ นอกจากนี้ยังรวมถึงยางชนิดต่างๆ ที่สังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาเคมีอีกด้วย เช่น ยางสไตรีนบิวทาไดอีน ยางไนไทรล์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
kerosene | น้ำมันก๊าด, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดรวมกัน ได้จากการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันปิโตรเลียม มีจุดเดือด 150 - 300°C ในแต่ละโมเลกุลจะมีคาร์บอน 11 - 12 อะตอม มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ไอพ่น ใช้จุดตะเกียง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
diesel oil | น้ำมันดีเซล, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดรวมกัน ได้จากการกลั่นลำดับส่วนปิโตรเลียม ในแต่ละโมเลกุลจะมีคาร์บอน 13 หรือ 14 อะตอม มีจุดเดือด 250 - 350°C ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fuel oil | น้ำมันเตา, ของเหลวที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนของปิโตรเลียม แต่ละโมเลกุลมีคาร์บอน 15 - 17 อะตอม มีจุดเดือด 250 - 350oC ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gasoline [ petrol ] | น้ำมันเบนซิน, ของเหลวที่ได้จากการกลั่นลำดับส่วนปิโตรเลียม แต่ละโมเลกุลมีคาร์บอน 7 - 9 อะตอม มีจุดเดือด 40°C - 180°C ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |