กงสุล | น. ชื่อตำแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประจำอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของตนและดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศของตน. |
กันชน | น. เครื่องป้องกันการกระทบกระแทกด้านหน้าและด้านหลังรถยนต์, เรียกประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์ ว่า ประเทศกันชน หรือ รัฐกันชน. |
กัลปนา | (กันละปะนา) น. ที่ดินหรือสิ่งอื่นเช่นอาคารซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัดหรือศาสนา |
กินดอก, กินดอกเบี้ย | ก. ได้รับผลประโยชน์ที่เกิดจากทุนหรือเงินให้กู้. |
กินลูกตะกั่ว, กินลูกปืน | ก. ถูกยิง เช่น ไปขัดผลประโยชน์ของผู้มีอิทธิพลเข้าระวังจะได้กินลูกตะกั่ว ใครล่ะอยากจะกินลูกปืน. |
เก็บกิน | ก. เก็บผลประโยชน์เอาไว้ใช้สอยยังชีพ เช่น มีห้องแถวอยู่ ๒ ห้องได้อาศัยเก็บกินค่าเช่า. |
เกลียดตัวกินไข่ | ก. เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา, มักใช้เข้าคู่กับ เกลียดปลาไหลกินนํ้าแกง เป็น เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินนํ้าแกง. |
เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง | ก. เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา, มักใช้เข้าคู่กับ เกลียดตัวกินไข่ เป็น เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินนํ้าแกง. |
ขายชื่อ | ก. เอาชื่อเข้าแลกในทำนองขาย, ไม่รักชื่อ, ทำให้เสียชื่อเสียง, ถ้าเอาชื่อผู้อื่นไปแอบอ้างหาผลประโยชน์ เรียกว่า เอาชื่อไปขาย. |
ขึ้นหม้อ | ว. โดยปริยายหมายความว่า มีผลประโยชน์รวดเร็วมากผิดปรกติ, โดดเด่น, เป็นที่โปรดปราน, โชคดี. |
เข้าหุ้น | ก. รวมทุนเข้าด้วยกันเพื่อหาผลประโยชน์. |
ค่าจ้าง | น. เงินทุกประเภทและผลประโยชน์อย่างอื่นที่นายจ้างจ่ายหรือให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน. |
งอกเงย | ก. มีผลประโยชน์หรือรายได้เพิ่มมากขึ้น. |
จับเส้น | โดยปริยายหมายถึงรู้จักเอาใจผู้ที่จะให้ผลประโยชน์แก่ตน. |
จาตุกรณีย์ | น. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บำรุงราษฎร ๓. บำรุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. |
เจ้าของ | ผู้มีสิทธิครอบครอง ใช้สอย เก็บผลประโยชน์ และจำหน่ายทรัพย์สิน. |
ชักเนื้อ | ก. เอาทรัพย์หรือผลประโยชน์ของตนออกใช้ทดแทน, ใช้เงินเกินกว่าจำนวนที่เขากำหนดไว้ แล้วเรียกเอาส่วนเกินคืนไม่ได้, ชักทุนเดิม. |
ชุมชน | น. หมู่ชน, กลุ่มคนที่อยู่รวมกันเป็นสังคมขนาดเล็ก อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันและมีผลประโยชน์ร่วมกัน, ที่ที่มีคนอาศัยอยู่มาก เช่น ขับรถเข้าเขตชุมชนต้องชะลอความเร็ว. |
เช่า | ก. เข้าใช้ทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ของผู้อื่นโดยมีระยะเวลาตามแต่จะกำหนด แล้วจ่ายเงินหรือให้ผลประโยชน์อื่นเป็นค่าตอบแทน |
ดอกเบี้ย | น. ผลประโยชน์ที่บุคคลหนึ่งต้องใช้ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เพื่อการที่ได้ใช้เงินของบุคคลนั้น หรือเพื่อการไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องหรือชำระหนี้ล่าช้า ทั้งนี้ โดยคำนวณเป็นรายวัน รายเดือนหรือรายปี จากยอดเงินต้นหรือยอดเงินที่ต้องชำระ. |
ดอกผล | น. สิ่งที่เกิดขึ้นจากตัวทรัพย์หรือผลประโยชน์ที่ได้จากผู้อื่น เพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย. |
ตลก | โดยปริยายหมายความว่า แกล้งทำหรือพูดให้คนอื่นเข้าใจผิดเพื่อผลประโยชน์ของตน เช่น เล่นตลก. |
ต่อตาม | ก. พูดเกี่ยงราคาในเรื่องซื้อขาย, พูดเกี่ยงผลประโยชน์ในการทำความตกลงกัน. |
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ | ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน, ใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์, เสียทรัพย์จำนวนมากไปโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร. |
ตีงูให้กากิน | ก. ลงแรงทำสิ่งที่ไม่เป็นคุณแก่ตน แล้วผลประโยชน์ยังกลับไปได้แก่ผู้อื่น. |
ทำนาบนหลังคน | ก. หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น. |
ที่กัลปนา | น. ที่ดินซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา โดยกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของผู้อุทิศ. |
ทุน | เงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สำหรับดำเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์. |
ทุนรอน | น. ทรัพย์ที่มีไว้ใช้สอยหาผลประโยชน์. |
นกรู้ | น. ผู้ที่มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน แล้วหาผลประโยชน์หรือหาทางเอาตัวรอดไปก่อน. |
นอนกิน | ก. ไม่ต้องทำงานก็มีกิน โดยมีผลประโยชน์เป็นรายได้ เช่น นอนกินดอกเบี้ย. |
นอนตีพุง | ก. ได้ผลประโยชน์โดยไม่ต้องทำอะไร |
เบี้ยประกันภัย | น. จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระให้แก่ผู้รับประกันภัยตามสัญญา เพื่อที่จะได้รับเงินผลประโยชน์หรือค่าสินไหมทดแทนเมื่อตนเสียชีวิต หรือเมื่อได้รับความเสียหายตามชนิดของภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้. |
ประเทศกันชน | น. ประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์, รัฐกันชน ก็เรียก. |
มารคอหอย | (มาน-) น. ผู้ที่ขัดผลประโยชน์ที่ผู้อื่นจะพึงมีพึงได้. |
มูลนิธิ | (มูนละ-, มูน-) น. ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว. |
ไม่ได้เบี้ยออกข้าว | ว. ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยเลย, ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยแล้วยังต้องเสียผลประโยชน์ไปอีก. |
รัฐกันชน | น. ประเทศหรือรัฐที่กั้นอยู่ระหว่างดินแดนของ ๒ ประเทศ เพื่อมิให้พิพาทกันในเรื่องดินแดนและผลประโยชน์, ประเทศกันชน ก็เรียก. |
รายได้ | น. เงินหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ เช่น เดือนนี้รายได้ดี. |
รู้ทัน | ก. รู้ถึงเหตุการณ์หรือความคิดของบุคคลอื่นไม่เพลี่ยงพล้ำเสียเปรียบ เช่น รู้ทันว่าน้ำจะท่วมจึงขนของหนีเสียก่อน รู้ทันความคิดของเพื่อนว่าจะหักหลังเรื่องผลประโยชน์, รู้เท่าทัน ก็ว่า. |
ลาภงอก | น. ผลประโยชน์ที่ได้รับ. |
ลำไพ่ | น. เงินหรือผลประโยชน์ที่หาได้เป็นพิเศษนอกเหนือจากรายได้ประจำ. |
เล่นการเมือง | ก. ฝักใฝ่หรือปฏิบัติการเกี่ยวกับงานบริหารบ้านเมือง, โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยมพลิกแพลงไม่ตรงไปตรงมา เพื่อผลประโยชน์ของตน เช่น ในวงการกีฬาก็มีการเล่นการเมือง นักกีฬาเก่ง ๆ บางคนถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมทีม. |
เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง | ก. หาผลประโยชน์โดยมิชอบจากงานที่ทำ. |
วินาศภัย | (วินาดสะไพ) น. ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาที่พึงประมาณเป็นเงินได้ รวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย. |
สมพัตสร | (-พัดสอน) น. อากรประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผลประโยชน์ของแผ่นดิน เก็บจากจำนวนพื้นที่ที่ปลูกไม้ล้มลุกบางประเภทและจำนวนไม้ผลยืนต้นบางประเภท เช่น ขนุน เงาะ กระท้อน มะไฟ เก็บเป็นรายปี. |
สหกรณ์ | น. องค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยการลงหุ้นร่วมกัน จัดการร่วมกันในการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือบริการตามความต้องการหรือผลประโยชน์อย่างเดียวกันของบรรดาสมาชิก สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิ์ออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการบริหารสหกรณ์ โดยไม่ขึ้นกับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์โคนม, (กฎ) คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามกฎหมาย. |
สหภาพแรงงาน | น. องค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน. |
เสนอหน้า | ก. แสดงตัวให้ผู้มีอำนาจเหนือเห็นอยู่เสมอทั้ง ๆ ที่ตนเองมิได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลประโยชน์ตอบแทน, พยายามแสดงตัวให้ปรากฏต่อสาธารณชนอยู่เสมอ เช่น เวลาเขาถ่ายรูปกันจะต้องเสนอหน้าเข้าไปร่วมถ่ายรูปด้วย. |
เสียแรง | ก. เสียเรี่ยวแรง เช่น งานนี้ทำไปก็เสียแรงเปล่า ๆ ได้ผลประโยชน์ไม่คุ้ม. |
perquisites | ผลประโยชน์พิเศษ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
pecuniary advantage | ผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงิน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
proportional benefits | ผลประโยชน์ตามสัดส่วน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
pernancy | การถือเอาประโยชน์จากที่ดิน, การได้รับผลประโยชน์จากที่ดิน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lucrative | ที่มีกำไรมาก, ที่มีผลประโยชน์มาก [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lucrative office | ตำแหน่งที่มีผลประโยชน์มาก [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reversionary interest | ผลประโยชน์ที่จะได้กลับคืน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
register of member's interests | การแจ้งผลประโยชน์และทรัพย์สินของสมาชิก [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
accidental death benefit | ผลประโยชน์เมื่อถึงแก่กรรมโดยอุบัติเหตุ ดู double indemnity [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
articulation of interests; articulation, interest | การแสดงผลประโยชน์ให้ชัดแจ้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
articulation, interest; articulation of interests | การแสดงผลประโยชน์ให้ชัดแจ้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
additional benefit | ผลประโยชน์เพิ่ม [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
aggregation of interests; aggregation, interest | การรวมผลประโยชน์ (ให้เป็นกลุ่มก้อน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
aggregation, interest; aggregation of interests | การรวมผลประโยชน์ (ให้เป็นกลุ่มก้อน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
book interest | ผลประโยชน์ตามบัญชี [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
benefit | ผลประโยชน์ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
benefit | ผลประโยชน์ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
benefit | ผลประโยชน์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
benefit of insurance | ผลประโยชน์ในการประกันภัย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
benefit of salvage | ผลประโยชน์ซากทรัพย์ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
benefit policy | กรมธรรม์กำหนดผลประโยชน์ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
benefit policy | กรมธรรม์กำหนดผลประโยชน์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
benefit, fringe | ผลประโยชน์เกื้อกูล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
benefit, mutual | ผลประโยชน์ร่วมกัน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
member's interests, register of | การแจ้งผลประโยชน์และทรัพย์สินของสมาชิก [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
mutual benefit | ผลประโยชน์ร่วมกัน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
mutual benefit | ผลประโยชน์ร่วมกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
concurrent interests | ผลประโยชน์ตรงกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
conflict of interest | ผลประโยชน์ขัดกัน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
conflict of interest | ผลประโยชน์ขัดกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
capital benefits | ผลประโยชน์เป็นเงินก้อน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
collation to a benefit | การให้ผลประโยชน์เพิ่มเติม (ก. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
deferred period | ระยะรอรับผลประโยชน์ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
disability benefit | ผลประโยชน์ทุพพลภาพ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
disablement benefit | ผลประโยชน์เพื่อทุพพลภาพ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
death-in-service benefits | ผลประโยชน์เมื่อถึงแก่กรรมในหน้าที่ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
death benefit | ผลประโยชน์เมื่อถึงแก่กรรม [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
graft | ผลประโยชน์ที่ได้รับโดยมิชอบ [ ดู corruption ประกอบ ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
group, interest | กลุ่มผลประโยชน์ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
fiduciary | ๑. เกี่ยวกับความไว้วางใจ๒. ผู้ดูแลผลประโยชน์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
fringe benefit | ผลประโยชน์เกื้อกูล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
fiduciary | ผู้ดูแลผลประโยชน์ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
elective benefits | ผลประโยชน์ที่เลือกได้ [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
expectation damages | ค่าเสียหายจากผลประโยชน์ที่คาดไว้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
expectation interest | ผลประโยชน์ที่คาดหมายไว้ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
interest, conflict of | ผลประโยชน์ขัดกัน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
interests, aggregation of; interest aggregation | การรวมผลประโยชน์ (ให้เป็นกลุ่มก้อน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
issues and profits | ผลประโยชน์ที่เกิดจากที่ดิน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
issue | ๑. ออก, ตราขึ้น (ก. ทั่วไป)๒. ประเด็น (ก. ทั่วไป)๓. ผลประโยชน์ (ก. แพ่ง)๔. ผู้สืบสายโลหิต (ก. แพ่ง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
interest | ดอกเบี้ย, ผลประโยชน์, ส่วนได้เสีย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Special Remuneration Benefit | การเก็บผลประโยชน์พิเศษจากกำไรส่วนเกิน, Example: การเก็บผลประโยชน์พิเศษจากกำไรส่วนเกิน ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษนี้ได้กำหนดให้มีขึ้นตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้รัฐได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น (นอกเหนือไปจากค่าภาคหลวงและภาษีที่ได้รับอยู่ตามปรกติ) ในกรณีของการที่ผู้รับสัมปทานพบแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ หรือได้รับประโยชน์จากการที่น้ำมันดิบในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นอย่างฉับพลันหรือมีต้นทุนการสำรวจและผลิตต่ำ การคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจะกระทำเป็นรายปีจากจำนวน "กำไรปิโตรเลียม" ก่อนหักภาษีเงินได้ปิโตรเลียม หากปีใดไม่มี "กำไรปิโตรเลียม" เกิดขึ้นก็ยังไม่มีภาระต้องเสีย และ "จำนวนขาดทุนปิโตรเลียม" ในปีนั้น ก็สามารถยกยอดไปหักจากรายได้ในปีต่อๆไปได้จนกว่าจะหมด [ปิโตรเลี่ยม] |
Fringe benefit | ผลประโยชน์เกื้อกูล [เศรษฐศาสตร์] |
Benefit plan | แผนจัดผลประโยชน์ [เศรษฐศาสตร์] |
Benefit investment period | ช่วงของการลงทุนที่ได้รับผลประโยชน์ [เศรษฐศาสตร์] |
Seniority benefit | ผลประโยชน์ตามอาวุธโส [เศรษฐศาสตร์] |
Non-Voting Depository Receipt | ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย, Example: ตราสารทุนที่ออกโดยบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ซึ่งมีสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ และมีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ผู้ลงทุนสมารถซื้อขายเอ็นวีดีอาร์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ในลักษณะเดียวกับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วไป ผู้ถือเอ็นวีดีอาร์จะได้รับสิทธิหรือผลตอบแทนทางการเงินเช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ แต่จะไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท เอ็นวีดีอาร์จะช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนชาวต่างชาติที่ติดขัดในเรื่องเพดานการถือครอง แต่ทั้งนี้ก็มิได้จำกัดการซื้อขายของผู้ลงทุนทั่วไปแต่อย่างใด [ตลาดทุน] |
Trustee | ผู้ดูแลผลประโยชน์, Example: คือ ตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น ดูแลให้ บลจ. จัดการลงทุนให้เป็นไปตามโครงการจัดการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน การสอบทานความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม การเก็บรักษาทรัพย์สิน รวมทั้งการรับมอบ ส่งมอบ ตรวจสอบความถูกต้อง ตรวจนับทรัพย์สิน ทำทะเบียนทรัพย์สิน ติดตามสิทธิประโยชน์จากการลงทุน และดำเนินคดีฟ้องร้องแทนผู้ถือหน่วยลงทุนหาก บลจ. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยต้องเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ซึ่งต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ fit & proper ทั้งนี้ ผู้ดูแลผลประโยชน์ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับบลจ. และไม่มีความเกี่ยวข้องในการจัดการกองทุนรวมในลักษณะที่อาจทำให้ขาดความเป็นอิสระในการทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ [ตลาดทุน] |
Assignments for benefit of creditors | การโอนสิทธิ์เพื่อผลประโยชน์ของเจ้าหนี้ [TU Subject Heading] |
Conflict of interests | ผลประโยชน์ขัดกัน [TU Subject Heading] |
Convention on International Interests in Mobile Equipment (2001) | อนุสัญญาว่าด้วยผลประโยชน์ระหว่างประเทศในอุปกรณ์เคลื่อนที่ (ค.ศ. 2001) [TU Subject Heading] |
Profit-sharing | ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับลูกจ้าง [TU Subject Heading] |
Public interest | ผลประโยชน์สาธารณะ [TU Subject Heading] |
Whistle blowing | การปลุกระดมเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ [TU Subject Heading] |
Access and Benefit Sharing | การแบ่งปันผลประโยชน์และการเข้าถึง [การทูต] |
ASEAN Committee in Beijing | คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงปักกิ่ง " ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำกรุง ปักกิ่ง มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของ อาเซียนในการมีปฏิสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนที่กรุงปักกิ่ง [การทูต] |
ASEAN Committee in Seoul | คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงโซล ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำ กรุงโซล มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของอาเซียนในการมีปฏิ สัมพันธ์กับสาธารณรัฐเกาหลีที่กรุงโซล [การทูต] |
ASEAN-New Delhi Committee | คณะกรรมการอาเซียนประจำกรุงนิวเดลี " ประกอบด้วยเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำกรุง นิวเดลี มีหน้าที่ในการประสานผลประโยชน์และเป็นกลไกกลางของอาเซียนในการมีปฏิ สัมพันธ์กับอินเดียที่กรุงนิวเดลี " [การทูต] |
ASEAN Charter | กฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [การทูต] |
Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] |
Commonwealth of Nations | การรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] |
Establishment of Diplomatic Relations and Missions | การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต] |
Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] |
Functions of Diplomatic Mission | ภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะผู้แทนทางการทูต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติเป็นประจำของผู้แทนทางการทูตนั้น ได้แก่ หน้าที่การเจรจา การสังเกต และการคุ้มครอง อย่างไรก็ดี มีบางประเทศได้มอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตของตนปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และกิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญใด ๆ กับการทูตเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า1. นอกจากประการอื่นแล้ว การหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตประกอบด้วยก. ทำหน้าที่แทนรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับข. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดอันกฎหมายระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ค. เจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับง. สืบเสาะให้แน่ด้วยวิถีทางทั้งมวลอันชอบด้วยกฎหมายถึงสถาวะและพัฒนาการในรัฐ ผู้รับ แล้วรายงานไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่งจ. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ2. ไม่มีข้อความในอนุสัญญานี้ ที่จะหมายความได้ว่าเป็นการห้ามไม่ให้คณะผู้แทนทางการทูตปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล [การทูต] |
Generalized System of Preferences | ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป " มีที่มาจากการประชุมว่าด้วยการค้าและการพัฒนาขององค์การ สหประชาชาติ (UNCTAD) เมื่อปี พ.ศ. 2510 ภายใต้ระบบนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถส่ง สินค้าไปขายแข่งขันในประเทศพัฒนา โดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอัตราภาษีขาเข้าให้แก่สินค้าที่อยู่ในข่ายได้รับ สิทธิพิเศษ โดยไม่เรียกร้อง ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ " [การทูต] |
Honorary Consul | กงสุลกิตติมศักดิ์ " ได้แก่ บุคคลในท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งและมอบหมายให้ดูแล ส่งเสริมผลประโยชน์ของประเทศและคนชาติในพื้นที่ในเขตอาณา และดำเนินการตรวจลงตราหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่จะเดินทางเข้าประเทศที่ กงสุลกิตติมศักดิ์เป็นผู้แทน การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ และต้องยื่นสัญญาบัตร และได้รับอนุมัติบัตรเช่นเดียวกับผู้แทนฝ่ายกงสุลอาชีพ (career consular officer) ทั้งนี้ กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์จะได้รับมอบหมายให้ดูแลเขตอาณาที่ครอบคลุมพื้นที่ กว้างกว่าและสำคัญกว่า ในส่วนของไทย กงสุลกิตติมศักดิ์แตกต่างจากกงสุลอาชีพใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) กงสุลกิตติมศักดิ์ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือเป็นผู้นำที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับไทย (2) กงสุลกิตติมศักดิ์ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งสำนักงาน ได้แก่ สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์หรือสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหมด (3) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางกงสุลน้อยกว่ากงสุลอาชีพ ในการปฏิบัติงานของกงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยจะมีคู่มือกงสุลกิตติมศักดิ์ เป็นระเบียบกฎเกณฑ์และข้อมูลสำหรับการปฏิบัติงาน " [การทูต] |
Leaque of Arab States หรือ Arab Leaque | ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2488 มีเป้าหมายทางการเมืองเป็นเป้าหมายหลัก คือ สร้างเอกภาพ รักษาและส่งเสริมผลประโยชน์อาหรับ รวมทั้งเป็นกลไก [การทูต] |
The New Partnership for Africa?s Development | หุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแอฟริกา มีวัตถุประสงค์ในการ ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศแอฟริกา การขจัดความยากจนและการขจัดความเสียเปรียบของประเทศแอฟริกาในยุคโลกาภิวัตน์ NEPAD พัฒนามาจากการประชุม สุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งในการประชุมนี้ ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ประธานาธิบดีไนจีเรีย และประธานาธิบดี แอลจีเรียได้เสนอต่อที่ประชุม ขอให้กลุ่มประเทศเหนือและประเทศใต้ร่วมกันแก้ปัญหาที่ทั้งสองกลุ่มประเทศ เผชิญอยู่ บนพื้นฐานของ ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเน้นการพัฒนาประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศ ในภูมิภาคแอฟริกา ต่อมาบรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศแอฟริกาได้ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาแอฟริกาสำหรับ ใช้ขอรับการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วในเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เรียกว่า New Africa Initiative (NAI) ที่ประชุมองค์การเอกภาพแอฟริกา หรือ OAU (ซึ่งต่อมากลายเป็น African Union ? AU) ได้เห็นชอบต่อแผน NAI ดังกล่าวในเดือนกรกฎาคม 2544 ผู้นำของประเทศแอฟริกาได้นำเสนอ NAI ต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 เมื่อปี พ.ศ. 2544 และได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนเป็น NEPAD ในปัจจุบัน [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] |
Public Diplomacy | การทูตสาธารณะ หมายถึง การดำเนินการทางการทูตแบบหนึ่งเพื่อโน้มน้าวชักจูงให้สาธารณชนและกลุ่มเป้า หมายและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ในต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจของรัฐให้มีความชื่นชมและเข้าใจ ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศใคประเทศหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระดับประชาชนให้มีความใกล้ชิดแน่นแฟ้น และประสบผลสำเร็จอน่างแนบเนียน โดยจะมี ความแตกต่างจากการดำเนินการทางการทูตแบบดั้งเดิม ที่เน้นการสื่อสารระหว่างรัฐต่อรัฐ(Government to Government)แต่การทูตสาธารณะจะเน้นวิธีการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชน( Government to People) ภาคเอกชน ประชาสังคม หรือสื่อมวลชนในต่างประเทศหรือระหว่าประชาชนด้วยกันเอง อนึ่ง การทูตวัฒนธรรม (Cultural Diplomacy) ที่ใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อเชื่อมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนนั้น ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งของการดำเนินการทางการทูตสู่สาธารณชนนี้ [การทูต] |
regionalism | ภูมิภาคนิยม " เป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคบนพื้นฐานของการตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วม กันในการพัฒนาและความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นการระดมพลังในการปกป้องและเสริมสร้างความก้าวหน้าและสันติภาพความ มั่นคงของแต่ละประเทศและของภูมิภาคโดยส่วนรวม - open regionalism ภูมิภาคนิยมแบบเปิด เป็นกระบวนการ รวมตัวและร่วมมือกันในภูมิภาคเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าซึ่งกันและกัน โดยไม่มีการกีดกันประเทศภายนอก - closed regionalism ภูมิภาคนิยมแบบปิด เป็นกระบวนการ รวมตัวและร่วมมือกันในภูมิภาคเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าซึ่งกันและกัน โดยมีการกีดกันประเทศภายนอก " [การทูต] |
Team Thailand | ทีมประเทศไทย หมายถึง รูปแบบของการทำงานที่เป็นเอกภาพของหน่วยราชการไทยในการปกป้อง รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ ขจัดความซ้ำซ้อน ลดการทำงานที่ไม่จำเป็นให้หมดไป และช่วยให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิผลของการทำงาน แนวคิดเรื่องทีมประเทศไทยเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานของหน่วยงานไทย ในต่างประเทศ โดยเน้นให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในต่างประเทศทำงานร่วมกัน อย่างมีเอกภาพ ไม่ซ้ำซ้อน มีทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกันบนพื้นฐานของแผน งานรวมที่เป็นเอกภาพ (unified work plan) มีสำนักงานที่เป็นเอกภาพ (unified structure) และมีกรอบการประสานงานที่เป็นเอกภาพ (unified command) โดยมีกระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบภาพรวมของการดำเนินความสัมพันธ์กับ ต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการประสานงาน ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการในต่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 [การทูต] |
Cost benefit analysis | การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ [การบัญชี] |
Benefit/Cost Ratio | อัตราส่วนระหว่างผลประโยชน์และค่าใช้จ่าย [การแพทย์] |
advantage | (n) ผลประโยชน์, See also: ผลกำไร, คุณประโยชน์, ผลดี, Syn. benefit, gain |
benefit | (n) ผลประโยชน์, See also: ข้อได้เปรียบ, Syn. advantage |
capitalize | (vi) ได้ผลประโยชน์, Syn. gain, benefit, profit |
consul | (n) กงสุล, See also: เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ดูแลผลประโยชน์ทางการค้าและประชาชนของตนในต่างประเทศ |
capitalize on | (phrv) ใช้ประโยชน์ให้เต็มที่จาก, See also: ได้ผลประโยชน์จาก |
expedient | (adj) ที่ให้ผลประโยชน์, See also: ได้เปรียบ, ได้ประโยชน์, Syn. advantageous, helpful, useful |
fringe benefit | (n) เงินสวัสดิการ, See also: ผลประโยชน์นอกจากเงินค่าจ้าง |
give another person a piece of the cake | (idm) แบ่งปันผลประโยชน์ให้คนอื่น |
gain | (n) ผลประโยชน์, See also: ผลกำไร, Syn. benefit, advantage, profit |
glad hand | (n) การหลอกทำดีกับผู้อื่นเพื่อหวังผลประโยชน์ (คำไม่เป็นทางการ) |
good | (n) ความดีงาม, See also: ความดี, ผลประโยชน์, คุณธรรม, Syn. goodness, righteousness, Ant. evil, wrong |
interest | (n) ผลประโยชน์, See also: ดอกเบี้ย |
issue | (n) ผล, See also: ผลประโยชน์, ผลสุดท้าย, Syn. outcome, consequence, result |
jobbery | (n) การทุจริต, See also: การทำกิจธุระของหลวงโดยแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตัว |
perk | (n) ผลประโยชน์เพิ่มเติม, See also: ผลตอบแทนเพิ่ม, Syn. bonus, tip, reward, Ant. drawback |
profit | (n) ผลประโยชน์, See also: ข้อได้เปรียบ, Syn. advantage |
profitability | (n) ความได้เปรียบ, See also: การได้กำไร, การได้ผลประโยชน์, Syn. efficiency |
profitable | (adj) ซึ่งได้ผลประโยชน์, Syn. useful, beneficial, gainful |
profitableness | (n) การได้ผลประโยชน์, Syn. expediency |
profitably | (adv) อย่างได้ผลประโยชน์, Syn. advantageously |
quitclaim | (n) การโอนผลประโยชน์ |
rake-off | (n) ส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่ได้มาโดยผิดกฎหมาย (คำไม่เป็นทางการ) |
sweetheart deal | (sl) สัญญามิตรภาพ, See also: ข้อตกลงที่ให้ผลประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย |
sake | (n) ผลประโยชน์, Syn. advantage, benefit |
self | (n) ผลประโยชน์ส่วนตัว, See also: ความสนใจตัวเอง, การคำนึงถึงตัวเอง, Syn. ego, subjectivity |
self-interest | (n) ผลประโยชน์ส่วนตัว, See also: ความต้องการส่วนบุคคล |
selfness | (n) ความเป็นตัวของตัวเอง, See also: ผลประโยชน์ส่วนตัว, เอกลักษณ์เฉพาะตัว, Syn. individual, oneself, person, character |
self-seeker | (n) ผู้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว |
self-seeking | (adj) ซึ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว, See also: ซึ่งแสวงหาความสุขส่วนตัว, เห็นแก่ตัว, Syn. selfis, self-regarding, self-considering, greedy |
snollygoster | (n) คนที่มุ่งหาผลประโยชน์เพื่อตนเองมากกว่าอย่างอื่น, See also: โดยเฉพาะนักการเมือง คำสแลง |
stake | (n) ดอกเบี้ยหรือส่วนแบ่งผลประโยชน์, Syn. interest, share |
stakeholder | (n) ผู้ถือผลประโยชน์ร่วม, Syn. consignee, trustee |
suicide | (n) ผู้ที่ทำลายผลประโยชน์ของตนเอง, See also: ผู้ที่ทำลายอนาคตตนเอง, Syn. self-destruction |
sack up | (phrv) ได้กำไร, See also: ได้ผลประโยชน์ |
usefulness | (n) ผลดี, See also: ผลประโยชน์, ความได้เปรียบ, Syn. advantage, benefit |
utilitarian | (n) ผู้ยึดถือลัทธิผลประโยชน์ |
utility | (n) ประโยชน์ใช้สอย, See also: ผลประโยชน์, อรรถประโยชน์, Syn. usefulness, Ant. uselessness |
vigorish | (n) ผลประโยชน์ในการพนัน (คำสแลง) |
advantage | (แอดวาน' ทิจฺ) n., vt. ผลประโยชน์, ความได้เปรียบ, คุณ, โอกาส, จุดดี, จุดเด่น. -take advantage of เอาเปรียบ. -to advantage มีประโยชน์หรือกำไร, Syn. profit, benefit, help, Ant. hindrance, handicap |
bailiff | (เบ'ลิฟ) n. ตำรวจศาล, พนักงานส่งหมายจับกุม/ยึดทรัพย์, ผู้ดูแลผลประโยชน์ของเจ้าของที่ดิน, ปลัดอำเภอ, See also: bailiffship n. |
behoof | (บิฮูฟ') n. ข้อได้เปรียบ, ผลประโยชน์, Syn. advantage -pl. -hooves |
beneficiary | (เบนนะฟิช'เชียรี) n. ผู้รับผลประโยชน์, ผู้รับเงินประกัน, ผู้รับเงินช่วยเหลือ, ผู้มีสิทธิพิเศษ, Syn. donee, recipient |
benefit | (เบน'นิฟิท) { benefitted, benefitting, benefits } n. ผลประโยชน์ vt. เป็นประโยชน์ต่อvi. ได้รับผลประโยชน์, Syn. favour |
blessing | (เบลส'ซิง) n. การให้พร, การทำให้ศักดิ์สิทธิ์, ผลประโยชน์, ความกรุณา, ของขวัญ, สิ่งทำให้โชคดีหรือมีความสุข, การสรรเสริญบารมี, การบูชา, การเห็นด้วย, Syn. grace, benediction |
boon | (บูน) n. ผลประโยชน์ที่ได้รับ, บุญคุณ, คุณานุปการ, สิ่งที่เรียกร้องหรือต้องการ, เพื่อนร่วมสนุก adj. สนุกสนาน, สนุกเฮฮา, กรุณา, โอบอ้อมอารี, Syn. windfall, blessing |
bull | (บูล) n. วัวตัวผู้, สัตว์ตัวผู้, คนที่รูปร่างบึกบึน, ตำรวจ -Id. (milk the bull ทำงานที่ไม่ได้ผลประโยชน์) adj. ผู้ชาย, เกี่ยวกับราคาที่สูงขึ้น |
bulletin board system | ระบบการบริการเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีผลประโยชน์ร่วมให้ส่งและรับข้อมูลหรือได้รับซอฟแวร์ เป็นต้น ระบบแผงข่าวศูนย์รวมข่าวใช้ตัวย่อว่า BBS (อ่านว่า บีบีเอส) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น ระบบแผงข่าวของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) |
conflict of interest | n. การขัดผลประโยชน์ |
converge | (คันเวอจฺ') { converged, converging, converges } vi. เบนเข้าหากัน, เข้าหาผลประโยชน์ร่วมกัน vt. ทำให้บรรจบกัน |
disinterested | adj. ไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัว, ไม่สนใจ, เมินเฉย, Syn. impartial, indifferent |
fish | (ฟิช) { fished, fishing, fishes } n. ปลา, เนื้อปลา, สัตว์น้ำ, บุคคล, คนอ่อนหัด vt. ตกปลา, จับปลา, ล้วงออก, ดึงออก, ค้นหา -Phr. (fish in troubled waters ฉวยโอกาสกอบโกยผลประโยชน์) -pl., See also: fish, fishes |
fringe benefit | n. ผลประโยชน์นอกเหนือจากเงินค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง |
gain | (เกน) { gained, gaining, gains } vt. ได้มา, ได้รับ, กำไร, ชนะ, บรรลุ, ได้เปรียบ, มีภาษีดีกว่า, ได้เป็นพวก. vi. ก้าวหน้า, คืบหน้า, (นาฬิกา) เร็วไป, ใกล้เข้าไป. n. ผลกำไร, ผลประโยชน์, การมีชัย, การเพิ่ม, จำนวนที่เพิ่มขึ้น, การก้าวหน้า, ความคืบหน้า, การได้มาซึ่ง, ของที่ได้มา, ร่อง, |
good | (กูด) adj. ดี, กรุณา -Id. (all in good time ถูกกาลเทศะ, เหมาะเจาะ) n. คุณค่า, ผลประโยชน์, ความดีเลิศ, ความกรุณา, See also: goods n. สินค้า. -Phr. for good ตลอดไป interj. คำอุทานแสดงความพอใจหรือความเห็นด้วย, ดี -adv. ดี. -S... |
gravy train | อาชีพหรืองานที่เบา, โอกาสได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรอย่างมากโดยไม่ต้องลำบาก |
gray eminence | ผู้ใช้อำนวจในทางที่ผิดหรือเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง |
grift | (กริฟทฺ) n. การได้เงินมา โดยการโกงหรือการหลอกลวง. vt. ได้เงิน หรือผลประโยชน์มาโดยการโกงหรือหลอกลวง |
hereditament | n. ทรัพย์สินที่รับช่วงกัน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ที่ตกทอดเป็นมรดกกันได้ |
horse trade | การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน |
ingroup | (อิน'กรูพ) n. กลุ่มภายใน, กลุ่มที่มีผลประโยชน์, ความคิดเห็นหรืออื่น ๆ ที่เหมือนกัน |
interest | (อิน'เทอริสทฺ) n. ความสนใจ, เรื่องที่น่าสนใจ, บุคคลที่น่าสนใจ, ผลประโยชน์, สิทธิตามกฎหมาย, ลักษณะสำคัญ, ดอกเบี้ย, อาชีพ. vt. กระตุ้นความสนใจ, เกี่ยวข้อง, นำเข้ามาร่วม, Syn. share, profit, attraction, attract, arouse |
jockey | (จอค'คี) n. นักขี่ม้าแข่งอาชีพ, คนขี่ม้าแข่ง, คนนำทาง vt. ขี่ม้าแข่ง, นำร่อง, จัดการ, โกง, หลอกลวง, โยกย้ายพลิกแพลง vi. หาผลประโยชน์ด้วยการพลิกแพลงหลอกลวง, โกง, Syn. plot, scheme |
mutuality | (มิวชุแอล'ลิที) n. ความร่วมกัน, ความมีทั้งสองฝ่าย, การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์, Syn. reciprocality |
pool | (พูล) n., vt. (ทำให้เป็น) แอ่งน้ำ, สระน้ำ, บ่อน้ำ, กองเลือด n. เงินกองกลางในการพนัน, เงินเดิมพันทั้งหมด, เงินกงสี, จำนวนรวม, การแทงบิลเลียดที่ผู้ชนะได้เงินกองกลางทั้งหมด, ผลประโยชน์รวม, กองทุน, การรวมกำลังในการทำธุรกิจเพื่อขจัดคู่แข่งขัน vt., vi. รวมกลุ่ม, ใส่เข้ากองกลาง |
privy | (พริฟ'วี) adj. ส่วนตัว, เฉพาะตัว, ลับตา, ที่ลับ, ซ่อนเร้น, ส่วนพระองค์. n. ห้องส้วม, บุคคลที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน, Syn. private |
profit | (พรอฟ'ฟิท) n. กำไร, ผลกำไร, ผลประโยชน์, ผลตอบแทน, ข้อได้เปรียบ. vi. มีกำไร, ได้ประโยชน์, ได้เปรียบเทียบ, เอื้อผล, มีผลดี., See also: profiter n., Syn. return |
profitable | (พรอฟ'ฟิทะเบิล) adj. ให้ผลกำไร, ได้ผลประโยชน์, มีประโยชน์., See also: profitabiliby n. profitableness n. profitably adv. |
reciprocity | (เรสซะพรอส'ซิที) n. ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน, การแลกเปลี่ยน, การแลกแลกเปลี่ยนผลประโยชน์, Syn. mutuality |
sake | (เซค) n. ผลประโยชน์, ความเห็นแก่.....วัตถุประสงค์, จุดมุ่งหมาย, มูลเหตุ, เหตุ, เหล้าสาเกของญี่ปุ่นทำจากข้าว., Syn. motive, purpose, aim |
self | (เซลฟฺ) n. ตัวเอง, ตนเอง, ธาตุแท้, อาตมา, อัตตะ, เอกลักษณ์ของบุคคล, ผลประโยชน์ส่วนตัว, สภาพปกติ, สันดาน. adj.เหมือนกัน -pron. ตัวฉันเอง, ตัวเขาเอง, Syn. ego, psyche, identity |
self-interest | (เซลฟฺอิน'เทอริสทฺ) n. ผลประโยชน์ของตัวเอง, ประโยชน์ส่วน บุคคล, ความเห็นแก่ตัว., See also: self-interested adj. self-interestedness n. |
selfish | (เซลฟฺ'ฟิช) adj. เห็นแก่ตัว, เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง., See also: selfishly adv. selfishness n., Syn. self-interested |
selfless | (เซลฟฺ'ลิส) adj. ไม่เห็นแก่ตัว, ไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัว, ไม่คำนึงถึงตัวเอง., See also: selflessly adv. selflessness n. |
stake | (สเทด) n., vt. (วาง) เสาหลัก, เสาเข็ม, เสาหมุด, เสาบ้าน, หลัก, หมุด, หลักปักเขต, ทั่งไม้, เงินเดิมพัน, เงินรางวัล หรือผลประโยชน์ที่จะได้, ส่วนได้เสีย, การเสี่ยง, การแข่งม้า, หุ้นผลประโยชน์, การเผาทั้งเป็น vi. เล่นการพนันขันต่อ, พนัน, , See also: stakes n. เงินเดิมพัน |
usury | (ยู'ซะรี่) n.อัตราดอกเบี้ยที่สูงผิดปกติ, การให้กู้เงินในดอกเบี้ยที่สูงผิดปกต', ดอกเบี้ย, ผลประโยชน์., See also: usurious adj. |
utilitarian | (ยูทิลลิแท'เรียน) adj. ซึ่งถือผลประโยชน์เป็นสำคัญ n. ผู้ยึดถือลัทธิผลประโยชน์., Syn. pragmatic |
utilitarianism | (ยูทิลลิแท'เรียนนิสซึม) n. ลัทธิยึดถือผลประโยชน์เป็นสำคัญ |
utility | (ยูทิล'ลิที) n. ประโยชน์, ผลประโยชน์, การบริการสาธารณะ (เช่นรถเมล์ รถราง, รถไฟ, โทรศัพท์, ไฟฟ้า) , ปัจจัยที่เป็นประโยชน์, หลักการของลัทธิผลประโยชน์, adj. สำหรับใช้สอย (มากกว่าสำหรับการประดับตกแต่งให้สวยงาม), See also: utilities n. หุ้นหรือหลักทรัพย์ของทรัพ |