ผสมพันธุ์ | ก. สืบพันธุ์, คัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณภาพมาผสมกัน, ประสมพันธุ์ ก็ว่า. |
กรอก ๒ | (กฺรอก-) น. ชื่อนกยางขนาดเล็ก ในวงศ์ Ardeidae นอกฤดูผสมพันธุ์เพศผู้และเพศเมียสีลำตัวคล้ายกัน แต่ในฤดูผสมพันธุ์สีต่างกัน ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน [ Ardeola bacchus (Bonaparte) ] หัวสีนํ้าตาลแดง หลังสีเทาดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา [ A. speciosa (Horsfield) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย [ A. grayii (Sykes) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลาและสัตว์น้ำ. |
กระจาบ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก วงศ์ย่อย Ploceinae ในวงศ์ Ploceidae ปากหนารูปกรวย ปลายหางมน ขนหัวและขนตัวลาย ในฤดูผสมพันธุ์ขนหัวเพศผู้เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มี ๓ ชนิด คือ กระจาบธรรมดาหรือกระจาบอกเรียบ[ Ploceus philippinus (Linn.) ] กระจาบอกลาย [ P. manyar (Horsfield) ] ทำรังด้วยหญ้าหรือฟางข้าวห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรือต้นพืชน้ำเช่นกก ปากรังอยู่ด้านล่าง และกระจาบทอง [ P. hypoxanthu s (Sparrman) ] ทำรังด้วยหญ้าหรือฟางข้าวโอบหุ้มกิ่งไม้หรือใบพืชน้ำ ปากรังอยู่ทางด้านข้าง มักอยู่รวมกันเป็นหมู่ กินเมล็ดพืช. |
กระสา ๑ | ชื่อนกยางขนาดใหญ่ ในวงศ์ Ardeidae ปากยาว ปลายแหลม ฤดูผสมพันธุ์เพศผู้มีขนยาวบริเวณท้ายทอย ๒ เส้น คอยาว เวลาบินคอโค้งงอ ขายาว เล็บของนิ้วกลางที่หันไปข้างหน้าหยักคล้ายซี่หวี ทำรังด้วยกิ่งไม้บนยอดไม้สูงปานกลาง กินปลาและสัตว์น้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กระสานวล ( Ardea cinerea Linn.) กระสาแดง ( A. purpurea Linn.) และกระสาใหญ่ ( A. sumatrana Raffles). |
กล้าย | (กฺล้าย) น. ชื่อกล้วยลูกผสมพันธุ์หนึ่งในสกุล Musa วงศ์ Musaceae ผลใหญ่โค้ง เป็นเหลี่ยมและยาวกว่ากล้วยหอม เปลือกหนา เนื้อเหนียว ไส้แข็งสีส้ม รสหวาน นิยมกินเมื่อทำให้สุกแล้ว, กล้วยกล้าย ก็เรียก. |
กวางป่า | น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor Kerr ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในหมู่กวางในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนงข้างละ ๓ กิ่ง ผลัดเขาปีละครั้ง มักแยกอยู่ตามลำพังยกเว้นฤดูผสมพันธุ์จึงจะรวมกลุ่ม กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน, กวางม้า ก็เรียก. |
ไก่บ้าน | น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus (Linn.) ในวงศ์ Phasianidae เป็นไก่ที่มีสายพันธุ์มาจากไก่ป่า แตกต่างจากไก่ป่าที่ขนลำตัวมีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีดำ ขาว น้ำตาลอมแดง มีแข้งสีแตกต่างกัน เช่น สีเหลือง ขาว โดยที่ไก่ป่ามีสีเทาเข้ม เนื่องจากการคัดและผสมพันธุ์ทำให้มีสายพันธุ์แตกต่างกันมาก เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหาร. |
ขัน ๓ | ก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่. |
คางคกไฟ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo parvus Boulenger ในวงศ์ Bufonidae ขนาดลำตัวเล็กที่สุดในกลุ่มคางคกที่พบในประเทศไทย บนหัวมีเส้นนูนเป็นสันโค้งตามความยาวของหัวคล้ายวงเล็บ ๒ เส้น ในช่วงฤดูผสมพันธุ์เพศผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมีผู้เรียกว่า คางคกไฟ, คางคกหัวจีบ ก็เรียก. |
โคร่ง ๑ | (โคฺร่ง) น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris (Linn.) ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดำตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลำพังตัวเดียว ยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้า, ลายพาดกลอน ก็เรียก. |
เงือก ๓ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Bucerotidae ปากใหญ่ บนส่วนท้ายของขากรรไกรบนมีโหนกแข็ง ส่วนใหญ่ภายในโหนกแข็งกลวง ยกเว้นบางชนิดมีโหนกแข็งตัน เช่น นกชนหิน ส่วนใหญ่ลำตัวสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์อยู่รวมกันเป็นฝูง ขณะบินมีเสียงดัง ระยะเริ่มตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหาร ดิน และมูลปิดปากโพรงด้านใน ตัวผู้ใช้วัสดุเดียวกันปิดปากโพรงทางด้านนอก เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะที่ตัวเมียฟักไข่และเลี้ยงลูกได้ ร้องเสียงดังมาก กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เงือกกรามช้าง [ Rhyticeros undulatus (Shaw) ] เงือกหัวแรด ( Buceros rhinoceros Linn.) เงือกสีน้ำตาล [ Ptilolaemus tickelli (Blyth) ] เงือกดำ [ Anthracoceros malayanus (Raffles) ]. |
เต่าหวาย | น. ชื่อเต่านํ้าจืดขนาดใหญ่ชนิด Heosemys grandis (Gray) ในวงศ์ Emydidae หัวสีน้ำตาลมีลายจุดสีส้ม กระดองสีนํ้าตาลแดงอาศัยอยู่บนบกใกล้บึงและแม่นํ้าลำคลอง ผสมพันธุ์ในน้ำ ปัจจุบันพบน้อยในถิ่นธรรมชาติ. |
ประสมพันธุ์ | ก. ผสมพันธุ์. |
ปากห่าง | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Anastomus oscitans (Boddaert) ในวงศ์ Ciconiidae ปากหนาแหลมตรง ขากรรไกรทั้งสองเมื่อประกบกันส่วนกลางไม่ชิดกัน ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการคาบเหยื่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหอยโข่ง หอยเชอรี่ ลำตัวสีเทาอมขาว แต่จะเป็นสีเทาเข้มในช่วงฤดูผสมพันธุ์ มีจำนวนมากในภาคกลาง ประวัติเป็นนกอพยพมาจากประเทศอินเดียและบังกลาเทศ ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นนกประจำถิ่น. |
เป็ดน้ำ | น. ชื่อนกน้ำขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Anatidae และ Dendrocygnidae ปากแบน มีพังผืดนิ้วแบบตีนพัด ว่ายน้ำเก่ง บางชนิดดำน้ำได้ บินได้เร็ว มักอยู่เป็นฝูง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มักมีขนสีสวยกว่าตัวเมีย แต่นอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีอาจสีสันเหมือนหรือคล้ายตัวเมีย กินพืชและสัตว์น้ำ, ในวงศ์ Anatidae เช่น เป็ดหอมหรือเป็ดหางแหลม ( Anas acutaLinn.) เป็ดแมนดาริน [ Aix galericulata (Linn.) ] เป็ดคับแค [ Nettapus coromandelianus (Gmelin) ] เป็ดดำหัวดำ [ Aythya baeri (Radde) ] และ ในวงศ์ Dendrocygnidae คือ เป็ดแดง [ Dendrocygna javanica (Horsfield) ]. |
เป็ดหงส์ | น. ชื่อนกเป็ดนํ้าขนาดใหญ่ชนิด Sarkidiornis melanotos (Pennant) วงศ์ย่อย Anatinae ในวงศ์ Anatidae หัว คอ อก และท้องสีขาวประดำ ปีกสีเขียวเป็นมัน ตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มีหงอนอยู่เหนือขากรรไกรบน ตัวเมียขนาดเล็กกว่าตัวผู้และสีหม่นกว่า อาศัยอยู่ทั้งในแหล่งน้ำทั่วไป และลำธารในป่า ทำรังตามโพรงไม้. |
เปีย ๒ | ชื่อเป็ดขนาดกลาง ในวงศ์ Anatidae มี ๒ ชนิด คือ เป็ดเปีย [ Aythya fuligula (Linn.) ] ตัวผู้สีเทาดำ ท้องสีขาว ตัวเมียสีน้ำตาลเข้ม ท้องสีน้ำตาล และเป็ดเปียหน้าเขียว ( Anas falcataGeorgi) ตัวผู้มีหลายสี หน้าสีเขียว ตัวเมียสีออกน้ำตาล หน้าสีเขียว, ทั้งนกยางเปียและเป็ดเปียมีขนยาวออกจากท้ายทอย ๒-๓ เส้นหรือมากกว่า ลักษณะคล้ายผมเปียของคน เฉพาะนกยางเปียมีขนยาวดังกล่าวเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์. |
ผสมเทียม | ก. ผสมพันธุ์ด้วยวิธีฉีดนํ้าอสุจิเข้าอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีหรือสัตว์ตัวเมียโดยไม่ได้ร่วมสัมพันธ์ทางเพศกัน. |
พ่อพันธุ์ | น. สัตว์ตัวผู้ที่ใช้ผสมพันธุ์. |
มดแดง | น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina (Fabricius) ในวงศ์ Formicidae มดงานลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอดรวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทำรังอยู่ตามต้นไม้ เช่น มะม่วง ขนุน โดยใช้ใบมาห่อเข้าด้วยกัน ขณะถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยกัดให้เกิดแผลแล้วปล่อยกรดออกมาทำให้ปวดแสบปวดร้อน เพศเมียที่มีปีก เรียก แม่เป้ง ลำตัวยาว ๑.๕-๑.๘ เซนติเมตร สีเขียวปนน้ำตาล ปีกใสสีน้ำตาล เมื่อผสมพันธุ์แล้วทำหน้าที่วางไข่เพียงอย่างเดียวเป็นมดนางพญา, มดส้ม ก็เรียก. |
ม้าน้ำ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Hippocampus วงศ์ Syngnathidae ลำตัวหนา หัวพับเข้าหาลำตัว ปากเป็นท่อยาว ทำให้ส่วนหัวดูคล้ายม้า ส่วนหางเรียวยาว ม้วนได้ ไม่มีครีบหาง ครีบหลังอยู่ตรงข้ามครีบก้นที่มีขนาดเล็กมาก มีครีบอกแต่ไม่มีครีบท้อง ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นปล้องตลอดทั้งตัวสีนํ้าตาล บางชนิดคาดด้วยแถบสีเข้มกว่าหรือมีจุดสีดำที่บางส่วนของลำตัว พบอาศัยตามแนวหินปะการังและสาหร่ายทะเล โดยทรงตัวในแนวตั้งและอาจใช้ส่วนหางพันยึดวัตถุใต้นํ้า หลังผสมพันธุ์ ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่ซึ่งเก็บไว้ในถุงหน้าท้อง ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
เม่า ๒ | น. เรียกปลวกทุกชนิดในระยะที่มีปีกเพื่อบินออกผสมพันธุ์ ลำตัวขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด ยาวตั้งแต่ ๐.๕-๒.๗ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ยาวกว่าลำตัว เหมือนกันทั้งรูปทรงและเส้นปีก เมื่อพับปีก ปีกจะแบนราบไปตามลำตัวด้านหลัง เมื่อผสมพันธุ์แล้วสลัดปีกและเฉพาะตัวเมียจะไปสร้างรังใหม่ ว่า แมลงเม่า. |
แมลงวันทอง | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Tephritidae รูปร่างคล้ายแมลงวันแต่ลำตัวเรียวกว่า อกและท้องสีน้ำตาลแก่มีแต้มสีเหลืองหรือส้มแตกต่างกันตามชนิด โดยรวมแล้วมองดูคล้ายสีทอง หลังผสมพันธุ์เพศเมียเจาะเปลือกผลไม้เพื่อวางไข่ เมื่อฟักเป็นตัวหนอนทำลายผลไม้ ตัวเต็มวัยพบตอมอยู่ตามดอกไม้บางชนิด เช่น เดหลีใบกล้วย [ Spathiphyllum cannifolium (Dryand) ] ที่พบมากคือ ชนิด Bactrocera dorsalis (Hendel) ตัวหนอนทำลายผลไม้ เช่น มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ พุทรา, แมลงวันผลไม้ ก็เรียก. |
ยางโทน | น. ชื่อนกยางขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ Ardeidae ลำตัวสีขาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้ กินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนใหญ่ [ Egretta alba (Linn.) ] ตัวขนาดใหญ่ ช่วงฤดูผสมพันธุ์ปากสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์ปากสีเหลือง และยางโทนน้อย [ E. intermedia (Wagler) ] ตัวขนาดกลาง ปากสีเหลืองตอนปลายดำ. |
ยูง ๑ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Pavo muticus Linn. ในวงศ์ Phasianidae หงอนขนบนหัวเป็นกระจุก หนังข้างแก้มสีเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดถึงปลายหางสีเขียว ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีขนคลุมโคนขนหางด้านบนยื่นยาวและมีแวว เพื่อใช้รำแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ปรกติใกล้ลำธารที่มีหาดทราย มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า ทำรังแบบง่าย ๆ ตามพื้นดิน กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ยูงใต้ (P.m. muticus Linn.) และยูงเหนือ (P.m. imperator Delacour), ยูงไทย ก็เรียก. |
ฤดู | (รึ-) น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กำหนดสำหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดูถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์ |
ลูกประสม | น. ต้นไม้หรือสัตว์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ต่างชนิดกัน, ลูกผสม ก็ว่า. |
ลูกผสม | น. ต้นไม้หรือสัตว์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ต่างชนิดกัน เช่น กล้วยไม้ลูกผสม สุนัขลูกผสม, ลูกประสม ก็ว่า. |
ลูกหมาก ๑ | ส่วนใกล้โคนลึงค์สุนัขตัวผู้ที่พองขึ้นได้เพื่อให้ยึดติดกับอวัยวะเพศของตัวเมียในขณะผสมพันธุ์ ซึ่งเรียกว่า ติดเก้ง. |
ลูกสังกะสี | น. ชื่อปลากัดที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกหม้อหรือปลากัดหม้อกับปลากัดลูกป่าหรือปลากัดป่าหรือปลาป่าซึ่งต่างก็เป็นชนิด Betta splendens Regan ในวงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกัน ปลากัดพันธุ์นี้มีสีลำตัวและครีบออกแดง รูปร่างก้ำกึ่งระหว่างพันธุ์ทั้งสองเนื่องจากไม่มีคุณสมบัติด้านความทะมัดทะแมงและสีสันตลอดจนชั้นเชิงการต่อสู้ จึงไม่ค่อยนิยมเลี้ยงกัน. |
แว่น ๔ | น. ชื่อนกขนาดกลาง ในวงศ์ Phasianidae ตัวสีน้ำตาลหรือเทา มีแววที่ปีกและหาง ตัวผู้มีเดือยที่แข้งมากกว่า ๑ เดือย ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะรำแพนปีกและหางใต้ตัวเมียสนใจ ทำรังตามพื้นดิน กินแมลง สัตว์ขนาดเล็ก และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ แว่นสีเทาหรือแว่นเหนือ [ Polyplectron bicalcaratum (Linn.) ] และแว่นสีน้ำตาลหรือแว่นใต้ [ P. malacense (Scopoli) ]. |
สงกรานต์ ๒ | (-กฺราน) น. สัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ชั้น Polychaeta ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์ ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์. |
หว้า ๒ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Argusianus argus (Linn.) ในวงศ์ Phasianidae หนังบริเวณใบหน้าและคอสีฟ้าตัวสีน้ำตาลตัวผู้หางยาว ขนที่ปีกมีแวว ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะรำแพนปีกเกี้ยวตัวเมียโดยสร้างอาณาเขตเดินเป็นวงกลม กว้าง ๒-๓ เมตร เรียกว่า ลานนกหว้า ทำรังแบบง่าย ๆ ตามพื้นดิน กินเมล็ดพืช ผลไม้ และแมลง. |
อีโก้ง | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Porphyrio porphyrio (Linn.) ในวงศ์ Rallidae ลำตัวสีม่วงเหลือบนํ้าเงิน ขนหางด้านล่างสีขาว ช่วงฤดูผสมพันธุ์มีกะบังหน้าผากสีแดงชัดเจน ทำรังแบบง่าย ๆ บนพืชลอยนํ้า หากินพืชและสัตว์เล็ก ๆ ตามบริเวณนั้น. |
อีลุ้ม ๑ | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Gallicrex cinerea (Gmelin) ในวงศ์ Rallidae ขาค่อนข้างยาว นิ้วยาว ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้สีน้ำตาลอมดำ กะบังหน้าผากสีแดง ตัวเมียสีนํ้าตาล ไม่มีกะบัง นอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนคล้ายกันเป็นสีน้ำตาล อาศัยและหากินตามทุ่งนาและแหล่งน้ำทุกภาค ทำรังตามซุ้มกอหญ้า กินพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ. |
Fertilization of plants by insects | การผสมพันธุ์พืชโดยแมลง [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Sterile Insect Technique | เทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน, เอสไอที, การควบคุมประชากรแมลงโดยปล่อยแมลงชนิดเดียวกันที่ทำให้เป็นหมันด้วยรังสีไปในธรรมชาติ จำนวนมากต่อเนื่องกันหลายรุ่น เมื่อแมลงตัวเมียผสมพันธุ์กับแมลงตัวผู้ที่เป็นหมันจะไม่สามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้ ซึ่งทำให้ประชากรแมลงค่อยๆ ลดลง วิธีการนี้ ไม่ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ และไม่มีสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม [นิวเคลียร์] |
Radiation sterilization in insects | การทำหมันแมลงด้วยรังสี, การฉายรังสีแมลงในระยะใดๆ ของการเจริญเติบโต เพื่อทำให้เป็นหมัน โดยแมลงตัวเมียไม่สามารถผลิตไข่ หรือตัวผู้ไม่สามารถสร้างสเปิร์ม หรือสเปิร์มไม่แข็งแรงไม่สามารถผสมกับไข่ได้ หรือแมลงไม่สามารถจับคู่ผสมพันธุ์ได้ หรือไข่ที่ปฏิสนธิแล้วไม่ฟักออกเป็นตัว เนื่องจากการกลายของเซลล์สืบพันธุ์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิด ระยะการเจริญเติบโตของแมลง และปริมาณรังสีที่ใช้ <br>(ดู sterile insect technique (SIT) ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Radiation induced F1-sterility | การชักนำให้เป็นหมันในรุ่นลูกด้วยรังสี, การใช้รังสีชักนำให้แมลงศัตรูพืชในกลุ่มผีเสื้อเป็นหมันแบบไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะถ่ายทอดความเป็นหมันแบบสมบูรณ์ในรุ่นลูก โดยไม่ทำให้พฤติกรรมและความสามารถในการผสมพันธุ์เสียไป ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมประชากรแมลงอีกวิธีหนึ่ง <br>วิธีการนี้ประสบความสำเร็จใน หนอนเจาะสมอฝ้ายสีชมพู (pink bollworm) และหนอนทำลายแอปเปิล (codling moth) โดยใช้รังสีแกมมาที่ปริมาณ 80-200 เกรย์ </br> <br> (ดู sterile insect technique ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] |
sterile insect technique | การควบคุมจำนวนแมลงด้วยแมลงที่เป็นหมัน, คือ วิธีการควบคุมประชากรแมลง โดยใช้แมลงชนิดเดียวกันที่เป็นหมันด้วยรังสี โดยมีหลักการคือ นำแมลงม ทำให้เป็นหมันด้วยรังสีชนิดก่อไอออน แล้วปล่อยไปในธรรมชาติ แมลงตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์กับแมลงตัวผู้ที่เป็นหมัน จะไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้ การควบคุมแมลงวิธีนี้ จะต้องปล่อยแมลงที่เป็นหมันจำนวนมากหลายรุ่นต่อเนื่องกัน จนกว่าประชากรแมลงลดลงหรือหมดไป ข้อดีของวิธีการนี้เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการใช้ยาฆ่าแมลง คือ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลิตผลการเกษตร และไม่ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ ประเทศไทยมีการใช้วิธีการนี้ควบคุมแมลงวันผลไม้ (Oriental fruit fly) ที่ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา [พลังงาน] |
Breeding | การผสมพันธุ์สัตว์, การปรับปรุงพันธุ์ [การแพทย์] |
Coupulatory | การผสมพันธุ์ [การแพทย์] |
Courtship | การเกี้ยวพาราสี, การผสมพันธุ์ [การแพทย์] |
Egg, Fertile | ไข่ที่ผสมพันธุ์แล้ว [การแพทย์] |
Fertilization | การทำให้มีลูก, การปฏิสนธิ, ระยะผสม, การผสมพันธุ์, การผสมเชื้อ [การแพทย์] |
Fertilized Ovum | ไข่ที่ถูกผสมแล้ว, ไข่เมื่อผสมแล้ว, ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้ว, ไข่ที่ผสมพันธุ์แล้ว [การแพทย์] |
Fertilizing Capacity | ความสามารถในการผสมพันธุ์ได้ [การแพทย์] |
stigma | ยอดเกสรเพศเมีย, ส่วนบนสุดของเกสรเพศเมีย เป็นที่รองรับละอองเรณูทำให้เกิดการผสมพันธุ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
backcross | ผสมกลับ, การผสมพันธุ์โดยใช้พ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ที่มีลักษณะด้อยผสมกับรุ่นต่อ ๆ ไปของพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์เดิมนั้นเอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
artificial selection | การคัดเลือกของมนุษย์, กระบวนการที่มนุษย์ผสมพันธุ์และเลี้ยงสิ่งมีชีวิตให้มีลักษณะตามที่ต้องการ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
inbreeding | การผสมพันธุ์ในพวก, การผสมพันธุ์ในระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีพ่อแม่เดียวกัน หรือเชื้อวงศ์ใกล้ชิดกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sterilization | การทำไร้เชื้อ, การทำหมัน, 1.การทำไร้เชื้อ: การฆ่าเชื้อโรคด้วยการใช้ความร้อนภายใต้ความดันสูงในระยะเวลาพอเหมาะเพื่อทำลายจุลินทรีย์และสปอร์ทั้งหมด 2.การทำหมัน: การทำให้เซลล์สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตไม่สามารถเข้าผสมพันธุ์กันได้ เช่น โดยการตัดอวัยวะที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ทิ้งไปหรือกั้นทาง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Insemination during Ejaculation, Direct | การผสมพันธุ์โดยตรงภายหลังที่ฝ่ายชายหลั่งน้ำกาม [การแพทย์] |
Insemination, Direct | การผสมพันธุ์โดยตรง การผสมพันธุ์โดยตรง [การแพทย์] |
breed | (vi) ผสมพันธุ์, See also: เลี้ยง, ต่อพันธุ์ |
breeder | (n) ผสมพันธุ์สัตว์ |
breeding | (n) การผสมพันธุ์สัตว์เพื่อขยายพันธุ์ |
estrus | (n) ช่วงที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศเมียมีความต้องการทางเพศ (ซึ่งอยู่ในช่วงที่สัตว์หาคู่ผสมพันธุ์), Syn. oestrus |
fancier | (n) ผู้ผสมพันธุ์พืชหรือสัตว์ |
fertilise | (vt) ผสมพันธุ์, See also: ผสมเทียม |
fertilization | (n) การผสมพันธุ์, See also: การทำให้เกิดผล, Syn. insemination, impregnation, implantation |
fertilize | (vt) ผสมพันธุ์, See also: ผสมเทียม |
homogamy | (n) การผสมพันธุ์ระหว่างสัตว์หรือพืชที่มีลักษณะเดียวกัน |
inbreed | (vt) ผสมพันธุ์กับผู้มเชื้อสายใกล้เคียงกันมาก (ทางพันธุกรรม) |
inbreed | (vi) ผสมพันธุ์กับผู้มีเชื้อสายใกล้เคียงกันมาก (ทางพันธุกรรม) |
insemination | (n) การผสมเทียม, See also: การผสมพันธุ์ |
interbreed | (vt) ทำให้ผสมพันธุ์กันระหว่างสัตว์ต่างสายพันธุ์ |
interbreed | (vi) ผสมพันธุ์ระหว่างสัตว์ต่างสายพันธุ์ |
mate with | (phrv) ผสมพันธุ์กับ |
mate | (n) คู่ผสมพันธุ์ (สัตว์) |
mate | (vt) จับคู่ผสมพันธุ์ |
mate | (vi) จับคู่ผสมพันธุ์ |
pair | (n) คู่แต่งงาน, See also: คู่ผสมพันธุ์, Syn. husband and wife |
parthenogenesis | (n) การสืบพันธุ์ที่ไข่เพศเมียไม่ได้ผสมพันธุ์กับอสุจิของเพศผู้, Syn. virgin birth |
stockbreeder | (n) ผู้ผสมพันธุ์สัตว์ |
xenogamous | (n) เกี่ยวกับการผสมพันธุ์ต่างสายพันธุ์ |
xanthan gum | (n) การผสมพันธุ์ต้นไม้ต่างพันธุ์กัน |
allogamy | (อะลอก' กะมี) n. การผสมพันธุ์ของดอกไม้ต่างชนิด. -allogamous adj. |
amphimictic | (al) (แอมฟิมิค' ทิคัล) adj. ซึ่งผสมพันธุ์กันอย่างเสรี แต่พันธุ์รุ่นหลังจะแพร่พันธุ์กันมากขึ้น |
amphimixis | (แอมฟิมิค' ซิส) n., (pl. -mixes) n. การรวมตัวกันของเซลล์เพศ (ในขบวนการผสมพันธุ์กันแบบใช้เพศ) , การร่วมกันของเซลล์เพศพ่อและเซลล์เพศแม่ |
breeder | (บรีด'เดอะ) n. คนผสมพันธุ์พืชหรือสัตว์, สัตว์หรือพืชที่ออกลูก, คนเลี้ยง, คนอบรม, Syn. originator |
broodmare | n. ม้าตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ |
fancier | (แฟน'ซีเออะ) n. ผู้คลั่งไคล้, ผู้หลง, ผู้ติด, นักผสมพันธุ์พืชหรือสัตว์, Syn. expert |
fertilise | (เฟอ'ทะไลซ) vt. ผสมพันธุ์, ทำให้มีลูก, ทำให้เกิดผล, ทำให้ที่ดินอุดมสมบูรณ์, See also: fertilizable, fertilisable adj. |
fertilization | (เฟอทะไลเซ'เชิน) n. การผสมพันธุ์, การทำให้มีลูก, การทำให้เกิดผล, การทำให้ดินอุดมสมบูรณ์, ความอุดมสมบูรณ์., Syn. fertilisation, fecundation |
fertilize | (เฟอ'ทะไลซ) vt. ผสมพันธุ์, ทำให้มีลูก, ทำให้เกิดผล, ทำให้ที่ดินอุดมสมบูรณ์, See also: fertilizable, fertilisable adj. |
gamogenesis | การผสมพันธุ์ทางเพศ, See also: gamogenetic, gamogenetical adj. |
grade | (เกรด) n. ชั้น, ระดับ, ขั้น, ขีด, ตอน, ชนิด., See also: grades n. โรงเรียนประถม, การเอียงลาด, พันธ์ผสม vt. แบ่งออกเป็นขั้น ๆ, แบ่งออกเป็นชนิด, ทำให้ราบ, ผสมพันธุ์. vi. กลายเป็นขั้นเป็นระดับ, Syn. step, slope, rank |
inbred | (อิน' เบรด) adj. ตั้งแต่เกิด, แต่แรกเกิด, โดยกำเนิด, ตั้งแต่ดั้งเดิม, เป็นของท้องถิ่น, เกี่ยวกับการผสมพันธุ์โดยเชื้อสายที่ใกล้ชิด, Syn. innate |
inbreed | (อิน' บรีด) vt. ผสมพันธุ์ด้วยเชื้อสายที่ใกล้ชิด, ผสมพันธุ์จากพ่อแม่ที่มีเชื้อสายโลหิตเดียวกัน, See also: inbreeding n., Syn. breed |
interbreed | (อินเทอบรีด') v. ทำให้ผสมพันธุ์กันระหว่างพันธุ์ต่าง ๆ , ทำให้ผสมพันธุ์กัน. ภาวะเชิงโต้ตอบหมายถึง ภาวะการตอบโต้อย่างทันทีทันควัน เช่น การพิมพ์ป้อนโปรแกรมภาษาเบสิกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าพิมพ์ผิด ก็จะมีรายงานบนจอภาพทันที ผิดกับการใช้โปรแกรมบางภาษาที่ไม่สามารถโต้ตอบได้ ต้องรอจนจบโปรแกรมก่อน จึงจะโต้ตอบ หรือรายงานข้อผิดพลาด หรือหาผลลัพธ์ ให้คำตอบได้ |
mate | (เมท) n. เพื่อน, สามีหรือภรรยา, เพื่อนร่วม (สำนัก, โรงเรียน, บ้านหรืออื่น ๆ) , หนึ่งในสัตว์ตัวผู้ตัวเมียคู่หนึ่ง, ผู้ช่วยจ่านายสิบทหารเรือ, ผู้ช่วยนายเรือ. v. ร่วม, ร่วมคู่, แต่งงาน, สมรส, ผสมพันธุ์, เป็นเพื่อน, See also: mateship n. |
milter | (มิล'เทอะ) n. ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์ |
miscegenation | (-ซิจะเน'เชิน) n.การสมรสระหว่างหญิงชายที่มีเชื้อชาติต่างกัน, การผสมพันธุ์ระหว่างเชื้อชาติ, See also: miscegenetic adj. |
mongrel | (มัง'เกริล) n. สัตว์หรือพืชที่เป็นพันธุ์ผสม, การผสมพันธุ์ต่างชนิดกัน สุนัขพันธุ์ผสม. adj. เกี่ยวกับพันธุ์ผสมหรือพันทาง., See also: mongrelism, mongrelness n., Syn. mixed, hybrid |
monogamy | (มะนอก'กะมี) n. การมีคู่สมรสคนเดียว, (สัตว์) การผสมพันธุ์กับตัวผู้หรือตัวเมียตัวเดียว, การแต่งงานเพียงครั้งเดียวในชีวิต |
pairing season | n. ฤดูผสมพันธุ์ |
panmixia | n. การผสมพันธุ์ทั่วไป |
puberty | (พิว'เบอที) n. วัยที่เริ่มสามารถผสมพันธุ์ได้, วัยหนุ่มวัยสาว, See also: pubertal adj. |
rookery | (รุค'เคอรี) n. ฝูงอีกา, ที่ผสมพันธุ์ของอีกา, ที่นกชอบอยู่กันเป็นฝูง |
sanctuary | (แรงค'ชุเออรี) n. สถานที่ศักดิ์สิทธิ์, ปูชนียสถาน, ที่ลี้ภัย, ที่หลบภัย, สิทธิในการให้ที่หลบภัย (เช่นในสถานทูต) และมิอาจถูกจับกุมได้, ถ้ำสัตว์, ที่ที่สัตว์ป่าสามารถผสมพันธุ์และหลบภัยจากการถูกล่า โดยนายพราน, Syn. shrine |
serve | (เซิร์ฟว) vi., vt. รับใช้, บริการ, คอยรับใช้, ปรนนิบัติ, บริการอาหาร, ต้อนรับแขก, ให้ความช่วยเหลือ, ช่วยเหลือ, มีประโยชน์, อำนวย, ส่งเสริม, เหมาะกับ, ตอบแทน, ตอบรับ, ออกลูก, เสิร์ฟลูก, ชดใช้, แก้เผ็ด, แจกจ่าย, (สัตว์ตัวผู้) ผสมพันธุ์กับ, รับหน้าที่, สนองความต้องการ, ส่งหมายศาล, |
stallion | (สแทล'เยิน) n. ม้าตัวผู้โตเต็มที่ (โดยเฉพาะสำหรับผสมพันธุ์) |
unbred | (อันเบรด') adj. ไม่ได้รับการฝึกสอน, ไม่ได้รับการอบรม, ไม่ได้ผสมพันธุ์ |
xenogamy | (ซีนอก'กะมี) n. การผสมของพืชต่างต้นและต่างดอก, การผสมพันธุ์ต่างพันธุ์ |