ตีฝีปาก | ก. อวดแสดงคารม. |
ฝีปาก | น. คารมของผู้กล่าว, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระโอษฐ์. |
ริมฝีปาก | น. เนื้อส่วนที่เป็นขอบรอบปาก ส่วนบนเรียกว่า ริมฝีปากบน ส่วนล่างเรียกว่า ริมฝีปากล่าง มีเส้นขอบรอบที่เรียกว่า เส้นขอบริมฝีปาก. |
ลับปาก, ลับฝีปาก | ก. เตรียมตัวพูดหรือโต้เถียงเต็มที่ เช่น ลับปากไว้คอยท่า(ไชยเชฐ), พูดจาโต้ตอบคารมบ่อย ๆ จนคล่องแคล่ว. |
สู้ปาก, สู้ฝีปาก | ก. เถียงกัน เช่น สู้ปากเขาไม่ได้, สู้สีปาก ก็ว่า. |
กระหมุบกระหมิบ | ก. หมุบหมิบ, อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากกระหมุบกระหมิบ สวดมนต์กระหมุบกระหมิบ. |
กะปะ | น. ชื่องูพิษขนาดเล็กชนิด Calloselasma rhodostoma (Boie) ในวงศ์ Viperidae ตัวยาว ๕๐-๘๐ เซนติเมตร สีน้ำตาลอมแดงลายสีนํ้าตาลเข้ม บนหลังมีลายรูปสามเหลี่ยมสีนํ้าตาลแก่เรียงสลับเยื้องกันเป็นคู่ ๆ จมูกงอน ริมฝีปากเหลือง และมีแนวสีเหลืองพาดบนลูกตาถึงมุมปาก, ตัวที่มีสีคลํ้าเรียก งูปะบุก. |
ขมุบขมิบ | (ขะหฺมุบขะหฺมิบ) ก. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากขมุบขมิบ สวดมนต์ขมุบขมิบ, กระหมุบกระหมิบ หรือ หมุบหมิบ ก็ว่า. |
คารม | (-รม) น. ถ้อยคำที่คมคาย, ฝีปาก. |
โคราช | น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทำนองตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คำ ๓ คำกลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัสในการเล่นคำเล่นความให้สละสลวย บาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง. |
เจ้าคารม | น. ผู้มีฝีปากคมคาย. |
ชะมด ๒ | น. ชื่อกวางในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย ( Moschus moschiferus Linn.) กวางชะมดเขาสูง [ M. chrysogaster (Hodgson) ] กวางชะมดดำ ( M. Fuscus Li) และกวางชะมดป่า ( M. berezovskii Flerov) ไม่พบในประเทศไทยแต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. |
ทิ้งทวน | ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป |
เบญจกัลยาณี | ว. ที่มีลักษณะงาม ๕ ประการ คือ ๑. ผมงาม ๒. เนื้องาม (คือ เหงือกและริมฝีปากแดงงาม) ๓. ฟันงาม ๔. ผิวงาม ๕. วัยงาม (คือ งามสมวัย), เรียกหญิงที่มีลักษณะเช่นนั้น ว่า หญิงเบญจกัลยาณี. |
ประคารม | ก. ตีฝีปากกัน. |
ปากแบะ | น. ปากที่มีริมฝีปากล่างยื่นห้อยออกมามาก. |
ผิวปาก | ก. ห่อริมฝีปากให้แคบพอ แล้วเป่าลมออกให้เกิดเสียงตามที่ต้องการ. |
เม้มปาก | ก. ม้วนริมฝีปากเข้าข้างในแล้วกดกันไว้. |
ไม่ใช่เล่น | ว. เก่ง, พิเศษกว่าธรรมดา, เช่น ฝีปากไม่ใช่เล่น เด็กคนนี้ซนไม่ใช่เล่น. |
ยิงฟัน | ก. แยกริมฝีปากให้เห็นฟันขบกัน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แยกเขี้ยว เป็น แยกเขี้ยวยิงฟัน. |
ยิ้ม | ก. แสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ เยาะเย้ย หรือเกลียดชัง เป็นต้น ด้วยริมฝีปากและใบหน้า. |
แยกเขี้ยว | ก. เผยอริมฝีปากให้เห็นเขี้ยวด้วยอาการโกรธหรือขู่ เช่น เสือแยกเขี้ยว, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงพูดด้วยความโกรธหรือขู่. |
แย้ม | ก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย. |
ลิปสติก | น. เครื่องสำอางชนิดหนึ่งสำหรับทาริมฝีปากให้เป็นสีต่าง ๆ มักเป็นสีแดงหรือชมพู โดยมากทำเป็นแท่งเล็ก ๆ. |
เลีย | ก. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เลียริมฝีปาก หมาเลียแผล แมวเลียขน |
วาดปาก | ก. เอานิ้วมือป้ายสีผึ้งหรือใช้ลิปสติกลูบไล้ไปตามริมฝีปากให้ทั่ว. |
เวียน ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดบางชนิดในสกุล Tor วงศ์ Cyprinidae รูปร่างยาวคล้ายทรงกระบอก เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเทา ครีบทุกครีบสีน้ำเงิน ที่ส่วนกลางใต้ริมฝีปากล่างมีแผ่นเนื้อขนาดใหญ่ พบตามแหล่งนํ้าใหญ่และนํ้าใสไหลผ่านกรวดทราย ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, ยาด ก็เรียก. |
สมเสร็จ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Tapirus indicus Desmarest ในวงศ์ Tapiridae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ จมูกและริมฝีปากบนยื่นยาวออกมาคล้ายงวงยืดหดเข้าออกได้ ขนลำตัวตั้งแต่หัว คอ ไหล่ และขาหน้าสีดำ ขาหลังไปจดก้นสีดำ ส่วนที่เหลือกลางลำตัวตั้งแต่สันหลังลงมาถึงท้องมีสีขาว ขอบหูสีขาว หางสั้น ลูกเกิดใหม่ตัวมีลายสีขาวขาดเป็นท่อน ๆ ทอดไปตามความยาวลำตัว กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, ผสมเสร็จ ก็เรียก. |
สระ ๒ | (สะหฺระ) น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก |
สิงโตทะเล | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Otariidae มีใบหู มีหนวดเป็นเส้นหนาอยู่เหนือริมฝีปากบน ส่วนที่อยู่ตรงกลางสั้น สองข้างค่อนข้างยาว มีเขี้ยวยาวโค้งเล็กน้อยปลายแหลม ลำคอยาว ขาไม่มีขนปกคลุม นิ้วไม่มีเล็บ ขาคู่หน้ายาวแบนคล้ายใบพายและโบกไปมาช่วยในการยันตัวและว่ายน้ำ ขาคู่หลังสั้นตีนแบนช่วยในการเคลื่อนตัว กินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในเขตหนาว อาศัยอยู่ตามริมฝั่งทะเล มีหลายชนิด เช่น ชนิด Zalophus californianus (Lesson), Otaria byronia (Peters). |
เสียงสระ | น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, สระ ก็เรียก. |
หนวด | (หฺนวด) น. ขนที่ขึ้นเหนือริมฝีปากบนของคน, สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ ขึ้นตามบริเวณปากของสัตว์บางชนิด เช่น หนวดกุ้ง หนวดปลาหมึก หนวดแมว. |
หมี | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Ursidae ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินพืชและสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ หมีควาย [ Selenarctos thibetanus (G. Cuvier) ] ตัวใหญ่ ขนยาวดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปง่าม และหมีหมาหรือหมีคน [ Helarctos malayanus (Raffles) ] ตัวเล็กกว่าหมีควาย ขนสั้นดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า. |
หมุบหมิบ | ว. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากหมุบหมิบ สวดมนต์หมุบหมิบ, ขมุบขมิบ ก็ว่า. |
ห่อปาก | ก. ทำริมฝีปากให้รวบเข้าหากันเป็นช่องกลม. |
หุงขี้ผึ้ง | ก. เอาขี้ผึ้งแท้ผสมกับหัวกะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นต้นแล้วเคี่ยวกับใบเตยหรือดอกไม้บางชนิด เช่น ดอกมะลิ ดอกกระดังงา สำหรับใช้สีปากเพื่อกันน้ำหมากเลอะริมฝีปากหรือเพื่อป้องกันริมฝีปากแตก. |
แหยม | (แหฺยม) น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปาก ว่า หนวดแหยม. |
อมยิ้ม | ว. ยิ้มน้อย ๆ โดยไม่เผยอริมฝีปาก. |
อยู่หมัด | ก. เกรงกลัวฝีปากหรือฝีมือ, ยอมอยู่ในอำนาจ. |
อ่าน | สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ |
โอฐ | น. โอษฐ์, ริมฝีปาก |
โอษฐ-, โอษฐ์ | (โอดถะ-, โอด) น. ริมฝีปาก ในคำว่า โอษฐชะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ริมพระโอษฐ์ |
โอษฐชะ | น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดที่ริมฝีปาก ได้แก่พยัญชนะวรรค ป คือ ป ผ พ ภ ม และอักษร ว กับสระอุ อู. |
ฮิปโปโปเตมัส | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Hippopotamus amphibius Linn. ในวงศ์ Hippopotamidae หนังหนาสีนํ้าตาล มีขนนิ่มกระจายห่าง ๆ ริมฝีปากหนามีขนแข็งยาว ฟันหน้าและเขี้ยวยาวมาก จมูก หู และตาอยู่ตอนบนของหัวเพื่อช่วยในการมองและหายใจขณะอยู่ในน้ำได้ดี หางแบน หูและปลายหางด้านข้างมีขนแข็งยาว เหงื่อสีแดงเรื่อ ๆ หนักประมาณ ๒, ๐๐๐ กิโลกรัม ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำมากกว่าบนบก ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา. |
philtrum | ร่องริมฝีปากบน [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
pachycheilia | ริมฝีปากหนาเกิน [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
low lip line | แนวริมฝีปากต่ำ [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
lower lip | ริมฝีปากล่าง [สัทศาสตร์ ๘ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labio-cervical ridge | สันคอฟันด้านริมฝีปาก [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labio-dental; labio-dental sound | เสียงจากริมฝีปากกับฟัน [สัทศาสตร์ ๘ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labio-dental sound; labio-dental | เสียงจากริมฝีปากกับฟัน [สัทศาสตร์ ๘ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labial | -ริมฝีปาก, -แคม, -ขอบเปลือกตา [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
labial; bilabial; bilabial sound; labial sound | เสียงจากริมฝีปาก, โอษฐชะ [สัทศาสตร์ ๘ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labial embrasure | ช่องระหว่างฟันด้านริมฝีปาก [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labial frenum | เนื้อยึดริมฝีปาก [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labial gland | ต่อมน้ำลายริมฝีปาก [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labial groove | ร่องด้านริมฝีปาก [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labial ridge | สันด้านริมฝีปาก [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labial sound; bilabial; bilabial sound; labial | เสียงจากริมฝีปาก, โอษฐชะ [สัทศาสตร์ ๘ มี.ค. ๒๕๔๕] |
labial surface | ๑. ด้าน(ฟัน)ทางริมฝีปาก๒. พื้นผิว(ฟัน)ทางริมฝีปาก [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
rima oris; fissure, oral | ช่องหว่างริมฝีปาก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
oral fissure; rima oris | ช่องหว่างริมฝีปาก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
acheilia | สภาพไร้ริมฝีปากแต่กำเนิด [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bilabial; bilabial sound; labial; labial sound | เสียงจากริมฝีปาก, โอษฐชะ [สัทศาสตร์ ๘ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bilabial sound; bilabial; labial; labial sound | เสียงจากริมฝีปาก, โอษฐชะ [สัทศาสตร์ ๘ มี.ค. ๒๕๔๕] |
mucolabial fold | ส่วนทบเยื่อเมือกด้านริมฝีปาก [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
cheilitis | ริมฝีปากอักเสบ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
cheiloplasty | ศัลยกรรมตกแต่งริมฝีปาก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
cheilosis | ริมฝีปากอักเสบแตกเป็นร่อง [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
groove, labial | ร่องด้านริมฝีปาก [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
gingivolabial | -เหงือกและริมฝีปาก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
frenum, labial | เนื้อยึดริมฝีปาก [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
fissure, oral; rima oris | ช่องหว่างริมฝีปาก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
high lip line | แนวริมฝีปากยกสูง [ทันตแพทยศาสตร์๑๓ มี.ค. ๒๕๔๕] |
nasolabial | -จมูกร่วมริมฝีปาก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Lipreading | การอ่านริมฝีปาก [TU Subject Heading] |
Adhesion Type Procedure | เย็บส่วนล่างของริมฝีปากให้ติดกัน [การแพทย์] |
Angioneurotic Edema | โรคประสาทหลอดเลือด, แองจิโอนิวโรติกอีดีมา, แองจิโอนิวโรติคเอดีมา, ริมฝีปากบวม [การแพทย์] |
Cheilitis | ริมฝีปากอักเสบ, ริมฝีปากแตกและปวด [การแพทย์] |
Cheilosis | ริมฝีปากแตก, ปากและลิ้นแตกและอักเสบ, โรคปากนกกระจอก, การอักเสบของเยื่อบุริมฝีปาก [การแพทย์] |
Cleft of the Lip and Alveolus, Complete | ปากแหว่งตลอดริมฝีปากและเหงือก [การแพทย์] |
Cleft of the Lip and Alveolus, Complete | ปากแหว่งตลอดริมฝีปากและเหงือก [การแพทย์] |
Cleft of the Lip, Complete | ปากแหว่งตลอดริมฝีปาก [การแพทย์] |
Clypeus | จงอย, ฐานริมฝีปากบน [การแพทย์] |
Cyanosis | ซัยอะโนซิส;ตัวเขียว, ภาวะ;อาการเขียว;ผิวเขียวคล้ำ;ไซยาโนซีส;เขียวคล้ำ;ผิวหนังซีดเขียว;ภาวะเขียว;เขียวจากการขาดเลือด;อาการแสดงของการขาดออกซิเจน;ตัวเขียวคล้ำ;การขาดอ๊อกซิเจน;เขียวที่ริมฝีปากและปลายมือปลายเท้า;ผิวหนังเขียว;ผิวหนังมีสีคล้ำ;ตัวเขียวจากการขาดออกซิเจน [การแพทย์] |
Labial Frenum | สายเหนี่ยวริมฝีปาก [การแพทย์] |
Labial Glands | ต่อมเลเบียล, ด้านในของริมฝีปากบน [การแพทย์] |
Labium | ริมฝีปากล่าง [การแพทย์] |
Labrum | ริมฝีปากบน, ขอบ [การแพทย์] |
Labrum Epipharynx | ริมฝีปากบนรวมกับอีพิฟาริงค์ [การแพทย์] |
Lip | ริมฝีปาก [การแพทย์] |
Lip Diseases | ริมฝีปาก, โรค [การแพทย์] |
Lip Neoplasms | ริมฝีปาก, เนื้องอก [การแพทย์] |
Lip Smacking | ขยับริมฝีปาก [การแพทย์] |
Lip, Carcinoma of | มะเร็งที่ริมฝีปาก [การแพทย์] |
Lip, Lower | ริมฝีปากล่าง [การแพทย์] |
Lip, Upper | ริมฝีปากบน [การแพทย์] |
Lip, Upper, Atrophy of | ริมฝีปากบนเหี่ยวเล็กลง [การแพทย์] |
Lipreading | การสังเกตริมฝีปาก [การแพทย์] |
Mentalis | กล้ามเนื้อที่เกาะยึดคางทำหน้าที่ดึงริมฝีปากล่าง [การแพทย์] |
articulator | (อาร์ทิค'คิวเลเทอะ) n. ผู้ที่พูดหรือออกเสียงได้ชัดเจน, สิ่งที่มีเสียงที่ชัดเจน, อวัยวะที่ใช้สำหรับพูด (เช่น ลิ้น, ริมฝีปาก) |
eloquent | (เอล'ละเควินทฺ) adj. พูดคล่อง, มีคารมคมคาย, มีฝีปาก, ซึ่งโน้มน้าวจิตใจ, See also: eloquentness n. ดูeloquent |
labial | (เล'เบียล) adj. เกี่ยวกับริมฝีปาก, เป็นเสียงริมฝีปาก (เช่นการเป่าขลุ่ย) (เช่นเสียงp, v, m, w) . n. เสียงริมฝีปาก, พยัญชนะที่ออกเสียงด้วยริมฝีปาก., See also: labiality n. ดูlabial |
lip | (ลิพ) n. ฝีปาก, สิ่งหรือส่วนที่คล้ายริมฝีปาก, ขอบภาชนะ, ริม, การพูดทะลึ่งหรืออวดดี |
plausible | (พลอ'ซะเบิล) adj. เป็นไปได้, มีเหตุผล, พอฟังได้, น่าเชื่อถือได้, มีฝีปากดี, นิ่มนวล |
rouge | (รู'ฺ) n. เครื่องสำอางสีแดง, ชาดทาแก้มหรือฝีปากให้แดง, ผงสีแดงที่ใช้ขัดโลหะ (มักเป็นผงเฟอริคออกไซด์) vt. ทาสีแดงด้วยเครื่องสำอาง vi.ใช้เครื่องสำอางทาสีแดง, ใช้ผงขัดโลหะ |
spirant | (สไพ'เรินทฺ) n. เสียงเสียดสี, เสียงผ่านลิ้นกับฟันหรือฟันกับริมฝีปาก adj. เกี่ยวกับเสียงดังกล่าว |
utterance | (อัท'เทอะเรินซฺ) n. เสียงเปล่ง, คำพูด, สิ่งที่เปล่งออก, การเปล่งเสียง, การพูด, การกล่าวคำพูด, การร้อง, เสียงร้อง, ฝีปาก, คารม, ความเต็มที่, ระดับสูงสุด, ความตาย, Syn. expression, talk, speech, words, pronouncement |