กรด ๓ | อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้ (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูกต้นกรดไว้ริมท่า (กล่อมเด็ก). |
กระชอมดอก | น. ดอกเพศผู้ของพรรณไม้เลื้อย เช่น ฟักทอง บวบ ซึ่งเรียกกันว่า ดอกถวายพระ. |
กระดังงา | พรรณไม้ชนิดนี้มีพันธุ์หนึ่งเป็นไม้พุ่ม ดอกมักมีกลีบมากกว่า ๖ กลีบ หอมอ่อน เรียกว่า กระดังงาสงขลา [ Cananga odorata (Lam.) Hook. f. et Thomson var. fruticosa (Craib) J. Sinclair ]. |
กล้วยไม้ | น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Orchidaceae ลักษณะต้น ใบ และช่อดอกต่าง ๆ กัน บางชนิดเกาะตามต้นไม้และหิน บางชนิดขึ้นอยู่บนพื้นดิน บางชนิดมีดอกงาม บางชนิดมีกลิ่นหอม, พายัพเรียก เอื้อง. |
กะหลาป๋า ๒ | น. ชื่อชมพู่พันธุ์หนึ่งของชนิด Syzygium samarangense (Blume) Merr. et L. M. Perry ผลสีเขียว รสหวาน เรียกว่า ชมพู่กะหลาป๋า เป็นพรรณไม้ชวา. |
กะโหลก | เรียกพรรณไม้บางชนิด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ที่มีผลโต เนื้อหนากว่าปรกติ เช่น ลำไยกะโหลก ลิ้นจี่กะโหลก. |
กาด ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ บางชนิดใช้ใบ บางชนิดใช้หัวเป็นผัก เช่น ผักกาดกวางตุ้ง ( Brassica chinensis L.) ผักกาดขมหรือผักกาดเขียว ( B. juncea Czern. et Coss.) ผักกาดขาวหรือแป๊ะช่าย ( B. chinensis L. var. pekinensis Rupr.) ผักกาดหัวหรือไช้เท้า ( Raphanus sativus L.) ในวงศ์ Cruciferae, ผักกาดหอม ( Lactuca sativa L.) ในวงศ์ Compositae, ผักเหล่านี้เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร. |
กาฝาก ๑ | น. ชื่อพืชเบียนหลายชนิดในหลายวงศ์ที่อาศัยเกาะดูดนํ้าและแร่ธาตุ หรือสารอาหารที่สังเคราะห์แล้วจากพรรณไม้ที่อาศัย ส่วนใหญ่มักใช้เรียกไม้พุ่มที่อาศัยเกาะเบียนไม้ต้นชนิดต่าง ๆ ในวงศ์ Loranthaceae, Santalaceae และ Viscaceae. |
กาฬพฤกษ์ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia grandis L. f. ในวงศ์ Leguminosae ลำต้นดำ ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูก. |
กำกูน | น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เช่น คูนกำกูนกำยาน (ลอ), กำคูน ก็ว่า. |
กำลังช้างเผือก | น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดย่อยของชนิด Hiptage bengalensis (L.) Kurz ในวงศ์ Malpighiaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลมมน ขอบหยักตื้น ๆ ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวอมชมพู ชนิดย่อยแรก H. bengalensis (L.) Kurz subsp. bengalensisเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, โนรา ก็เรียก, และชนิดย่อยที่ ๒ H. bengalensis (L.) Kurz subsp. candicans (Hook. f.) Sirirugsa เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก, พญาช้างเผือก ก็เรียก. |
ข้าวบาร์เลย์ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hordeum vulgareL. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกกันบ้างในภาคเหนือ เมล็ดใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ และเป็นอาหารสัตว์. |
ข้าวไรย์ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Secale cereale L. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดใช้ทำอาหารและเลี้ยงสัตว์. |
ข้าวสาลี | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Triticum aestivum L. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดบดเป็นแป้ง เรียกว่า แป้งสาลี ใช้ทำขนมปังเป็นต้น. |
ข้าวโอ๊ต | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Avena sativaL. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดใช้เป็นอาหาร. |
ข้าวตอก ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Serissa japonica (Thunb.) Thunb. ในวงศ์ Rubiaceae ใบเล็กรูปไข่ เมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ดัดหรือไม้ประดับ. |
ขึ้นฉ่าย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Apium graveolens L. ในวงศ์ Umbelliferae ใบคล้ายผักชีแต่โตกว่า กลิ่นฉุน เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร. |
คอ | เรียกส่วนลำต้นของพรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด เช่น คอมะพร้าว คอตาล |
เครือ ๑ | (เคฺรือ) น. เถาไม้, เรียกพรรณไม้ที่เป็นเถา ว่า เครือ เช่น มะกลํ่าเครือ มะแว้งเครือ ขมิ้นเครือ |
จันทน์ | น. ชื่อพรรณไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ ดอก หรือผลหอม ใช้ทำยาและปรุงเครื่องหอม. |
จันทน์เทศ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Myristica fragrans Houtt. ในวงศ์ Myristicaceae รกหุ้มเมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเรียก ดอกจันทน์ เมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเช่นกัน เรียก ลูกจันทน์ ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออก. |
เฉาก๊วย | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง สีดำ ทำจากเมือกที่ได้จากการต้มเคี่ยวพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใส่แป้งลงไปผสม กวนให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้เย็น กินกับนํ้าหวานหรือใส่นํ้าตาลทรายแดง. |
ชรากากี | (ชะ-) น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง. |
ชะเอม | ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ชะเอมไทยหรือชะเอมป่า ( Albizia myriophylla Benth .) เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีรสหวาน ใช้ทำยาได้, ชะเอมเทศ ( Glycyrrhiza glabra L.) และ ชะเอมขาไก่ ( G. uralensis Fisch. ex DC.) เป็นไม้พุ่มต่างประเทศ รากมีรสหวานชุ่มคอ ใช้ทำยาได้. (ข. เฌีแอม ว่า ไม้หวาน). |
ชาตบุษย์ | (ชาดตะบุด) น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เช่น ชมนาดชาตบุษย์ พุดซ้อนพุทธรักษา (พรรณพฤกษา), ช้องนางช้างน้าวสายหยุด ช่อตะแบกชาตบุษย์ชูก้าน (รามเกียรติ ร. ๑). |
เชี่ยม | น. ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง. |
ดอกถวายพระ | น. ดอกเพศผู้ของพรรณไม้เลื้อย เช่น ฟักทอง บวบ, กระชอมดอก ก็เรียก. |
ตั้งโอ๋ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Chrysanthemum coronarium L. ในวงศ์ Compositae ใบเล็กหนา กลิ่นหอม กินได้ เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ, งาไซ ก็เรียก. |
ถั่ว ๑ | น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Leguminosae ใช้ฝักหรือเมล็ดเป็นอาหาร เช่น ถั่วเขียว [ Vigna radiata (L.) R. Wilczek ] ถั่วเหลืองหรือถั่วแระ [ Glycine max (L.) Merr. ]. |
เถาวัลย์ | น. พรรณไม้ที่เป็นเถา, พรรณไม้เลื้อย. |
ทอง ๒ | น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Butea วงศ์ Leguminosae ชนิด B. monosperma (Lam.) Taub. เป็นไม้ต้น ดอกสีแสด, ทองธรรมชาติ ก็เรียก, พายัพเรียก ทองกวาว, อีสานเรียก จาน |
นอน | ก. เอนตัวหรือทอดตัวลงกับพื้นหรือที่ใด ๆ เพื่อพักผ่อนเป็นต้น, อาการที่ทำให้ของสูง ๆ ทอดลง เช่น เอาเสานอนลง, อาการที่พรรณไม้บางชนิด เช่น จามจุรี ผักกระเฉด ไมยราบ หลุบใบในเวลาใกล้จะสิ้นแสงตะวัน. |
ไน ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Cyprinus carpio Linn. ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวรี แบนข้าง คล้ายปลาตะเพียน แต่ครีบหลังใหญ่และยาวกว่า ปากเล็ก ไม่มีฟัน มีหนวด ๒ คู่ เกล็ดใหญ่ขอบเรียบ บางสายพันธุ์อาจเป็นเพียงหย่อมเกล็ดหรือเกล็ดเล็กละเอียด มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่น สีเขียวอมเทา เงิน ทอง ส้ม เหลือง ดำคลํ้า หรือเป็นแต้มเป็นด่างดวงของสีเหล่านี้ วางไข่ติดไว้กับพรรณไม้นํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, หลีโก หรือ หลีฮื้อ ก็เรียก. |
ปรง | ชื่อพรรณไม้ในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือยหลายชนิดในสกุล Cycas วงศ์ Cycadaceae เป็นไม้ต้น ลำต้นรูปทรงกระบอก สีดำขรุขระ ใบเล็กยาวเรียงถี่ ๆ บนแกนกลาง เช่น ปรงญี่ปุ่น ( C. revolutaThunb.) ใบใช้ทำพวงหรีด ปรงเขา ( C. pectinataGriff.). |
ป่า | น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็นต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้น เช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า |
ป่าน | น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เปลือกเป็นใยเหนียว ใช้ทอผ้าและทำเชือก เช่น ป่านรามี [ Boehmeria nivea (L.) Gaudich. ] ในวงศ์ Urticaceae, ป่านมนิลา ( Musa textilis Née.) ในวงศ์ Musaceae |
พรรณ | ชนิด เช่น พรรณพืช พรรณไม้ พรรณสัตว์. |
พืช | พรรณไม้ที่งอกอยู่ตามที่ต่าง ๆ, พืชพรรณ ก็ใช้. |
พืชพรรณ | น. พรรณไม้ที่งอกอยู่ตามที่ต่าง ๆ. |
มเหาษธ ๒ | (มะเหาสด) น. ชื่อพรรณไม้ที่มีกลิ่นฉุน เช่น ขิง กระเทียม. |
มะกล่ำ | น. ชื่อพรรณไม้ ๓ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ มะกลํ่าตาช้างหรือมะกลํ่าต้น (Adenanthera pavoninaL.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ฝักแก่บิดเป็นวง เมล็ดแข็งสีแดง ใช้ทำยาได้, พายัพเรียก กํ่าต้น |
มะแว้ง | น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดในสกุล Solanum วงศ์ Solanaceae ที่เป็นไม้พุ่มเรียก มะแว้งต้น เช่น ชนิด S. sanitwongsei Craib, ที่เป็นเถาเรียก มะแว้งเครือ (S. trilobatum L.), ทั้ง ๒ ชนิดผลเล็กเป็นพวง กินได้ และใช้ทำยาได้, อีสานเรียก หมากแข้ง. |
ไม้ดัด | น. พรรณไม้ใหญ่ นิยมปลูกในกระถางและดัดกิ่งให้เป็นรูปต่าง ๆ ตามที่ต้องการ. |
ยมโดย | ชื่อพรรณไม้ในวรรณคดีมีกลิ่นหอม. |
ยอด | น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วนปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน |
ยางน่อง | น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ยิงสัตว์. |
โยทะกา ๒ | น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในวงศ์ Leguminosae ปลายใบเว้าลึกเป็น ๒ แฉก คือ ชนิด Bauhiniamonandra Kurz เป็นไม้ต้น ดอกสีขาวนวล มีลายสีชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆ และชนิด B. tomentosa L. เป็นไม้พุ่ม ดอกสีเหลือง ห้อยลง, ชงโคดอกเหลือง ก็เรียก. |
ส้ม ๒ | น. คำใช้ประกอบหน้าชื่อพรรณไม้และของกินที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มเช้า ส้มตำ ส้มฟัก. |
สวนป่า | น. บริเวณที่ปลูกพรรณไม้ทดแทนป่าที่ถูกทำลาย มักเป็นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ อาจปลูกไม้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ เพื่อใช้ไม้ทำเครื่องเรือน เยื่อกระดาษ หรืออนุรักษ์พรรณไม้ เป็นต้น เช่น สวนป่าสัก สวนป่าไม้ยาง. (อ. forest plantation) |
สวนป่า | สวนไม้ใบที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน มักเป็นพรรณไม้ที่มีค่า เช่น เฟิน ว่าน. |
กะโหลก | น.ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าวหรือตาลเป็นต้น เรียกว่า กะโหลกมะพร้าว กะโหลกตาล, ภาชนะที่ทำด้วยกะโหลกมะพร้าวโดยตัดทางตาออกพอเป็นช่องกว้างเพื่อใช้ตักน้ำ; กระดูกที่หุ้มมันสมอง; โดยปริยายหมายความถึงวัตถุที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กะโหลกหุ่นหัวโขน; เรียกพรรณไม้บางชนิด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ที่มีผลโต เนื้อหนากว่าปกติ เช่น ลำไยกะโหลก ลิ้นจี่กะโหลก, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ กระโหลก [คำที่มักเขียนผิด] |
Aquatic Plants | พรรณไม้น้ำ หรือพืชน้ำ, Example: หมายถึงพืชที่ขึ้นอยู่ในน้ำโดยอาจจะจมอยู่ใต้ น้ำทั้งหมด หรือโผล่บางส่วน ขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ ลอยอยู่ที่ผิวน้ำหรือเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมน้ำ ชายตลิ่ง นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงพืชที่เจริญเติบโตอยู่ในบริเวณที่ลุ่มน้ำขังแฉะอีกด้วย สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Microphytes และ Macrophytes [สิ่งแวดล้อม] |
Halophytes | พรรณไม้น้ำขนาดใหญ่, Example: เป็นพรรณไม้น้ำขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า และ ขึ้นในบริเวณแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม [สิ่งแวดล้อม] |
Limnophytes | พรรณไม้น้ำขนาดใหญ่, Example: พรรณไม้น้ำขนาดใหญ่ ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และขึ้นใน บริเวณแหล่งน้ำจืด สามารถจัดแบ่งประเภทตามลักษณะที่อยู่เป็น 4 ประเภท คือ Floating plants, Submerged plants, Emerged plants และ Marginal plants ดู Floating plants, Submerged plants, Emerged plants และ Marginal Plant [สิ่งแวดล้อม] |
Microphytes | พรรณไม้น้ำที่มีขนาดเล็กมาก, Example: พรรณไม้น้ำที่มีขนาดเล็กมากจนต้องดูด้วยกล้อง จุลทรรศน์ [สิ่งแวดล้อม] |
Macrophytes | พรรณไม้น้ำที่มีขนาดใหญ่, Example: พรรณไม้น้ำที่มีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วย ตาเปล่า สามารถจำแนก ตามแหล่งที่เกิดได้เป็น 2 ประเภท คือ Limnophytes และ Halophytes ดู Limnophytes และ Halophytes เพิ่มเติม [สิ่งแวดล้อม] |
Flora | ฟลอรา, พรรณไม้ประจำถิ่น, Example: พรรณพืชในบริเวณหรือยุคสมัยธรณีวิทยาหนึ่ง ๆ เช่น ฟอง หรือฝ้าไขโดยเกิดจากการอัดอากาศ [สิ่งแวดล้อม] |