46 Results for *พอจะ*
หรือค้นหา: พอจะ, -พอจะ-

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กินข้าวลิงก. กินสิ่งที่พอจะหาได้ เพราะไปตกอยู่ในที่ที่ไม่มีอาหารจะกิน เช่น ไปเที่ยวป่าคราวก่อน หลงทางอยู่นาน เกือบจะต้องกินข้าวลิงเสียแล้ว.
ไปวัดไปวาได้ว. มีรูปร่างหน้าตาดีพอจะอวดเขาได้.
พอไปได้ว. พอจะใช้ได้บ้าง เช่น ความรู้ของเขาพอไปได้.
ฟังขึ้นว. พอจะยึดถือได้ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เหตุผลฟังไม่ขึ้น.
ยาปนมัตน. อาหารที่พอจะให้ร่างกายดำรงอยู่ได้.
เสมอ ๑เพียง, แค่, เช่น ราคาของ ๔๐, ๐๐๐ บาท เห็นจะซื้อไม่ไหว เสมอสัก ๓๐, ๐๐๐ บาท ก็พอจะสู้ได้.
หายหัวก. หายไปนาน เช่น ใช้ให้ไปซื้อของใกล้ ๆ แค่นี้ หายหัวไปไหนมา, หายไป, หลบไป, เช่น พอจะใช้ให้ทำงานก็หายหัวไปเลย, (เป็นคำไม่สุภาพ).

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Instructional Mediaสื่อการเรียนการสอน, คำนี้นักการศึกษาบางท่านใช้คำว่า &quot;สื่อการเรียน&quot; เพราะเห็นว่าสื่อต่างๆ ที่เรานำมาใช้นั้นเพื่อการศึกษา หรือเพื่อช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่วนนักการศึกษาบางท่านจะใช้คำ &quot;สื่อการสอน&quot; เพราะเห็นว่าสื่อต่างๆ นั้น เป็นตัวถ่ายทอดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน<br />สื่อการเรียนการสอนนี้ ได้มีนักการศึกษาได้ให้ความหมาย หรือคำจำกัดความไว้หลายท่านด้วยกัน แต่พอจะสรุปความได้คือ &quot;สื่อการเรียนการสอน&quot; หมายถึง วัสดุ เครื่องมือ ตลอดจนถึงวิธีการต่างๆ ที่จะเป็นตัวช่วยถ่ายทอดความรู้ จากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน [เทคโนโลยีการศึกษา]
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving Stateในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต]
Diplomatic Expressionsถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต]
Great Powersประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ [การทูต]
Marshall Planแผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต]
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralismคำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต]
Regional Organizationsคือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต]
Death, Fatal, Immediateกระแสไฟฟ้าที่แรงพอจะทำให้เสียชีวิตโดยทันที [การแพทย์]
oil shaleหินน้ำมัน, หินที่เกิดจากการทับถมของซากพืชและซากสัตว์ในหนองบึงหรือทะเลสาบเป็นเวลานับล้านปี มีลักษณะเหมือนหินดินดานเนื้อละเอียดมีสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ ในเนื้อหินมีสารเคโรเจน ซึ่งเมื่อนำไปอบให้ร้อนพอจะได้น้ำมันออกมา เรียกว่า น้ำมันหิน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
พอจะ[phø ja] (x) FR: que l'on peut ; suffisant pour

Longdo Approved EN-TH
predictable(adj) ที่พอจะทำนายได้, พยากรณ์ได้

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
inaudible(adj) ซึ่งไม่ได้ยิน, See also: ที่ไม่ดังพอจะได้ยิน, Syn. unheard, Ant. audible, heard
presentable(adj) ซึ่งพอจะอวดได้, See also: ซึ่งเหมาะที่จะปรากฏตัวในที่สาธารณะ, ซึ่งเหมาะที่จะให้เป็นของขวัญได้, Syn. satisfactory
rival(n) ผู้ที่มีความสามารถทัดเทียมกัน, See also: สิ่งที่พอจะทัดเทียมกันได้

Hope Dictionary
admissible(แอดมิส' ซิเบิล) adj. พอจะรับไว้ได้, ยอมได้, Syn. proper, worthy, suitable
alternative(ออลเทอ' นะทิฟว) n. ทางเลือก, ของที่จะเลือก, วิธีการที่พอจะเลือกได้, อีกทางหนึ่ง, อีกวิธีการหนึ่ง. -adj. ซึ่งให้เลือกได้ระหว่างสอง (สิ่ง, วิธีการ) . -alternativeness, alternativity n., Syn. preference, alternate
breathing spacen. โอกาสพัก, โอกาสคิด, ที่ ๆ พอจะเดินทางหรือ ทำงานได้เพียงพอ
breathing spelln. โอกาสพัก, โอกาสคิด, ที่ ๆ พอจะเดินทางหรือ ทำงานได้เพียงพอ
civilizable(ซิฟ'วิไลซะเบิล) adj. พอจะอบรมให้มีอารยธรรมได้
collectable(คะเลค'ทะเบิล) adj. ซึ่งพอจะรวบรวมได้, ซึ่งพอจะเก็บได้
collectible(คะเลค'ทะเบิล) adj. ซึ่งพอจะรวบรวมได้, ซึ่งพอจะเก็บได้
commensurable(คะเมน'เซอะระเบิล, -เชอระเบิล) adj. ซึ่งพอจะวัดกันได้, เหมาะสม, ซึ่งพอจะถือเป็นเกณฑ์เดียวกันได้, See also: commensurability n. ดูcommensurable
commonable(คอม'มะนะเบิล) adj. ซึ่งใช้ร่วมกันเพื่อสาธารณประโยชน์, สาธารณะ, เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ร่วม, พอจะปล่อยเลี้ยงในที่สาธารณะได้
conceivable(คันซีฟ'วะเบิล) adj. พอที่จะคิดออก, พอจะนึกภาพออก, เป็นไปได้, นึกเห็นได้
external memoryหน่วยความจำภายนอกหมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัด เราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้มีความหมายเหมือน external storage, secondary memory และ auxiliary storage
external storageหมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัด เราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้มีความหมายเหมือน external memory, secondary memory และ auxiliary storage
hard space(ฮาร์ดสเปซ) หมายถึงที่ว่างที่ถือเสมือนไม่ใช่ที่ว่าง ใช้เฉพาะในโปรแกรมประมวลผลคำ ในกรณีที่พิมพ์คำบางคำที่มีที่ว่างระหว่างคำ เช่น World War II หรือ พิมพ์วันที่ เช่น May 7 เช่นนี้ ถ้าบังเอิญพิมพ์คำนี้มาถึงปลายบรรทัด แต่ไม่มีที่ว่างพอจะพิมพ์ทั้งคำ คอมพิวเตอร์จะแยกนำคำหลังช่องว่างมาขึ้นบรรทัดใหม่ ซึ่งจะเป็นการไม่ถูกต้อง เราจึงต้องกำหนดให้ที่ว่างที่เห็นนั้นเป็นฮาร์ดสเปซ เพื่อให้โปรแกรมไม่แยกเป็นคนละบรรทัด ถ้าที่ไม่พอในบรรทัดบน ก็จะนำลงมาบรรทัดใหม่ทั้งคำ
home computerคอมพิวเตอร์ระดับบ้านหมายถึง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีราคาถูก และมีประสิทธิภาพดีพอจะใช้ในบ้านได้ (ใช้งานที่ไม่สลับซับซ้อนนัก) บางทีเรียก คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี
near-letter qualityคุณภาพเกือบคมชัดใช้ตัวย่อว่า NLQ แปลตามตัวอักษรว่า เกือบเหมือนตัวพิมพ์ดีด ใช้เป็นคำอธิบายถึงคุณภาพของเครื่องพิมพ์ว่า มีคุณภาพเกือบคมชัด หรือใกล้เคียงตัวพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพ จะมองดูเหมือนการนำจุดมาเรียงกันให้เป็นรูปตัวอักษร ฉะนั้น เครื่องพิมพ์ชนิดที่มีจุดมาก ๆ ติด ๆ กัน จะทำให้ดูมีความคมชัด (high resolution) ตัวอักษรที่พิมพ์ออกมา จะดูสวยและประณีต เหมือนตัวพิมพ์ดีด การวัดคุณภาพของเครื่องพิมพ์ จึงวัดเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว เช่น 600 จุดต่อนิ้ว ย่อมดีกว่า 300 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น (300 จุดต่อนิ้ว พอจะเรียกได้ว่า คุณภาพเกือบคมชัด) ดู printer และ letter quality ประกอบ
nlq(เอ็นแอลคิว) ย่อมาจาก near letter quality (คุณภาพเกือบคมชัด) แปลตามตัวอักษรว่า เกือบเหมือนตัวพิมพ์ดีด ใช้เป็นคำอธิบายถึงคุณภาพของเครื่องพิมพ์ว่า สามารถพิมพ์ได้เกือบคมชัด หรือใกล้เคียงตัวพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพ จะมองดูเหมือนการนำจุดมาเรียงกันให้เป็นรูปตัวอักษร ฉะนั้น เครื่องพิมพ์ชนิดที่มีจุดมาก ๆ ติด ๆ กัน จะทำให้ความคมชัด (high resolution) ตัวอักษรที่พิมพ์ออกมา จะดูสวยและประณีต เหมือนตัวพิมพ์ดีด การวัดคุณภาพของเครื่องพิมพ์ จึงวัดเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว เช่น 600 จุดต่อนิ้ว ย่อมดีกว่า 300 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น (300 จุดต่อนิ้ว พอจะเรียกได้ว่า คุณภาพเกือบคมชัด) ดู printer และ letter quality ประกอบ
presentable(พรีเซน'ทะเบิล) adj. เสนอได้, มอบให้ได้, แสดงตัวได้, พอจะอวดได้, ให้เป็นของขวัญได้, See also: presentability n.
procurable(โพรเคียว'ระเบิล) adj. พอจะเอามาได้, หามาได้, นำมาได้
rival(ไร'เวิล) n. คู่ต่อสู้, คู่แข่งขัน, คู่ปรับ, สิ่งที่พอจะทัดเทียมกันได้ adj. แข่งขันกัน, เป็นคู่แข่งขัน, ชิงดี, ตีเสมอ vt., vi. แข่งขัน, ชิงดี, ตีเสมอ, Syn. competitor, contestant, equal, emulate
who(ฮู) pron. ใคร, ผู้ใด, ผู้ซึ่ง, ซึ่ง, ที่, ผู้ที่, -Phr. (as who should say ซึ่งกล่าวได้ว่าพอจะกล่าวเช่นนั้น)

Nontri Dictionary
admissible(adj) อนุญาตได้, ยอมได้, พอจะรับไว้ได้
conceivable(adj) พอจะคิดได้, เป็นไปได้
pardonable(adj) พอจะอภัยได้, พอจะยกโทษได้
presumable(adj) โดยสมมุติ, น่าจะเป็นไปได้, พอจะสันนิษฐานได้
procurable(adj) พอจะหามาได้

Time: 0.0261 seconds, cache age: 0.066 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/