กระแสะ | ว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกำลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), ใช้เข้าคู่กับคำ กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ. |
ไก่แก่แม่ปลาช่อน | น. หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก และมีกิริยาจัดจ้าน, เดิมพูดว่า กระต่ายแก่แม่ปลาช่อน. |
ไก่โห่ | น. เวลารุ่งสาง, ก่อนเวลา, เช่นพูดว่า มาตั้งแต่ไก่โห่. |
เข้าตู้ | ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า “วิชาเข้าตู้” ซึ่งหมายความว่า วิชาที่เคยจำได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ในตำราที่เก็บไว้ในตู้. |
คืนคำ | ก. พูดว่าจะให้แล้วไม่ให้. |
จ๊ะเอ๋ | น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งที่ผู้หนึ่งโผล่หน้าหรือเปิดหน้าแล้วพูดว่า “จ๊ะเอ๋” กับอีกผู้หนึ่งซึ่งมักเป็นเด็ก. |
ฉ่อง | ว. ข้างล่างแคบข้างบนกว้าง คือ ตีนสอบ เช่นพูดว่า เรือนหลังนี้ตีนมันฉ่องเข้าไปนัก (ดิกชนารีไทย). |
ซุน | ก. ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน ก็คือ ใช้เสียจนโงหัวไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง. |
ดก | โดยปริยายใช้เป็นคำพูดประชด เช่น พูดว่า คงได้ดกละ หมายความว่า ไม่มีหวังที่จะได้, มีดกละ หมายความว่า ไม่มี. |
ดอก ๓ | ว. คำประกอบใช้ในความแย้งหรือปฏิเสธ เช่น ได้แต่มัทรีที่แสนดื้อผู้เดียวดอก ไม่รู้จักปลิ้นปลอกพลิกไพล่เอาตัวหนี (ม.ร่ายยาว มัทรี), (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. |
ดั้ง ๒ | น. สันจมูก, มักพูดว่า ดั้งจมูก. |
ถอนหงอก | ก. พูดว่าผู้ใหญ่เพราะผู้ใหญ่ทำให้หมดความนับถือยำเกรง. |
ที่ไหนได้ | ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คำใช้แสดงความประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท. |
เท่อ | ว. ทื่อ, ไม่ฉลาด, มักใช้พูดว่า ขี้เท่อ |
ปอก | ก. เอาเปลือกหรือสิ่งที่ห่อหุ้มออก, ถ้าเป็นผิวนอก ใช้ว่า ถลอก ก็ได้ เช่น หัวปอก พูดว่า หัวถลอก. |
ปากมาก | ว. ชอบพูดว่าคนอื่นซํ้า ๆ ซาก ๆ, พูดมาก, พูดขยายเรื่องเล็กน้อยให้มากออกไป. |
เปรียบปราย, เปรียบเปรย | (-ปฺราย, -เปฺรย) ว. อาการที่พูดว่ากระทบกระเทียบไม่เจาะจง. |
มูลโค | น. อุจจาระเหลว แต่ไม่เหลวถึงเป็นนํ้า, มักพูดว่า มลโค. |
ย้อนคำ | ก. ว่าสวนตอบตามคำที่เขาว่ามา เช่น ฝ่ายหนึ่งพูดว่า เธอโง่จริง อีกฝ่ายหนึ่งก็ย้อนคำว่า แล้วเธอไม่โง่หรือ. |
ยังอีก | คำที่ผู้ใหญ่ใช้ขู่เด็กที่ไม่ทำตามสั่ง เช่น เมื่อบอกให้เด็กออกมา เด็กไม่ออกมา ก็จะพูดว่า ยังอีก. |
ยาปนมัต | ว. สักว่ายังชีวิตให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. |
ยืนกระต่ายสามขา | ก. พูดยืนยันอยู่คำเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว. |
ลงท้าย | ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้ายก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย. |
ว่า | ใช้เป็นสันธานเชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. |
สองผม | ว. มีอายุแล้ว หมายถึงคนที่มีผมหงอกบ้างแล้ว เช่นพูดว่า คนสองผม. |
สิทธ-, สิทธ์ | (สิดทะ-, สิด) น. ผู้สำเร็จ, ฤษีผู้สำเร็จ, เช่นที่พูดว่า นักสิทธ์. |
หัวซุน | ว. อาการที่ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน คือ ใช้เสียจนโงหัวไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง. |
อาภัพเหมือนปูน | ทำดีแต่มักถูกมองข้ามไปหรือไม่มีใครมองเห็น คล้ายในการกินหมาก จะต้องมีหมาก พลู ปูน ๓ อย่างประกอบกัน แต่คนมักพูดว่า กินหมากกินพลู โดยมิได้พูดถึงปูนเลย จะพูดถึงบ้างก็เป็นไปในทางที่ไม่ดีว่า ปูนกัดปาก. |
byte | (ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes) |
k | (เค) พยัญชนะอังกฤษตัวที่ 11, เสียง K ย่อมาจาก kilobyte (กิโลไบต์) มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า KB ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก ฯ 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
kb | ย่อมาจาก kilobyte มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า K เฉย ๆ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
kiiobyte | ใช้ตัวย่อว่า K หรือ KB มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า KB ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก ฯ 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
kilobyte | (กิโลไบต์) ใช้ตัวย่อว่า KB มีค่าเท่ากับ 1, 024 (2 ยกกลง 10) ไบต์ เช่น ถ้าพูดว่าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ 64 เคไบต์ หมายความว่า มีเนื้อที่ในหน่วยความจำ 65, 536 ไบต์ สามารถเก็บตัวอักขระได้ 65, 536 ตัวอักขระ |
denn | ใช้เป็นคำเน้น ไม่มีความหมายที่แน่นอน ใช้เสริมในประโยคเพื่อให้ฟังดูนุ่มขึ้น อาจแปลเป็นไทยภาษาพูดว่า 'ล่ะ' เช่น Was machst du denn da? เธอทำอะไรอยู่หรือเนี่ย (ถ้าไม่มี denn ฟังดูห้วนคล้ายว่า เธอทำอะไรอยู่) |
pinkeln | (vi) |pinkelte, hat gepinkelt| ปัสสาวะ ;ปกติคนเยอรมันไม่พูดว่าไปปัสสาวะ แต่จะพูดว่า Ich möchte auf die Toilette gehen., Wo ist die Toilette? ขอไปห้องน้ำหน่อย หรือ Ich bin gleich wieder da. ขอตัวเดี๋ยวมา |
spüren | (vi, vt) |spürte, hat gespürt| รู้สึกถึง, รับความรู้สึก, รับรู้ เช่น Du sollst spüren, daß sie immer für dich da ist. นายควรรับรู้ไว้ว่าเธออยู่ตรงนี้เสมอสำหรับนาย (สังเกตความแตกต่างระหว่าง spüren และ fühlen โดยมาก fühlen ใช้บ่งความรู้สึกทางร่างกาย เช่น Ich fühle mich schlecht.ซึ่งจะไม่พูดว่า Ich spüre schlecht. ), See also: Related: fühlen |
sich verhören | (vt) |verhörte sich, hat sich verhört| ฟังผิด เช่น Sagtest du 'Autobahn' oder habe ich mich verhört? เธอพูดว่าออโต้บาน หรือว่าฉันฟังผิดนะ |