ภพ | (n) world, Syn. โลก, แผ่นดิน, วัฏสงสาร, ชาติ, Example: การสะสมผลบุญเพื่อความสุขความเจริญทั้งในภพนี้ และภพหน้า จะช่วยให้พ้นทุกข์โศก, Thai Definition: โลกหรือแผ่นดิน (ทางศาสนา) |
พิภพ | (n) world, See also: globe, Syn. โลก, พื้นพิภพ, ปฐพี, Example: ้ชื่อเสียงความเก่งกาจในการรบของเขาก้องไปทั่วพิภพ |
พิภพ | (n) treasure, See also: wealth, assets, Syn. ทรัพย์, สมบัติ |
สมภพ | (n) happening, See also: occurrence, Syn. การบังเกิด, การเกิด, Notes: (บาลี) |
สมภพ | (n) birth, See also: nativity, Syn. การเกิด, Ant. การตาย, Example: วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2475 เป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ, Thai Definition: ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระราชสมภพ และ พระบรมราชสมภพ, Notes: (บาลี) |
กามภพ | (n) places of sensuality, See also: source of sensual one, Example: ภพของมนุษย์เป็นกามภพ, Count Unit: ภพ, Thai Definition: ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม |
ตรีภพ | (n) three worlds (heaven, earth and hell), three forms of existence (sensual, corporal and formless), Syn. ตรีภูมิ, ไตรภพ, ตรีโลก, Example: ทางธรรมถือว่า บันได 3 ขั้น หมายถึง ตรีภพ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิด, Thai Definition: ภพทั้ง 3 คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ตามไสยศาสตร์ว่าได้แก่ สวรรค์ มนุษยโลก บาดาล |
เอกภพ | (n) universe, Example: สรรพสิ่งต่างๆ ในโลก ในระบบสุริยะ และในเอกภพมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันตามธรรมชาติ, Thai Definition: ระบบซึ่งเป็นผลรวมของกาแล็กซีทั้งหมด, Notes: (อังกฤษ) |
ไตรภพ | (n) three worlds (earth, heaven and hell), Syn. ไตรภูมิ, ตรีภพ, Thai Definition: ภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ, ตามไสยศาสตร์ว่า สวรรค์ มนุษยโลก บาดาล |
จักรภพ | (n) commonwealth, See also: nation, Example: ประเทศสิงคโปร์เคยอยู่ในความปกครองของจักรภพอังกฤษ, Count Unit: จักรภพ, Thai Definition: สมาคมเสรีแห่งบรรดาชาติสมาชิกที่เป็นเอกราชทั้งหลายยอมรับพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งเป็นสัญลักษณ์ของตนร่วมกัน |
ภพหน้า | (n) next life, See also: next incarnation, next world, the other world, Syn. ชาติหน้า, โลกหน้า, Example: เจ้าต้องสั่งสมบุญบารมีไว้เสียตอนนี้เพื่อภพหน้าจะได้อยู่สุขสบาย, Count Unit: ภพ, Thai Definition: โลกหรือชาติใหม่ในวัฏสงสารหลังจากที่ตายไปแล้วในชาตินี้ |
อดีตภพ | (n) past life, See also: previous life, Syn. ชาติก่อน, อดีตชาติ, ชาติปางก่อน, ปางก่อน, Example: เรื่องพระเจ้า 500 ชาติคือเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติจำนวนประมาณ 500 เรื่อง |
ใต้พิภพ | (n) geothermal, Syn. ใต้ดิน, Example: พวกเราช่วยกันทำความสะอาดภาชนะดินเผา หรือเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ ที่นักโบราณคดีขุดพบจากใต้พิภพ, Thai Definition: ต่ำกว่าระดับพื้นดิน |
ผ่านพิภพ | (n) king, Syn. ผ่านฟ้า, ผ่านเกล้า, กษัตริย์, ราชา, Count Unit: พระองค์ |
เครือจักรภพ | (n) commonwealth, See also: empire, Syn. เครือรัฐ, สมาพันธรัฐ, สหพันธรัฐ, Example: อังกฤษได้พยายามที่จะผลักดันพม่าให้เข้าเป็นสมาชิกประเทศในเครือจักรภพของอังกฤษ โดยการเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองและเศรษฐกิจของพม่า, Count Unit: เครือจักรภพ, Thai Definition: กลุ่มประเทศหรือรัฐที่มีการปกครองตนเอง แต่ยอมรับนับถือประมุขร่วมกัน |
กามภพ | น. ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ (นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ) มนุษยโลก ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น (จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) รวมเป็น ๑๑, กามภูมิ ก็ว่า. |
เครือจักรภพ, เครือรัฐ | (-จักกฺระพบ, -รัด) น. กลุ่มประเทศหรือรัฐที่มีการปกครองตนเอง แต่ยอมรับนับถือประมุขร่วมกัน เช่น ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ รัฐต่าง ๆ ในเครือรัฐออสเตรเลีย. |
ตรีภพ | น. โลกทั้ง ๓, ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีโลก ไตรโลก ไตรภพ หรืิอ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
ตรีภพนาถ | น. ที่พึ่งแห่งภพ ๓, พระพุทธเจ้า, พระอินทร์, ใช้ทั่วไปถึงผู้อื่นด้วย เช่น กษัตริย์ ก็มี. |
ไตรภพ, ไตรภูมิ | (-พบ, -พูม) น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ตรีโลก หรือ ไตรโลก ก็ว่า. |
บรรณพิภพ, บรรณโลก | น. วงการหนังสือ. |
ประภพ | น. การเกิดก่อน |
ประภพ | แดน, ที่เกิด. |
ปราภพ | (ปะรา-) น. ความฉิบหาย. |
ปุนภพ | (ปุนะ-, ปุนนะ-) น. ภพใหม่, การเกิดใหม่. (ป. ปุนพฺภว) |
ปุนภพ | สมัยเกิดใหม่ ได้แก่ตอนเริ่มต้นยุคปัจจุบันหลังยุคกลาง. |
แผ่นผงอน, แผ่นพก, แผ่นภพ | น. พื้นดิน. |
พิภพ | น. โลก เช่น ในพื้นพิภพ นอกพิภพ, ที่อยู่ของนาคในชั้นบาดาล เรียกว่า นาคพิภพ |
พิภพ | ทรัพย์สมบัติ เช่น ผ่านพิภพ คือ ครองสมบัติ. (ดู วิภว-). |
ภพ | (พบ) น. โลก, แผ่นดิน |
ภพ | วัฏสงสาร. |
ภวาภพ | น. ความเป็นอยู่และมิใช่ความเป็นอยู่, ภพและมิใช่ภพ |
ภวาภพ | ภพน้อยภพใหญ่. |
ภวาภพ | ดู ภว-, ภวะ. |
รูปภพ | (รูบปะพบ) น. ภพของผู้ที่ได้รูปฌาน ๔, รูปภูมิ ก็ว่า. |
เลอภพ | น. ผู้ปกครองภพ. |
ศักรภพน์ | น. โลกพระอินทร์, สวรรค์ชั้นดาวดึงส์. |
สมภพ | (-พบ) น. การเกิด, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระราชสมภพ และ พระบรมราชสมภพ. |
สัมปรายภพ, สัมปรายิกภพ | (-ปะรายะ-, -ปะราย-, -ปะรายิกะ-) น. ภพหน้า. |
อดีต-ชาติ, อดีตภพ | (อะดีดตะชาด, -ตะพบ) น. ชาติก่อน, ภพก่อน. |
อรูปภพ | (อะรูบปะพบ) น. ภพของผู้ที่ได้อรูปฌาน ๔, อรูปภูมิ ก็ว่า. |
เอกภพ | (เอกกะ-) น. ระบบซึ่งเป็นผลรวมของกาแล็กซีทั้งหมด. (อ. universe) |
เอกภพ | จำนวนประชากรทั้งหมดที่นำมาพิจารณาหรือหาตัวอย่าง. |
กษัตรีศูร | (กะสัดตฺรีสูน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
กามาพจร, กามาวจร | ว. ที่ยังติดอยู่ในกาม, ที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ. |
กามาพจร, กามาวจร | น. ผู้ที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ. |
กาแล็กซี | น. ระบบขนาดใหญ่ของดาวฤกษ์ ประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์ เนบิวลา และเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ กาแล็กซีมากกว่า ๑, ๐๐๐ ล้านกาแล็กซีรวมกันเป็นเอกภพ, ทางช้างเผือก ถือเป็นกาแล็กซีหนึ่ง. |
ขีปนาวุธ | (ขีปะ-) น. อาวุธซึ่งถูกส่งออกไปจากผิวพิภพเพื่อใช้ประหัตประหารหรือทำลายในการสงคราม โดยมีการบังคับวิถีในตัวเองเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย การบังคับวิถีนี้บังคับเฉพาะตอนขึ้นเท่านั้น มีหลายชนิด เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป. |
คริสต์มาส ๑ | (คฺริดสะมาด) น. วันสมภพของพระเยซู. |
คริสต์ศตวรรษ | (คฺริดสะตะวัด) น. รอบ ๑๐๐ ปี นับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู. |
คริสต์ศักราช | (คฺริดสักกะหฺราด) น. ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๕๔๓ เท่ากับคริสต์ศักราช). |
จตุรภูมิ | (-พูม) น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิ ภูมิอันพ้นจากโลก. |
จอมไตร | น. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ). |
เฉลิมพระชนมพรรษา | (ฉะเหฺลิมพฺระชนมะพันสา) น. เรียกวันบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี ว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษา. |
ดิลก | (ดิหฺลก) ว. เลิศ, ยอด, เฉลิม, เช่น มหาดิลกภพนพรัตน์. |
แดน | น. เขต, พื้นที่ที่กำหนดไว้โดยตรงหรือโดยหมายรู้กัน, เช่น ชายแดน ลํ้าแดน, ถิ่นที่มีคน สัตว์ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งประเภทเดียวกันอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น แดนผู้ร้าย แดนเสือโคร่ง แดนกล้วยไข่ แดนโลกีย์, โลก เช่น สตรีใดในพิภพจบแดน ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์ (อิเหนา). |
แดนไตร | น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ, รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล. |
ตรีภูมิ | น. ตรีภพ. |
ตรีภูวะ | (-พูวะ) น. ตรีภพ. |
ตรีโลก | น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือ ภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ไตรโลก ไตรภพ หรือ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
ไตรโลก | น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ตรีโลก ไตรภพ หรือ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
ทรง | ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์ |
ทัน ๒ | เสมอด้วย เช่น อันว่าผู้จะทำนายฝนนแลจะทันพระศรีสรรเพชญ์ เสด็จภูมีบาลในสงสารภพนี้ก็บมี โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร). |
บาดาล | นาคพิภพ เป็นที่อยู่ของนาค. |
ปิ่น | จอม, ยอด, เช่น ปิ่นพิภพ. |
Geothermal energy | พลังงานความร้อนใต้พิภพ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Geothermal Energy | พลังงานความร้อนใต้พิภพ, Example: ป็นพลังงานความร้อนที่สะสมและถูกกักเก็บอยู่ใต้ผิวโลกและสามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นพลังงานที่ได้มาจากการปลดปล่อยไอน้ำและน้ำร้อนจากพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงในธรรมชาติโดยผ่านหลุมเจาะ จากการวัดอุณหภูมิที่ความลึกต่างๆจากผิวโลก พบว่าอัตราการเพิ่มอุณหภูมิใต้พิภพมีค่าเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียสต่อกิโลเมตร ที่ความลึกประมาณ 25 - 30 กิโลเมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 250 - 1, 000 องศาเซลเซียส [ปิโตรเลี่ยม] |
Exobiology | ชีววิทยานอกพิภพ [TU Subject Heading] |
Extraterestrial influences | อิทธิพลนอกพิภพ [TU Subject Heading] |
Extraterrestrial anthropology | มานุษยวิทยานอกพิภพ [TU Subject Heading] |
Geothermal resources | แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ [TU Subject Heading] |
Geothermal Energy | พลังงานความร้อนใต้พิภพ, Example: พลังงานความร้อนที่สะสมและถูกกักเก็บอยู่ใต้ ผิวโลกและสามารถพัฒนา ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นพลังงานที่ได้มาจากการปลดปล่อยไอน้ำและน้ำร้อน จากพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงในธรรมชาติโดยผ่านหลุมเจาะ จากการวัดอุณหภูมิ ที่ความลึกต่าง ๆ จากผิวโลก พบว่าอัตราการเพิ่มอุณหภูมิใต้พิภพมีค่าเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียสต่อกิโลเมตร ที่ความลึกประมาณ 25 - 30 กิโลเมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 250 - 1, 000 องศาเซลเซียล [สิ่งแวดล้อม] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
High Commiissioner | ข้าหลวงใหญ่ หรือผู้แทนทางการทูตของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกสังกัดเครือจักรภพอังกฤษ (The Commonwealth of Nations) และประจำอยู่ ณ ประเทศของสมาคมนี้ด้วยกัน แท้ที่จริงแล้วตำแหน่งนี้ก็เท่ากับตำแหน่งเอกอัคร ราชทูตในกรณีของประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกสังกัดในเครือจักรภพนั่นเอง เช่น ในกรณีที่ผู้แทนทางการทูตของประเทศแคนาดาไปประจำ ณ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองเป็นประเทศในเครือจักรภพด้วยกัน เขาจะเรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า High Commissioner ไม่ใช้คำว่า Ambassador แต่ถ้าผู้แทนทางการทูตของแคนาดาไปประจำประเทศนอกเครือจักรภพ เช่น ประเทศไทย ก็จะเรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า เอกอัครราชทูต (Ambassador) [การทูต] |
High Commissioner | 1. เอกอัครราชทูตของประเทศในเครือจักรภพที่ประจำในสหราชอาณาจักรหรือประเทศใน เครือจักรภพด้วยกัน 2. ข้าหลวงใหญ่ ข้าหลวงใหญ่ : ใช้เรียกหัวหน้าสำนักงานบางแห่งในกรอบสหประชาชาติ เช่น United Nations High Commissioner of Refugee (UNHCR) หมายถึง ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
National Holiday | วันชาติ คือสถานเอกอัครราชทูตทีมีอยู่ทั่วโลก จะนิยมฉลองวันชาติของประเทศของตน ส่วนมากจะถือเอาวันครบรอบปีแห่งการประกาศเอกราช หรือวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของ ประเทศตนเป็นวันชาติ ส่วนในประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ ก็จะยึดเอาวันพระราชสมภพชองกษัตริย์หรือราชินีเป็นวันชาติของประเทศ ในวันชาติ สถานเอกอัครราชทูตจะมีธรรมเนียมจัดงานเลี้ยงรับรอง (Reception) ขึ้นในสถานเอกอัครราชทูตของตนหรือหากเป็นการไม่สะดวกที่จัดงานดังกล่าวขึ้น ในสถานทูต ก็มักไปจัดกัน ณ โรงแรมที่เหมาะสม ในงานเลี้ยงรับรองนี้จะเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงการต่างประทเศ หัวหน้าคณะทูตข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูตอื่น ๆ นักหนังสือพิมพ์ เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน บุคคลชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม บรรดาคนชาติเดียวกับเอกอัครราชทูตที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศนั้น ตลอดจนบุคคลสำคัญในสังคม รวมทั้งมิตรสหายของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่สมควรเชิญ [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
พลังงานหมุนเวียน | พลังงานหมุนเวียน, หมายความรวมถึง พลังงานที่ได้จากไม้ ฟืน แกลบ กากอ้อย ชีวมวล น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ ลม และคลื่น เป็นต้น [พลังงาน] |
ก๊าซธรรมชาติ | สารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนทีเกิดจากการทับถาม ของซากพืชและสัตว์ จำพวกจุลินทรีย์ที่อาศัยในโลกมานานนับร้อยล้านปี สามารถผลิตได้จากแหล่งใต้พื้นพิภพโดยตรงหรือติดมากับน้ำมันดิบจากหลุมน้ำมัน ดิบ โดยส่วนใหญ่จะมีก๊าซมีเทนตั้งแต่ 70% ขึ้นไป [ปิโตรเลี่ยม] |
alternative energy | พลังงานทดแทน, พลังงานทดแทน พลังงานที่สามารถทดแทนแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ไม้ ฟืน แกลบ กากอ้อย ชีวมวล เอทานอล ไบโอดีเซล น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ ลมและคลื่น [ปิโตรเลี่ยม] |
complement of a set | คอมพลีเมนต์ของเซต, ถ้าเซต A เป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ U คอมพลีเมนต์ของเซต A (A') คือ เซตที่มีสมาชิกอยู่ใน U แต่ไม่อยู่ใน A [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
relative universe [ universal set ] | เอกภพสัมพัทธ์, เซตที่กำหนดขอบข่ายในการพิจารณาสมาชิกของเซตที่กล่าวถึง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
universal set | เอกภพสัมพัทธ์, ดู relative universe [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
universal gravitation constant | ค่าคงตัวโน้มถ่วงสากล, ค่าคงตัวของแรงดึงดูดระหว่างมวล เป็นค่าเดียวกันเสมอไม่ว่าวัตถุที่ดึงดูดกันจะเป็นวัตถุใดๆ ก็ตามในเอกภพซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.67 x 10-11 นิวตัน เมตร2 กิโลกรัม-2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
อดีตภพ | [adīttaphop] (n) EN: past existence ; past life; previous life FR: vie antérieure [ f ] |
เอกภพ | [ēkkaphop] (n) EN: Universe FR: Univers [ m ] |
เอกภพมืด | [ēkkaphop meūt] (n, exp) EN: Dark Universe |
เอกภพสัมพัทธ์ | [ēkkaphop samphat] (n, exp) EN: relative universe; universal set |
คนต่างพิภพ | [khon tāng phiphop] (n, exp) EN: extraterrestrial being |
เครือจักรภพ | [khreūajakkraphop] (n) EN: commonwealth |
ผ่านพิภพ | [phānphiphop] (n) EN: king |
พิภพ | [phiphop] (n) EN: world ; globe FR: monde [ m ] ; univers [ m ] |
พิภพ | [phiphop] (n) EN: treasure ; assets ; riches ; wealth |
พิภพ | [phiphop] (n) EN: world ; globe |
พิภพ | [phiphop] (n) EN: treasure ; wealth ; assets |
ภพ | [phop] (n) EN: world ; earth FR: monde [ m ] ; terre [ f ] |
ภพหน้า | [phop nā] (n, exp) EN: the next world ; the hereafter FR: le monde futur |
ภพนี้ | [phop nī] (n, exp) EN: the present world FR: le monde actuel |
ปิ่นพิภพ | [pin phiphop] (n, exp) EN: lord of the world FR: maître du monde [ m ] |
สมภพ | [somphop] (n) EN: birth |
ใต้พิภพ | [tāiphiphop] (n) EN: geothermal |
ไตรภพ | [traiphop] (n) EN: the Three Worlds (earth, heaven and hell) ; the Three Spheres |
วันคล้ายวันสมภพ | [wan khlāi wan somphop] (n, exp) EN: birthday |
british commonwealth of n | n. เครือจักรภพอังกฤษ. |
briton | (บริท'เทิน) n. ชาวอังกฤษ, ชาวเครือจักรภพอังกฤษ, ชนชาติเซลติค -S.Britisher |
commonwealth | (คอม'มันเวลธฺ) n. เครือประเทศ, การรวมกัน., See also: Commonwealth n. เครือจักรภพอังกฤษ, สหพันธรัฐ, สมาพันธรัฐ, ประชากรของรัฐ, สาธารณประโยชน์ |
world | (เวิร์ลดฺ) n. โลก, เขตโลก, พิภพ, มนุษย์โลก, สากล, โลกมนุษย์, มวลมนุษย์, มนุษยชาติ, สาธารณชน, ชนชั้นเฉพาะของมนุษย์, วงการ, อาณาจักร, วงสังคม, จุกรวาล, ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่, สรรพสิ่ง, จำนวนมหาศาล, ชีวิตโลก, ทางโลกีย์, -Phr. (for all the world โดยสิ้นเชิง) |