41 ผลลัพธ์ สำหรับ *ภาษาสันสกฤต*
หรือค้นหา: ภาษาสันสกฤต, -ภาษาสันสกฤต-

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เจตภูต(เจดตะพูด) น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป”, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
ตันติภาษาน. ภาษาที่มีแบบแผน เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาละติน ภาษากรีก.
ตาลุชะน. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดที่เพดานแข็ง ได้แก่พยัญชนะวรรค จ คือ จ ฉ ช ฌ ญ และอักษร ย สระอิ อี รวมทั้ง ศ ในภาษาสันสกฤต.
ทันตชะ(ทันตะ-) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดที่ฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต.
ทีฆสระน. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู ฤๅ ฦๅ เอ ไอ โอ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว.
เทวนาครี(เทวะนาคะรี) น. อักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษาสันสกฤต.
ภาษามีวิภัตติปัจจัยน. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการใช้วิภัตติปัจจัยประกอบเข้ากับรากศัพท์ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระทำให้เกิดเป็นคำที่แสดงเพศ พจน์ กาล มาลา วาจกอย่างชัดเจน เพื่อเข้าสัมพันธ์ทางไวยากรณ์กลมกลืนกับคำอื่นในประโยค เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษากรีกโบราณ ภาษาละติน ภาษาฝรั่งเศส.
มุทธชะ(มุดทะ-) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต.
รัสสระ(รัดสะสะหฺระ) น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ใอ ไอ เอา.
ฤ ๑(รึ) เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต เมื่อไทยนำมาใช้ออกเสียงเป็น ริ รึ หรือ เรอ เช่น ฤทธิ์ [ ริด ] ฤดู [ รึดู ] ฤกษ์ [ เริก ].
ฤคเวท(รึกคะเวด) น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๑ ของพระเวท ใช้ภาษาสันสกฤตรุ่นเก่าที่สุด ประพันธ์เป็นฉันท์ มีอายุประมาณ ๕๐๐ ถึง ๑, ๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล, อิรุพเพท ก็ว่า. (ส.; ป. อิรุพฺเพท). (ดู เวท, เวท- ประกอบ).
ฤๅ ๑(รือ) เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นเสียงยาวของ ฤ เมื่อไทยนำมาใช้ออกเสียงเป็น รือ รี เช่น ฤๅษี [ รือสี ] ตฤๅ [ ตฺรี ].
วนัสบดี(วะนัดสะบอดี) น. ไม้ใหญ่, พญาไม้, (ในภาษาสันสกฤตหมายเฉพาะต้นไทรและต้นมะเดื่อชุมพร).
เวท, เวท-ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก.
สตรีลิงค์, สตรีลึงค์น. เพศของคำในภาษาสันสกฤต ที่ไม่จัดเป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ เช่น ธานี (เมือง), บาลีใช้ว่า อิตถีลิงค์.
สักฏะ, สักตะ(สักกะตะ) น. ภาษาสันสกฤต.
อุปนิษัท(อุปะ-, อุบปะ-) น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากอาตมัน.

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Videoวีดิทัศน์, คำว่า วีดิทัศน์ เป็นศัพท์บัญญัติตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า video (อ่านว่า วิ-ดี-โอ). ศาสตราจารย์ ดร. คุณบรรจบ พันธุเมธา เป็นผู้คิดคำนี้ขึ้น โดยเห็นว่า คำว่า “วีติ” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “ความสนุกสนานรื่นเริง” มีเสียงใกล้เคียงกับคำว่า video ในภาษาอังกฤษ เมื่อเติมคำว่า “ทัศน์” ลงไปข้างท้าย ก็อาจจะแปลได้ว่า “เครื่องที่แสดงภาพเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง” คำนี้มักจะเขียนตามคำอ่าน ซึ่งพบว่ามีการใช้สระผิด เช่น เขียนว่า วิดีทัศน์ หรือ วีดิโอ คำที่ถูกต้องคือ วีดิทัศน์ (ว สระอี ด สระ อิ ..) และ วิดีโอ (ว สระอิ ด สระอี ...) [เทคโนโลยีการศึกษา]
สดับปกรณ์เป็นทั้งคำกริยาและคำนามว่า สดับปกรณ์ (สะ-ดับ-ปะ-กอน) เป็นคำกริยา คือ บังสุกุล (ใช้แก่ศพเจ้านาย) ส่วนคำนามหมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลเนื่องด้วยศพ ปัจจุับันใช้เฉพาะเจ้านาย คำในภาษาบาลีเขียน สตฺตปฺปกรณ ส่วนภาษาสันสกฤตเขียน สปฺตปฺรกรณ หมายถึงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ [ศัพท์พระราชพิธี]
Videoวีดิทัศน์, <p>คำนี้มักจะเขียนตามคำอ่าน ซึ่งพบว่ามีการใช้สระผิด เช่น เขียนว่า วิดีทัศน์ หรือ วีดิโอ คำที่ถูกต้องคือ วีดิทัศน์ (ว สระอี ด สระ อิ ..) และ วิดีโอ (ว สระอิ ด สระอี ...) <p>คำว่า วีดิทัศน์ เป็นศัพท์บัญญัติตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า video (อ่านว่า วิ-ดี-โอ). ศาสตราจารย์ ดร. คุณบรรจบ พันธุเมธา เป็นผู้คิดคำนี้ขึ้น โดยเห็นว่า คำว่า “วีติ” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า “ความสนุกสนานรื่นเริง” มีเสียงใกล้เคียงกับคำว่า video ในภาษาอังกฤษ เมื่อเติมคำว่า “ทัศน์” ลงไปข้างท้าย ก็อาจจะแปลได้ว่า “เครื่องที่แสดงภาพเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง” [คำทับศัพท์ที่มักใช้ผิด]
Sanskrit languageภาษาสันสกฤต [TU Subject Heading]

ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Yeah, it's Sanskrit. ใช่มันเป็นภาษาสันสกฤต Indiana Jones and the Temple of Doom (1984)
Spiritual sex with the vampire, lurks between the lines of sanskrit tablets. จิตวิญญาณ เพศสัมพันธ์ของแวมไพร์ ซ่อนอยู่ในแผ่นจารึกภาษาสันสกฤต No Such Thing as Vampires (2007)
Last week he said hello to me in Sanskrit. เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเขากล่าวทักทาย กับผมในภาษาสันสกฤต Sex Trek: Charly XXX (2007)
What do you say to a mouse that says hello in Sanskrit? สิ่งที่คุณพูดกับเมาส์ที่บอกว่า สวัสดีในภาษาสันสกฤต Sex Trek: Charly XXX (2007)
It may also interest you to know that... many of the origins to your words come from Sanskrit. มันคงน่าสนใจเช่นกัน หากคุณได้รู้ว่า... ต้นกำเนิดคำในภาษาของคุณบางคำนั้น มาจากภาษาสันสกฤต Namastey London (2007)
..become a professor of Sanskrit and Botany. เป็นผู้เชียวชาญภาษาสันสกฤตและพฤกษศาสตร์ Heyy Babyy (2007)
/She cast the spell in Sanskrit, /an ancient language /that the Emperor did not understand. นางร่ายเวทมนตร์ภาษาสันสกฤต ภาษาเก่าแก่โบราณที่ฮ่องเต้มิอาจเข้าใจ The Mummy: Tomb of the Dragon Emperor (2008)
It is written in Sanskrit, so I don't know what it is about. มันเขียนด้วยภาษาสันสกฤต ข้าจึงไม่รู้ว่ามันเกี่ยวกับอะไร Tree with Deep Roots (2011)
Scholar Heo Dahm was studying Sanskrit. บัณฑิตโฮดัม กำลังศึกษาภาษาสันสกฤต Tree with Deep Roots (2011)
It means "light of the tiger" in Sanskrit. มันแปลว่า แสงของสิงห์ ในภาษาสันสกฤต And the Pretty Problem (2011)
There's a word in Sanskrit, "samsara". the cycle of death and rebirth. มีคำหนึ่งในภาษาสันสกฤติ "ซัมซารา" ที่แปลว่า เวียนว่ายตายเกิด Oh, What a World! (2013)
Before you commit to him, ask him the Sanskrit word for "war" and its translation. ก่อนที่จะกระทำกับเขา ขอให้เขาคำภาษาสันสกฤต สำหรับการทำสงครามและการแปล Arrival (2016)
$#$! $! @! ในภาษาสันสกฤตก็คือ มันจัสสะคะ Spider Lilies (2007)

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
คำภาษาสันสกฤต[kham phāsā Sansakrit] (n, exp) FR: mot sanskrit [ m ]
ภาษาสันสกฤต[phāsā Sansakrit] (n, exp) EN: Sanskrit  FR: sanskrit [ m ]

NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Sanskrit(n) ภาษาสันสกฤต
Sanskritic(adj) เกี่ยวกับภาษาสันสกฤต

Hope Dictionary
indic(อิน'ดิค) adj. เกี่ยวกับอินเดีย, เกี่ยวกับภาษาตระกูล Indo, See also: Iranian ซึ่งได้แก่ ภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดู ภาษาเออร์ดู Urdu ภาษาเบงกาลีและอื่น ๆ Indian
sanskrit(แซน'สคริท) n. ภาษาสันสกฤต

Nontri Dictionary
Sanskrit(n) ภาษาสันสกฤต

Time: 0.0302 seconds, cache age: 17.083 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/