ก้ามกราม | น. ชื่อกุ้งชนิด Macrobrachium rosenbergii (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae ตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามใหญ่สีฟ้าหรือสีคราม มีหนาม ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อยแล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด, กุ้งก้ามคราม หรือ กุ้งหลวง ก็เรียก, เพศเมียเรียก กุ้งนาง. |
มกราคม | (มะกะรา-, มกกะรา-) น. ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ มี ๓๑ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. |
มกราคม | ดู มกร, มกร-. |
โมกราชินี | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Wrightia sirikitiae D.J. Middleton et Santisuk ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว ผลเป็นฝักคู่สีน้ำตาล พบบริเวณเขาหินปูน ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. |
เยี่ยมกราย | ก. กรายมาให้เห็น เช่น นานแล้วไม่เยี่ยมกรายมาเลย. |
หอมกราย | น. ต้นขี้อ้าย. [ ดู ขี้อ้าย (๑) ]. |
กรกฎาคม | (กะระกะ-, กะรักกะ-) น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. |
กราน ๒ | (กฺราน) ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี. |
กันยายน | น. ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. |
ก้ามเกลี้ยง | น. ชื่อกุ้งนํ้าจืดชนิด Macrobrachium sintangense (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae ตัวเล็กกว่ากุ้งก้ามกราม ก้ามเล็กเรียบไม่มีหนาม. |
ก้ามคราม | ดู ก้ามกราม. |
กุ้ง ๑ | น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา พบในนํ้าจืดและนํ้าเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งกุลาดำ กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งหัวแข็ง กุ้งแชบ๊วย. |
กุ้งนาง | น. กุ้งก้ามกรามเพศเมีย ลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน สีอ่อนกว่ากุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นเพศผู้ วางไข่ติดหน้าท้อง ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อย แล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด. |
กุ้งหลวง | ดู ก้ามกราม. |
กุมภาพันธ์ | น. ชื่อเดือนที่ ๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๑ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. |
ข้าวหนัก | น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลช้ากว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวงประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เช่น พันธุ์ข้าวขาวตาแห้ง ๑๗ พันธุ์ข้าวพวงนาก ๑๖. |
ขี้อ้าย | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Terminalia tripteraStapf ในวงศ์ Combretaceae เปลือกชั้นในสีแสด รสฝาด ใช้เคี้ยวกับหมาก, กำจาย ก็เรียก, จันทบุรีเรียก หอมกราย. |
เดือนสุริยคติ | (-สุริยะคะติ) น. ช่วงเวลาประมาณ ๑ ใน ๑๒ ของปีสุริยคติ ได้แก่เดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม เดือนที่ลงท้ายด้วยอายนมี ๓๐ วัน เดือนที่ลงท้ายด้วยอาคมมี ๓๑ วัน และเดือนที่ลงท้ายด้วยอาพันธ์มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน. |
ตุลาคม | น. ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน |
ธันวาคม | น. ชื่อเดือนที่ ๑๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน |
บุษยมาส | น. เดือนอันมีพระจันทร์เพ็ญเสวยนักษัตรบุษยะ คือ เดือนยี่ ตกในราวมกราคม. |
ปีปฏิทิน | น. ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคมถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม. |
เป็ด ๓ | น. ชื่อเรือต่อหรือเรือขุดต่อกระดานเสริมกราบชนิดหนึ่ง หัวท้ายแบน ๆ ก็มี หัวท้ายแหลมก็มี กลางป่องดูรูปร่างคล้ายเป็ด, อีเป็ด ก็เรียก. |
ฝนชะช่อมะม่วง | น. ฝนที่ตกเล็กน้อยประปรายในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นระยะที่มะม่วงออกช่อพอดี, ฝนชะลาน ก็เรียก. |
พฤศจิกายน | น. ชื่อเดือนที่ ๑๑ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน |
พฤษภาคม | (พฺรึดสะพาคม) น. ชื่อเดือนที่ ๕ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน |
พสุสงกรานต์ | น. พระอาทิตย์โคจรมาถึงจุดใกล้สุดกับโลกในราววันที่ ๔ มกราคม เรียกว่า พสุสงกรานต์เหนือ (perihelion) กับโคจรไปถึงจุดไกลสุดจากโลกในราววันที่ ๓ กรกฎาคม เรียกว่า พสุสงกรานต์ใต้. |
มอ ๑ | น. ชื่อเรือต่อเสริมกราบขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่ใช้บรรทุกข้าวเปลือกและเกลือ. |
มิถุนายน | น. ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๓ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. |
มีนาคม | น. ชื่อเดือนที่ ๓ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. |
เมษายน | น. ชื่อเดือนที่ ๔ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ. |
เรือกราบ | น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลมและเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลอง เรือแซง หรือเรือกันได้. |
เรือประกอบ | น. เรือชนิดที่ท้องเรือทำด้วยปีกไม้ซุง ขุดเป็นรางแล้วต่อข้างขึ้นเป็นตัวเรือโดยอาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึดแล้วเสริมกราบ ได้แก่ เรือยาว เรือเพรียว เรือแซ. |
เรือป๊าบ | น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ท้องแบน ไม่เสริมกราบ หัวและท้ายเรือป้าน ลักษณะคล้ายเรืออีแปะสำหรับใช้สอยทั่วไปตามริมหนอง คลอง บึง. |
เรือเป็ด | น. เรือต่อหรือเรือขุดต่อกระดานเสริมกราบชนิดหนึ่ง หัวท้ายแบน ๆ ก็มี หัวท้ายแหลมก็มี กลางป่อง ดูรูปร่างคล้ายเป็ด, เรืออีเป็ด ก็เรียก. |
เรือพระที่นั่งกราบ | น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะเสด็จพระราชดำเนินหรือเสด็จไปอย่างลำลอง เป็นเรือขุดเสริมกราบขนาดใหญ่ สะดวกแก่การประทับเพื่อสำราญพระอิริยาบถไปทางไกล ๆ เช่น เรือศรีเมือง เรือเฟื่องฟ้า เรือทิพากร. |
เรือมอ | น. เรือต่อเสริมกราบขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่ใช้บรรทุกข้าวเปลือกและเกลือ. |
เรือรูปสัตว์ | น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือเสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีป เรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง. |
เรือสำปั้น | น. เรือต่อเสริมกราบชนิดหนึ่ง เดิมทำด้วยไม้กระดาน ๓ แผ่น ท้ายสูงกว่าหัวเรือ ใช้แจวหรือพาย. |
เรืออีแปะ | น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ท้องแบนเสริมกราบ รูปคล้ายเรือสำปั้น แต่หัวเรือสั้นกว่า. |
วันครู | วันที่ระลึกถึงครู ปัจจุบันกำหนดวันที่ ๑๖ มกราคมของปีเป็นวันครู. |
สอง | เดือน ๒ ทางจันทรคติ เรียกว่า เดือนยี่ ตกในราวเดือนมกราคม. |
สำปั้น ๑ | น. ชื่อเรือต่อเสริมกราบชนิดหนึ่ง เดิมทำด้วยไม้กระดาน ๓ แผ่น ท้ายสูงกว่าหัวเรือ ใช้แจวหรือพาย. |
สิงหาคม | น. ชื่อเดือนที่ ๘ ของปีสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน |
สุริยคติ | (สุริยะคะติ) น. วิธีนับวันและเดือนแบบสากล โดยถือกำหนดตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก เช่น วันที่ ๑ ถึงวันที่ ๓๑ เป็นการนับวันทางสุริยคติ เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม เป็นการนับเดือนทางสุริยคติ. |
เสริม | (เสิม) ก. เพิ่ม, เติม, ต่อเติม, หนุน, เช่น เสริมคันกั้นน้ำ เสริมกราบเรือให้สูงขึ้น เสริมจมูก. |
หลวง ๒ | น. กุ้งหลวง. (ดู ก้ามกราม). |
หลักแจว | น. หลักไม้เนื้อแข็งที่มักปักไว้ริมกราบท้ายเรือสำหรับยึดแจว |
อีเป็ด | น. ชื่อเรือต่อหรือเรือขุดต่อกระดานเสริมกราบชนิดหนึ่ง หัวท้ายแบน ๆ ก็มี หัวท้ายแหลมก็มี กลางป่อง ดูรูปร่างคล้ายเป็ด, เรือเป็ด ก็เรียก. |
อีแปะ ๒ | น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง ท้องแบน เสริมกราบ รูปคล้ายเรือสำปั้น แต่หัวเรือสั้นกว่า. |
Macrobrachium rosenbergii | กุ้งก้ามกราม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Tomograph | โทโมกราฟ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Tomography | โทโมกราฟีย์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Convention on Biological Diversity (1992). Protocol, Etc., 2000 Jan. 29 | อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ค.ศ. 1992). พิธีสาร, ฯลฯ, 29 มกราคม ค.ศ. 2000 [TU Subject Heading] |
Macrobrachium rosenbergii | กุ้งก้ามกราม [TU Subject Heading] |
Tomography, X-ray | การบันทึกภาพรังสีโทโมกราฟีย์ [TU Subject Heading] |
Tomography, x-ray computed | การบันทึกภาพรังสีโทโมกราฟีย์ด้วยคอมพิวเตอร์ [TU Subject Heading] |
Thermograph | เทอร์โมกราฟ หรือเครื่องวัดอุณหภูมิแบบกราฟ, Example: เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งใช้เครื่องบันทึกค่า อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา โดยบันทึกลงบนกระดาษที่พันรอบกระบอกลานนาฬิกาซึ่งหมุนไปตามเวลา เทอร์โมกราฟที่ใช้กันโดยมากเป็นแบบโลหะสองชนิดประกบกันแล้วขดเป็นวง (bimetallic strip) หรือแบบหลอดบูร์ดอน (Bourdon tube) ชนิดโลหะประกบกันนั้นมีปลายข้างหนึ่งยึดติดกับตัวเครื่อง อีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับแขนปากกา การยึดและหดของโลหะประกบเนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง จะติดต่อไปยังกระเดื่องกลไกของแขนปากกาดึงปลายปากกาให้บันทึกค่าลงบนกระดาษ กราฟตามความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศ ส่วนแบบหลอดบูร์ดอนดูรายละเอียดในเรื่องของ Bourdon tube [สิ่งแวดล้อม] |
ASEAN Centre for Energy | ศูนย์พลังงานอาเซียน " จัดตั้งขึ้นที่กรุงจาการ์ตา เมื่อเดือนมกราคม 2542 มีหน้าที่ในการแสวง หาความร่วมมือระหว่างสมาชิกอาเซียนและกับประเทศนอกภูมิภาคในการศึกษา วิจัยและดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านพลังงาน " [การทูต] |
Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
International Covenant on Civil and Political Rights | กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 [การทูต] |
International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Judicial Settlement | การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยศาลตุลาการ ก่อนที่จะเกิดองค์การสหประชาชาติ รัฐทั้งหลายที่มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศจะฟ้องร้องต่อศาลระวห่างประเทศแห่ง หนึ่ง มีชื่อว่าศาลประจำยุติธรรมระหว่าประเทศ (Permanent Court of International Justice) ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ปี ผู้พิพากษาของศาลก็ได้ลาออกในปีค.ศ. 1946 และสันนิบาตชาติได้ยุบศาลนี้ในปีเดียวกันเมื่อมีการสถาปนาองค์การสหประชา ชาติขึ้น ได้มีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นใหม่ เรียกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรนี้ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 92 ว่า ?ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจักเป็นองค์กรทางตุลาการอันสำคัญของสหประชาชาติ ศาลจักดำเนินหน้าที่ตามธรรมนูญผนวกท้าย ซึ่งยึดถือธรรมนูญของศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน และซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับกฎบัตรฉบับปัจจุบัน?ศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศนี้ ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1946 [การทูต] |
North American Free Trade Area | เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2537 ประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา แคนาดาและเม็กซิโก [การทูต] |
Open Diplomacy | คือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต] |
The League of Nations | สันนิบาตชาติ เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาแวร์ซาย และสนธิสัญญาอื่น ๆ ที่ทำขึ้นตอนเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสถาปนาเป็นองค์การระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1920 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา สันนิบาตชาติมีหน้าที่สำคัญสองประการ คือ1. ดูแลให้มีการปฏิบัติเป็นไปตามสนธิสัญญา2. ให้โลกมีสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศแต่สันนิบาตชาติมีอายุอยู่ได้ ไม่นาน อุปสรรคสำคัญที่สุดอันหนึ่ง คือ ไม่มีสหรัฐอเมริการ่วมเป็นสมาชิกขององค์การด้วย สันนิบาตชาติประชุมกันเป็นสมัยประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1939 และหมดสภาพเป็นองค์การระหว่างประเทศลงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1946 ทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดได้โอนไปให้แก่องค์การสหประชาชาติ [การทูต] |
The Nordic Council | องค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อทำการปรึกษาหารือกัน ระหว่างรัฐสภาของประเทศเดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน รวมทั้งรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ เกี่ยวกับเรื่องที่จะต้องปฎิบัติร่วมกัน กฎข้อบังคับของคณะรัฐมนตรี (Council) ซึ่งประกอบด้วยประเทศเหล่านี้ ได้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 คณะมนตรีประกอบด้วยผู้แทนซึ่งได้รับการเลือกตั้ง 69 คน รวมทั้งผู้แทนของรัฐบาลด้วย คณะมนตรีนี้ไม่มีสำนักงานถาวร และไม่มีสำนักเลขาธิการระหว่างประเทศ การประชุมได้กระทำกันโดยหมุนเวียนไปตามนครหลวงของประเทศสมาชิก [การทูต] |
World Economic Forum | การประชุม "เวทีเศรษฐกิจโลก" นาย Klaus Schwab ได้ริเริ่มให้มีการประชุมครั้งแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งในปี พ.ศ. 2514 นาย Schwab ได้จัดตั้งเป็น European Management Forum ในลักษณะขององค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และเปิดให้นักธุรกิจชั้นนำ รวมทั้งนักการเมืองระดับสูงเป็นสมาชิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น World Economic Forum และเปิดรับสมาชิกจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีสำนักงานตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กิจกรรมสำคัญประจำปี ได้แก่ การประชุมประจำปีที่เมืองดาวอส (มกราคม หรือ กุมภาพันธ์) การจัดพิมพ์ World Competitiveness Report และการจัดประชุมเพื่อหารือประเด็นเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในประเทศต่าง ๆ [การทูต] |
Electrokymography | อิเล็กทรอคัยโมกราฟีย์, อิเล็กโตรไคโมกราฟี, การบันทึกภาพรังสี, การบันทึกการเคลื่อนไหวของหัวใจด้วยไฟฟ้า [การแพทย์] |
Electronystagmography | การตรวจอีเลคโทรนิสแทกโมกราฟฟีย์, เครื่องบันทึกภาวะนัยน์ตากระตุก [การแพทย์] |
Katabatic wind - Gravity wind | ลมพัดลงลาดเขา หรือลมกราวิทัต [อุตุนิยมวิทยา] |
Thermograph | เทอร์โมกราฟ หรือ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบกราฟ [อุตุนิยมวิทยา] |
Anemograph | อเนโมกราฟ หรือเครื่องวัดลมแบบกราฟ [อุตุนิยมวิทยา] |
Hygrothermograph | ไฮโกรเทอร์โมกราฟ [อุตุนิยมวิทยา] |
Barothermograph | บาโรเทอร์โมกราฟ [อุตุนิยมวิทยา] |
Thermograph | เทอร์โมกราฟ หรือ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบกราฟ [อุตุนิยมวิทยา] |
Kymographs, Electric | เครื่องบันทึกไฟฟ้าไคโมกราฟ [การแพทย์] |
Mammography | เต้านม; การบันทึกภาพ, เต้านม; การบันทึกภาพรังสี, แมโมกราฟฟี่, ตรวจเต้านมโดยวิธีฉายเอ็กซเรย์ [การแพทย์] |
Mandible, Angle of | รอยปุ๋มระหว่างมุมกราม, มุมของกระดูกขากรรไกรล่าง [การแพทย์] |