จะละเม็ด ๒ | น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Caretta caretta Linn. ในวงศ์ Cheloniidae หัวโตกว่าเต่าทะเลชนิดอื่น เกล็ดกระดองหลังแถวข้างมี ๕ ชิ้น กระดองสีนํ้าตาลหรือนํ้าตาลแดง ท้องสีขาวครีม พบในมหาสมุทรแปซิฟิก เขตนํ้าอุ่นของมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย พบน้อยในอ่าวไทย, เรียกไข่เต่าทะเลทุกชนิด ว่า ไข่จะละเม็ด. |
ซาบะ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลาง มี ๓ ชนิด คือ ชนิด Scomber australasicus Cuvier ชนิด S. japonicas Houttuyn และชนิด S. scombrus Linn. ในวงศ์ Scombridae ลำตัวกลมยาว เรียวไปทางคอดหาง ชนิดแรกมีลวดลายสีน้ำเงินเข้มเป็นเส้นทะแยงหยักเรียงขนานชิดกันเป็นระเบียบอยู่เหนือเส้นข้างตัว ที่ต่ำลงไปจนถึงท้องลวดลายจะแตกเป็นจุดประสีเทาจางกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนชนิดที่ ๒ มีลวดลายหยิกหยักสีน้ำเงินจางกว่า และกินบริเวณเกือบถึงแนวกลางลำตัว ๒ ชนิดแรกเป็นปลาฝูง พบกระจายพันธุ์อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดีย ชนิดที่ ๓ มีลายสีน้ำเงินเป็นริ้วขวางอยู่ครึ่งบนของลำตัว พบอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน. |
ไต้ฝุ่น | น. ชื่อพายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. |
พายุไต้ฝุ่น | น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. |
พายุเฮอริเคน | น. พายุที่มีความเร็วลมเช่นเดียวกับพายุไต้ฝุ่น แต่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และภาคตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ. |
สมุทร ๑, สมุทร- | เรียกทะเลขนาดใหญ่ ซึ่งมีแผ่นดินโอบล้อมเป็นตอน ๆ ว่า มหาสมุทร เช่น มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก. |
สังข-, สังข์ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด เช่น สังข์รดน้ำหรือสังข์อินเดีย (Turbinella pyrumLamarck) ในวงศ์ Turbinellidae เปลือกสีขาว รูปทรงงดงาม ใช้สำหรับหลั่งน้ำพระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์, สังข์แตร [ Chalonia tritonis (Linn.) ] ในวงศ์ Cymatiidae เปลือกมีสีและลวดลายสวยงาม ใช้เป่าในงานพิธีของชาวเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, ลักษณนามว่า ขอน เช่น สังข์ ๒ ขอน. |
เฮอริเคน | น. ชื่อพายุที่มีความเร็วลมเช่นเดียวกับพายุไต้ฝุ่น แต่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และภาคตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ. |
ไต้ฝุ่น | ชื่อพายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีน มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต หรือ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ใต้ฝุ่น [คำที่มักเขียนผิด] |
Pacific Ocean | มหาสมุทรแปซิฟิก [TU Subject Heading] |
Pacific Raim | ประเทศริมมหาสมุทรแปซิฟิก, Example: ประเทศและหมู่เกาะต่างๆ ที่อยู่ริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก รวม 34 ประเทศ และ 23 หมู่เกาะ มีพื้นที่กว่า 70 ล้านตารางไมล์ มีประชากรกว่า 2.5 พันล้านคน หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก นับตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ประเทศในภูมิภาคนี้มีความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจในอนาคตสูงและยังมีทรัพยากรอยู่มาก ประเทศที่สำคัญๆ ในแถบรมมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น จนผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยอมรับว่า ศตวรรษที่ 21 ที่กำลังจะมาถึงนั้นจะเป็นสตวรรษของประเทศที่อยู่ริมมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Century) เพราะจะเป็นภูมิภาคที่มีอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุด [สิ่งแวดล้อม] |
Pacific Islands Forum | PIF เป็นองค์กรระดับภูมิภาคของประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 เพื่อขยายความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาที่ยั่งยืน ธรรมาภิบาลและความมั่นคง ปัจจุบันมีสมาชิก 16 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นาอูรู หมู่เกาะคุก ตองกา ฟิจิ ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปาปัวนิวกีนี วานูอาตู ปาเลา ไมโครนีเซีย คิริบาส นีอูเอ และตูวาลู มีประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) จำนวน 12 ประเทศและ 1 กลุ่มเศรษฐกิจ ประกอบด้วย แคนาดา จีน ฝรั่งเศส อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ไทย และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังมีประเทศผู้สังเกตการณ์ (Observer Status) อีก 3 ประเทศ คือ ติมอร์เลสเต นิวแคลิโดเนีย และเฟรนซ์โปลินีเซีย สำนักเลขาธิการ PIF ตั้งอยู่ที่กรุงซูวา ประเทศฟิจิ [การทูต] |
hurricane | พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อนที่มีกำลังแรงมาก ความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกอ่าวเม็กซิโก ถ้าเกิดบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนเรียกพายุไต้ฝุ่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
typhoon | พายุไต้ฝุ่น, พายุโซนร้อนที่มีกำลังแรงมาก ความเร็วลมบริเวณใกล้ศูนย์กลางเกินกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
El Nino | เอลนีโญ, ความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ ที่ทำให้ พื้นทวีปบริเวณด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีฝนตกหนักกว่าปกติ ในขณะที่พื้นทวีปบริเวณตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดความแห้งแล้งกว่าปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
La Nina | ลานีญา, ความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ ที่ทำให้ พื้นทวีปบริเวณด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก แห้งแล้งกว่าปกติ ในขณะที่พื้นทวีปบริเวณตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดฝนตกหนักกว่าปกติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |