มารค | (n) path, See also: way, course, route, Syn. มรรค, มรรคา, ทาง, เส้นทาง, วิถี, Example: ในหลวงทรงโปรดฯ ให้ราษฎรได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินทั้งทางสถลมารคและชลมารค, Count Unit: ทาง, สาย, เส้น, Thai Definition: แนวที่ใช้ผ่านไปมาได้ |
มารค | (n) path, See also: way, course, route, Syn. มรรค, มรรคา, ทาง, เส้นทาง, ทางน้ำ, ทางบก, ผลู, พิถี, วิถี, Example: ในหลวงทรงโปรดฯ ให้ราษฎรได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินทั้งทางสถลมารคและชลมารค, Count Unit: ทาง, สาย, เส้น, Thai Definition: แนวที่ใช้ผ่านไปมาได้ |
ชลมารค | (n) watercourse, See also: ocean, a river track, river route, Syn. ทางน้ำ, Notes: (สันสกฤต) |
ธนุรมารค | (n) curve, See also: bowline, Count Unit: สาย, เส้น, Thai Definition: ทางโค้งเหมือนธนู, Notes: (สันสกฤต) |
ชลมารค | (-มาก) น. ทางนํ้า เช่น กระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค. |
ธนุรมารค | (ทะนุระมาก) น. ทางโค้งเหมือนธนู. |
มารคอหอย | (มาน-) น. ผู้ที่ขัดผลประโยชน์ที่ผู้อื่นจะพึงมีพึงได้. |
มารค | (มาก) น. ทาง เช่น ชลมารค สถลมารค. |
สถลบถ, สถลมารค | น. ทางบก เช่น กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค. |
กระทุ้งเส้า | ก. เอาไม้เส้ากระทุ้งเพื่อให้จังหวะฝีพาย สำหรับเรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค. |
กัน ๓ | ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่ายในสิ่งที่จำเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง ทำหน้าที่ถวายอารักขา ว่า เรือกัน. |
ขมวดยา | (ขะหฺมวด-) น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, โขมดยา ก็ว่า. |
โขมดยา | (ขะโหฺมด-) น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, ขมวดยา ก็ว่า. |
ค | (คอ) พยัญชนะตัวที่ ๔ เรียกว่า คอ ควาย เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากกหรือแม่กก เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค. |
ชะวุ้ง | ว. วุ้ง, เป็นคุ้ง, คด, อ้อม, เช่น หว่างเวิ้งชะวุ้งศิขร (กุมารคำฉันท์). |
ดั้ง ๑ | เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือไชยและเรือพระที่นั่งลำทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง. ก. ป้องกัน. |
ด้าม | ต้น, ทาง, เช่น รยกคันธมาทน์ โดยด้ามอาทิสวคนธ์ (ม. คำหลวง จุลพน), อันว่าพระสรรเพชญ์ ผู้เผด็จด้ามตัณหา ลุปรมาภิสมพุทธ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์), บพิตร ข้าอยู่ศุขเสวอยราช โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), ดูกรเจ้าอำเภอใด แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม ทำโทษน้นน (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ทะแยกลองโยน | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ทำนองเพลงทะแย อัตรา ๒ ชั้น มาบรรเลง และตีกลองสองหน้า หน้าทับกลองโยน เลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ, ในการเทศน์มหาชาติใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน. |
นักสราช | ตำแหน่งนายขมังธนูอยู่หน้าเรือพระที่นั่ง เพื่อยิงผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นอันตรายต่อพระเจ้าแผ่นดิน ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค. |
มหากฐิน | น. ชื่อพระชฎาเครื่องต้น เรียกว่า พระชฎามหากฐิน, ชื่อพระแสงหอกที่เชิญลงในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า พระแสงหอกมหากฐิน. |
รายตีนตอง | น. พระแสงสำคัญที่เจ้าพนักงานเชิญไปในเรือพระที่นั่งในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดยเชิญเป็นคู่อยู่หน้าและหลังเจ้าพนักงานเชิญพระแสงหอก เรียกพระแสงสำคัญองค์ต่าง ๆ เหล่านี้ ว่า พระแสงรายตีนตอง ปัจจุบันใช้ในขบวนพยุหยาตราทางสถลมารคด้วย |
เรือกราบ | น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลมและเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลอง เรือแซง หรือเรือกันได้. |
เรือกัน | น. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้างและกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ. |
เรือโขมดยา | น. เรือขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรียว บนหัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยน้ำยาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้. |
เรือดั้ง | น. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้. |
เรือประตู | น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่ง กับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อนถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้ายกระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูใน กับหมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก. |
เรือพระที่นั่ง | น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งจักรี เรือพระที่นั่งจันทร หรือเสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช. |
เรือพระที่นั่งกิ่ง | น. เรือหลวงแบบโบราณสำหรับเป็นลำทรงของพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งกิ่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งกิ่งศรีสมรรถไชย เรือพระที่นั่งกิ่งไกรสรมุข. |
เรือพระที่นั่งชัย | น. เรือพระที่นั่ง เช่น เรือสุพรรณหงส์ เรืออนันตนาคราช เรือเอนกชาติภุชงค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระชัยวัฒน์ประดิษฐานขึ้นเป็นประธานบนบุษบกกลางลำ เป็นเรือนำกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชสงคราม หรือการพระราชพิธีสำคัญ, เรียกย่อว่า เรือชัย. |
เรือพระที่นั่งรอง | น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค. |
เรือพระที่นั่งศรี | น. เรือหลวงที่จัดเป็นพระราชพาหนะสำรองไปในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ทอดบัลลังก์กัญญา ดาดหลังคาด้วยผ้าสักหลาดสอดสีอย่างพนักอินทรธนู ถ้าเป็นเรือพระที่นั่งเพิ่มผ้าเยียรบับลายทองกลางกรอบพนักอินทรธนู. |
เรือพระประทีป | น. เรือที่ใช้ลอยในงานพระราชพิธีลอยพระประทีป ทำด้วยไม้ขุดจำลองจากเรือหลวงที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ปักเทียนรายบนหลังกระทงเรือ ถวายให้ทรงจุดและปล่อยลอยไปตามน้ำแทนกระทงหลวงซึ่งมีมาแต่เดิม. |
เรือพิฆาต ๑ | น. เรือหลวงสมัยโบราณ ทำหน้าที่ลาดตระเวนนำไปข้างหน้ากระบวนเรือเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค และอยู่ท้ายกระบวนคอยถวายอารักขา กระบวนหนึ่งมีหลายลำ เช่น เรือมังกรจำแลง เรือมังกรแผลงฤทธิ์ เรือเหราล่องลอยสินธุ์. |
ล้อมวง | อารักขาเขตพระราชฐานหรือบริเวณรอบสถานที่ที่ประทับนอกพระนคร ทั้งการเสด็จโดยสถลมารคและชลมารค, รักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร หรือพระรัชทายาทก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ โดยจัดเจ้าหน้าที่ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ. |
เสด็จพระราชดำเนิน | ก. เดินทาง (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เช่น เสด็จพระราชดำเนินโดยทางสถลมารค เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง. |
เห่ | น. ทำนองที่ขับร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้เมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ในพระราชพิธีขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม |
เห่เรือ | น. ทำนองที่ขับร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค. |