มิได้ | ว. ไม่ได้, ไม่ใช่. |
หาค่าบ่มิได้, หาค่ามิได้ | ว. มีค่ามากจนประมาณไม่ได้. |
หาบมิได้, หาบ่มิได้ | (หาบอ-, หาบ่อ-) ว. ไม่มีเลย เช่น คนดีอย่างนี้หาบมิได้, บางทีใช้คร่อมกับคำอื่น เช่น เพชรเม็ดนี้หาตำหนิบ่มิได้. |
กรรโชก | (กัน-) ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว เช่น ผู้ใดกรานกรรโชกราษฎรแลตรัสถามตนฯ อำพรางพระเจ้าอยู่หัว มิได้กราบทูลตามสัจตามจริงก็ดี (สามดวง), โบราณเขียนเป็น กันโชก หรือ กำโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). |
กรรมาธิการ | (กำ-, กัน-) น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภา คณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ. |
กระเดื่อง ๒ | แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง. |
กระทั่ง ๑ | ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา (นิ. เพชร), อนึ่งเรือหน้าบอกให้เรือหลังราไว้ และเรือหลังมิได้ราอยู่ภายไปกระทั่งเรือหน้าแตกล่มก็ดี (สามดวง) |
กระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย ทูลพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่มิได้ทรงกรม และหม่อมเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, สรรพนามบุรุษที่ ๑ ที่หม่อมเจ้ามีรับสั่งระหว่างกัน. |
กรุ ๑ | (กฺรุ) น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. |
กลอง | (กฺลอง) น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ขึงด้วยหนัง ใช้ตีบอกสัญญาณ กำกับจังหวะ หรือใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ลักษณะกลมกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้มะม่วง มีทั้งหน้าเดียวและ ๒ หน้า ที่ขึ้นหนังหน้าเดียว เช่น โทน กลองยาว รำมะนา ที่ขึ้นหนัง ๒ หน้า เช่น กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ การขึ้นหนังมีทั้งที่ใช้หมุดตรึงให้แน่น และใช้โยงเร่งเสียงด้วยสายหนัง เรียกว่า หนังเรียด หรือใช้หวายหรือลวด ยังมีกลองที่หล่อด้วยโลหะทั้งลูก แต่มิได้ขึงด้วยหนัง ก็มี เช่น มโหระทึก และกลองที่ทำด้วยดินเผา การตีกลองอาจใช้ไม้ตี มือ (ฝ่ามือ) หรือนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. |
กลอนสด | น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด. |
กะแช่ | น. นํ้าเมาชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเหนียวนึ่งหมักแช่กับแป้งเชื้อ แต่ยังมิได้กลั่นเป็นสุรา. |
การฌาปนกิจสงเคราะห์ | น. กิจการที่บุคคลหลายคนตกลงเข้าร่วมกันเพื่อทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ หรือจัดการศพและสงเคราะห์ครอบครัวของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ตกลงเข้าร่วมกันนั้นซึ่งถึงแก่ความตาย และมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน. |
การิตการก | (การิดตะ-) น. ผู้ถูกใช้ให้ทำ, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้หน้ากริยา “ถูก-ให้” เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท “ยัง” หรือกริยานุเคราะห์ “ให้” เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทำงาน นายจ้างให้ลูกจ้างทำงาน. |
เกล้ากระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ของสด | น. ของที่มิได้สุกด้วยความร้อน. |
คณะกรรมาธิการร่วมกัน | น. คณะกรรมาธิการของรัฐสภาที่สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเลือกและแต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อพิจารณาหรือดำเนินการเรื่องใดที่รัฐสภามอบหมาย. |
คณะกรรมาธิการวิสามัญ | น. คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเรื่องที่สภามอบหมาย และเมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้ว คณะกรรมาธิการนั้นย่อมพ้นจากตำแหน่ง. |
คดีดำ | น. คดีหมายเลขดำ ซึ่งหมายถึง คดีที่ฟ้องร้องต่อศาลและศาลได้ลงทะเบียนคดีในสารบบความของศาล โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว ศาลจะให้หมายเลขคดีใหม่เรียกว่าคดีหมายเลขแดง ควบคู่ไปกับคดีหมายเลขดำที่ให้ไว้เดิม เช่น คดีหมายเลขดำที่ ๑/๒๕๕๐ คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๕๑ หรือกล่าวโดยสรุป คดีดำ หมายถึง คดีที่ศาลยังมิได้ตัดสินหรือจำหน่ายคดี ส่วนคดีแดง คือ คดีที่ศาลได้ตัดสินหรือจำหน่ายคดีแล้ว. |
ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น | น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่นกว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึก แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้ |
ความรู้สึกด้อย | น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึกและผู้นั้นไม่จำเป็นต้องมีปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้ |
ค่า | เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้. |
คุณนาย | น. คำยกย่อง ใช้เรียกภรรยาข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ยังมิได้เป็นคุณหญิง, ในปัจจุบันใช้เรียกยกย่องสตรีทั่ว ๆ ไปที่ผู้เรียกนับถือ. |
ใคร ๒, ใคร ๆ | (ไคฺร) ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้. |
จ้น | ว. ถี่ ๆ เช่น กินออกจ้นมิได้หยุดช่างสุดแสน (นิ. ลอนดอน). |
จัดการงานนอกสั่ง | น. การที่บุคคลคนหนึ่งเข้าทำกิจการแทนผู้อื่น โดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้ทำหรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนผู้อื่น. |
จาตุรงคสันนิบาต | น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คำสามัญว่า มาฆบูชา. |
จีวรกาลสมัย | น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วันมหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). |
เจ๋อ, เจ๋อเจ๊อะ | ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ไม่สมควรเมื่อเขาไม่ต้องการหรือมิได้เรียกหา. |
เจ้าจอมมารดา | คำเรียกเจ้าขรัวยายของสมเด็จเจ้าฟ้า แต่มิได้เป็นเจ้าจอมมารดาในพระมหากษัตริย์. |
โจท | (โจด) ก. ฟ้อง เช่น ทาสโจทเจ้าว่ามิได้เปนทาสก็ดีว่าได้ส่งเงินค่าตัวแล้วก็ดี (สามดวง). |
ชักสื่อ | ก. แนะนำชายหญิงให้รู้จักกันในฐานชู้สาว เช่น ถ้าเจ้าไช้ให้ข้าชักสื่อ ท่านว่าข้าเถียงเจ้ามิได้ อย่าให้ไหมทาษนั้นเลย (สามดวง), ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องสังฆาทิเสส (นวโกวาท). |
ชำเรา ๑ | ก. ลึก, ล่วงเข้าไป, เช่น ชายใดข่มขืนภิริยาท่านถึงชำเรา ให้ไหมโดยประถมผิดเมียทวีคูณ ถ้าข่มขืนมิได้ถึงชำเรา ให้ไหมโดยปรถมผิดเมีย (สามดวง พระไอยการลักษณผัวเมีย) |
เชื้อพระวงศ์ | น. ผู้ที่สืบเชื้อสายราชสกุล ตลอดลงมาจนถึงผู้ที่นับเนื่องอยู่ในราชสกุล ได้แก่ หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง และผู้ที่ใช้คำว่า ณ อยุธยา ต่อท้ายชื่อสกุล แต่มิได้หมายรวมถึงสตรีที่สมรสกับผู้สืบสายราชสกุล. |
ซะซิกซะแซ | ว. เสียงร้องไห้มีสะอื้น, บางทีเขียนเป็น ซซิกซแซ ก็มี เช่น ก็พร้อมกนนกล้นนน้ำตามิได้ ไห้ซซิกซแซไปในที่น้นน (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ซัด ๔ | ก. ละ, ทิ้ง, หลบหนี, เช่น แม้นซัดพลัดหนีไปตายแห่งอื่นเปนพับทังสองข้าง ต่างคนต่างจะเอาเงินอันยังเหลืออยู่แก่กันนั้นมิได้เลย (สามดวง). |
เซต ๑ | น. คำที่ใช้ระบุถึงกลุ่มหรือหมู่ของสิ่งต่าง ๆ โดยมีเงื่อนไขที่แน่นอนว่า สิ่งใดอยู่ในกลุ่มหรือสิ่งใดมิได้อยู่ในกลุ่มนั้น ๆ |
ดูร้าย | น. ดูว่าไม่ดี เช่น เมื่อแขกเมืองมาแลเบีกเข้าไปถวายบังคม บมิได้นุ่งห่มเสื้อสนอบซึ่งพระราชทานนั้น แลนุ่งห่มเสื้อผ้าอื่นมิควรให้มาดูร้าย (สามดวง กฎมณเทียรบาล). |
ตลาดนัด | น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจำ จัดให้มีขึ้นเฉพาะในวันหรือสถานที่ที่กำหนดเท่านั้น. |
ติงทุเลา | ก. ถ่วงเวลา, แย้งขอให้ระงับไว้ก่อน, เช่น แลอั้นคำค้านเสียมิได้ถามพญาณ แลอั้นคำท้วงติงทุเลาเสีย (สามดวง พระธรรมนูน), ครั้นว่าพี่มีคำติงทุเลา ช่างกระไรไม่เอาสักอย่าง (รามเกียรติ์ ร. ๒). |
ทรัพย์นอกพาณิชย์ | น. ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย. |
ทั้งดุ้น | ว. ทั้งหมดโดยมิได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือตัดแบ่งเลย เช่น ลอกมาทั้งดุ้น. |
ที่ดินของรัฐ | น. ที่ดินซึ่งมิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด. |
ทุจริตต่อหน้าที่ | ก. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น. |
ธรรมชาติ | ว. ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น สีธรรมชาติ. |
นัด ๓ | ลักษณนามเรียกกระสุนปืนทั้งที่ยังมิได้ยิงและที่ได้ยิงออกไปแล้ว เช่น กระสุน ๓ นัด ยิงสลุต ๒๑ นัด. |
นางบำเรอ | น. หญิงที่ปรนเปรอเฉพาะชายคนใดคนหนึ่งในทางกามารมณ์โดยมิได้อยู่ในฐานะภรรยา. |
นางพระกำนัล | น. คุณพนักงานหญิงที่ยังมิได้แต่งงาน มีหน้าที่ปฏิบัติรับใช้พระมหากษัตริย์และเจ้านาย. |
น้ำมันดิบ | น. นํ้ามันที่สกัดหรือสูบขึ้นมาจากแหล่งกำเนิด และยังมิได้ทำให้บริสุทธิ์หรือยังมิได้นำไปกลั่นแยกออกเป็นส่วน ๆ. |
บังวาย | ก. เสื่อมเสีย, เสียหาย, เช่น ท่านท้าวเทเวศทังหลาย ทำกลบังวาย มิได้พินิตริะตรอง (สามดวง), เสื่อมคลาย เช่น แม้รักด้วยฤทธิ์ประสิทธิมน ตรวิกลกฤติยา พลันหน่ายบังวายสวาทอา ดุรร้าง บ่ รางนาน (กฤษณา). |
มิได้นำพา | รู้แต่ก็ไม่นำไปปฏิบัติ [ศัพท์วัยรุ่น] |
Agreement | การที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต] |
Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] |
Approbation | การที่รัฐหนึ่งใดมีทัศนคติในทางพึงพอใจและเห็น พ้องด้วยกับบทบัญญัติในสนธิสัญญาหนึ่งใด ซึ่งรัฐนั้นมิได้เป็นภาคีคู่สัญญานั้นแต่อย่างใด [การทูต] |
ASEAN Sectoral Dialogue Partners | คู่เจรจาเฉพาะด้านของอาเซียน " ปัจจุบันมีเพียงประเทศเดียว คือ ปากีสถาน ทั้งนี้ คู่เจรจาเฉพาะด้าน มิได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม PMC " [การทูต] |
Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] |
Conference on Disamament | การประชุมว่าด้วยการลดอาวุธ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการลดอาวุธระหว่างประเทศ มีขอบเขตความรับผิดชอบเกี่ยวกับประเด็นด้านการลดอาวุธทุกด้าน และมีหน้าที่ รายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติทุกปี ปัจจุบันมีสมาชิก 65 ประเทศ(ไทยมิได้เป็นสมาชิก) โดยที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในการเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ ด้านการลดอาวุธหลายฉบับ ที่สำคัญได้แก่ สนธิสัญญาไม่แพร่อาวุธนิวเคลียร์ อนุสัญญาห้ามเคมี อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ และสนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ [การทูต] |
Communiqué | คำประกาศทางการหรือแถลงการณ์ทางการ ซึ่งรายงานให้ทราบผลของการประชุม หรือการเจรจาเป็นทางการระหว่างเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในรัฐบาล เช่น ประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เอกอัครราชทูต หรือบุคคลอื่นในระดับนั้น คำแถลงการณ์ที่เรียกว่า Communiqué นี้ไม่มีรูปแบบโดยเฉพาะแต่อย่างใด โดยปกติอะไรที่ได้ตกลงกันไว้ในการเจรจาจะบรรจุไว้ด้วยถ้อยคำกว้างๆ ส่วนอะไรที่มิได้ระบุไว้ในแถลงการณ์มักจะมีความสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำที่เขียน ไว้เสียด้วย [การทูต] |
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving State | ในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต] |
consensus | ฉันทามติ หมายถึง แนวปฏิบัติในการตัดสินใจที่จะมีมติดำเนินการหรือไม่ดำเนินการในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง โดยแม้ทุกฝ่ายจะมิได้เห็นพ้องร่วมกัน แต่ก็ไม่มีผู้ใดคัดค้าน [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] |
Convention on the Rights of the Child | อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้รับการรับรองจากสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2532 โดยอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็ก (บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี) เพื่อให้ได้รับการศึกษา การดูแล ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือกระทำทารุณกรรม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 191 ประเทศ คงเหลือโซมาเลียและสหรัฐอเมริกาที่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กด้วยการภาคยานุวัติ อนุสัญญาฯ มีผลปังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ขณะนี้ไทยยังคงมีข้อสงวน 2 ข้อ คือ ข้อ 7 เรื่องสัญชาติ และ ข้อ 22 เรื่องการให้สถานะเป็นผู้ลี้ภัย [การทูต] |
dark suit | ชุดสากลสีเข้ม (สีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม) " ใช้ในโอกาสไปร่วมงานทางการ เช่น งานเลี้ยงอย่างเป็นทางการ การ เข้าพบบุคคลสำคัญ การไปร่วมงานสำคัญทางการที่มิได้มีการระบุใน บัตรเชิญหรือกำหนดการให้เป็นการแต่งกายแบบอื่น " [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
Diplomatic Expressions | ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Diplomatic Pouch | ถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต] |
Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] |
Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articles | การยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต] |
Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Heads of State | ผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต] |
High Commiissioner | ข้าหลวงใหญ่ หรือผู้แทนทางการทูตของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกสังกัดเครือจักรภพอังกฤษ (The Commonwealth of Nations) และประจำอยู่ ณ ประเทศของสมาคมนี้ด้วยกัน แท้ที่จริงแล้วตำแหน่งนี้ก็เท่ากับตำแหน่งเอกอัคร ราชทูตในกรณีของประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกสังกัดในเครือจักรภพนั่นเอง เช่น ในกรณีที่ผู้แทนทางการทูตของประเทศแคนาดาไปประจำ ณ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองเป็นประเทศในเครือจักรภพด้วยกัน เขาจะเรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า High Commissioner ไม่ใช้คำว่า Ambassador แต่ถ้าผู้แทนทางการทูตของแคนาดาไปประจำประเทศนอกเครือจักรภพ เช่น ประเทศไทย ก็จะเรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า เอกอัครราชทูต (Ambassador) [การทูต] |
High Seas | ทะเลหลวง คือทุกส่วนของทะเลที่มิได้อยู่ในทะเลอาณาเขต (Territorial Sea) ของประเทศใด โดยที่ถือว่าทะเลหลวงเป็นทรัพย์สินร่วมกันของทุกชาติ รัฐจะยึดเอาไปทำประโยชน์ของตนเองฝ่ายเดียวไม่ได้ และจะถือว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของทะเลหลวงอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของตนไม่ได้เช่นกัน [การทูต] |
Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agents | ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
inviolability | ความละเมิดมิได้ [การทูต] |
Inviolability | หมายถึง ความละเมิดมิได้ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ตัวแทนทางการทูตต้องได้รับการคุ้มครองมากยิ่งกว่าบุคคล ธรรมดา มีการกล่าวกันว่า ตัวเอกอัครราชทูตนั้นจะได้รับการเคารพยกย่องพอ ๆ กับตัวประมุขของรัฐทีเดียว การให้ความคุ้มครองเช่นนี้จะขยายไปถึงสิ่งของทุกชิ้นที่เป็นของเอกอัคร ราชทูตบุคคลในครอบครัว บริวาร คนใช้ เครื่องเรือน เอกสาร และจดหมายโต้ตอบของเอกอัครราชทูต เป็นต้น [การทูต] |
Inviolability of Residence and Property of Diplomatic Agents | หมายถึง ความละเมิดมิได้ของทำเนียบและทรัพย์สินของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ว่า ?1. ให้ที่อยู่ส่วนตัวของตัวแทนทางการทูต ได้อุปโภคความละเมิดมิได้และความคุ้มครอง เช่นเดียวกับสถานที่ของคณะผู้แทน 2. ให้กระดาษเอกสาร หนังสือโต้ตอบ และยกเว้นที่ได้บัญญัติไว้ในวรรค 3 ของข้อ 31 ทรัพย์สินของตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคและละเมิดมิได้เช่นกัน?วรรค 3 ของข้อ 31 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า มาตรการบังคับคดีไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต (เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยเงื่อนไขว่า มาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้ โดยปราศจาการละเมิด) หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
jus cogens | กฎเกณฑ์ทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศที่มีลักษณะ เป็นกฎหมายเด็ดขาดซึ่งจะละเมิดมิได้ [การทูต] |
Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] |
Normal Diplomacy | การติดต่อทางการทูตโดยวิถีทางทูตตามปกติ มักจะกระทำกันดังนี้ เมื่อรัฐบาลต้องการจะหยิบยกปัญหาขึ้นกับอีกรัฐบาลหนึ่ง ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะส่งคำสั่งไปยังเอกอัครราชทูตของ ประเทศตนที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับส่งให้ยกเรื่องนั้นขึ้นเจรจากับรัฐบาล ของประเทศผู้รับ โดยปกติเอกอัครราชทูตจะมีหนังสือทางการทูต (Diplomatic Note) เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีวาการกระทรวงการต่างประเทศ ของประเทศผู้รับนั้นก่อน หรือไม่ก็ไปพบกับรัฐมนตรีด้วยตนเอง ณ กระทรวงการต่างประเทศ การเจรจากันอาจทำให้จำเป็นต้องมีการบันทึกของทูตแลกเปลี่ยนกันขึ้น ในรูปบันทึกช่วยจำ (Aide-Memoire ) ในบางกรณี เอกอัครราชทูตจำเป็นต้องไปพูดจา ณ กระทรวงการต่างประเทศ อีกหลายครั้งกว่าจะเสร็จเรื่อง ในระหว่างนั้น เอกอัครราชทูตมีหน้าที่จะต้องรายงานผลการเจรจาแต่ะครั้งไปยังกระทรวงการต่าง ประเทศของตน และบางคราวอาจจะต้องขอคำสั่งเพิ่มเติมอีกเมื่อเกิดกรณีใหม่โดยมิได้คาดหมาย มาก่อนเป็นต้น ในขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศของประเทศผู้รับก็จะส่งคำสั่งไปยังเอก อัครราชทูตของตน แนะว่าควรดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจากันกับรัฐบาลของ ประเทศที่ตนประจำอยู่ผลการเจรจาอาจเป็นที่ตกลงกันได้ระหว่างรัฐบาลทั้งสอง ฝ่าย หรืออาจจะจบลงด้วยภาวะชะงักงัน ( Stalemate ) หรือรัฐบาลทั้งสองอาจจะตกลงกันว่าไม่สามารถตกลงกันได้ และปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังไปก่อน จนกว่าจะมีการรื้อฟื้นเจรจากันใหม่ บางคราวปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้น อาจกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันอย่างรุนแรงต่อไปก็ได้ [การทูต] |
Open Diplomacy | คือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต] |
Organization of European Economic Cooperation | คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Parliamentary Diplomacy | การทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต] |
Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
persona non grata | บุคคลทางการทูตที่รัฐผู้รับไม่ยอมรับ เช่น กรณีนักการทูตทำผิดกฎหมายหรือข้อบังคับทางศาสนาในประเทศที่พำนักอยู่ จนทางรัฐบาลของประเทศนั้นไม่อาจยอมรับได้และต้องให้เดินทางกลับออกนอกประเทศ นั้น อย่างไรก็ตาม นักการทูตอาจถูกรัฐบาลของรัฐผู้รับให้ออกนอกประเทศเป็น persona non grata ด้วยเหตุผลของการดำเนินการโต้ตอบทางการเมืองระหว่างรัฐผู้รับและรัฐผู้ส่งก็ เป็นได้ โดยที่นักการทูตผู้นั้นมิได้กระทำผิดกฎหมายของรัฐผู้รับหรือกระทำผิดทาง ศาสนาของรัฐผู้รับแต่อย่างใด [การทูต] |
Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] |
persons of concern | บุคคลในความห่วงใย หมายถึง ผู้หนีภัยจากการประหัตประหารที่มิได้มีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย หรือผู้พลัดถิ่น แต่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จะดูแลช่วยเหลือโดยมีสถานะพิเศษตามที่ได้ตกลงกับประเทศผู้รับ [การทูต] |
Political Appointee | หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต] |
Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] |
rule of origin | กฎแหล่งกำเนิดสินค้า เป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาว่า สินค้ามีแหล่งกำเนิดจากประเทศใด เนื่องจากการผลิตอาจมิได้ผลิตจากวัตถุดิบภายในประเทศเท่านั้น แต่มีการนำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากนอกประเทศมาใช้ในการผลิต [การทูต] |
retortion | การตอบโต้การกระทำของรัฐอื่นซึ่งมิได้เป็นความผิดในทาง กฎหมายระหว่างประเทศ แต่มีลักษณะที่ไม่เป็นมิตร [การทูต] |
The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] |
Visa | การตรวจลงตรา กล่าวคือ เป็นเครื่องหมายแสดงการรับรองที่ประทับอยู่ในหนังสือเดินทางว่า หนังสือเดินทางฉบับนั้นได้รับการตรวจตราแล้ว ในกรณีที่ผู้ถือหนังสือดังกล่าวยื่นขอเดินทางเข้าไปในประเทศที่ให้การตรวจลง ตรา และทุกอย่างถูกต้องจึงให้ผู้นั้นเดินทางไปยังประเทศดังกล่าวได้อนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ของวรรค D ว่า หน้าที่ทางกงสุลข้อหนึ่งคือ ?ออกหนังสือเดินทางและเอกสารเดินทางให้แก่คนชาติของรัฐผู้ส่ง และตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่ง?พึง เข้าใจว่า แม้หนังสือเดินทางจะได้รับการตรวจลงตราแล้วก็ตาม ก็มิได้เป็นการประกันร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ผู้ถือหนังสือนั้นจะได้รับการยินยอมให้เดินทางเข้าไปในรัฐที่ให้การตรวจลง ตรา คือ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในรัฐนั้นอาจห้ามมิให้เข้าประเทศได้ ทั้ง ๆ ที่ได้รับการตรวจตราแล้วก็ตาม แต่การกระทำเช่นนี้เป็นกรณีที่เกิดขึ้นน้อยมากการตรวจลงตราหรือวีซ่านั้น แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ1) การตรวจลงตราทางการทูต ซึ่งออกให้แก่บุคคลในคณะทูตและกงสุล รวมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของต่างประเทศ2) การตรวจลงตราทางราชการ ออกให้แก่ข้าราชการที่ไม่รวมอยู่ในประเภทที่ 1) ซึ่งจะเดินทางไปธุระราชการ และ3) การตรวจลงตราธรรมดา ออกให้แก่บุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และไม่รวมอยู่ในประเภทที่ 1) และ 2) มีหลายประเทศได้ให้การตรวจลงตราชั่วคราว การตรวจลงตราสำหรับลูกเรือเดินทะเล การตรวจลงตราสำหรับพ่อค้าต่างประเทศ การตรวจลงตราสำหรับนักศึกษา และการตรวจลงตราสำหรับผู้อพยพลี้ภัย เป็นต้น [การทูต] |
Waiver of Immunity | การสละความคุ้มกันทางการทูต ในเรื่องนี้บางประเทศออกกฎไว้ว่า ความคุ้มกันจากอำนาจทั้งทางแพ่งหรืออาญาของผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ใน ประเทศผู้รับ ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศได้มอบให้ รวมทั้งคณะเจ้าหน้าที่ทางการทูตและบุคคลในครอบครัวของเขานั้น ย่อมสละมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศของผู้นั้น เหตุผลของการออกกฎข้อนี้เป็นเพราะเขาถือว่า ความคุ้มกันนั้นมิได้เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่โดยตรงหากแต่เกี่ยวกับตำแหน่ง หน้าที่ของเขามากกว่าเรื่องการสละความคุ้มกันข้างต้น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 32 ว่า?1. ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูตและของบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกัน ภายใต้ขอ้ 37 อาจสละได้โดรัฐผู้ส่ง 2. การสละต้องเป็นที่ชัดแจ้งเสมอ 3. การริเริ่มคดีโดยตัวแทนทางการทูต หรือโดยบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลภายใต้ข้อ 37 จะกันตัวแทนทางการทูตหรือบุคคลนั้นจากการอ้างความคุ้มกันของอำนาจศาล ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียกร้องสิทธิ สำคัญนั้น 4. การสละความคุ้มกันจากอำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีปกครอง ไม่ให้ถือว่ามีนัยเป็นการสละความคุ้มกันในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตาม คำพิพากษา ซึ่งจำเป็นต้องมีการสละต่างหากอีก? [การทูต] |
computer virus | ไวรัสคอมพิวเตอร์หมายถึง โปรแกรมที่คนบ้า ๆ เขียนซ่อนไว้เพื่อทำลายโปรแกรม แฟ้มข้อมูลหรือ อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือ เกาะติดตามไปกับโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟ้มข้อมูล command.com ทำให้มีการติดต่อระบาดไปในที่ต่างได้เหมือนเชื้อไวรัส สาเหตุของการติดไวรัส ก็คือมีการใช้จานบันทึกร่วมกัน ไวรัสเหล่านี้มักจะกำหนดมาให้เพิ่มความสามารถในการทำลายทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่ใช้โปรแกรมนั้น วิธีการป้องกันไวรัสในขั้นต้นก็คือ 1. อย่าใช้จานบันทึกของผู้อื่น หรือร่วมกับผู้อื่น2. ใช้โปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่ใช้จานบันทึกในหน่วยบันทึก A: หรือ B: รวมทั้งจัดการใช้วัคซีนฉีดกันไว้ก่อน แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะมีไวรัสใหม่ ๆ เพิ่มมาทุกวัน (ดู vaccine) 3. จัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ใหม่ วิธีนี้รับประกันได้ผลแน่นอน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ข้อมูลหรือโปรแกรมอื่นที่เก็บไว้แม้จะยังมิได้ติดไวรัสก็จะหายไปหมด พร้อมกับไวรัส |
essential | (อะเซน'เชิล) adj. จำเป็นที่สุด, ซึ่งขาดเสียมิได้, เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ, เป็นปัจจัย, เกี่ยวกับตัวยาสำคัญ, เกี่ยวกับหัวน้ำมัน, เกี่ยวกับหัวน้ำหอม, เป็นธรรมชาติ, ซึ่งเกิดขึ้นเอง., See also: essentialness n. ดูessential, Syn. funda |
file attribute | ลักษณะประจำของแฟ้มข้อมูลหมายถึง ข้อความที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของแฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้ม ว่าเป็นแฟ้มประเภทใด เช่น ซ่อนไว้ (hidden) อ่านได้อย่างเดียว (read only) แก้ไขหรือ ลบทิ้งไม่ได้ (locked) ฯลฯ การเปลี่ยนคุณลักษณะของแฟ้ม ข้อมูล มิได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาใด ๆ ในแฟ้ม แต่จะมีผลต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เกี่ยวกับ แฟ้มข้อมูลนั้น เช่น ถ้าเปลี่ยนให้เป็นประเภท "ซ่อนไว้ " ก็จะหาไม่พบในรายชื่อแฟ้มข้อมูล |
googolplex | โกฏิอสงไขยหมายถึง เลขจำนวนมากมายมหาศาลเสียจนประมาณมิได้ |
incognizant | (อินคอก' นิเซนทฺ) adj. ไม่รู้ถึง, ไม่รู้ตัว, มิได้คาดไว้., See also: incognizance n. |
inestimable | (อินเอส'ทะมะเบิล) adj. ซึ่งประเมินค่าไม่ได้, หาค่ามิได้, ล้ำค่า, See also: inestimability, inestimableness n. inestimably adv. |
invaluable | (อินแวล'ลิวอะเบิล) adj. หาค่ามิได้, ล้ำค่า, สุดที่จะประเมินค่าได้, มีค่าเหลือล้น., See also: invaluableness n. invaluably adv. |
invariant | (อินแว'ริเอินทฺ) adj. หาค่ามิได้, ล้ำค่า. n. ค่าที่คงที่, Syn. unvarying, constant |
priceless | (ไพรซฺ'ลิส) adj. ราคาสูงจนหาค่ามิได้, ขบขัน., See also: pricelessness n., Syn. invaluable, costly |
requisite | (เรค'ควิซิท) adj. จำเป็น, ต้องการ, เป็นสิ่งที่ขาดเสียมิได้, เป็นสิ่งจำเป็น, See also: requisiteness n. |
vital | (ไว'เทิล) adj. เกี่ยวกับชีวิต, จำเป็นสำหรับชีวิต, กระฉับกระเฉง, มีพลังงาน, มีชีวิตชีวา, มีกำลัง, จำเป็น, สำคัญ, ขาดเสียมิได้, ทำลายชีวิต, ทำให้ตายได้, ความเป็นความตาย |