กระจอกเทศ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Struthio camelus Linn. ในวงศ์ Struthiornidae เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีน้ำตาล ขาใหญ่แข็งแรง ตีนมี ๒ นิ้ว วิ่งเร็ว แต่บินไม่ได้ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ปัจจุบันนำมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยเพื่อเป็นอาหาร. |
กระจัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri (Pallas) ในวงศ์ Gobiidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหว และความสามารถขึ้นมาพ้นนํ้าได้คล้ายปลาจุมพรวดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทำรูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวนํ้า ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้ ขนาดยาวได้ถึง ๒๗ เซนติเมตร, กะจัง ก็เรียก. |
กระด้งมอญ | น. ภาชนะสานรูปกลม ก้นลึก มีขนาดใหญ่ สำหรับใส่ของเป็นต้น. |
กระดาด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia macrorrhizos (L.) G. Don ในวงศ์ Araceae มีหัวใต้ดิน ต้นคล้ายบอนหรือเผือกแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ก้านใบตอนล่างเป็นกาบสีเขียว ทั้งต้นใช้ทำยา หัวทำให้สุกแล้วกินได้, กระดาดขาว ปึมปื้อ เผือกกะลา หรือ เผือกโทป้าด ก็เรียก. |
กระเต็น | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Alcedinidae หัวโต คอสั้น ปากแหลม ยาว ตรง แบนข้าง และแข็งแรง หากินโดยวิธีพุ่งตัวลงจับเหยื่อเช่นปลาในนํ้าหรือแมลงตามท้องทุ่ง พวกที่มีขนาดเล็กส่วนใหญ่มีสีสวยสะดุดตา เช่น กระเต็นน้อยแถบอกดำ ( Alcedo euryzona Temminck) กระเต็นน้อยสามนิ้ว [ Ceyx erithacus (Linn.) ] พวกที่มีขนาดกลาง เช่น กระเต็นลาย [ Lacedo pulchella (Horsfield) ] กระเต็นอกขาว [ Halcyon smyrnensis (Linn.) ] กระเต็นสร้อยคอสีน้ำตาล [ Actenoides concretus (Temminck) ] และพวกที่มีขนาดใหญ่ เช่น กระเต็นขาวดำใหญ่ [ Megaceryle lugubris (Temminck) ] กระเต็นปักหลักหรือปักหลัก [ Ceryle rudis (Linn.) ]. |
กระทิง ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลำคลองและที่ลุ่ม ที่พบทั่วไปในประเทศไทย เช่น ชนิด M. armatus (Lacepéde), M. favus Hora, และกระทิงไฟ ( M. erythrotaeniaBleeker) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร. |
กระมัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntioplites proctozysron (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นใหญ่แข็งและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลำตัวเป็นสีขาว ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เหลี่ยม ก็เรียก. |
กลไฟ | (กน-) น. เรียกเรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้นเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในท้องทะเลหรือมหาสมุทร ว่า เรือกลไฟ. |
กลองมริกัน | น. ชื่อกลองฝรั่งชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่ ขึ้นหนัง ๒ หน้า และตีทั้ง ๒ หน้า ให้เสียงสอดสลับกัน ใช้ไม้ตีข้างละอัน การบรรเลงอาจใช้แขวนหรือวางในแนวตั้ง หรือคล้องคอตีในการบรรเลงในขบวนก็ได้. |
กว่าง | (กฺว่าง) น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae ตัวผู้มีเขาที่หลังอก ตัวเมียไม่มีเขา เช่น ชนิด Xylotrupes gideon Linn. ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้งหรือกว่างชน มีเขาที่หลังอกยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิหรือกว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่หรือกว่างอีลุ่ม. |
กอริลลา | น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla Savage & Wyman ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ลํ่าสันและแข็งแรงกว่ามาก ขนลำตัวสีดำหรือสีเทา มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา. |
กะละปังหา | น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ชั้น Anthozoa ตัวมีขนาดเล็ก รูปร่างทรงกระบอก อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สร้างเปลือกเป็นโครงร่างแข็งเชื่อมต่อเนื่องกันไปลักษณะคล้ายกิ่งไม้ มีสีต่างกันตามแต่ชนิด บางชนิดมีขนาดใหญ่และแข็ง นิยมนำมาทำเป็นลูกปัด เครื่องประดับ พวกที่อยู่ในอันดับ Gorgonacea มีสีแดง เหลือง ส้ม ม่วง พวกที่อยู่ในอันดับ Antipatharia มีสีดำ, กัลปังหา ก็เรียก. |
กะโล่ | ภาชนะสานคล้ายกระด้ง แต่ก้นลึกกว่ากระด้ง มีหลายขนาด แต่ชนิดที่ทาชันเพื่อไม่ให้นํ้ารั่วออก สำหรับหมักขี้ไต้หรือยาเส้นนั้น มีขนาดใหญ่กว่ากระด้งมาก มักเรียกว่า กะโล่มอญ หรือ กระด้งมอญ |
กุดจี่ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae หัวแบน ขาแบน ด้านข้างขามีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย ลำตัวยาว ๐.๕-๖.๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ปั้นมูลสัตว์เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกตัวมักทำเสียงดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียก ตัวฉู่ฉี่หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อย เช่น Onitis subopacusArrow, Onthophagus seniculus Fabricius พบทุกภาค, กุดจี่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กุดจี่ขี้ช้างหรือด้วงขี้ช้าง ( Heliocopris dominus Bates) พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน, จี่ ก็เรียก. |
แกะ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Ovis วงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องรูปร่างคล้ายแพะ แต่ไม่มีเครา มีเขา ๑ คู่ ไม่ผลัดเขา มีขนาดใหญ่โค้งงอ ปลายบิดไปข้างหน้า โคนเขาถึงประมาณกลางเขามีวงนูนลักษณะคล้ายพาลี ขนบนลำตัวยาวและอ่อนนุ่ม ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ชนิดที่นำเลี้ยง ได้แก่ ชนิดย่อย Ovis amon aries Linn. |
ขอบกระด้ง | น. ชื่อเรียกกระเพาะอาหารกระเพาะแรกของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่นวัวควาย มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวน ๔ กระเพาะ เยื่อบุภายในมีสันคล้ายขอบกระด้ง. |
ขุนทอง | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Gracula religiosa Linn. ในวงศ์ Sturnidae ปากสีส้ม ที่ท้ายทอยและหางตาทั้ง ๒ ข้างมีแผ่นเนื้อสีเหลือง ขนลำตัวสีดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม ตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ ( G. r. intermediaHay) แผ่นเนื้อต่อเนื่องกัน และขุนทองใต้หรือขุนทองควาย ( G. r. religiosa Linn.) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก และแผ่นเนื้อไม่ต่อเนื่องกัน, พายัพเรียก เอี้ยงคำ. |
เขี้ยวแก้ว | เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก |
โข่ง ๑ | น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวหลายชนิด ในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้า มีขนาดใหญ่กว่าหอยขม ก้นหอยสั้น วงสุดท้ายใหญ่ค่อนข้างกลม เช่น ชนิด Pila Ampullacea (Linn.), P. polita (Deshayes). |
คนทีเขมา | (คนทีขะเหฺมา) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex negundo L. ในวงศ์ Labiatae คล้ายต้นคนทีสอ แต่ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓-๕ ใบ และมีขนาดใหญ่กว่า ดอกสีขาว ปลูกไว้ตามบ้าน ใช้ทำยาได้, ปัตตานีเรียก กุโนกามอ. |
ค้าว | น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๒ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทางหาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว [ Wallago attu (Bloch) ] และ ค้าวดำ คูน ทุก อีชุก อีทุก หรือ อีทุบ ( W. micropogon Vailant) ซึ่งมีหนวดยาวกว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก. |
แคว | (แคฺว) น. ลำนํ้าที่ไหลมารวมกับลำนํ้าอีกสายหนึ่งซึ่งมีขนาดใหญ่พอ ๆ กัน เช่น แควน้อย แควใหญ่ |
จงโคร่ง, โจงโคร่ง | (-โคฺร่ง) น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper Gravenhorst ในวงศ์ Bufonidae เป็นคางคกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระทั่วตัว ตุ่มที่หลังมีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลดำและน้ำตาลเหลือง ท้องสีขาวหม่นบางตัวมีจุดสีแดงเล็ก ๆ ยางขาวมีฤทธิ์ทำให้มึนเมา อาศัยในป่าบริเวณริมลำธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก. |
จงอาง | น. ชื่องูพิษชนิด Ophiophagus hannah (Cantor) ในวงศ์ Elapidae เป็นงูพิษรุนแรงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร หัวโต เกล็ดบนหัวใหญ่ สามารถยกหัวและลำตัวท่อนบนตั้งขึ้นได้สูงและแผ่บริเวณคอออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย แต่ไม่แผ่เป็นแผ่นกว้างเท่างูเห่า ขณะแผ่แม่เบี้ยจะเห็นลายขีดบั้งที่ด้านหลังคอ ตัวสีเขียวอมเทาหรือสีคลํ้า พบทั้งในป่าโปร่งและป่าทึบ, บองหลา ก็เรียก. |
จิ้งโกร่ง | น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด Brachytrypes portentosus (Lichtenstein) เป็นจิ้งหรีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว, อ้ายโกร่ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก, พายัพเรียก จี้กุ่ง หรือ ขี้กุ่ง, อีสานเรียก จิโป่ม จี่นายโม้ จี่ป่ม หรือ จี่โป่ง. |
ดาวตก | น. เทหวัตถุแข็งจากอวกาศ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งประกอบด้วยหินเป็นส่วนใหญ่ อีกชนิดหนึ่งประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเคลื่อนที่ผ่านบรรยากาศสู่ผิวโลก จะลุกไหม้ให้แสงสว่างจ้าเนื่องจากเสียดสีกับอากาศ ถ้ามีขนาดเล็กก็จะไหม้หมดก่อนถึงผิวโลก ถ้ามีขนาดใหญ่ก็จะตกถึงผิวโลกและเรียกว่า อุกกาบาต, ผีพุ่งไต้ ก็เรียก. |
ไดโนเสาร์ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานยุคดึกดำบรรพ์หลายชนิด รูปร่างคล้ายกิ้งก่า ส่วนใหญ่ที่พบโครงกระดูกที่เป็นซากดึกดำบรรพ์มีขนาดใหญ่มาก บางชนิดกินพืช เช่น ชนิด Phuwiangosaurus sirindhornae Martin, Buffetaut & Suteethorn ในวงศ์ Nemegtosauridae, ชนิด Psittacosaurus satayaraki Buffetaut & Suteethorn ในวงศ์ Psittacosidae บางชนิดกินเนื้อสัตว์ เช่น ชนิด Siamotyrannus isanensisSuteethorn & Tong ในวงศ์ Tyrannosauridae, ชนิด Siamosaurus suteethorniBuffetaut & Ingavat ในวงศ์ Spinosauridae, (สำ) ผู้ที่มีความคิดล้าสมัย, มักใช้ว่า ไดโนเสาร์เต่าล้านปี. |
ตะโกรม | (-โกฺรม) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Ostreidae ลักษณะเหมือนหอยนางรม แต่มีขนาดใหญ่กว่า เปลือกขรุขระ สีขาวคล้ำ เช่น ชนิด Crassostrea iredalei (Faustino), C. belcheri (Sowerby), นางรมใหญ่ ก็เรียก. |
ตะเภา ๖ | น. ชื่อขันชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่ ปากกว้างประมาณ ๒ คืบ. |
ติด ๓ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Echeneidae เช่น สกุล Echeneis และ Remora มีลักษณะเฉพาะเด่นกว่าปลาอื่น ๆ ทั้งหมด คือ ที่ด้านบนของส่วนหัวมีแผ่นเกาะติดรูปวงรีลักษณะเป็นซี่เรียงตัวในแนวขวางคล้ายบานเกล็ด ใช้เป็นส่วนยึดเกาะแน่นกับปลาหรือสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือวัตถุลอยนํ้า ปากเชิดขึ้นอยู่ปลายสุดของหัว ที่พบเสมอได้แก่ ชนิด E. naucrates (Linn.) ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร, เหา เหาทะเล หรือ เหาฉลาม ก็เรียก. |
เต่าหก | น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้. |
โต ๒ | ว. ใหญ่, มีขนาดไม่เล็ก, เช่น เขาสวมเสื้อตัวโต, มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบกัน เช่น มะพร้าวโตกว่ามะไฟ มะเขือเทศโตกว่ามะเขือพวง, โดยปริยายเมื่อใช้ประกอบกับคำอื่นบางคำหมายความว่า อวดอ้างความเป็นใหญ่เป็นโต เช่น คุยโต อวดโต วางโต. |
ถ้ำ ๑ | น. ช่องที่เป็นโพรงลึกเข้าไปในพื้นดินหรือภูเขา อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์กระทำขึ้น มีขนาดใหญ่พอที่มนุษย์สามารถเข้าไปได้. |
ทวีป | (ทะวีบ) น. เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง มี ๗ ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดนํ้าล้อมรอบเป็นขอบเขต เช่น ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดภูเขา ทะเล แหล่งอารยธรรมเป็นต้น เป็นแนวแบ่งเขต เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป |
เทียนรุ่ง | น. เทียนที่จุดในพระอุโบสถในวันวิสาขบูชาเป็นต้น มีขนาดใหญ่พอจุดอยู่ได้ตลอดคืน. |
นมนาง ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Trochus niloticus Linn. ในวงศ์ Trochidae เปลือกเป็นรูปกรวยคว่ำ ฐานกว้าง ปลายยอดแหลม ผิวขรุขระ มีลวดลายสีม่วงบนพื้นสีอ่อน คล้ายหอยนมสาวแต่มีขนาดใหญ่กว่า เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ. |
เนบิวลา | น. บริเวณที่มีลักษณะเป็นฝ้าเรืองแสง ปรากฏเห็นได้บางแห่งบนท้องฟ้า มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกลุ่มแก๊ส กลุ่มดาวฤกษ์ และวัตถุต่าง ๆ ที่จะก่อตัวรวมกันเป็นดาวฤกษ์. |
บ้องไฟ | น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่งมีหางยาวอย่างกรวดดอกไม้ไฟ แต่มีขนาดใหญ่มาก, บั้งไฟ ก็ว่า. |
บายศรี | น. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. |
ปลวก | (ปฺลวก) น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายวงศ์ ในอันดับ Isoptera รูปร่างคล้ายมด แต่ส่วนท้องกับอกมีขนาดไล่เลี่ยกัน หนวดมีลักษณะเป็นปล้องกลมคล้ายลูกปัด ไม่หักงอเป็นข้อศอกเหมือนมด ส่วนใหญ่ตัวสีขาวหรือครีม ไม่ชอบแสง อาศัยทำรังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนพื้น รังที่มีขนาดใหญ่มียอดแหลมเรียก จอมปลวก บางชนิดอาศัยทำรังรวมกันอยู่ใต้ดิน มักเอาดินมาสร้างคลุมทางเดิน บางชนิดทำลายไม้ ต้นไม้ ฯลฯ. |
ปี่ชวา | (-ชะวา) น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งที่ได้แบบมาจากชวา รูปร่างลักษณะทุกอย่างคล้ายปี่ไฉน แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า. |
ปี่มอญ | น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง ใช้เป่าในวงปี่พาทย์มอญ มีขนาดใหญ่ ลักษณะเป็น ๒ ท่อน ตัวปี่หรือเลาปี่ทำด้วยไม้เนื้อแข็งสอดอยู่ในลำโพงทำด้วยโลหะ ทรงปากบานออกคล้ายลำโพง แยกเป็นคนละส่วนกับเลาปี่ จึงมีเชือกผูกโยงท่อนบนลำโพงกับเลาปี่ท่อนบนไว้ด้วยกัน. |
โปงลาง | น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อนไม้กลมผูกร้อยเรียงกันตามลำดับขนาดและลำดับเสียงเช่นเดียวกับระนาด แต่มีขนาดใหญ่กว่า. |
โป่งวิด | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Rostratula benghalensis (Linn.) ในวงศ์ Rostratulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายนกปากซ่อม ปากยาวแหลม วงรอบเบ้าตาและหางตาสีขาว ตัวสีนํ้าตาลลาย ตัวเมียมีขนาดใหญ่และสีเข้มสวยกว่าตัวผู้ เมื่อออกไข่จะปล่อยให้ตัวผู้ฟักไข่ตามลำพัง ทำรังเป็นแอ่งบนพื้นดิน อาศัยอยู่ตามท้องทุ่งที่แฉะ ๆ กินแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก. |
ผีพุ่งไต้ | น. เทหวัตถุแข็งจากอวกาศ มี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งประกอบด้วยหินเป็นส่วนใหญ่ อีกชนิดหนึ่งประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเคลื่อนที่ผ่านบรรยากาศสู่ผิวโลก จะลุกไหม้ให้แสงสว่างจ้าเนื่องจากเสียดสีกับอากาศ ถ้ามีขนาดเล็กก็จะไหม้หมดก่อนถึงผิวโลก ถ้ามีขนาดใหญ่ก็จะตกถึงผิวโลกและเรียกว่า อุกกาบาต, ดาวตก ก็เรียก. |
พัสดุไปรษณีย์ | น. หีบห่อบรรจุสิ่งของที่ส่งทางไปรษณีย์ มีขนาดใหญ่และมีนํ้าหนักมากกว่าไปรษณียภัณฑ์อื่น ๆ หุ้มห่อแน่นหนามั่นคง เหมาะแก่สภาพของสิ่งของและระยะทางที่จะส่งไป. |
ม้าลาย | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่มีลายสีดำและสีขาวพาดขวางลำตัวตัดกันเห็นได้ชัดเจน จมูกดำ ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้าเป็นกีบเดี่ยวกลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหางมีขนสั้น อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi (Oustalet) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชนิด E. burchelli (Gray) เป็นชนิดที่นิยมนำมาเลี้ยงตามสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป. |
ม่านลาย | น. ชื่อตะพาบชนิด Chitra chitra Nutphand ในวงศ์ Trionychidae เป็นเต่ากระดองอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เคยพบที่แม่นํ้าแควใหญ่ จังหวัดกาญจนบุรี มีนํ้าหนักถึง ๑๔๘ กิโลกรัม ทั้งตัวและหัวสีนํ้าตาล มีลายสีนํ้าตาลอ่อน กินปลา, กริวลาย ม่อมลาย หรือ กราวด่าง ก็เรียก. |
แม่ปะ | น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่งคล้ายเรือชะล่า แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า ท้ายต่อไม้ยกงอนสูงขึ้นคล้ายหางแมงป่อง มักใช้ถ่อ, หางแมงป่อง ก็เรียก. |
ระนาดทุ้ม | น. ระนาดที่มีเสียงนุ่มนวลกว่าระนาดเอก ลูกระนาดเช่นเดียวกับระนาดเอก แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า ปรกติมี ๑๗ ลูก ปากรางระนาดเว้าโค้งขึ้นคล้ายปากเปลญวน ด้านล่างตัดตรงขนานกับพื้น มีเท้าเล็ก ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมอย่างเดียว. |
Oversized book | หนังสือที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Conventional Drilling Rig | แท่นเจาะบนบกที่มีขนาดใหญ่ สามารถเจาะได้ลึกมากอาจถึง 35, 000 ฟุต [ปิโตรเลี่ยม] |
Loss of coolant accident | อุบัติเหตุจากการสูญเสียตัวทำให้เย็น, โลคา, อุบัติเหตุที่เกิดจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์สูญเสียตัวทำให้เย็น ในอัตราที่เกินกว่าความสามารถของระบบเติมตัวทำให้เย็นของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะชดเชยให้ได้ เช่น การแตกในระบบระบายความร้อนในส่วนที่มีความดัน หรือการแตกที่มีขนาดเทียบเท่ากับพื้นที่หน้าตัดของท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบระบายความร้อนของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, Example: [นิวเคลียร์] |
Gaseous diffusion plant | โรงงานแบบแพร่แก๊ส, <font color="#8b0000"><em>โรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียม</em></font>แบบหนึ่ง โดยการแยกไอโซโทปยูเรเนียม-238 และยูเรเนียม-235 ในรูปแก๊สเฮกซะฟลูออไรด์ออกจากกัน ภายในเครื่องแพร่แก๊สที่มีตัวกั้นเป็นรูพรุน ยูเรเนียม – 235 ซึ่งเบากว่าจะแพร่ผ่านเข้าสู่เครื่องแพร่แก๊สถัดๆ ไปในอัตราที่เร็วกว่า จนกว่าจะได้ยูเรเนียม-235 ที่มีสมรรถนะตามต้องการ โรงงานชนิดนี้มีขนาดใหญ่และใช้กำลังไฟฟ้ามาก จึงไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน [นิวเคลียร์] |
Macrophytes | พรรณไม้น้ำที่มีขนาดใหญ่, Example: พรรณไม้น้ำที่มีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วย ตาเปล่า สามารถจำแนก ตามแหล่งที่เกิดได้เป็น 2 ประเภท คือ Limnophytes และ Halophytes ดู Limnophytes และ Halophytes เพิ่มเติม [สิ่งแวดล้อม] |
Cobra Gold | การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทยและกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ร่วมกันเป็น เจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกคอบร้าโกลด์พัฒนามาจากการฝึกผสมยกพลขึ้นบกระหว่างกองทัพเรือไทยกับกอง ทัพเรือสหรัฐอเมริกาและกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการฝึกร่วมกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ต่อมาใน พ.ศ. 2525 ได้รวมการฝึกหลายอย่างเข้าด้วยกันแล้วกำหนดชื่อรหัสการฝึกขึ้นใหม่ว่า "การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์" ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมฝึกรวม ทั้งร่วมสังเกตการณ์หลายประเทศ รวมทั้งได้ขยายการฝึกครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตอบโต้การก่อการร้ายด้วย [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Anticoagulant | สารเคมีที่เติมลงในน้ำยางเพื่อหน่วงปฏิกิริยาจากแบคทีเรียที่ทำให้ อนุภาคยางที่แขวนลอยอยู่ในตัวกลางมารวมตัวกันเป็นก้อนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้น้ำยางเสียสภาพ ตัวอย่างสารต้านการจับตัว เช่น แอมโมเนีย [เทคโนโลยียาง] |
Anemia, Macrocytic | โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ๋, เลือดจางมาโครซัยติก, โรคโลหิตจางที่เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ, โรคเลือดจางชนิดมาโครไซติก, โลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงโต, โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่, โลหิตจางชนิดเม็ดโลหิตใหญ่, เลือดจางมาโครซิติก [การแพทย์] |
Anemia, Megaloblastic | โลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่, การซีดชนิดเม็ดเลือดแดงโต, โลหิตจางแบบเมกาโลบลาสติค [การแพทย์] |
Brachycephalic | กะโหลกศีรษะมีขนาดใหญ่แบน [การแพทย์] |
egg cell | เซลล์ไข่, เซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของสิ่งมีชีวิต มีขนาดต่าง ๆ กัน เช่น เซลล์ไข่ของนกและสัตว์เลื้อยคลานมีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีไข่แดง ส่วนเซลล์ไข่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและพืชมีขนาดเล็กมาก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
pulvinus | พัลไวนัส, กลุ่มเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ผนังเซลล์บาง มีความไวสูงต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น อยู่บริเวณโคนก้านใบของพืชบางชนิด เช่น ต้นไมยราบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
microscope | กล้องจุลทรรศน์, อุปกรณ์ที่ใช้ส่องดูวัตถุขนาดเล็กซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นหรือเห็นไม่ชัด โดยขยายภาพของวัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและช่วยให้เห็นรายละเอียดเพิ่มขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
telescope | กล้องโทรทรรศน์, อุปกรณ์ใช้ส่องดูวัตถุที่อยู่ไกล ๆ โดยขยายภาพของวัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และช่วยให้เห็นรายละเอียดเพิ่มขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
C++ | ภาษาซีพลัสพลัส, ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่พัฒนามาจากภาษาซี ให้สามารถพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนได้เป็นอย่างดี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Immune Complex, Large | สารเชิงซ้อนทางอิมมูนที่มีขนาดใหญ่ [การแพทย์] |
Islet Cell, Hyperplasia of | ไอซ์เลทเซลล์มีขนาดใหญ่ [การแพทย์] |
Macrocytes | เม็ดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่, เม็ดเลือดแดงขนาดใหญ่ [การแพทย์] |
Macrocytosis | เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ, เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่, เม็ดเลือดแดงโตกว่าปกติ [การแพทย์] |
Macromastia | เต้านมที่มีขนาดใหญ่มาก [การแพทย์] |
Macropsia | เห็นภาพมีขนาดใหญ่กว่าปกติ [การแพทย์] |
Macropsy | เห็นสิ่งของมีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ [การแพทย์] |
Myometrial Hypertrophy | กล้ามเนื้อผนังมดลูกหนามีขนาดใหญ่ขึ้น [การแพทย์] |
burly | (เบอร์'ลี) adj. ซึ่งมีขนาดใหญ่, กำยำล่ำสัน, กำยำ, ล่ำสัน, โผงผาง, ขวานผ่าซาก., See also: burliness n. ดูburly, Syn. thickest, hefty |
cavern | (แคฟ'เวิร์น) n. ถ้ำโดยเฉพาะที่มีขนาดใหญ่และอยู่ใต้ดินส่วนใหญ่ |
citron | n. ผลไม้ คล้ายมะนาว แต่มีขนาดใหญ่กว่า, มะงั่ว |
dane | (เดน) n. ชาวเดนมาร์ก, ชื่อสุนัขพันธุ์เดนมาร์กที่มีขนาดใหญ่, Syn. Great Dane |
desktop computer | คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหมายถึง ไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดพอที่จะวางอยู่บนโต๊ะทำงานได้สบาย ๆ ในปัจจุบัน เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงทุกที โดยปกติ เราจะถือว่า คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะนั้นมีขนาดใหญ่กว่าขนาดกระเป๋าหิ้ว (portable) ซึ่งก็ยังใหญ่กว่าขนาดวางตัก (laptop) และขนาดโน้ตบุ๊ก (notebook) |
electronic numerical inte | มักเรียกด้วยชื่อย่อว่า ENIAC (อ่านว่า อีนีแอ็ก) เป็นชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นโบราณ (ยุคที่หนึ่ง) มีขนาดใหญ่มาก มีหลอดสูญญากาศเป็นหน่วยความจำถึง 180, 000 หลอด สร้างขึ้นราวทศวรรษ 1940ดู first generation computer ประกอบ |
ems | (อีเอ็มเอส) ย่อมาจาก expanded memory specification บางครั้งก็เรียกชื่อเต็มเลยว่า LIM-EMS ย่อมาจากคำว่า Lotus-Intel Microsoft Expanded Memory Specification อีเอ็มเอสนั้นเป็นโปรแกรมที่ขยายตัวประมวลผล 8088 ที่มีหน่วยความจำ 640 K ให้มีเนื้อที่มากขึ้น เพื่อให้มีที่พอบรรจุโปรแกรมโลตัส 1-2-3 ซึ่งเป็นโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) ขนาดใหญ่ ลงไปในหน่วยความจำที่มีขนาดเพียง 640 K ได้ ในปัจจุบัน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้โปรแกรมอีเอ็มเอสนี้แล้ว เพราะหน่วยความจำของไมโครคอมพิวเตอร์รุ่น ใหม่ ๆ มีขนาดใหญ่กว่าสมัยก่อนมาก |
expansion card | แผ่นวงจรส่วนขยายหมายถึง แผ่นวงจรที่ออกแบบพิเศษให้ใช้เสียบเข้ากับบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง ให้ทำงานเพิ่มขึ้นได้ในด้านต่าง ๆ เช่น ทำให้หน่วยความจำของเครื่องมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือทำให้เครื่องใช้กับซีดีรอม (CD ROM) ได้ หรือทำให้ใช้เป็นโมเด็มภายใน (internal modem) ได้ เป็นต้น |
external memory | หน่วยความจำภายนอกหมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัด เราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้มีความหมายเหมือน external storage, secondary memory และ auxiliary storage |
external storage | หมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัด เราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้มีความหมายเหมือน external memory, secondary memory และ auxiliary storage |
first generation computer | คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือนี้ติดต่อกันมาตลอด ทำให้มีการแบ่งวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ออกเป็นยุค (generation) พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ยุคแรกถือว่าเริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1951 ถึงต้น ค.ศ.1960 คอมพิวเตอร์สมัยนั้นสามารถเก็บโปรแกรมได้ ใช้หลอดสุญญากาศเป็นหน่วยความจำ ทำให้มีขนาดใหญ่ กินเนื้อที่มาก ระหว่างทำงาน จะทำให้เกิดความร้อนสูงตลอดเวลา การทำงานจะทำได้ทีละอย่าง และจะเรียงกันไปตามลำดับคำสั่งอย่างเคร่งครัด ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมก็มีแต่ภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ดู generation ประกอบ |
grizzly | (กริซ'ลี) adj. สีเทา, สีเทาบางส่วน, ผมหงอก. n. หมีขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง, Syn. greyish, grizzled |
grizzly bear | หมีขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง มีสีเทาหรือสีน้ำตาล |
king-size | adj. ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าธรรมดา |
king-sized | adj. ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าธรรมดา |
macrocyte | (แมค'ระไซทฺ) n. เม็ดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติ |
memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ |
overlay | ซ้อนแทนหมายถึง การแบ่งโปรแกรมขนาดใหญ่ออกเป็นหลาย ๆ โปรแกรม บางทีเรียกส่วนย่อย ๆ นี้ว่า มอดุล (modul) ด้วยเหตุที่ว่าโปรแกรมนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะบรรจุได้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ จึงต้องมีการจัดแยกคำสั่งบางชุดไว้ต่างหาก จะเรียกมาใช้เมื่อถึงเวลาจำเป็นเท่านั้น โปรแกรมที่แยกไปนี้เรียกว่าโปรแกรมซ้อนแทน การเรียกมาใช้ต้องเรียกผ่านโปรแกรมใหญ่อีกทีหนึ่ง (ให้โปรแกรมใหญ่เป็นผู้เรียกให้) โปรแกรมเหล่านี้จะใช้นามสกุลว่า .OVR ซึ่งก็คงมาจากคำ " overlay " นั้นเอง |
ram disk | จานแรมหมายถึง ส่วนของหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบเข้าถึงโดยสุ่มเหมือนแรม แต่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลเพื่อให้เรียกมาใช้ได้เหมือนจานบันทึก จานแรมนี้จะทำงานได้เร็วกว่าจานบันทึกธรรมดามาก อย่างไรก็ตาม ข้อเสียก็คือถ้าปิดไฟที่เครื่อง ข้อมูลเหล่านี้จะหายหมด โดยปกติ จะมีการแบ่งจานแรมนี้ ออกมาจากแรมส่วนหนึ่ง เพื่อใช้เก็บแฟ้มที่ต้องการเรียกใช้โปรแกรม สำเร็จสมัยปัจจุบันมักจะมีขนาดใหญ่ และต้องการใช้เนื้อที่ในแรมมาก ทำให้คอมพิวเตอร์ที่มีแรมต่ำเกือบจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป หรือไม่ก็ทำงานช้ามาก อาจจะแก้ไขได้ด้วยวิธีการเพิ่มแรมมีความหมายเหมือน virtual disk ดู RAM ประกอบ |
resolution | (เรซซะลู'เชิน) n. ความแน่วแน่, ความเด็ดเดี่ยว, การยืนหยัด, การตัดสินใจแล้ว, มิติ, การลงมติ, การแก้ปัญหา, การยุบลงของส่วนที่บวมหรืออักเสบ , ความคมชัดหมายถึง ความละเอียดของภาพ โดยจะนับจุดเล็ก ๆ ในภาพนั้น ยิ่งมีมากจุดต่อนิ้วก็ยิ่งแสดงว่าภาพนั้นมีความคมชัด เช่น อาจใช้วัดประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ว่า สามารถพิมพ์ได้ 300 - 600 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น ถ้าเป็นชนิดดีมากควรจะพิมพ์ได้ถึง 2, 400 จุดต่อนิ้ว ส่วนความละเอียดของจอภาพ มักจะวัดทั้งความกว้างและยาว เช่น 320 X 200 แสดงว่าจุดมีขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็น 1240 X 800 แสดงว่าจุดมีขนาดเล็ก หมายความว่า ภาพคมชัดกว่า เมื่อใช้อธิบายถึงภาพสี คำ resolution ใช้บอกจำนวนสีที่สามารถแสดงได้ในแต่ละครั้ง ถ้าความคมชัดต่ำ จะแสดงสีได้ครั้งละมาก ๆ ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเหมือนกับว่า ภาพนั้นมีความคมชัดมาก ภาพที่มีความคมชัดมากจริง ๆ จะแสดงสีได้น้อยสีในคราวเดียวกัน โดยปกติ มักใช้คำ high res และ low res เป็นคำย่อว่า ความคมชัดมากหรือน้อยดู high resolutution และ low resolution ประกอบ, Syn. resolve, determination |
rood | (รูด) n. ไม้กางเขน (โดยเฉพาะที่มีขนาดใหญ่), Syn. cross |
seaware | (ซี'แวร์) n. สาหร่ายทะเล (โดยเฉพาะที่มีขนาดใหญ่) ใช้ทำปุ๋ย, Syn. seaweed |
sizable | (ไซ'ซะเบิล) adj. มีขนาดใหญ่มาก, มีขนาดใหญ่พอควร., See also: sizably adv., Syn. sizeable |
villa | (วิล'ละ) n. บ้านพัก (โดยเฉพาะที่มีขนาดใหญ่) , บ้านพักชานเมืองหรือชนบท, คฤหาสน์ |
whittle | (วิท'เทิล) vt., .vi. เหลา, เฉือน, ตัด, เกลา, ถาก, หั่นให้น้อยลง, เอาออกทีละน้อย, ทำให้ลดน้อยลง n. มีด (โดยเฉพาะที่มีขนาดใหญ่) ., See also: whittler n. |