Systematic Planning | กระบวนการวางแผนอย่างมีระบบ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
concert of nations | ความปรองดองระหว่างชาติ หลักการและแนวคิดเรื่องความปรองดองระหว่างชาติเกิดขึ้นในยุโรป ระหว่าง พ.ศ. 2357-2358 ซึ่งเรียกว่า Concert of Europe หรือบางครั้งเรียกว่า Concert of Allies โดยการรวมตัวของกลุ่มรัฐพันธมิตรที่ต่อต้านการขยายอำนาจของฝรั่งเศส คือ รัสเซีย ออสเตรีย ปรัสเซีย และอังกฤษ ได้รวมตัวกันเป็นระบบแห่งยุโรป (European system) หรือระบบแห่งมหาอำนาจในยุโรป ซึ่งต่อมาฝรั่งเศสและสเปนได้เข้าร่วมในระบบความปรองดองแห่งยุโรปด้วย นอกจากนี้การเกิดระบบความปรองดองแห่งยุโรปซึ่งมีระบบการประชุมคองเกรส ระหว่างชาติมหาอำนาจเป็นกลไกสำคัญนั้น ยังเป็นการแสดงถึง "มหาอำนาจแห่งปฐมลำดับ" (The powers of the first order) และยังถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการเรียกชื่อที่ระบุคำว่ามหาอำนาจ (The first expression of the idea of the Great Powers) อย่างไรก็ตาม ระบบความปรองดองแห่งยุโรปได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2365 [การทูต] |
CSI | เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2545 โดยสำนักศุลกากรและป้องกันชายแดนสหรัฐอเมริกา ( US Bureau of Customs and Border Protection )ภายใต้กระทรวง Department of Homeland Security มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่สินค้าที่ขนส่งเข้าไปยังสหรัฐ อเมริกา ด้วยการติดตั้งระบบติดตามตู้บรรทุกสินค้าที่มีความเสี่ยงต่อการก่อการร้าย และมีระบบตรวจสอบตู้บรรทุกสินค้าก่อนออกจากประเทศต้นทางไปสู่สหรัฐอเมริกา [การทูต] |
selaginella | ซีเลกจิเนลลา, พืชพวกหนึ่งที่มีระบบท่อลำเลียง มีขนาดเล็ก อยู่ในไฟลัมไลโคไฟตา ชอบขึ้นในที่ร่มชื้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
psilotum | ไซโลตัม, หวายทะนอย, พืชพวกหนึ่งที่มีระบบท่อลำเลียงจัดอยู่ในไฟลัมเทอโรไฟตา มีไรซอยด์ทำหน้าที่แทนราก มีกิ่งแตกออกมาเป็นคู่ ๆ และมีใบเป็นเส้นเล็ก ๆ ติดอยู่ตามข้อ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
social behavior | พฤติกรรมทางสังคม, พฤติกรรมของสัตว์ที่มีระบบประสาทเจริญดีแสดงออกเพื่อให้เข้าใจความหมายซึ่งกันและกันได้ เมื่ออยู่รวมกันเป็นหมู่พวกหรือสัมพันธ์กัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
dicotyledon [ dicot ] | พืชใบเลี้ยงคู่, พืชที่มีใบเลี้ยง 2 ใบในระยะเอ็มบริโอ เป็นพืชที่มีลำต้นไม่เป็นปล้อง เส้นใบเป็นร่างแห กลุ่มท่อลำเลียงเป็นระเบียบ มีระบบรากแก้ว เช่น ถั่ว มะขาม มะม่วง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
monocotyledon [ monocot ] | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว, พืชที่มีใบเลี้ยง 1 ใบในระยะเอ็มบริโอ เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นปล้อง เส้นใบขนานกัน กลุ่มท่อลำเลียงกระจายอยู่ทั่วไป และไม่มีระบบรากแก้ว เช่น หญ้า กล้วย อ้อย เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
angiosperm | พืชดอก, พืชจำพวกหนึ่งที่มีระบบท่อลำเลียง มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม เป็นพืชที่มีมากที่สุด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heart | หัวใจ, อวัยวะที่ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตของสัตว์ที่มีระบบหมุนเวียนโลหิต [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
acquired behavior | พฤติกรรมที่ได้มา, พฤติกรรมส่วนใหญ่ที่พบในสัตว์ที่มีระบบประสาทเจริญดี เกิดจากการเรียนรู้ ฝึกฝนหรือมีประสบการณ์มาก่อน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
information | สารสนเทศ, ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆ อย่างมีระบบ จนได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าและสาระ หรือมีเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
experimentation | การทดลอง, การทดสอบหรือพิสูจน์สมมติฐานที่มีการวางแผนการทดสอบอย่างมีระบบ แล้วลงมือทำตามที่ออกแบบไว้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
appletalk | (แอปเปิลทอล์ค) ในปัจจุบัน มีการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาใช้ร่วมกัน เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่เรียกว่า "ข่ายงาน" (network) การทำเช่นนี้จำเป็นจะ ต้องมีระบบประสานการใช้เครื่อง แอปเปิล ทอล์คนั้น ทำหน้าที่นี้ แต่ใช้สำหรับทำให้นำเครื่องแอปเปิลแมคอินทอชและเครื่องไอบีเอ็ม พีซีซึ่งมีระบบปฏิบัติการต่างกันมาใช้ร่วมกันในข่ายงานเดียวกันได้ เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุกเครื่องจะมีช่องต่อออก สำหรับแอปเปิลทอลค์ แต่ไอบีเอ็มพีซียังไม่มี ดู network ประกอบ |
batch processing | การประมวลผลเชิงกลุ่มหมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องจัดรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกทีหนึ่ง วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (on line proessing) ซึ่งหมายถึงการที่เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูลดู on line processing ประกอบ |
data redundancy | ความซ้ำซ้อนข้อมูลหมายถึงข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน หากตัดออก ก็จะไม่ทำให้ข้อมูลที่เหลืออยู่เสียหาย ถ้าใช้กับตัวเครื่อง (hardware) หมายถึง เครื่องที่มีระบบการทำงานซ้ำซ้อนกัน ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีหรือใช้ ถ้าต้องการให้มีความเชื่อถือได้สูง |
industry | (อิน'ดัสทรี) n. ความขยันหมั่นเพียร, ความอุตสาหะ, อุตสาหกรรม, ธุรกิจการค้าทั่วไป, เจ้าของกิจการและผู้จัดการทั่วไป, การทำงานที่มีระบบ, Syn. diligence |
information technology | เทคโนโลยีสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า IT หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) |
it | (อิท) pron. มัน, นั่น, ตัว, คน, บุคคล, ตัวมาร, ตัวการ, คนสำคัญ, คนโง่. n. คนเล่น, สถานการณ์โดยทั่วไป ไอทีย่อมาจาก information technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บอย่างมีระบบ การเรียกหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การประมวลผล การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประมวลนั้น รวมไปถึงการเน้นในเรื่องการแสดงผล และประชาสัมพันธ์สารสนเทศนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำไปใช้ต่อไป ตลอดไปจนถึงการสื่อสารข้อมูลนั้นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย ว่ากันว่า IT กำลังจะก้าวเข้ามาแทนวิชา MIS (management information system) เพราะมีขอบเขตกว้างขวางกว่ามาก สรุปสั้น ๆ ได้ว่า เป็นเหมือนการนำวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (computer science) รวมกับนิเทศศาสตร์ (mass communications) |
methodical | (มะธอด'ดิเคิล) adj. มีระบบ, มีแบบแผน, มีระเบียบ, มีเหตุผล, อดทน, รอบคอบ |
number system | ระบบจำนวนหมายถึงจำนวนตัวเลขในแต่ละระบบ เช่น ระบบฐานสิบ จะมีเลขที่ใช้ในระบบ 10 ตัว (นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป) คือ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ฐานสอง จะมีเลขที่ใช้ในระบบ 2 ตัว คือ 0 กับ 1 นอกจากนี้ ยังมีระบบฐานแปด ฐานสิบหก ฯ เลขระบบฐานอื่นไม่สู้เป็นที่นิยมนัก |
pararell computer | คอมพิวเตอร์งานขนานหมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ทำงานทางตรรกะ หรือทางคณิตศาสตร์หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจาก คอมพิวเตอร์นั้นมีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หลายตัว แต่ละตัวทำงานแต่ละอย่าง และสามารถทำไปพร้อม ๆ กันได้ โดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) ทำหน้าที่ดูแลให้ทำงานประสานกันดู serial computer เปรียบเทียบ |
real time processing | การประมวลผลแบบทันทีหมายถึง ระบบการประมวลผลข้อมูลที่ทำในทันทีที่ข้อมูลถูกส่งเข้า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาทันทีเพื่อจะได้สั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือควบคุมได้ เช่น การประมวลผลของเครื่องถอนเงินด่วนตามธนาคารต่าง ๆ (ATM) ซึ่งให้บริการการฝากถอน ทำให้ผู้ใช้บริการทราบผลในทันที เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์จะตรวจสอบให้ในทันทีว่า รหัสถูกต้องหรือไม่ มีเงินพอหรือไม่ ฯ ถ้ามีพอ ก็สั่งปฏิบัติการ คือจ่ายเงินให้เลย การจองตั๋วเครื่องบิน ก็มีลักษณะเป็นแบบทันทีนี้เช่นกัน ส่วนการประมวลผลที่ไม่ต้องทำทันที เรียกว่า "การประมวลผลเชิงกลุ่ม" (batch processing) หมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับ มีระบบปฏิบัติการเป็นตัวควบคุม การประมวลผลแบบนี้ มักจะเป็นงานใหญ่ ๆ จะต้องมีการรวบรวมข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน จึงจะส่งเข้าประมวลผล คอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลให้ตามลำดับก่อนหลัง หรือลำดับความสำคัญ วิธีการนี้ประหยัดกว่า แต่ช้าและไม่ทันใจดู batch processing เปรียบเทียบ |
scientific | (ไซเอินทิฟ'ฟิค) adj. เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์, ควบคุมโดยหลักความจริงหรือหลักการ, มีระบบ., See also: scientifically adv., Syn. empirical, systematic, demonstrable |
terminate-and-stay-reside | terminate-and-stay-resident program โปรแกรมค้างในหน่วยความจำใช้ตัวย่อว่า TSR (อ่านว่า ทีเอสอาร์) หมายถึง โปรแกรมชนิดพิเศษที่จะอยู่ใน RAM เสมอ สามารถเรียกหาได้โดยการกดแป้นคำสั่งที่กำหนดไว้เป็นพิเศษ การเรียกโปรแกรมประเภทนี้ จะเรียกได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะกำลังทำโปรแกรมอะไรอยู่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เรามีระบบวินโดว์ ซึ่งทำให้เราเรียกโปรแกรมมาใช้พร้อม ๆ กันหลายโปรแกรมได้อยู่แล้ว โปรแกรมประเภท TSR จึงไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป |
tsr | ทีเอสอาร์ <คำอ่าน>ย่อมาจาก terminate and stay resident program แปลว่า โปรแกรมค้างในหน่วยความจำ หมายถึง โปรแกรมชนิดพิเศษที่จะอยู่ในแรม (RAM) เสมอ สามารถเรียกหาได้โดยการกดแป้นคำสั่งที่กำหนดไว้เป็นพิเศษ การเรียกโปรแกรมประเภทนี้ จะเรียกได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะกำลังทำโปรแกรมอะไรอยู่ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เรามีระบบวินโดว์ ซึ่งทำให้เราเรียกโปรแกรมมาใช้พร้อม ๆ กันหลายโปรแกรมได้อยู่แล้ว โปรแกรมประเภท TSR จึงไม่เป็นที่รู้จักอีกต่อไป |