กรีด ๒ | (กฺรีด) ก. มีท่วงท่าที่มีลีลางดงามอย่างละครรำ. |
บอล ๒ | น. เรียกงานชุมนุมทางสังคมที่มีลีลาศ รำวง เป็นหลักสำคัญ ว่า งานบอล. |
ย่างเยื้อง | ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, เยื้องย่าง ก็ว่า. |
เยื้องย่าง | ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, ย่างเยื้อง ก็ว่า. |
รำ ๒ | น. การแสดงที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น แขน ขา ลำตัว นิ้ว มือ และเท้า ไปตามลีลาดนตรี ใช้ผู้แสดงตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป มีลีลาและแบบท่ารำสวยงาม เช่น รำแม่บท รำฉุยฉายพราหมณ์, ถ้าเป็นการถืออาวุธประกอบเรียกว่า รำอาวุธ เช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, บางครั้งมีการรำเป็นหมู่ก็เรียกว่า รำ เช่น รำโคม รำวง, อาการที่แสดงท่าแสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน. |
อินทรวิเชียร | (อินทฺระ-) น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น
| (อิลราช). |
แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น
|
โอด | วิธีดำเนินทำนองเพลงไทยอย่างหนึ่งให้มีลีลาแช่มช้า โหยหวน ระคนโศก. |