กาสา ๒ | น. แร่ชนิดหนึ่งมีสีเขียว. |
แก้วมรกต | น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้นและในปาก มีสีเขียวดังสีใบไม้ กระทำให้หน้าเขียว บางทีก็เหลืองหรือดำ ลิ้นกระด้าง คางแข็ง มือกำ เท้างอ. |
แข้งไก่ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla (Linn.) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เรียวลู่ไปทางคอดหางซึ่งแคบมากและเป็นเหลี่ยมแข็งคล้ายแข้งไก่ หน้าครีบก้นมีกระดูกเป็นหนามแข็ง ๒ อัน พับซ่อนในร่องเนื้อได้ ตาโตมีหนังตาไขมัน ปากกว้าง ครีบอกยาวใหญ่เป็นรูปเคียว ครีบหางเป็นแฉกกว้าง ท้ายครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ๗-๑๐ ครีบ เรียงห่างกัน เกล็ดเล็กแต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายใหญ่มาก ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีเขียวอมเทา ด้านท้องมีสีขาวเงิน ขอบแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, ขาไก่ อีลอง อีโลง หรือ หางแข็ง ก็เรียก. |
จามจุรี ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Albizia lebbeck (L.) Benth. ในวงศ์ Leguminosae ดอก (เกสร) อ่อนมีสีเขียวและขาว เมื่อดอก (เกสร) แก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแสด ฝักแบนยาวกว้าง ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีนํ้าตาลอ่อน ไม่มีรส, พฤกษ์ ซึก หรือ ซิก ก็เรียก, มักเรียกต้นก้ามปูหรือต้นจามจุรีแดง [ Samanea saman (Jacq.) Merr. ] ซึ่งเป็นไม้ต่างชนิดกันว่า ต้นจามจุรี. |
เจ้าสามสี | น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ จะมีสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง, พลอยสามสี ก็เรียก. |
ทับ ๓ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงในวงศ์ Buprestidae มีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ลำตัวยาวโค้งนูนแข็ง หัวเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทางหัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่น ๆ ท้องมนเรียวไปทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด มีสีเหลือบหลายสี ที่พบบ่อยมีสีเขียวเป็นมันเลื่อม ตัวเต็มวัยกินใบพืช ตัวหนอนเจาะลำต้น เช่น แมลงทับขาเขียว (Sternocera aequisignata Saunders ) แมลงทับขาแดง ( S. ruficornisSaunders). |
บวน | น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มีเครื่องในหมูต้ม เครื่องแกงมีหอมเผา กระเทียมเผา ข่า ตะไคร้ พริกไทย เป็นต้น โขลกแล้วต้มกับนํ้าคั้นจากใบไม้บางชนิดมีใบมะตูม ใบย่านาง เป็นต้น ทำให้นํ้าแกงมีสีเขียว ๆ ปรุงให้มีรสหวาน เค็ม. |
ใบ | น. ส่วนของพืชที่ติดอยู่กับกิ่งหรือลำต้น โดยมากมีลักษณะเป็นแผ่นแบน ๆ รูปร่างต่าง ๆ กัน มีก้านใบหรือไม่มีก็ได้ มักมีสีเขียว |
พลอยสามสี | น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ จะมีสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง, เจ้าสามสี ก็เรียก. |
มรกต | (มอระกด) น. ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในจำพวกนพรัตน์ มีสีเขียว. |
สร้อยนกเขา | น. ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Osteochilus และ Dangila วงศ์ Cyprinidae ที่มีจุดสีเข้มบนเกล็ด ทำให้เห็นเป็นแถวของจุดเรียงตามยาวอยู่ข้างตัวหลายแถว เหนือครีบอกหรือที่คอดหางมีแต้มหรือจุดสีดำใหญ่ โดยเฉพาะที่พบทั่วไปคือ ชนิด O. hasselti (Valenciennes) ที่ส่วนหลังมีสีเขียวหรือฟ้าเทา ด้านข้างสีนวลและท้องเป็นสีขาวเงิน และมีกลุ่มจุดสีแดงกระจายอยู่เหนือครีบอก ครีบต่าง ๆ ยกเว้นครีบอกมีสีแดงหรืออมแดง ในบางท้องที่ปลาชนิดนี้จะมีสีดังกล่าวจางมาก ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ขี้ขม นกเขา ทองลิน หรือ ตูโบ ก็เรียก. |
สามสี ๑ | พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ จะมีสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง เรียกว่า พลอยสามสี หรือ เจ้าสามสี. |
หลอด ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Solenidae เปลือกประกบกันเป็นรูปทรงกระบอก มีช่องเปิดทั้งด้านหน้าและด้านท้าย มีสีเขียว เขียวอมเหลือง น้ำตาลอมเหลือง ฝังตัวอยู่ใต้พื้นที่เป็นโคลน เช่น ชนิด Solen strictus Gould ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงครามได้ชื่อเพราะมีหอยชนิดนี้ชุกชุม. |
Ecchymosis | ช้ำเลือด, กาฬ, จ้ำเขียว, จ้ำเขียวตามตัว, จ้ำเลือดตามตัว, จ้ำเลือดสีคล้ำ, เลือดออกตามผิวหนังเป็นจ้ำๆ, พรายย้ำ, เลือดออกเป็นพรายย้ำ, จ้ำสีเขียวๆ, การบวมที่มีสีเขียวคล้ำหรือม่วง, จุดจ้ำเลือดตามตัว, จ้ำเลือด, รอยเลือดออกใต้ผิวหนังขนาดใหญ่, ห้อเลือด, ผื่นเลือดออก [การแพทย์] |
sepal | กลีบเลี้ยง, กลีบนอก, กลีบชั้นนอกสุดของดอกไม้ มักมีสีเขียว ทำหน้าที่ป้องกันโครงสร้างอื่น ๆ ของดอกในขณะที่ยังอ่อนอยู่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
bile | น้ำดี, ของเหลวที่ตับสร้างขึ้นมีสีเขียวแกมเหลือง ประกอบด้วย เกลือน้ำดี และสารอินทรีย์อื่น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
leaf blade | แผ่นใบ, ส่วนของใบพืชที่เป็นแผ่น มักมีสีเขียว ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
corundum | คอรันดัม, แร่ชนิดหนึ่ง เป็นผลึกของสารประกอบออกไซด์ของอะลูมิเนียม (Al2O3) มีความแข็ง 9 ความถ่วงจำเพาะ 4 มีหลายสี ส่วนใหญ่เป็นแร่รัตนชาติ เช่น บุษราคัมมีสีเหลือง ไพลินมีสีน้ำเงิน เขียวส่องมีสีเขียว เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
talc | ทัลก์, แร่ชนิดหนึ่ง เป็นผลึกของสารประกอบแมกนีเซียมซิลิเกต สูตรเคมีคือ Mg3Si4O10(OH)2 มีสีเขียว สีเทา สีขาว หรือสีเงิน ความแข็ง 1 ใช้ทำแป้งผัดหน้าแป้งโรยตัว และใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมกระเบื้องเคลือบ อุตสาหกรรมกระดาษ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
green | (adj) มีสีเขียว, See also: ซึ่งเขียวชอุ่ม, Syn. greenish, verid |
greenery | (n) พืชผักที่มีสีเขียวสด, See also: พฤษชาติ |
olive | (adj) ที่มีสีเขียวเข้มปนเหลือง |
olive-green | (adj) ที่มีสีเขียวเข้มปนเหลือง |
verdant | (adj) เขียวขจี, See also: ขจี, เขียวชอุ่ม, มีสีเขียว, Syn. lush |
virid | (adj) ที่มีสีเขียวสด, See also: ที่เขียวชอุ่ม, Syn. greenish |
viridescent | (adj) ที่มีสีเขียวอ่อน, Syn. greenish |
viridian | (n) สารประกอบจำพวกออกไซด์ของโครเมียม มีสีเขียวอมน้ำเงิน |