รยางค์ | น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนหลักของอวัยวะของสิ่งมีชีวิต เช่น หนวดของแมลง ครีบปลา แขน ขา. |
ก้นปล่อง | น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae ที่พบทั่วไป เช่น ชนิด A. dirus Peyton & Harrison, A. minimusTheobald, A. maculatus Theobald ยุงเหล่านี้เวลาเกาะหรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่างของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีรยางค์ปากยื่นยาวออกมา ๑ คู่ ทำให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก เพศเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนำโรคมาสู่คนและสัตว์ เช่น ไข้มาลาเรีย เพศผู้กินนํ้าหรือนํ้าหวานจากเกสรดอกไม้. |
กุ้งเต้น ๒ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Talitridae และ Hyalidae ลักษณะคล้ายกุ้งลำตัวขนาดเล็ก ยาว ๐.๕-๑๕.๐ มิลลิเมตร ตัวแบนทางข้าง หัวไม่มีปลอก อกปล้องแรกรวมกับหัว อกที่เหลือมี ๗ ปล้อง ท้องมี ๖ ปล้อง รยางค์ ๒ คู่แรกอยู่ติดกับหัว ใหญ่กว่าคู่อื่น บางคู่ปลายคล้ายก้ามหนีบ รยางค์ที่อกถัดมามี ๕ คู่ รยางค์ท้องมี ๖ คู่ ๓ คู่สุดท้ายสั้นแข็งใช้สำหรับดีด จึงดีดได้เก่ง อาศัยอยู่ตามฝั่งนํ้าหรือที่ชื้นแฉะ ที่พบบ่อยตามชายทะเลฝั่งตะวันออกของไทย เช่น ชนิด Orchestia floresianaWeber . |
ป่อง ๑ | น. ชื่อแมงหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ในอันดับ Scorpionida หัวติดกับอกเป็นส่วนเดียวกัน รูปร่างค่อนไปทางสี่เหลี่ยมยาว ส่วนท้องเป็นปล้อง ๆ ขนาดไล่เลี่ยกับอก ๗-๘ ปล้อง ส่วนที่เหลือเล็กลงต่อกันยาวคล้ายหาง ที่ปลายมีเหล็กในสามารถต่อยให้เจ็บปวดได้ มีขา ๔ คู่ ด้านหน้ามีรยางค์ ปากขนาดใหญ่เป็นก้ามหนีบใช้สำหรับจับเหยื่อ. |
ปู ๑ | น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก หัวและอกรวมกันเป็นลำตัว ท้องแบนพับอยู่ใต้อก เรียก จับปิ้งหรือตะปิ้ง มีรยางค์ขา ๕ คู่ คู่แรกเป็นขาก้าม พบอาศัยอยู่บนบกในน้ำจืด และทะเล เช่น ปูดำหรือปูทะเล ปูม้า ปูแสม |
พะยูน | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Dugong dugon (Müller) ในวงศ์ Dugongidae ลำตัวอ้วนกลม เรียวยาวไปทางหาง มีขนเฉพาะที่บริเวณใกล้ปาก รยางค์คู่หน้าเป็นแผ่นคล้ายใบพายไม่เห็นเป็นนิ้ว รยางค์คู่หลังไม่โผล่ให้เห็น หางเป็นแฉกแผ่กว้างแบนลง ตัวอาจยาวได้ถึง ๓ เมตร สีเทาดำแกมฟ้า อาศัยอยู่ในทะเลชายฝั่ง กินพืชนํ้าพวกหญ้าทะเล เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง, เงือก วัวทะเล หมูนํ้า หรือ ดูกอง ก็เรียก. |
แมงมุม | น. ชื่อสัตว์พวกแมงในอันดับ Araneae ปากมีรยางค์คู่หน้ารูปร่างคล้ายปากคีบและมีรยางค์ปากรูปทรงคล้ายขา ๑ คู่ ไม่มีหนวด ลำตัวขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด มีขา ๘ ขา ทุกชนิดมีขาที่สามารถชักใยจากรูเปิดตรงส่วนท้อง ส่วนใหญ่กินแมลง มีทั้งชนิดชักใยดักสัตว์ เช่น แมงมุมขี้เถ้า (Pholcusspp.) ในวงศ์ Pholcidae และที่กระโดดจับสัตว์ เช่น แมงมุมสุนัขป่า (Pardosaspp.) ในวงศ์ Lycosidae. |
ไรน้ำเค็ม | น. ชื่อสัตว์น้ำเค็มขาปล้องหลายชนิด ในสกุล Artemiaวงศ์ Artemiidae ขนาดยาว ๒ เซนติเมตรหรือมากกว่า รยางค์อกมี ๑๑ คู่ แต่ละคู่มีเหงือก เพศผู้มีอวัยวะเพศที่ปล้องท้องปล้องที่ ๑ และ ๒ เพศเมียมีรังไข่ ๑ คู่ที่ปล้องอกปล้องท้าย ๆ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ กินตะไคร่น้ำเป็นส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ได้ในทุกระดับความเค็ม พบทั่วโลก นำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อเพาะเลี้ยงเป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ชนิด A. franciscanaKellogg, ไรสีน้ำตาล หรือ อาร์ทีเมีย ก็เรียก. |
ลาย ๒ | น. ชื่อยุงหลายชนิด ในสกุล Aedes วงศ์ Culicidae ผนังด้านล่างของส่วนท้องมีเกล็ด พื้นลำตัวสีดำหรือน้ำตาลแก่ เกล็ดสีขาวสลับเป็นแถบลายต่าง ๆ เพศเมียมีรยางค์คู่ใกล้ปากสั้นกว่าตัวผู้ เกาะดูดเลือดโดยลำตัวขนานกับพื้น วางไข่ในน้ำนิ่งสะอาด ที่พบทั่วไปตามบ้าน เช่น ชนิด A. aegypti (Linn.) เป็นพาหะนำโรคมาสู่คน เช่น โรคไข้เลือดออก. |
สงกรานต์ ๒ | (-กฺราน) น. สัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ชั้น Polychaeta ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์ ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์. |
หนอน ๒ | (หฺนอน) น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวยาวอ่อนนุ่ม ไม่มีรยางค์. |
เหาน้ำ | น. ชื่อสัตว์ขาปล้องหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ ในอันดับ Isopoda ที่เป็นปรสิตของสัตว์น้ำ ส่วนใหญ่ลำตัวยาวรีค่อนข้างแบน ที่สำคัญคือ มีหนวด ๒ คู่ และมีตาแบบไม่มีก้านตา ส่วนอกมี ๗ ปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์คล้ายขา ๑ คู่ ส่วนท้องมี ๖ ปล้อง มีรยางค์ว่ายน้ำ ๕ คู่ ลำตัวมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๕-๒๕ มิลลิเมตร และมีสีแตกต่างกัน เช่น นวล น้ำตาล ดำ ปากเป็นชนิดแทงดูด พบเกาะสัตว์น้ำหลายชนิด เช่น ปลา กุ้ง ปู ที่พบในน้ำจืด เช่น ในสกุล Alitropus วงศ์ Aegidae, ในน้ำเค็ม เช่น ในสกุล Livonecaวงศ์ Cymothoidae. |
ไหม ๑ | น. ชื่อผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ตัวอ้วนป้อมมีขนสีขาวและสีครีมคลุมเต็ม ปีกมีลายเส้นสีนํ้าตาลอ่อนพาดตามขวางหลายเส้น ตัวหนอนสีขาวหรือสีครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายเขาที่ปลายหาง กินใบหม่อนได้อย่างเดียว เมื่อโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้ ซึ่งใยนี้สามารถสาวเป็นเส้นไหมนำมาทอเป็นเสื้อผ้าได้, ใยของสัตว์ชนิดนี้ก็เรียกว่า ไหม |