ราชาธิราช | น. พระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าพระราชาอื่น ๆ. |
ราชาธิราช | ดู ราช ๑, ราช-. |
จักรพรรดิ | น. พระราชาธิราช, ประมุขของจักรวรรดิ, โบราณเขียนว่า จักรพัตราธิราช ก็มี. |
ชอบกล | ว. ต้องด้วยชั้นเชิง, เข้าที, น่าคิด, เช่น อนึ่งซึ่งจะตั้งค่ายอยู่นี้ก็ไม่ชอบกล หาเป็นที่ชัยภูมิไม่ จำจะยกถอยไปตั้งอยู่ ณ เมืองตะเกิงจึงจะทำถนัด (ราชาธิราช) |
ตละ ๒ | (ตะละ) น. เจ้า เช่น ตละแม่ท้าว (ราชาธิราช). |
ตะกรวย | (-กฺรวย) น. ภาชนะสานด้วยตอก ตาห่าง ๆ คล้ายตาชะลอม ทรงกระบอกปากกลม ก้นมน เช่น เมื่อข้าพเจ้าตัดศีรษะกามะนีขาดแล้ว จะได้รับเอาศีรษะมิให้ทันตกลงถึงดิน ใส่ในตะกรวยซึ่งแขวนไปกับข้างม้านั้นเข้ามาถวายพระองค์ (ราชาธิราช สมิงพระรามอาสา). |
ทุรน | ก. เดือดร้อน, ดิ้นรน, เช่น ราชาธิราชอาณา ทั่วสีมามณฑล จะทุรนเดือดแด แปรบเห็นที่พึ่ง (นิทราชาคริต). |
บทกวีนิพนธ์ | น. บทร้อยกรองที่กวีแต่ง เช่น มหาชาติคำหลวง ลิลิตตะเลงพ่าย สามัคคีเภทคำฉันท์, เดิมใช้หมายถึงร้อยแก้วที่แต่งดีด้วย เช่น สามก๊ก ราชาธิราช. |
โมรี ๒ | น. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น ผ้าแดงโมรีสิบพับ (ราชาธิราช). |
ละครพันทาง | น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงมาจากละครรำของเก่า ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น เรื่องสามก๊ก ราชาธิราช พระลอ. |
สะบัดย่าง | ว. อาการที่ม้าวิ่งหรือเดินสะบัดขาอย่างสง่างาม เช่น ว่าพลางทางขับม้าสีหมอก ให้ออกสะบัดย่างวางใหญ่ (ขุนช้างขุนแผน), ฝ่ายสมิงพระรามขึ้นม้าควบไปแต่เวลาเช้าจนสามโมงบ่ายฝึกหัดม้านั้นให้รู้จักทำนองรบรับได้คล่องแคล่วสันทัดแล้ว ก็ชักม้าสะบัดย่างน้องเป็นเพลงทวนกลับมา (ราชาธิราช). |
อัศวเมธ | น. ชื่อพระราชพิธีเพื่อประกาศพระบรมเดชานุภาพของพระราชาธิราชในวรรณคดีอินเดีย โดยจะทรงปล่อยม้าอุปการพร้อมทั้งกองทัพให้เข้าไปในประเทศต่าง ๆ ถ้าประเทศใดไม่ยอมอ่อนน้อมกองทัพจะเข้าโจมตี เมื่อครบ ๑ ปีแล้วกองทัพก็ยกกลับพร้อมทั้งพระราชาที่ถูกปราบ พระราชาธิราชก็จะจัดพระราชพิธีโดยฆ่าม้านั้นบูชายัญ เรียกว่า พิธีอัศวเมธ. |