ราชาภิเษก | น. พระราชพิธีในการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษก. |
ราชาภิเษก | ดู ราช ๑, ราช-. |
กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
กรัณฑ-, กรัณฑ์ | (กะรันทะ-, กะรัน) น. ภาชนะมีฝาปิด เช่น รัตนกรัณฑ์ (สังโยคพิธาน), กรัณฑรัตน (ยวนพ่าย), กรัณฑขลังขังนํ้าทิพมุรธา ภิเษกท่าน (ราชาภิเษก ร. ๗). (ดู กรณฑ์ ๑). |
เครื่องต้น | น. เครื่องทรงสำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรม-ราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า ฉลองพระองค์เครื่องต้น, เครื่องทรงสำหรับพระพุทธรูป ซึ่งมีลักษณะอย่างเครื่องทรงพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม |
ฉัตรมงคล | (ฉัดตฺระ-, ฉัดมงคล) น. พระราชพิธีฉลองพระมหาเศวตฉัตร ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก. |
มุรธาภิเษก | น้ำพระพุทธมนต์และเทพมนตร์สำหรับถวายพระมหากษัตริย์เพื่อสรงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือพระราชพีอื่น ๆ, มูรธาภิเษก ก็ว่า. |
มูรธาภิเษก | น้ำพระพุทธ-มนต์และเทพมนตร์สำหรับถวายพระมหากษัตริย์เพื่อสรงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือพระราชพิธีอื่น ๆ, มุรธาภิเษก ก็ว่า. |
ยุพราช | น. รัชทายาทที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาขึ้นเป็นตำแหน่งสมเด็จพระยุพราช โดยพระราชทานยุพราชาภิเษกหรือโดยพิธีอย่างอื่นสุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ. |
ราชสูยะ | น. พิธีราชาภิเษกของอินเดียโบราณ. |
เลียบพระนคร | ก. เสด็จพระราชดำเนินรอบพระนครภายหลังบรมราชาภิเษกแล้ว, เลียบเมือง ก็ว่า. |
เลียบเมือง | ก. เสด็จพระราชดำเนินรอบพระนครภายหลังบรมราชาภิเษกแล้ว, เลียบพระนคร ก็ว่า. |
วันฉัตรมงคล | น. วันประกอบพระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม. |
สมิต ๓ | ใบไม้มงคลที่ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงปัดพระองค์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. |
อัฐทิศ | น. ชื่อพระแท่นรูป ๘ เหลี่ยม ที่พระมหากษัตริย์ประทับเพื่อรับการถวายราชสมบัติในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า พระที่นั่งอัฐทิศ-อุทุมพรราชอาสน์. |
อัษฎายุธ, อัษฎาวุธ | น. เครื่องราชูปโภคหมวดพระแสง มี ๘ อย่าง คือ ๑. พระแสงหอกเพชรรัตน์ ๒. พระแสงดาบเชลย ๓. พระแสงตรี ๔. พระแสงจักร ๕. พระแสงดาบและเขน ๖. พระแสงธนู ๗. พระแสงง้าวมีขอแสนพลพ่าย ๘. พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่นํ้าสะโตง, จะอัญเชิญมาถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. |
อินทราภิเษก | การที่พระเจ้าแผ่นดินทำพิธีราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอำนาจได้มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย. |
โองการ | น. คำศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำในพระราชพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยา (ศรีสัจจปานกาล), ถ้าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์มาจากพระดำรัสสั่งของพระมหากษัตริย์ที่รับบรมราชาภิเษกแล้ว เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. [ ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม ซึ่งมาจากคำว่า “อะ อุ มะ” ในทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึง พระมหาเทพทั้ง ๓ คือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม ในทางพระพุทธศาสนา อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุต̣ตมธม̣ม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสง̣ฆ (พระสงฆ์) ]. |