รา ๓ | ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น รากันไป |
รา ๓ | น้อยลง, อ่อนลง, เช่น ไฟราดับไปเอง. |
รา ๓ | ว. คำชวนอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทำตาม เช่น ไปเถิดรา. |
กระแตไต่ไม้ ๑ | ชื่อเพลงโหมโรงเสภา เดิมเป็นเพลงไทยภาคเหนือสำเนียงลาว ต่อมามีผู้นำมาแต่งขยายเป็นอัตรา ๓ ชั้น โดยใช้ชื่อเดิม. |
กัลยาณมิตร | (กันละยานะมิด) น. ชื่อเพลงไทยประเภทโหมโรงเสภา อัตรา ๓ ชั้น แต่งขึ้นจากเพลงหน้าพาทย์ชื่อชำนาญ. |
ขยาย | (ขะหฺยาย) น. การนำทำนองเพลงของเดิมมาขยายขึ้น ๑ เท่าตัวโดยยึด (เพิ่ม) ลูกตกเดิมเป็นหลัก เช่น อัตรา ๒ ชั้น ขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น. |
ขวัญเมือง ๒ | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่. |
ขะแมร์กอฮอม | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงเขมร อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ แต่งขยายจากเพลงเขมรแดง อัตรา ๒ ชั้น นิยมบรรเลงต่อกันเป็นเพลงชุด เรียกว่า สามขะแมร์ ซึ่งประกอบด้วย เพลงขะแมร์กอฮอม เพลงขะแมร์ซอ และเพลงขะแมร์ธม. |
ขะแมร์ซอ | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงเขมร อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ แต่งขยายจากเพลงเขมรขาว อัตรา ๒ ชั้น นิยมบรรเลงต่อกันเป็นเพลงชุด เรียกว่า สามขะแมร์ ซึ่งประกอบด้วย เพลงขะแมร์กอฮอม เพลงขะแมร์ซอ และเพลงขะแมร์ธม. |
ขะแมร์ธม | น. ชื่อเพลงไทยสำเนียงเขมร อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ แต่งขยายจากเพลงเขมรใหญ่ อัตรา ๒ ชั้น นิยมบรรเลงต่อกันเป็นเพลงชุด เรียกว่า สามขะแมร์ ซึ่งประกอบด้วย เพลงขะแมร์กอฮอม เพลงขะแมร์ซอ และเพลงขะแมร์ธม. |
ขับไม้บัณเฑาะว์ | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง อัตรา ๓ ชั้น. |
คลื่นกระทบฝั่ง ๑ | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง อัตรา ๓ ชั้น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
จระเข้หางยาว | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น นิยมใช้เป็นเพลงเริ่มฝึกการหัดเรียนดนตรีประเภทเครื่องสายและขับร้อง |
จอมสุรางค์ | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่. |
เถา | เพลงซึ่งบรรเลงด้วยวงดนตรีไทย ใน ๑ เพลงมีอัตราลดหลั่นเรียงลงไปเป็นลำดับเป็นอัตรา ๓ ชั้น อัตรา ๒ ชั้น และอัตราชั้นเดียว หรืออัตรา ๒ ชั้น อัตราชั้นเดียว และอัตราครึ่งชั้น มีความสัมพันธ์โดยทำนองหลัก ลูกฆ้องลงจังหวะเป็นเสียงเดียวกัน และบรรเลงติดต่อกันไปจนจบ เช่น เพลงแขกมอญ เถา. |
ทะแย | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น สมัยอยุธยา หน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ที่เป็นอัตรา ๓ ชั้น นิยมทำเป็นเพลงเดี่ยว |
นาคราช ๑ | ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียว เรียกว่า ไส้เดือนฉกจวัก, เมื่อแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๒ ชั้น เรียกว่า นาคราช ๒ ชั้นหรือนาคราชแผ่พังพาน เมื่อแต่งขยายขึ้นเป็นอัตรา ๓ ชั้น เรียกว่า นาคราชแผลงฤทธิ์หรือไส้พระจันทร์ เมื่อนำมาทำเป็นเพลงเถา เรียกว่า ไส้พระจันทร์ เถา หรือนาคราชแผลงฤทธิ์ เถา. |
ปลาทอง ๑ | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น |
พระทองสักวา | น. ทำนองขับร้องเพลงสักวา อัตรา ๓ ชั้น เป็นเพลงแรกในการเล่นสักวา. |
พระทองหวน | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ เป็นเพลงขับร้องสำหรับการเล่นสักวา. |
ภิรมย์สุรางค์ | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น |
เยี่ยมวิมาน | น. ชื่อเพลงไทยอัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ |
รองทรง | หนังสือสำคัญและสมุดไทยที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นการส่วนพระองค์ เช่น กฎหมายตรา ๓ ดวงฉบับรองทรง. |
สาลิกาชมเดือน | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ |
สาวน้อยเล่นน้ำ | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ |
สุดสงวน | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น และอัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ |
สุรางค์จำเนียง | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ |
สุรินทราหู | (สุรินทะราหู) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเรื่อง อัตรา ๓ ชั้น หน้าทับปรบไก่ |
หงส์ทอง | น. ชื่อเพลงไทย อัตราชั้นเดียว และอัตรา ๓ ชั้น ถ้าเป็นอัตรา ๒ ชั้น เรียกว่า เพลงเวสสุกรรม |
อกทะเล | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น และอัตรา ๓ ชั้น หน้าทับสองไม้ |
อบายมุข | (อะบายยะมุก) น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทำการงาน. |