กระดูกอึ่ง | น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด D. triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งตํ่าซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่วเป็นข้อ ๆ ใช้ทำยาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคำผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก |
กระสุนพระอินทร์ | น. ชื่อกิ้งกือในสกุล Sphaerotherium วงศ์ Sphaerotheriidae ยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร หัวแบนเล็ก ลำตัวโค้งนูน มี ๑๓ ปล้อง ผิวลำตัวเรียบมัน ด้านหลังสีน้ำตาล ดำ ครีม หรือเขียว เมื่อถูกกระทบจะม้วนเข้าสอดกับปล้องสุดท้ายจนกลมคล้ายลูกกระสุนดินปั้น พบชุกชุมช่วงต้นฤดูฝนตามพื้นที่สูงที่มีใบไม้ทับถมและชุ่มชื้น, ปักษ์ใต้เรียก มวนชิด. |
ข้าวนาปี | น. ข้าวที่ปลูกในฤดูฝน. |
เข้าพรรษา | ก. เข้าอยู่ประจำที่ ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์). |
จำพรรษา | ก. อยู่ประจำที่วัด ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์). |
ตะโก้ ๒ | น. ชื่อลมทะเลพัดจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มักมีในปลายฤดูฝน, ลมพัดหลวง ก็เรียก. |
ตะวันตก | เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกในกลางฤดูฝน ว่า ลมตะวันตก |
ตะวันออก | เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกในปลายฤดูฝน ว่า ลมตะวันออก |
ท้ายฝน | น. ปลายฤดูฝน. |
นาปี | น. นาที่ทำในฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูทำนา. |
นาควิถี | (นากคะ-, นาก-) น. ทางที่พระจันทร์โคจรไปในระหว่างดาวสวาดิ (หรือ อัศวินี) ภรณี และกฤติกา, ทางที่พระอาทิตย์โคจรในฤดูฝน. |
บุก ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae ในต้นฤดูฝนจะออกดอกก่อน เวลาบานส่งกลิ่นเหม็นมาก เมื่อดอกโรยแล้วมีใบงอกออกมาเพียงใบเดียว ก้านดอกและใบกลมยาว หน้าแล้งต้นตายเหลือหัวอยู่ใต้ดิน เช่น บุกคางคก [ A. paeoniifolius (Dennst.) Nicolson ]หัวกินได้, บุกรอ (A. saraburiensisGagnep.) ใช้ทำยา. |
ฝนสั่งฟ้า | น. ฝนที่ตกหนักตอนปลายฤดูฝน. |
พรรษา | (พันสา) น. ช่วงระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน เช่น เข้าพรรษา จำพรรษา |
พรรษากาล | น. ฤดูฝน. |
พรรษาคม | น. การเริ่มฤดูฝน. |
พัทธยา ๒ | น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในต้นฤดูฝน ว่า ลมพัทธยา. |
แมงแงว | น. ชื่อสัตว์น้ำขาปล้องหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Streptocephalidae ขนาดยาว ๑.๘ เซนติเมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายไรน้ำเค็ม ลำตัวใส มีถุงไข่ที่ท้อง ๑ ถุง ไข่จม กินสาหร่าย พบตามแหล่งน้ำจืดโดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูฝนเขตภูเขาในจังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู หนองคาย นำมาใช้ปรุงอาหาร เช่น แกงอ่อมหรือห่อหมก ตามธรรมชาติเป็นอาหารของสัตว์น้ำ ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Streptocephalus sirindhornae Sanoamuang, Murugan, Weekers & Dumont. ซึ่งมีหางสีแดงเข้ม, แมงหางแดง แมงอ่อนช้อย หรือ ไรน้ำจืด ก็เรียก. |
ฤดู | (รึ-) น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กำหนดสำหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดูถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์ |
ลมพัทธยา | น. ลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในต้นฤดูฝน. |
ลมสลาตัน | น. ลมทะเลที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝน. |
วรรษา | (วัดสา) น. พรรษา, ฤดูฝน |
วัส-, วัสสะ | (วัดสะ-) น. ฝน, ฤดูฝน |
วัสสาน-, วัสสานะ | (วัดสานะ-) น. ฤดูฝน, หน้าฝน. |
วัสสานฤดู | (วัดสานะรึดู) น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์. |
สลาตัน | (สะหฺลา-) น. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในปลายฤดูฝน ว่า ลมสลาตัน, เรียกลมพายุที่มีกำลังแรงจัดทุกชนิด เช่น ไต้ฝุ่น ไซโคลน ว่า ลมสลาตัน, โดยปริยายใช้เป็นความเปรียบเทียบหมายถึงอาการที่ไป มา หรือเกิดขึ้นรวดเร็วอย่างลมสลาตัน เช่น เวลาเขาโกรธอย่างกับลมสลาตัน. |
หมอ ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus (Bloch) ในวงศ์ Anabantidae ลำตัวป้อม แนวสันหลังโค้งพอ ๆ กับแนวสันท้อง แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง ตาอยู่ค่อนไปทางปลายหัว ปากกว้างเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กแต่แข็งแรง ขอบกระดูกแผ่นปิดเหงือกหยักเป็นหนามแข็ง ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลำตัวและครีบมีสีดำคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจางกว่าและมีลายบั้งพาดลำตัวเป็นระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุกประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจในที่ดอนได้อีกด้วย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง. |
หมู ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล Botia วงศ์ Cobitidae ลำตัวยาวป้อม แบนข้าง คอดหางกว้างมาก มีหนวด ๓ คู่ หนังหนาคลุมเกล็ดมิด บริเวณใต้ตามีเงี่ยงเป็นง่ามกระดูกกางและพับซ่อนตามยาวในร่องเนื้อได้ มีหลายชนิด เช่น ชนิด B. beauforti Smith, B. helodesSauvage, B. modesta Bleeker พบทั่วไปและชุกชุมในฤดูฝน. |