พรหมฤษี | น. ฤษีที่เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด. |
ฤษี | (รึ-) น. ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. |
ชฎิล | น. ผู้มีผมมุ่นเป็นชฎา, นักพรตพวกหนึ่งที่เราเรียกว่า ฤษี. |
ดบัสวิน, ดบัสวี | (ดะบัดสะ-) น. ผู้ประพฤติความเพียร, ฤษี, เพศหญิงว่า ดบัสวินี, เขียนเป็น ดบัศวี ก็มี เช่น รอยมึงบยำชีหน้าหนวด นักบวชด้วยดบัศวี แต่ก่อนฤๅ (ม. คำหลวง ชูชก). |
ดาบส | (-บด) น. ผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี, ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส (อภัย). |
นักธรรม | ฤษี. |
นักสิทธิ์ | น. ผู้สำเร็จ, ฤษี, ลักษณนามว่า ตน. |
พนวาสี | น. ผู้อยู่ป่า, ฤษี. |
มเหสิ, มเหสี ๑ | น. ผู้แสวงหาศีลาทิคุณอันยิ่งใหญ่, ฤษีใหญ่, พระพุทธเจ้า. |
มุนิ, มุนี | น. นักปราชญ์, ฤษี, พระสงฆ์. |
โยคี | น. นักบวชผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ, ฤษีพวกหนึ่ง. |
ฤๅษี | น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. |
ลูกประคำ | น. ไม้หรือแก้วเป็นต้นที่ทำเป็นเม็ดกลมมีรูตรงกลางร้อยด้วยด้ายหรือไหม ส่วนมากมี ๑๐๘ ลูก สำหรับนักบวชมีฤษีเป็นต้นใช้สวมคอเพื่อกำหนดนับการบริกรรมภาวนา คือเมื่อบริกรรมภาวนาจบครั้งหนึ่ง ๆ ก็รูดไว้เม็ดหนึ่ง, เครื่องประดับที่ทำเช่นนั้น. |
สังปะติแหงะ, สังปะลิเหงะ | (-แหฺงะ, -เหฺงะ) น. ฤษี. |
สิทธ-, สิทธ์ | (สิดทะ-, สิด) น. ผู้สำเร็จ, ฤษีผู้สำเร็จ, เช่นที่พูดว่า นักสิทธ์. |
สิทธา | น. ฤษี. |
สิทธาจารย์ | น. อาจารย์ผู้สำเร็จ, ฤษี. |
เสียเพศ | ก. เปลี่ยนภาวะจากคฤหัสถ์เป็นนักบวช เช่น ซัดยังเมืองมัทรบุรี เสียเพศเทพี เป็นดาบสศรีโสภา (สมุทรโฆษ), เปลี่ยนภาวะจากนักบวชเป็นคฤหัสถ์ เช่น เสียฤษีพรตเพศ ห้องหิมเวศนาจลจรหล่ำน้นน ราชเวสมธารยิ ทรงเพศเป็นพญามหากระษัตราธิราช (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
อายัน ๑ | น. นักบวช, ฤษี. |
อิสิ, อิสี | น. ผู้แสวงคุณความดี, ฤษี, ผู้ถือบวช. |