ลงพื้น | ก. เอาวัตถุเช่นดินสอพองหรือรักสมุกทาลงบนพื้นเพื่อให้ผิวเรียบก่อนที่จะทาน้ำมัน ทาสี หรือ เขียนลวดลาย. |
กล่อมหงส์ | น. ชื่อเพลงประเภทเพลงพื้นบ้าน |
เกริ่น ๑ | (เกฺริ่น) ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนำในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิงให้ร้องตอบ |
เกี่ยวข้าว | น. ชื่อเพลงพื้นบ้านของภาคกลาง เรียกว่า เพลงเกี่ยวข้าว. |
โคราช | น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทำนองตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คำ ๓ คำกลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัสในการเล่นคำเล่นความให้สละสลวย บาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง. |
ช้าหงส์, ช้าเจ้าหงส์ | น. ชื่อเพลงประเภทเพลงพื้นบ้าน |
น้ำรัก | น. ยางที่ได้จากไม้ต้นในสกุล Glutaและสกุล Rhus วงศ์ Anacardiaceae ทำให้มีสีดำแล้วใช้ทาลงพื้นให้เหนียวเพื่อปิดทอง. |
ปรบไก่ | ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ใช้ตบมือเป็นจังหวะ ร้องโต้ตอบกันระหว่างหญิงกับชาย. |
แม่เพลง | น. หญิงที่เป็นต้นบทหรือหัวหน้าวงเพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ. |
ไม้กำมะลอ | ไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นวนเวียนลงพื้นดินโดยไม่กลับหุ่นขึ้น. |
รัก ๑ | ชื่อไม้ต้นชนิด Gluta usitata (Wall.) Ding Hou ในวงศ์ Anacardiaceae ยางเป็นพิษ ใช้ลงพื้นหรือทาสิ่งต่าง ๆ เรียกว่า นํ้ารัก, รักใหญ่ ก็เรียก. (เทียบ ส. ลากฺษ). |
หนักกบาล, หนักกบาลหัว | ว. เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะแก่คาบ้าน ก็ไม่หนักกบาลหัวใคร (เพลงพื้นบ้าน), หนักกะลาหัว หนักหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า. |
หนักหัว | เป็นภาระของ, เป็นเรื่องของ, เช่น ถึงจะสุกคาขั้ว ก็ไม่หนักหัวใคร (เพลงพื้นบ้าน), หนักกบาล หนักกบาลหัว หนักกะลาหัว หรือ หนักหัวกบาล ก็ว่า. |
เหย่อย | (เหฺย่ย) น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสดและรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาลเช่นฤดูเกี่ยวข้าว. |
แอ่ว | เพลงพื้นเมืองประเภทหนึ่งใช้วิธีร้องเล่าเรื่อง โดยร้องโต้กันระหว่างชายกับหญิง. |