ลดหลั่น | ว. ต่ำลงไปเป็นชั้น ๆ เช่น นั่งลดหลั่นกันไปตามขั้นบันได, ตามลำดับชั้น เช่น พนักงานได้รับโบนัสมากน้อยลดหลั่นกันไป, ก่อนหลังกันเป็นลำดับ เช่น ข้าราชการเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลดหลั่นไปตามลำดับชั้น. |
ขั้น | น. ชั้นที่ทำลดหลั่นกันเป็นลำดับ เช่น ขั้นบันได |
แคน | น. เครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เสียงคล้ายออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ นิยมเล่นในทุกจังหวัดของภาคอีสานตอนเหนือ ทำด้วยไม้ซาง เรียกว่า ไม้กู่แคนหรือไม้เฮี้ย มีขนาดยาวลดหลั่นกัน เรียงติดเป็นตับในเต้าแคนที่ทำด้วยไม้ ลิ้นแคนทำด้วยโลหะเงินหรือทองเหลือง ทำเสียงสูง-ต่ำ ด้วยการเปิดปิดนิ้วที่รูเล็ก ๆ ซึ่งเจาะไว้ข้างกู่แคน กู่แคนติดแน่นกับเต้าแคนด้วยขี้สูดหรือชันโรง มีหลายขนาด ตั้งแต่ ๓ คู่ จนถึง ๙ คู่ ที่นิยมที่สุดคือคู่ ๘ ใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงทั่วไปและประกอบหมอลำหรือวงพิณ วงโปงลาง ในงานมงคล เป็นมหรสพประจำของชาวอีสาน. |
ฉัตร ๑, ฉัตร- | (ฉัด, ฉัดตฺระ-) น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่าชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลำดับ สำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ. (ส. ฉตฺร; ป. ฉตฺต ว่า ร่ม) |
ชั้น | ขั้นที่ลดหลั่นกันหรือซ้อนกัน เช่น ชั้นดิน ชั้นหิน |
ชั้น | ระดับ เช่น มือคนละชั้น, ลักษณนามเรียกขั้นที่ลดหลั่นกันหรือซ้อนกัน เช่น ฉัตร ๕ ชั้น บ้าน ๒ ชั้น. |
เถา | เพลงซึ่งบรรเลงด้วยวงดนตรีไทย ใน ๑ เพลงมีอัตราลดหลั่นเรียงลงไปเป็นลำดับเป็นอัตรา ๓ ชั้น อัตรา ๒ ชั้น และอัตราชั้นเดียว หรืออัตรา ๒ ชั้น อัตราชั้นเดียว และอัตราครึ่งชั้น มีความสัมพันธ์โดยทำนองหลัก ลูกฆ้องลงจังหวะเป็นเสียงเดียวกัน และบรรเลงติดต่อกันไปจนจบ เช่น เพลงแขกมอญ เถา. |
โถเครื่องแป้ง | น. โถแก้วเจียระไนเป็นต้น มีรูปและสีต่าง ๆ มีขนาดลดหลั่นกันเป็นเถา ใช้ใส่เครื่องสำอางเช่นแป้ง น้ำมันใส่ผม ขมิ้น. |
ธงสามชาย | น. ธงรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชายลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืนธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย. |
เบญจา | (เบ็นจา) น. แท่นมีเสารับเพดานดาดและระบายผ้าขาว, แท่นซ้อน ๕ ชั้นลดหลั่นกัน มักใช้ประดิษฐานบุษบกหรือพระโกศ. |
ไม้สั้นไม้ยาว | น. เรียกวิธีเสี่ยงทายแบบหนึ่งว่าจับไม้สั้นไม้ยาว คือ ใช้ไม้เล็ก ๆ ขนาดสั้นยาวลดหลั่นกันไป จำนวนเท่าคนที่จะจับ กำปลายไม้ให้โผล่เสมอกัน มักตกลงกันว่า ผู้จับได้ไม้สั้นที่สุดเป็นผู้แพ้. |
ไล่ ๆ กัน | ก. มีระดับหรือขนาดสูงต่ำเป็นต้นลดหลั่นกันตามลำดับ เช่น มีลูกอายุไล่ ๆ กัน สูงต่ำไล่ ๆ กัน รุ่นไล่ ๆ กัน. |
สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์ ๑ | (สัดตะบอริพัน, สัดตะพัน) น. ภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น สูงลดหลั่นกันลงมาตามลำดับชื่อภูเขาชั้นในที่สุดจากเขาพระสุเมรุออกมา คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินตกะ อัสกัณ ระหว่างภูเขาแต่ละชั้นมีทะเลสีทันดรคั่น. |
สามชาย | น. เรียกธงสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชายลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืนธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย ว่า ธงสามชาย. |
หลั่น | ว. สูงตํ่าหรือก่อนหลังกันเป็นลำดับ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ลด เป็น ลดหลั่น. |