วาทกะ | (วาทะ-) น. ผู้ประโคม, ผู้บรรเลงดนตรี, นักดนตรี. |
ขมิ้นกับปูน | ว. ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน, ไม่ถูกกัน. |
ประแกก | ก. แตกร้าวกัน, วิวาทกัน. |
ป่องร่า | น. อาการของคนคะนองไม่กลัวใคร ชวนวิวาทกับผู้อื่น. |
รำรำ, ร่ำร่ำ | ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่น รำรำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, ลำลำ ก็ว่า. |
ล้งเล้ง | ว. อาการที่ส่งเสียงเอ็ดอึงราวกับทะเลาะวิวาทกัน เช่น พูดกันล้งเล้ง. |
ละครเวที | น. ละครแบบหนึ่ง แสดงบนเวที มีฉากสมจริงและมีการปิดเปิดม่าน ผู้แสดงดำเนินเรื่องด้วยบทเจรจา เช่น เรื่องผกาวลี ดำเนินเรื่องโดยการแสดงบทและเจรจาอาจมีเพลงแทรกบ้าง เช่น ละครอิงประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ ดรรชนีนาง ขุนศึก ศรอนงค์ พันท้ายนรสิงห์. |
ลำลำ | ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่น ลำลำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, รำรำ หรือ ร่ำร่ำ ก็ว่า. |
วางมวย | ก. ชกต่อยวิวาทกัน. |
วิวาท | ก. ทะเลาะ เช่น เด็กวิวาทกัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทะเลาะ เป็น ทะเลาะวิวาท. |
สิ่งแวดล้อม | น. สิ่งต่าง ๆ ทั้งทางธรรมชาติและทางสังคมที่อยู่รอบ ๆ มนุษย์มีทั้งที่ดีและไม่ดี เช่น โรงเรียนสร้างสวนดอกไม้ให้เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีแก่นักเรียน ชุมชนที่มีการทะเลาะวิวาทกันหรือเล่นการพนันเป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีแก่เด็ก. |
เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน | ก. ยุยงให้โกรธ เกลียด หรือวิวาทกัน. |
หลวง ๑ | น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ |
ห้ามทัพ | ก. ยับยั้งศึก, โดยปริยายหมายความว่า ยับยั้งการทะเลาะวิวาทกัน. |