วินาที | น. ส่วน ๑ ใน ๖๐ ของนาที. |
กำลังม้า | น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ กำลังม้า คือ อัตราของการทำงานได้ ๕๕๐ ฟุตปอนด์ต่อวินาที ๑ กำลังม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, แรงม้า ก็ว่า. |
กิโลไซเกิล | น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ มีค่าเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ว่า กิโลเฮิรตซ์. |
กิโลเฮิรตซ์ | น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ ใช้สัญลักษณ์ kHz ๑ กิโลเฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ ๑, ๐๐๐ เฮิรตซ์ หรือเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที. |
แกมมา | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. |
คลื่นแฮรตเซียน | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ระหว่างสิบกิโลไซเกิล ต่อวินาที และสามล้านเมกะไซเกิลต่อวินาที. |
ความถี่ | น. จำนวนไซเกิล, การแกว่งกวัด, การสั่นสะเทือนหรือคลื่นใน ๑ วินาที เช่น ไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่ ๕๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล |
ไซเกิล | น. ชุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะหนึ่งจนกระทั่งกลับคืนมาสู่ภาวะแท้จริงเดิมอีก เช่น การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่ของไฟฟ้ากระแสสลับเริ่มจากภาวะที่ไม่มีกระแสจนกระทั่งกระแสทวีค่าสูงสุดในทิศทางหนึ่ง แล้วลดลงจนไม่มีกระแส จากนี้กระแสทวีค่าขึ้นอีก จนสูงสุดในทิศทางตรงข้าม แล้วจึงกลับลดลงจนสู่ภาวะไม่มีกระแสอีก ดังนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบ ๑ ไซเกิล จึงใช้จำนวนไซเกิลต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับและความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล. |
บาร์ ๑ | หน่วยวัดความดึงดูดของโลก ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๙๘๐.๖๑๖ เซนติเมตรต่อวินาที ทุก ๆ วินาที. |
บีตา | น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสีแกมมา. |
ปีสุริยคติ | น. ช่วงเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ ๑ รอบ, เท่ากับ ๓๖๕ วัน ๕ ชั่วโมง ๕๑ นาที ๔๐.๕ วินาที แบ่งเป็น ๑๒ เดือน. |
เมกะเฮิรตซ์ | น. หน่วยวัดความถี่ ใช้สัญลักษณ์ MHz ๑ เมกะเฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ ๑ ล้านเฮิรตซ์ หรือ เท่ากับ ๑ ล้านไซเกิลต่อวินาที. |
เมตริก | (เมดตฺริก) น. ระบบการใช้หน่วยสำหรับวัดปริมาณต่าง ๆ โดยกำหนดใช้กรัมเป็นหน่วยของมวลสาร ใช้เซนติเมตรเป็นหน่วยของระยะห่าง และใช้วินาทีเป็นหน่วยของเวลา. |
แรงม้า | น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ แรงม้า คือ อัตราของการทำงาน ได้ ๕๕๐ ฟุตปอนด์ต่อวินาที ๑ แรงม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, กำลังม้า ก็เรียก. |
วัตต์ | น. หน่วยวัดกำลัง ๑ วัตต์ มีค่าเท่ากับ ๑ จูลต่อวินาที หรือ ๑๐ ๗ เอิร์กต่อวินาที, ๗๔๕.๗ วัตต์ มีค่าเท่ากับ ๑ กำลังม้า. |
แอมแปร์ | น. หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ๑ แอมแปร์ คือ กระแสไฟฟ้าที่มีอัตราการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนได้วินาทีละประมาณ ๖ x ๑๐๑๘ อิเล็กตรอน. |
แอลฟา | น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาคแอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับฉากเรืองแสงจะทำให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้. |
เฮิรตซ์ | น. หน่วยวัดความถี่ ใช้สัญลักษณ์ Hz ๑ เฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ ๑ ไซเกิลต่อวินาที. |
Activity | กัมมันตภาพ, <em>การสลาย</em>ของ<em>นิวไคลด์กัมมันตรังสี</em>ต่อหน่วยเวลา ปัจจุบันหน่วยที่ใช้ คือ <em>เบ็กเคอเรล</em> คำนี้ตามรายงานฉบับที่ 33 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านหน่วยและการวัดรังสี (International Commission on Radiation Units and Measurement: ICRU No. 33) ให้ความหมายว่า เป็นจำนวนของนิวไคลด์กัมมันตรังสีในขณะใดขณะหนึ่งที่สลายเปลี่ยนแปลงไปต่อวินาที (ดู Becquerel, Bq และ Curie, Ci ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Becquerel | เบ็กเคอเรล, หน่วยเอสไอที่ใช้วัดกัมมันตภาพ ปัจจุบันใช้แทนหน่วยคูรี 1 เบ็กเคอเรล หมายถึง การสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 1 ครั้งต่อวินาที (ดู curie, Ci ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
curie, Ci | คูรี, หน่วยเดิมที่ใช้วัดกัมมันตภาพ 1 คูรี หมายถึง การสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 3.7 x 10<sup>10</sup> ครั้งต่อวินาที ซึ่งมาจากอัตราการสลายโดยประมาณของธาตุเรเดียมหนัก 1 กรัม หน่วยคูรีตั้งขึ้นตามชื่อของแมรี และปีแอร์ คูรี ผู้ค้นพบธาตุเรเดียม เมื่อ พ.ศ. 2441 ปัจจุบันใช้หน่วยเป็น เบ็กเคอเรล แทน โดย 1 คูรี เท่ากับ 3.7 x 10<sup>10</sup> เบ็กเคอเรล [นิวเคลียร์] |
Delayed neutrons | ดีเลย์นิวตรอน, นิวตรอนที่ถูกปล่อยออกมาจากผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสในช่วงเวลาหลายวินาทีหรือหลายนาทีภายหลังการเกิดปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียส ดีเลย์นิวตรอนที่เกิดขึ้นนี้มีไม่เกินร้อยละ 1 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการออกแบบและควบคุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (ดู prompt neutrons ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Characters per second | อักขระต่อวินาที, Example: หน่วยสำหรับวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์โดยนับเป็นจำนวนตัวอักขระที่พิมพ์ได้ต่อนาทีของเครื [คอมพิวเตอร์] |
Thermal neutron | เทอร์มัลนิวตรอน, นิวตรอนที่มีพลังงานในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ มีความเร็วเฉลี่ย 2, 200 เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิห้อง, Example: [นิวเคลียร์] |
Slow neutron | นิวตรอนช้า, นิวตรอนที่มีพลังงานในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ มีความเร็วเฉลี่ย 2, 200 เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิห้อง, Example: [นิวเคลียร์] |
Million Instruction Per Second | ล้านคำสั่งต่อวินาที, Example: หน่วยสำหรับวัดความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ (หน่วยวัดคร่าวๆ) [คอมพิวเตอร์] |
Nanosecond | นาโนวินาที [คอมพิวเตอร์] |
supercomputer | ซูเปอร์คอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถสูง คิดคำนวณได้เร็วมากกว่าคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ ชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์นี้เดิมที่ตั้งขึ้นเพื่อเรียกคอมพิวเตอร์ Cray-1 ซึ่งเป็นเครื่องที่ผลิตโดยบริษัท Cray Research และต่อมามีผู้พัฒนาเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์อีกมาก รวมทั้งบริษัทคอมพิวเตอร์ในญี่ปุ่นด้วย ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีความเร็วสูงมาก และโดยทั่วไปถือว่าจะต้องเร็วกว่า 300 MFLOPS คือคำนวณเลขจุดลอยตัวได้เกินกว่า 300 ล้านคำสั่งต่อวินาที ซูเปอร์คอมพิวเตอร์นั้นอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงยิ่ง (high performance computer) [คอมพิวเตอร์] |
Neutron generation | รุ่นนิวตรอน, นิวตรอนที่เกิดขึ้นจากการแบ่งแยกนิวเคลียสในแต่ละรุ่น โดยนิวตรอนที่เกิดและปล่อยออกมาในรุ่นก่อน จะเกิดการเทอร์มัลไลซ์ และถูกดูดกลืนโดยวัสดุฟิสไซล์แล้วเกิดการแบ่งแยกนิวเคลียสให้นิวตรอนรุ่นถัดมา และเกิดตามกระบวนการนี้ไปเรื่อยๆ <br>ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์กำลังทั่วไป จะมีนิวตรอนเกิดขึ้นประมาณ 40, 000 รุ่นในทุก ๆ วินาที</br> <br>(ดู thermalization ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
hertz | หน่วยวัดจำนวนคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในหนึ่งวินาที โดยทั่วไปใช้วัดความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ [คอมพิวเตอร์] |
fireball | ลูกไฟ, ไฟร์บอล, กลุ่มเพลิงสว่างจ้าที่เกิดจากแก๊สร้อนซึ่งก่อตัวขึ้นในเวลาเพียง 2 ถึง 3 ในล้านส่วนของวินาทีหลังการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ [นิวเคลียร์] |
activity | กัมมันตภาพรังสี, คือ การสลายตัวของนิวไคล์กัมมันตรังสีต่อหน่วยเวลา หน่วยที่ใช้คือ เบ็กเคอเรล ตามรายงานฉบับที่ 33 ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างประเทศว่าด้วยหน่วยและการวัดรังสี (International Commission on Radiation Units and Measurements : ICRU No.33) ให้ความหมายคำนี้ว่า เป็นจำนวนของนิวไคล์กัมมันตรังสีในขณะใดขณะหนึ่ง ที่สลายตัวเปลี่ยนแปลงไปต่อวินาที [พลังงาน] |
curie | คือ หน่วยเดิมที่วัดอัตราการสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี 1 คูรีหมายถึงการสลายตัวของนิวไคลด์กัมมันตรังสี3.7x1010 ครั้งต่อวินาที หน่วยคูรีนี้มาจากการสลายตัวโดยประมาณของธาตุเรเดียมหนัก 1 กรัม ปัจจุบันใช้หน่วยเป็นเบ็กเคอเรล โดย 1 คูรี = 3.7x1010เบเคอเรล หน่วยคูรีนี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่มารีคูรี ซึ่งเป็นผู้ค้นพบธาตุเรเดียมในปี พ.ศ. 2441 [พลังงาน] |
spallation neutron source | ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เป็นต้นกำเนิดนิวตรอนรุ่นใหม่ จัดเป็นเครื่องผลิตนิวตรอนพลังงานสูงชนิดหนึ่ง มีหลักการทำงานคือ เมื่อยิงโปรตรอนพลังงานสูง (มากกว่า 100 ล้าน อิเล็กตรอนโวลต์) เข้าไปในเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน และยูเรเนียม จะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบสปอลเลชั่น และมีการปลดปล่อยนิวตรอน พร้อมทั้งอนุภาคชนิดอื่นๆ เช่นโปรตรอน และเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องหลั่นกันไป (cascade) ต้นกำเนิดนิวตรอนชนิดนี้ ให้นิวตรอนพลังงานเฉลี่ยประ มาณ 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ จำนวนประมาณ 10-30 เท่าของการยิงโปรตรอน 1 อนุภาค นิวตรอนที่ผลิตขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยด้านต่างๆ ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบ สปอลเลชันเครื่องแรกมีชื่อว่า KENSตั้งอยู่ที่สถาบัน KEK (National Laboratory for High Energy Physics) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ.2523 สำหรับต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน ที่ให้นิวตรอนเข้มข้นสูงสุดในปัจจุบันคือ ISIS ของ Rutherford Appleton Laboratory ประเทศอังกฤษ เริ่มเดินเครื่องในปี พ.ศ. 2527 และให้นิวตรอนฟลักซ์เฉลี่ยประมาณ 1015นิวตรอน/ ตร.ซม.-วินาที และมีฟลักซ์สูงสุดมากกว่า 40 เท่าของฟลักซ์เฉลี่ย [พลังงาน] |
Mechanical stability time | ความเสถียรเชิงกลของน้ำยาง หมายถึง ความเสถียรของน้ำยางต่ออิทธิพลทางกล เช่น การกวน การปั๊ม การเคลื่อนย้าย หรือการกระทำทางกลโดยวิธีอื่นๆ สามารถทำได้โดยวัดระยะเวลาที่เริ่มปั่นกวนน้ำยางจนกระทั่งสังเกตเห็นน้ำยาง เริ่มจับตัวเป็นเม็ดเล็กๆ ในหน่วยของวินาที ค่า MST สูงจะบ่งชี้ว่า น้ำยางมีความเสถียรต่ออิทธิพลทางกลได้สูง แต่ถ้าค่า MST ต่ำแสดงว่าน้ำยางนั้นจะสูญเสียความเสถียร สามารถจะจับเป็นเม็ดได้ง่าย เมื่อน้ำยางถูกกระทบกับอิทธิพลทางกล [เทคโนโลยียาง] |
Cycle/Second | รอบต่อวินาที [การแพทย์] |
Cycles per Second | ไซเคิลต่อวินาที [การแพทย์] |
frequency | ความถี่, จำนวนรอบของการเคลื่อนที่ซ้ำที่เดิมในช่วงเวลาหนึ่ง หรือจำนวนคลื่นที่ส่งออกมาจากต้นกำเนิดในช่วงเวลาหนึ่ง มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาทีหรือเฮิรตซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
power | กำลัง, งานที่ทำได้ในหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นวัตต์ เช่น มอเตรอ์มีกำลัง 1 H.P. หรือ 746 วัตต์ สามารถทำงานได้ 746 จูลต่อวินาที(วัตต์) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Planck's constant | ค่าคงตัวของพลังค์, ค่าคงตัวสากลใช้สัญลักษณ์ h มีค่าเท่ากับ 6.261 x 10-34 จูลวินาที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
coulomb | คูลอมบ์, หน่วยประจุไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ C โดยกำหนดว่า ประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ คือ จำนวนประจุที่ผ่านตัวนำใน 1 วินาที เมื่อมีกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
newton | นิวตัน, หน่วยของแรง ใช้สัญลักษณ์ N แรง 1 นิวตัน คือแรงที่ทำให้วัตถุมวล 1 กิโลกรัมเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง 1 เมตร / วินาที2 ในทิศของแรงนั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
beat | บีต, เสียงดังและเสียงค่อยสลับกันซึ่งเกิดจากการแทรกสอดของคลื่นเสียงสองขบวนซึ่งมีความถี่ต่างกันเล็กน้อย จำนวนบีตส์ที่เกิดขึ้นต่อวินาทีหรือความถี่บีตส์จะเท่ากับผลต่างของความถี่ของคลื่นเสียงสองขบวนนั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
watt | วัตต์, หน่วยของกำลัง ใช้สัญลักษณ์ W โดยกำหนดว่า 1 วัตต์เท่ากับพลังงาน 1 จูลต่อวินาที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
echo | เสียงสะท้อนกลับ, เสียงที่สะท้อนกลับมายังผู้พูดหรือแหล่งกำเนิดเสียงให้ได้ยินอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่เปล่งเสียงออกไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง ประมาณเกินกว่า 1/10 วินาที ซึ่งนานพอที่หูจะแยกฟังเสียงเดิมและเสียงสะท้อนได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hertz | เฮิรตซ์, หน่วยวัดความถี่ของคลื่น ใช้สัญลักษณ์ Hz 1Hz คือความถี่ของปรากฏการณ์แบบพริออดิกที่เกิดขึ้นครบ 1 รอบในเวลา 1 วินาที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
escape velocity | ความเร็วหลุดพ้น, ความเร็วต่ำสุดของวัตถุที่สามารถหลุดพ้นจากแรงโน้มถ่วงของโลก หรือดวงจันทร์ หรือดาวเคราะห์อื่น ๆ เช่น ยานอวกาศจะต้องมีความเร็วอย่างน้อย 11, 200 เมตรต่อวินาที จึงจะเคลื่อนที่หลุดพ้นออกจากสนามความโน้มถ่วงบริเวณผิวโลกได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
metric system | ระบบเมตริก, ระบบหน่วยที่ใช้ในวิทยาศาสตร์ ตลอดจนใช้ในทางการค้า และทางวิศวกรรม ซึ่งใช้กันโดยทั่วไป ระบบเมตริกได้กำหนดให้ความยาว มีหน่วยเป็นเมตร มวล มีหน่วยเป็นกิโลกรัม เวลา มีหน่วยเป็นวินาที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
base unit | หน่วยฐาน, หน่วยของปริมาณฐาน หน่วยฐานมี 7 หน่วย คือ เมตร กิโลกรัม วินาที แอมแปร์ เคลวิน โมล แคนเดลา (ดู base quantity ประกอบ) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
derived unit | หน่วยอนุพัทธ์, หน่วยที่เกิดจากผลคูณของหน่วยฐาน เช่น หน่วยของแรง คือนิวตัน นิวตันเทียบเท่ากับ กิโลกรัม เมตรต่อวินาที2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gravitational acceleration | ความเร่งโน้มถ่วง, ความเร่งในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกแบบเสรี ความเร่งโน้มถ่วงเป็นปริมาณเวกเตอร์ ความเร่งโน้มถ่วงบริเวณผิวโลกมีค่าประมาณ 9.8 เมตรต่อวินาที2 (ดู free fall ประกอบ) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
angular speed | อัตราเร็วเชิงมุม, มุมที่รัศมีของการเคลื่อนที่กวาดได้ในหนึ่งหน่วยเวลา อัตราเร็วเชิงมุม มีหน่วย เรเดียนต่อวินาที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
abfarad | (แอบแฟ' แรด) n. หน่วยความจุไฟฟ้าซึ่งเป็นเซ็นติเมตร-กรัม-วินาทีและมีค่าเท่ากับ 109 farads |
abhenry | (แอบเฮน' รี) n. หน่วยการนำไฟฟ้าที่เป็นเซ็นติเมตร-กรัม-วินาที และมีค่าเท่ากบ 10-9 henry (centimeter-gram-second unit) |
abmho | (แอบ' โบ) n., (pl. -mhos) หน่วยการนำไฟฟ้า (เซนติเมตร/กรัม/วินาที) ซึ่งมีค่าเท่า 109 mhos (เซนติเมตร/กรัม/วินาที) |
abvolt | (แอบโวลท') n. หน่วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเป็นเซนติเมตร-กรัม-วินาที มีค่าเท่ากับ 10-9 โวลท์ |
ampere | (แอม' แพร์, แอมแพร์') n. หน่วยของกำลังไฟฟ้าที่เท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านความต้านทานหนึ่งโอห์ม เมื่อมีศักยไฟฟ้าหนึ่งโวลต์ หรือมีค่าเท่ากับหนึ่งคูลอมบ์ต่อวินาที. |
audio frequency | ความถี่ของเสียงซึ่งถ้าอยู่ในระหว่าง 15-20, 000 ไซเกิลต่อวินาที จะทำให้ได้ยินได้ (of normally audible sound) |
bar code optical scanner | เครื่องกราดตรวจรหัสแท่งด้วยแสง <คำแปล>เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายปากกาแสง (light pen) ใช้ฉายแสงลงไปที่รหัสแท่งที่ต้องการอ่าน เครื่องจะรายงานบนจอภาพในขณะเดียวกันก็ส่งข้อมูลนั้นไปบันทึกในหน่วยความจำ การทำงานจะอยุ่ในราว 100 ตัวอักษรต่อวินาที หรืออาจเร็วกว่านั้น |
bits per second | บิตต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า BPS เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็มว่า มีความเร็วกี่บิตต่อวินาที |
bps | (บีพีเอส) ย่อมาจาก bits per second หรือบิตต่อวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็มว่า มีความเร็วกี่บิตต่อวินาที |
bs | abbr. blood sugar, breath sound, bowel sound, (บีเอส) 1. ย่อมาจาก billisecond เท่ากับ 1/1, 000 ล้านวินาที 2. ถ้าอยู่บนแป้นพิมพ์ จะเป็นตัวย่อของ backspace ใช้เป็นแป้นถอยหลัง ดู Backspace key |
characters per second | จำนวนอักขระต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า CPS แปลตรง ๆ ได้ว่า อักขระต่อวินาที ใช้เป็น หน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์ว่าเครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้กี่ตัวอักขระในเวลา 1 วินาที ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) และแบบฉีดหมึก (ink jet) เท่านั้น (เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะพิมพ์ที่ละหน้า) ดู printer ประกอบ |
clock rate | อัตราสัญญาณนาฬิกาความถี่ของสัญญาณที่ส่งมาจากนาฬิกา เช่น อัตราสัญญาณนาฬิกา 8 เมกะเฮิร์ตช์ หมายถึงสัญญาณที่ส่งมาจากนาฬิกา 8, 000, 000 พัลส์ ต่อวินาที |
clock ticks | สัญญาณนาฬิกาหมายถึง จังหวะช่วงเวลาที่นาฬิกาเดิน (ติ๊ก) ซึ่งจะเป็นช่วงที่แน่นอนสม่ำเสมอ ในแต่ละช่วงเดินของนาฬิกาที่เรียกว่า "ติ๊ก" นั้น คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่ง และจะหยุดทำงานในช่วงว่างระหว่างติ๊ก ยิ่งช่วงติ๊กนี้ถี่เท่าใด ก็ยิ่งแปลว่าคอมพิวเตอร์ทำงานเร็วเท่านั้น สัญญาณนาฬิกานี้ จึงถือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเร็วของการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความ เร็วของการเดินของนาฬิกา หรือความถี่นี้วัดกันเป็นเมกะเฮิรตช์ (megahertz) 1 เมกะเฮิรตซ์ จะเท่ากับ 1 ล้านติ๊กของนาฬิกาต่อ 1 วินาที คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีในยุคปัจจุบันนั้นมีหน่วยความจำที่ทำงานด้วยความเร็ว ถึงประมาณ 33-66 เมกะเฮิร์ตซ์ |
com- | 1. Pref. รวมกัน, ด้วยกัน, อย่างสมบูรณ์, Syn. co-, 2. คอม 1. ย่อมาจาก COMmunication port หมายถึงช่องที่ใช้สำหรับต่อออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อจะหมุนเลขหมายโทรศัพท์บนคอมพิวเตอร์ผ่านโมเด็ม คอมพิวเตอร์ก็จะต้องรับรู้กันให้ได้ว่า ช่องที่ติดต่อกับโมเด็มนั้นคือช่องไหน กำหนดได้หลายช่องเรียกว่า COM1, COM2 2. ใช้เป็นนามสกุล file type ของแฟ้มข้อมูลในดอสและโอเอสทูว่า .COM เพื่อแสดงว่าเป็นแฟ้มข้อมูลกระทำการ executive program หรือโปรแกรมประเภทเดียวกับ .EXE เช่น FORMAT.COM COMMAND.COM 3. ย่อมาจาก computer output on microfilm ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโคร ฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโคร ฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที |
computer output on microf | ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ใช้ตัวย่อว่า COM (อ่านว่า ซีโอเอ็ม) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโครฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ 48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที |
coulomb | (คู'ลอมบ์) n. หน่วยประจุไฟฟ้า (เมตร-กิโลกรัม-วินาที) |
cps | (ซีพีเอส) ย่อมาจาก characters per second แปลตรง ๆ ได้ว่า อักขระต่อวินาที ใช้เป็น หน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์ว่า เครื่องพิมพ์ สามารถพิมพ์ได้กี่ตัวอักขระในเวลา 1 วินาที ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) และแบบฉีดหมึก (ink jet) เท่านั้น |
cusec | (คิว'เซค) n. หนึ่งลูกบาศก์ฟุตต่อวินาที |
cycle time | เวลาครบรอบหมายถึงเวลาที่หน่วยประมวลผลกลางใช้ในการปฏิบัติตามคำสั่ง โดยเริ่มตั้งแต่ไปดึงคำสั่งมา (fetch) และลงมือกระทำการ (execute) มีหน่วยวัดเป็น นาโนวินาที (nano second) หรือหนึ่งในพันล้านวินาที และพิโกวินาที (picosecond) หรือหนึ่งในล้านล้านวินาที |
dyne | (ไดนฺ) n. หน่วยกำลังที่เท่ากับ เซนติเมตร-กรัม-วินาทีใช้อักษรย่อว่า dyn |
femtosecond | เฟมโตวินาทีเท่ากับ หนึ่งในพันล้านล้านของวินาที (10 -15) ใช้เป็นหน่วยวัดความเร็วของการทำงานของอุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของหน่วยประมวลผลการถ่ายโอนข้อมูล การดึงข้อมูลจากหน่วยความจำสำรอง (auxiliary memory) สู่หน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้น |
flatbed plotter | พล็อตเตอร์แบบระนาบหมายถึงเครื่องวาดที่สามารถวาดบนแผ่นกระดาษที่วางแบน ๆ เรียบ ๆ ได้ ประกอบด้วยก้านซึ่งเคลื่อนที่ไปมาได้ มีหัววาดซึ่งอาจเป็นปากกา ดินสอ หรืออุปกรณืพิเศษอื่น ๆ ติดอยู่ ขนาดของกระดาษที่ใช้มีต่างกันตั้งแต่ 28x43 ซม. จนถึง 2.44x3.66 เมตร อัตราความเร็วของการวาดมีตั้งแต่ 15 ถึง 100 ซม. ต่อวินาที นิยมนำมาใช้วาดแผนที่ กราฟ หรือการแสดงภูมิอากาศ |
gigahertz | (กิกะเฮิร์ทซ์) เป็นหน่วยวัดการทำงาน เท่ากับหนึ่งพันล้านรอบต่อวินาที (10 ยกกำลัง 9) |
henry | (เฮน'รี) n. หน่วยนำไฟฟ้าเป็นหน่วยกิโลกรัม-วินาที' |
hertz | (เฮิร์ทซ) n. ชื่อหน่วยความถี่เท่ากับหนึ่งไซเกิลต่อวินาที; Hz |
horsepower | n. แรงม้า (550ฟุต-ปอนด์ต่อวินาที) (746 watts) |
hz | ย่อมาจาก hertz เป็นหน่วยวัดการสั่นสะเทือนของกระแสไฟฟ้าที่ใช้จำนวนมาก ๆ เพื่อวัดความเร็วของการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง 1 เฮิร์ทซ์ เท่ากับ 1 รอบต่อวินาที เมื่อวัดกันในขนาดจำนวนมากจริง ๆ จึงใช้หน่วยใหญ่ที่เรียกว่า เมกะเฮิร์ทซ์ (megahertz) ใช้ตัวย่อว่า MHz ไมโครคอมพิวเตอร์ปัจจุบันจะทำงานด้วยความเร็วประมาณ 25 - 60 เมกะเฮิร์ทซ์ |
joule | (จูล) n. หน่วยงานหรือพลังงาน (เมตร-กิโลกรัม-วินาที) |
kbs | (เคบีเอส) ย่อมาจาก kilobyte per second (กิโลไบต์ต่อวินาที) 1 KBS เท่ากับ 1024 ไบต์ต่อวินาที ใช้เป็นหน่วยวัดอัตราการส่งข้อมูล เช่น ในการสื่อสาร |
khz | (กิโลเฮิร์ทซ์) ย่อมาจาก Kilohertz มีค่าเท่ากับ 1, 000 เฮิร์ทซ์ เป็นหน่วยวัดจำนวนรอบต่อวินาที 1 กิโลเฮิร์ทซ์ จึงเท่ากับหนึ่งพันรอบต่อวินาที ใช้กับสัญญาณนาฬิกา ตัววัดความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ |
kilo instructions per sec | พันคำสั่งต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า KIPS เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมาก |
kilohertz | (คิล'ละเฮิร์ซ') n. 1, 000ไซเกิลต่อวินาที;kHz |
kips | (กิปส์) ย่อมาจาก kilo instructions per second พันคำสั่งวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่นคอมพิวเตอร์นี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมากดู MIPS เปรียบเทียบ |
lps | (แอลพีเอส) ย่อมาจาก lines per second (บรรทัดต่อวินาที) เป็นหน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์รายบรรทัด (line printer) เช่น พิมพ์ได้ 100 บรรทัดต่อวินาที เป็นต้น |
maxwell | (แมคซ'เวล) n. หน่วยเซนติเมตร-กรัม-วินาทีของ magnetic flux |
megacycle | (เมก`กะไซเคล) n. หนึ่งล้านไซเกิลต่อวินาที |
megahertz | (เมก' กะเฮิรตซ์) n. เมกกะเฮิรตซ์ , เท่ากับหนึ่งล้านรอบต่อวินาที เป็นหน่วยวัดความถี่ มีความหมายเหมือน megacycle |
mho | (โม) n. หน่วยการนำไฟฟ้าที่เป็นเมตร-กิโลกรัม-วินาที pl. mhos |
micro | ไมโครหมายถึง คำที่ใช้นำหน้าคำอื่น มีค่าเท่ากับ 1 /ล้าน เช่น microsecond หรือ ไมโครวินาที ก็เท่ากับ 1 /ล้านวินาที (10 -6) คำ "micro" นั้นแปลแต่เพียงว่า ขนาดเล็กจิ๋ว เช่น microproces sor ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า ตัวประมวลแบบจุลภาค เมื่อนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า microcomputer ก็หมายถึงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือที่บางทีเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer) หรือพีซี |
microsecond | ไมโครวินาทีเท่ากับ 1/1, 000, 000 วินาที หรือ 10-6 วินาที |
million instructions per | ล้านคำสั่งต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า MIPS เป็นหน่วยวัดความเร็วของการทำงานตามโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งของตัวประมวลผลหรือของคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อว่า สามารถประมวลผลได้กี่ล้านคำสั่งต่อวินาที ยิ่งมาก แสดงว่ายิ่งทำงานได้เร็ว |
millisecond | (มิล'ลิเซคเคินดฺ) n. หนึ่งในพันของหนึ่งวินาที;msec |
mips | (มิปส์) ย่อมาจาก million instructions per second แปลว่า ล้านคำสั่งต่อวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วของการทำงานตามโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งของตัวประมวลผล หรือของคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อว่า สามารถประมวลผลได้กี่ล้านคำสั่งต่อวินาที ยิ่งมากแสดงว่ายิ่งทำงานได้เร็ว |
nanosecond | (เน'นะเซคคันดฺ, แนน'นะเซคคันดฺ) n. หนึ่งส่วนล้านของหนึ่งวินาที; ns;nsec |
optical fibre | เส้นใยนำแสงหมายถึงวัสดุที่ทำจากใยแสง หรือพลาสติก ที่สามารถสะท้อนแสง หรือแสงผ่านทะลุได้ ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลหรือสื่อสารข้อมูลแบบหนึ่ง สามารถถ่ายเทข้อมูล ได้ทีละมาก ๆ และทำได้รวดเร็ว เช่น สามารถส่งเอกสาร 2700 หน้าได้ภายในเวลาเพียง 6 วินาที ในปัจจุบัน เชื่อกันว่า ราคาโดยรวมถูกกว่าการถ่ายโอนข้อมูลด้วยวิธีอื่น |
paper tape | แถบกระดาษเทปกระดาษเป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์เมนเฟรมในสมัยแรก ๆ โดยทั่วไป แถบกระดาษที่เคยนิยมใช้มีขนาดกว้าง 0.75 ถึง 1 นิ้ว แถบกระดาษม้วนหนึ่ง ๆ ยาว 30 - 1000 ฟุต ม้วนอยู่บนล้อวงกลม ลักษณะการบันทึก ใช้วิธีการเจาะเป็นรูกลม ๆ มีความจุประมาณ 10 ล้านตัวอักขระต่อเทป 1 นิ้ว ปัจจุบัน ไม่มีใครรู้จักแล้ว เพราะแก้ไขยาก ใช้ซ้ำไม่ได้เลย ทำให้สิ้นเปลืองมาก ในการอ่านข้อมูลบนแถบกระดาษ ใช้เครื่องอ่านแถบกระดาษ เรียกว่า paper tape reader ในการบันทึก ใช้เครื่องเจาะแถบกระดาษ ซึ่งเรียกว่า paper tape punch ซึ่งจะทำงานเมื่อได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง สามารถเจาะได้ประมาณ 10 - 150 แถวต่อวินาที |
paper tape punch | เครื่องเจาะแถบกระดาษเครื่องเจาะเทปกระดาษหมายถึง เครื่องเจาะแถบกระดาษให้เป็นรู เพื่อแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เครื่องเจาะนี้จะต้องได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีความเร็วในการเจาะประมาณ 15 - 150 แถวต่อวินาที ดู paper tape ประกอบ |
psec | (พีเซ็ก) ย่อมาจาก picosecond (พิโกวินาที) เท่ากับ 1/1000 ของนาโนวินาที (nanosecond) หรือเท่ากับ 1/1, 000, 000 วินาที |
second | (เซค'เคินดฺ) adj. ที่สอง, ชั้นสอง, อันดับสอง, ตัวรอง, วินาที, 1/60นาที, วิลิปดา, ฟิลิปดา, 1/60ลิปดา, ชั่วขณะ, ชั่วประเดี๋ยวด้อยคุณภาพ, ไม่สำคัญ, อื่น, เสียงระดับสอง, ลอกเลียน, (รถ) เกียร์สอง n. ส่วนที่สอง, ครึ่งที่สอง, ที่สอง, ชั้นสอง, อันดับสอง, ตัวรอง, ตัวสำรอง, ผู้ช่วย |
split second | n. พริบตาเดียว, ในฉับพลัน, เสี้ยววินาที, Syn. suddenly |