กระดาษว่าว | น. กระดาษที่ใช้ทำว่าว เป็นกระดาษที่เหนียวและไม่โปร่ง ลมรั่วไม่ได้ เดิมใช้กระดาษที่สั่งมาจากเมืองจีน ต่อมาใช้กระดาษจากญี่ปุ่น. |
กระเบื้องว่าว | น. กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องขนมเปียกปูน กระเบื้องหน้าวัว หรือ กระเบื้องหน้างัว ก็เรียก. |
กระปรอกว่าว | ดู กระแตไต่ไม้ ๒. |
กว้าว | (กฺว้าว) ดู ขว้าว. |
ขว้าว | (ขฺว้าว) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Haldina cordifolia (Roxb.) Ridsdale ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลำต้นสูงใหญ่ ใบมนรูปหัวใจ ปลายแหลม ดอกสีเหลือง คล้ายดอกกระทุ่ม แต่เล็กกว่า เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด ใช้ทำฝาบ้าน เครื่องเรือน เครื่องกลึง และเครื่องแกะสลัก, กว้าว ขวาว หรือ คว่าว ก็เรียก. |
คว่าว | (คฺว่าว) ดู ขว้าว. |
ชักว่าว | ก. ทำให้ว่าวลอยขึ้นไปด้วยการดึงสายป่านให้ว่าวกินลมเป็นต้น. |
ตุ้มกว้าว | ดู กระท่อมขี้หมู ที่ กระท่อม ๒. |
ลมว่าว | น. ลมที่พัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ตอนต้นฤดูหนาว, ลมเล่นว่าวเดี๋ยวนี้คือลมตะเภา ซึ่งพัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือในกลางฤดูร้อน. |
ว่าวอน | ก. อ้อนวอน เช่น ผ่านม่านสุวรรณซึ่งกั้นกาง เห็นนางบรรทมอยู่ในที่ พี่เลี้ยงโลมไล้ไม่ไยดี มะเดหวีจึงเข้าไปว่าวอน (อิเหนา). |
ว่าว ๑ | น. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสายซุงสำหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู. |
ว่าวขาดลอย | ก. จากไปไม่กลับ, ว่าวขาดลมลอย ก็ว่า เช่น จะจากเจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะเป็นตัว (ขุนช้างขุนแผน). |
ว่าวติดลม | น. ว่าวที่ลอยกินลมอยู่ในอากาศ. |
ว่าวติดลม | ว. เพลินจนลืมตัว. |
ว่าวเหลิง, ว่าวเหลิงลม | (-เหฺลิง) น. ว่าวติดลมส่ายไปมาบังคับไม่อยู่. |
ว่าวเหลิง, ว่าวเหลิงลม | (-เหฺลิง) ว. เพลินจนลืมตัว เช่น กลัวต้องลมแล้วจะหาวเหมือนว่าวเหลิง (อภัย). |
ว่าว ๒ | น. เรียกลมที่พัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ในตอนต้นฤดูหนาว ว่า ลมว่าว, ลมเล่นว่าวเดี๋ยวนี้คือลมตะเภาซึ่งพัดจากทิศใต้ไปทิศเหนือในกลางฤดูร้อน. |
ว้าว่อน | ว. เกลื่อนกล่นอยู่ในอากาศ. |
ว้าวุ่น | ก. สับสน เช่น จิตใจว้าวุ่น. |
วิ่งว่าว | ก. ชักว่าวขึ้นแล้วพาสายว่าววิ่งไปเพื่อให้ว่าวติดลมสูงขึ้น (ใช้แก่ว่าวตัวเล็ก ๆ ). |
เว้าวอน | ก. วิงวอนออดอ้อน. |
สักว่าว | ก. เอาลูกปลาปิดทับเชือกที่ผูกโครงว่าวจุฬาตรงที่ไขว้กันเป็นตาตารางเพื่อยึดกระดาษและเชือกให้แน่น. |
หัวว่าว | ดู กระแตไต่ไม้ ๒. |
หางว่าว | น. กระดาษแผ่นยาวอย่างหางของว่าวปักเป้าสำหรับจดบัญชีบอกรายชื่อเลกครั้งโบราณ, บัญชีรายชื่อคนหรือรายการสิ่งของเป็นต้นที่ยาวยืด. |
กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
ก้นกบ | น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา. |
กระจายหางดอก | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและใบดังเถาผักบุ้งเทศ แต่ไม่มีหัว มีดอกและฝักอย่างผักบุ้งเทศ เชื่อกันว่าว่านชนิดนี้ใช้เมล็ดตำละลายกับเหล้าแก้พิษเสือ พิษจระเข้ และพิษสุนัขบ้า. |
กระตุก | ก. ดึงเข้ามาโดยเร็วทันที เช่น กระตุกเชือก, ดึงเข้ามาโดยเร็วทันทีแล้วผ่อนออก เช่น กระตุกสายป่านว่าว, โดยปริยายหมายความว่า สะดุด, ไม่ราบรื่น, เช่น เครื่องยนต์กระตุก |
กระแตไต่ไม้ ๒ | น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Sm. ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีนํ้าตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือ ใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีนํ้าตาลเข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีนํ้าตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทำหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก. |
กระท่อมขี้หมู | ชนิด M. rotundifolia (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว ก็เรียก. |
กระเบน | น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวกว้างตั้งแต่ ๑๕-๓๐๐ เซนติเมตร ลำตัวแบนลงมาก และต่อเนื่องกับครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด |
กระเบื้องขนมเปียกปูน | น. กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว กระเบื้องหน้าวัว หรือ กระเบื้องหน้างัว ก็เรียก. |
กระเบื้องหน้าวัว | กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องหน้างัว กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องขนมเปียกปูน ก็เรียก. |
กินขวา, กินซ้าย | ก. อาการที่รถ เรือ ว่าว เป็นต้น เคลื่อนลํ้าไปทางขวาหรือซ้ายมากเกินควร. |
กินลม | ก. ต้านลม, รับลม, เช่น ว่าวกินลม ใบเรือกินลม. |
กินหน้า, กินหลัง, กินหาง | ว. ลักษณาการของว่าวที่สายซุงบนสั้น เรียกว่า กินหน้า, ที่สายซุงบนยาว เรียกว่า กินหลัง, ที่เสียหางตัวเอง เรียกว่า กินหาง. |
กุลา ๑ | น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า, ว่าวจุฬา ก็เรียก. |
เกรียบ | เรียกของกินทำด้วยข้าวเป็นแผ่น ๆ มีหลายอย่าง เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบอ่อน. |
ขวาว | (ขฺวาว) ดู ขว้าว. |
ขากบ | น. ขาของว่าวจุฬา. |
ขาดลอย | ก. สูญไปโดยไม่มีหวังว่าจะได้คืน เช่น ว่าวขาดลอย, เด็ดขาด เช่น ชนะขาดลอย. |
ข้าวเกรียบ | น. ของกินทำด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียว เป็นแผ่นตากให้แห้ง แล้วปิ้งหรือทอด มีหลายชนิด เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบกุ้ง. |
ข้าวควบ | น. ข้าวเกรียบใส่นํ้าตาลอ้อย มีรสหวานอย่างข้าวเกรียบว่าว. |
เข้าเครื่อง | คำพูดสำหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้าตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียงเข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง. |
เข้าปิ้ง | ก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว |
คว้า | กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลงแล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับว่าวปักเป้าคว้ากัน. |
โครง | (โคฺรง) น. ร่างของสิ่งต่าง ๆ ที่คุมกันอยู่เป็นรูป เช่น โครงกระดูก โครงว่าว. |
โคลง ๒ | (โคฺลง) ก. เอียงไปเอียงมาหรือทำให้เอียงไปเอียงมา เช่น เรือโคลง ว่าวโคลง โคลงเรือ โคลงหัว. |
จำปา | อุปกรณ์สำหรับว่าวจุฬาใช้คว้าว่าวปักเป้า ทำด้วยผิวไม้ไผ่ประมาณ ๔-๕ ชิ้น ยาวประมาณคืบเศษ เหลาปลายให้แหลมงอนเหมือนดอกจำปา แล้วผูกรวมกันเป็นพูติดกับสายป่านต่อจากหน้าซุง |
จุฬา ๒ | น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า, ว่าวกุลา ก็เรียก. |
ชักว่าว | [chak wāo] (v, exp) EN: fly a kite FR: jouer au cerf-volant |
ชักว่าว | [chak wāo] (v, exp) EN: masturbate FR: se masturber ; masturber |
ดาวว่าว | [dāo Wao] (n, prop) EN: Southern Cross FR: Croix du Sud [ f[ |
การค้นคว้าวิจัย | [kān khonkhwāwijai] (n) EN: research |
กระดาษว่าว | [kradāt wāo] (n, exp) EN: kite paper |
กระตุกว่าว | [kratuk wao] (v, exp) EN: yang a kite |
เล่นว่าว | [len wao] (v, exp) EN: fly a kite FR: jouer au cerf-volant |
ลมว่าว | [lomwao] (n) EN: wind that blows from north to south in winter FR: vent hivernal du nord [ m ] ; vent continental [ m ] |
รูปว่าว | [rūp wāo] (n) EN: kite |
ทะเบียนหางว่าว | [thabīen hāng wao] (n, exp) EN: roll |
ว่าว | [wāo = wao] (n) EN: kite FR: cerf-volant [ m ] |
ว้าว | [wāo] (interj) EN: wow ! (inf.) FR: ouah ! (fam.) ; waouh ! (fam.) ; super ! |
ว่าวจุฬา | [wāo Julā] (n, exp) EN: Chula kite ; large swallow-shaped kite |
ว่าวปักเป้า | [wāo Pak Pāo] (n, exp) EN: Pak Pao kite ; small diamond-shaped attack kite |
ว่าวติดลม | [wāo titlom] (v, exp) EN: get rolling ; get carried away |
ว้าวุ่น | [wāwun] (v) EN: be in a whirl ; bustle ; be hustled ; be busy FR: s'affairer |
ว้าวุ่น | [wāwun] (adj) EN: vexed ; perturbed ; upset FR: contrarié ; perturbé |
ว้าวุ่น | [wāwun] (adv) EN: busily ; excitedly ; hastily ; emotionaly upset |
crumple | (vi) หงุดหงิดและผิดหวัง, See also: ว้าวุ่น |
distraught | (adj) ว้าวุ่นใจ, See also: สับสน, กระวนกระวาย, Syn. unhappy, restless |
jitter | (vi) กระวนกระวาย, See also: ว้าวุ่นใจ, ไม่สบายใจ, งุ่นง่าน, Syn. fidget, fret, Ant. rest, relax |
jitter | (n) ความกระวนกระวายใจ, See also: ความวุ่นวายใจ, ความว้าวุ่นใจ, Syn. nervousness, fidget, Ant. rest, repose |
jittery | (adj) ที่กระวนกระวายใจ, See also: ว้าวุ่นใจ, กังวลใจ, ไม่สบายใจ, Syn. anxious, nervous, agitated, Ant. calm, tranquil |
library | (n) การเก็บต้นฉบับ สิ่งพิมพ์ เทป หรือวัสดุในการค้นคว้าวิจัย |
gee | (sl) ว้าว (คำย่อของ Jesus!), See also: วุ้ย, อุ๊ย |
shake | (vt) ทำให้ตกใจและสะเทือนใจ, See also: ทำให้ว้าวุ่นใจ, ไม่มั่นคง |
tumult | (n) ความว้าวุ่นใจ |
tumultuous | (adj) ว้าวุ่นใจ |
throw off | (phrv) ทำให้สับสน, See also: ทำให้ว้าวุ่น, Syn. throw out |
upsetter | (n) ผู้สับสนใจ, See also: ผู้ว้าวุ่นใจ, ผู้กระวนกระวาย |
upsettingly | (adv) อย่างว้าวุ่นใจ, See also: อย่างยุ่งยากใจ, Syn. confusingly, disturbing, troublesome |
woo | (vi) ขอความรัก (คำเก่าและคำทางวรรณคดี), See also: ขอแต่งงาน, วิงวอนให้แต่งงานด้วย, เว้าวอน, Syn. court |
woo | (vt) ขอความรัก (คำเก่าและคำทางวรรณคดี), See also: ขอแต่งงาน, วิงวอนให้แต่งงานด้วย, เว้าวอน, Syn. court |
distract | (ดิสแทรคทฺ') vt. ทำให้เขว, ทำให้ว้าวุ่น, ทำให้วอกแวก, กวนใจ, ทำให้รำคาญใจ, See also: distracter n. ดูdistract distractibility n. ดูdistract distractible adv. ดูdistract distractive adj. ดูdistract, Syn. bewilder, per |
distracted | adj. มีจิตว้าวุ่น, เขว, ใจวอกแวก |
distraction | n. ภาวะจิตว้าวุ่น, ภาวะใจวอกแวก, สิ่งบันเทิงใจ, การหย่อนใจ |
distraught | (ดิสทรอท') adj. จิตว้าวุ่น, คุ้มคลั่ง, บ้า, หัวหมุน., Syn. upset, anxious |
rattled | (แรท'เทิลดฺ) adj. ทึ่ม, เซ่อ, ว้าวุ่น, กระวนกระวายใจ, Syn. dazed |
tumult | (ทู'มัลทฺ) n. ความวุ่นวาย, ความสับสนอลหม่าน, ความอึกทึกครึกโครม, ความว้าวุ่น, อารมณ์ว้าวุ่น, ความกระอักกระอ่วน, Syn. commotion, uproar, panic, frenzy |
tumultuous | (ทมัล'ชุเอิส) adj. วุ่นวาย, สับสนอลหม่าน, อึกทึกครึกโครม, ว้าวุ่น., See also: tumultuousness n., Syn. disorderly, agitated, disturbed |
turbid | (เทอ'บิด) adj. ไม่ชัดเจน, ขุ่น, หมอง, มัว, ยุ่งเหยิง, สับสน, วุ่นวาย, ว้าวุ่น., See also: turbidity n. turbidness n. turbidly adj., Syn. foul |
upset | (อัพเซท') vt., vi. ทำให้คว่ำ, คว่ำ, ทำให้พลิกคว่ำ, ทำให้เสีย, ก่อกวนสิ้นเชิง, ทำให้ปราชัย, ทำให้ (ร่างกาย) ไม่ปกติ. n. การทำให้คว่ำ, การพลิกคว่ำ, การปราชัยอย่างคาดไม่ถึง, ความว้าวุ่นของจิตใจ, ความสับสน. adj. พลิกคว่ำ, หงายท้อง, สับสน, ไม่เป็นระเบียบ, ยุ่งเหยิง, ว้าวุ่น |