ศักราช | (n) era |
ศักราช | (n) era, Syn. ศก, ปี, Example: กฎหมายตรา 3 ดวง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 1 จุลศักราช 1166, Thai Definition: อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปีๆ, Notes: (บาลี) |
ลบศักราช | (v) change calendars, Thai Definition: เลิกใช้ศักราชเก่า ตั้งศักราชใหม่แทน |
จุลศักราช | (n) Thai minor era, Syn. จ.ศ., Example: วันสงกรานต์ถือว่าเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่, Thai Definition: เป็นศักราชที่เราใช้กันก่อนใช้ศักราชรัตนโกสินทร์ เริ่มภายหลังพุทธศักราช 1181 ปี |
ศักรินทร์ | (n) Indra, Syn. พระอินทร์ |
พุทธศักราช | (n) Buddhist era, Syn. พ.ศ., พุทธศก, Example: พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อพุทธศักราช 1826, Thai Definition: ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมา |
คริสต์ศักราช | (n) anno domini, See also: AD |
คริสต์ศักราช | (n) Christian Era, See also: A.D., Syn. ค.ศ., Example: นิยายเรื่องนี้เขียนในคริสต์ศักราชที่เท่าไร, Thai Definition: ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู |
เปลี่ยนศักราช | (v) change the Buddhist era, Example: ในคืนส่งท้ายปีเก่าของทุกปี ผู้คนแต่ละประเทศจะชุมนุมกันเพื่อนับถอยหลังรอเปลี่ยนศักราช, Thai Definition: ขึ้นปีใหม่ |
ปีคริสต์ศักราช | (n) Christian Era, Example: พระราชสาส์นนี้ได้มอบให้ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในวันที่ 19 แห่งเดือนเสบเตมเบอร์ในปีคริสตศักราช 1856, Count Unit: ปี, Thai Definition: จำนวนปีนับตั้งแต่พระเยซูเกิดมา |
ก่อนคริสต์ศักราช | (n) before Christian era, See also: BC |
กลียุคศักราช | น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๒๕๕๘ ปี (กลียุคศักราชลบด้วย ๒๕๕๘ เท่ากับพุทธศักราช). |
คริสต์ศักราช | (คฺริดสักกะหฺราด) น. ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๕๔๓ เท่ากับคริสต์ศักราช). |
จุลศักราช | น. ศักราชน้อย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๑๑๘๑ เท่ากับจุลศักราช). |
พุทธศักราช | (-สักกะหฺราด) น. ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมา. |
มหาศักราช | น. ศักราชที่ไทยใช้ในสมัยสุโขทัย เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๖๒๑ เท่ากับ มหาศักราช). |
ลบศักราช | ก. เลิกใช้ศักราชเก่า ตั้งศักราชใหม่แทน. |
ศักร- | (สักกฺระ-) น. พระอินทร์. |
ศักรภพน์ | น. โลกพระอินทร์, สวรรค์ชั้นดาวดึงส์. |
ศักรินทร์, ศักเรนทร์ | น. พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่. |
ศักราช | (สักกะหฺราด) น. อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, ... จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา คำ ศักราช ในคำเช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราช จะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คำเช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคำว่า รัตนโกสินทรศก ไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้นเหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน. |
ศักรินทร์, ศักเรนทร์ | ดู ศักร-. |
อัญชนะศักราช | น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๑๔๗ ปี (อัญชนะศักราชลบด้วย ๑๔๗ เท่ากับพุทธศักราช). |
กด ๕ | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชแบบโบราณของไทย ตรงกับเลข ๗ และตรงกับเลข ๒ ของจุลศักราช. |
กหังปายา | (กะ-) น. เกณฑ์สำหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช และบวกจุลศักราชเป็นพุทธศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑. |
กัด ๕ | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๖. |
กา ๔ | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๐. |
กาบ ๓ | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๑. |
กำมัชพล | (-มัดชะพน) น. ชื่อเกณฑ์เลขในคัมภีร์สุริยยาตร ซึ่งคำนวณมาจากจุลศักราช. |
จัตวาศก | น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๔ เช่น ปีจอ จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๔๔. |
จุล- | (จุนละ-) ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นำหน้าคำสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน. |
ฉศก | (ฉอสก) น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๖ เช่น ปีชวด ฉศก จุลศักราช ๑๓๔๖. |
ดับ ๒ | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชทางเหนือ ท้ายศกเป็นเลข ๒ ตามศักราชโบราณแต่ตรงกับสัปตศกตามจุลศักราช. (ดู กาบไจ้ ประกอบ). |
ตรีศก | น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๓ เช่น ปีระกาตรีศก จุลศักราช ๑๓๔๓. |
เต่า ๓ | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชโบราณของสุโขทัยและไทยล้านนา ตรงกับลำดับที่ ๙ ของรอบ ๑๒ ปี, คำกำกับชื่อวันแบบโบราณของสุโขทัยและไทยล้านนา ตรงกับลำดับที่ ๙ ของรอบ ๑๒ วัน, เขียนเป็น เต้า ก็มี. |
เถลิงศก | ก. ขึ้นจุลศักราชใหม่. |
เถลิงศก | น. เรียกวันขึ้นจุลศักราชใหม่ ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษได้องศาหนึ่งแล้ว อยู่ต่อจากวันเนา ว่า วันเถลิงศก, ปัจจุบันหมายถึง วันขึ้นปีใหม่. |
โทศก | น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๒ เช่น ปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๓๔๒. |
นพศก | (นบพะ-) น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๙ เช่น ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๓๔๙. |
เบญจศก | น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๕ เช่น ปีกุน เบญจศก จุลศักราช ๑๓๔๕. |
เบิก ๒ | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยทางเหนือ ตรงกับเลข ๕, เขียนเป็น เปก ก็มี. |
ปก ๒ | น. แว่นแคว้น เช่น ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระยาผ่านในปกเมืองเนืองทั้งปกเขม ครั้นเต็มสมบูรณ์สามสิบแปดข้าว เข้าศักราชเจ็ดร้อยห้าสิบแปด กลายท่านได้ปราบต์ทั้งปกกาวชาวด้านหนตีนเถิงฝั่งของ (จารึกวัดบูรพาราม). |
เปก ๒ | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยทางเหนือ ตรงกับเลข ๕, เขียนเป็น เบิก ก็มี. |
พระยาวัน | น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่หรือวันเถลิงศก ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน. |
เมิง | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๔. |
รวง ๒ | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็น ลวง ก็มี. |
ระวาย | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๓. |
รัชชูปการ | น. เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากชายฉกรรจ์ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘-๖๐ ปีที่มิได้รับราชการทหารหรือได้รับการยกเว้นเป็นรายบุคคล เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชบัญญัติลักษณะการเก็บเงินรัชชูปการ พุทธศักราช ๒๔๖๒). |
รัตนโกสินทรศก | (รัดตะนะโกสินสก) น. ปีนับตั้งแต่วันตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งภายหลังพุทธศักราช ๒๓๒๔ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๒๓๒๔ เท่ากับรัตนโกสินทรศก). |
ลวง ๒ | น. คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็น รวง ก็มี. |
ลุ | ก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสำเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง |
วันเถลิงศก | น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่ ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษได้องศาหนึ่งแล้ว อยู่ต่อจากวันเนา, ปัจจุบันหมายถึง วันขึ้นปีใหม่. |
ศก ๒ | น. ระบบการคำนวณนับเวลาเรียงลำดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคำว่า รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคำย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก |
ศก ๒ | คำเรียกปีหนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก |
สังฆนายก | น. ตำแหน่งหัวหน้าคณะสังฆมนตรีตามพระราช-บัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔. |
สังฆมนตรี | น. ตำแหน่งพระเถระผู้รับผิดชอบในองค์การปกครองของคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เช่น สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง. |
สังฆสภา | น. สภาของคณะสงฆ์ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔. |
สังฆาณัติ | น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงบัญญัติขึ้นโดยคำแนะนำของสังฆสภาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔. |
สัปตศก | น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๗ เช่น ปีฉลูสัปตศก จุลศักราช ๑๓๔๗. |
สัมฤทธิศก | (สำริดทิสก) น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๐ เช่น ปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๓๕๐, ปีสำเร็จ (ครบรอบ คือ ปีที่ ๑๐ ของรอบ ๑๐ ปีของจุลศักราช) ซึ่งตั้งต้นด้วยเอกศก โทศก เป็นลำดับไปจน นพศก แล้วสัมฤทธิศก เป็นครบรอบแล้วตั้งต้นใหม่. |
หรคุณ | (หอระคุน) น. จำนวนวันตั้งแต่แรกตั้งศักราชมา |
a.c. | abbr. ante Christum, Syn. before Christ, ก่อนคริสต์ศักราช abbr. befor meal |
a.d. | abbr. Anno Domini, ในปีคริสต์ศักราช |
anno domini | (แอน' โน ดอม' มะไน) คริสต์ศักราช, A.D., มีอายุ |
ante-christum | (แอน' ทิคริสทัม) (adj., Latin) ก่อนคริสต์ศักราช, A.C. (before Christ) |
confucius | (คันฟิว'เชิส) n. ขงจื้อ (5-6ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช) -Confucian n., adj. |
epoch | (อี'พอค, เอพ'เพิค) n. ยุค, สมัย, ศักราช, เหตุการณ์, กรณี, Syn. age |
epoch-making | (เอพ'พัคเมคิง) adj. ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่, ซึ่งเป็นการแบ่งยุคแบ่งสมัย |
epochal | (เอพ'พะเคิล) adj. เกี่ยวกับยุคใหม่, เกี่ยวกับศักราชใหม่, เปิดศักราชใหม่. |
era | (เอีย'ระ) n. ยุค, สมัย, ศก, ศักราช, ช่วง, ตอน, ระยะ, Syn. epoch |
julian | (จูล'เยิน) adj. เกี่ยวกับหรือมีลักษณะของจูเลียส ซีซาร์ จูเลียน <คำอ่าน>เป็นวิธีคิดคำนวณวันที่อย่างง่าย ๆ วิธีหนึ่ง ระบบจูเลียนนี้กำหนดให้ทุก ๆ วันมีหมายเลขเฉพาะ เช่น วัน 1 แทนวันที่ 1 มกราคม เมื่อ 4713 ปีก่อนคริสตศักราช วัน 2448299 ก็แทนวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1991 เป็นต้น |