กระแสการเงิน | น. การหมุนเวียนของเงินตรา. |
จีนแส ๒, จีนแสโสกา | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น ของเก่า หน้าทับปรบไก่. |
ทอดสกา | ก. เทลูกเต๋าลงในเติ่ง. |
นมักการ, นมัสการ | (นะมักกาน, นะมัดสะกาน) น. การแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้ |
นมักการ, นมัสการ | คำที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุสามเณร. |
นมักการ, นมัสการ | ดู นม- ๒, นมะ. |
ปัจจุสกาล, ปัจโจสกาล | (-สะกาน, ปัดโจสะ-) น. เวลาเช้ามืด. |
เปศัสการิน, เปศัสการี | น. ต่อแตน |
เปศัสการิน, เปศัสการี | หญิงผู้ปักลายเสื้อผ้า. |
เปสการ | (เปสะกาน) น. ช่างหูก, ช่างทอ. |
สกา | น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่งใช้ลูกบาศก์ทอดแล้วเดินตัวสกาตามแต้มลูกบาศก์. |
สกาว | (สะกาว) ว. ขาว, สะอาด, หมดจด. |
ส่งสการ | น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ เช่น รุดเร่งส่งสการ (ม. คำหลวง ชูชก), สังสการ ก็ว่า. |
สังสการ | (-สะกาน) น. พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ, ส่งสการ ก็ว่า. |
โสกาดานา | น. คนใช้, ขอเฝ้า. |
กลี | ด้านของลูกสกาที่มีแต้มเดียว คือมีแต่ทางแพ้ |
โก้งโค้ง | น. ที่เทลูกบาศก์สกา รูปคล้ายครก. |
คำขึ้นต้น | น. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับแต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา |
เครื่องทองทิศ | น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ. |
เครื่องทองน้อย | น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย. |
เครื่องห้า ๑ | น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาพระธรรมเวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปักดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อยเครื่องห้า. |
เจ้าพนักงานสนมพลเรือน | น. ข้าราชการในราชสำนัก ทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทำสุกำศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น, สนม ก็เรียก. |
ตะเคียว ๒ | ก. อาการที่ลูกบาศก์หรือลูกเต๋าพิงตะแคงไม่ลงหน้าเรียบเมื่อทอด เช่นในการเล่นสกาเป็นต้น. |
เตรตา | (เตฺร-) น. ด้านของลูกสกาที่มี ๓ แต้ม. |
เติ่ง | น. ที่สำหรับทอดลูกบาศก์ในการเล่นสกา มีลักษณะคล้ายครกตำหมาก ทำด้วยงาหรือไม้แข็ง มีรูข้าง ๆ สำหรับลูกบาศก์ออก. |
ทวาบร | (ทะวาบอน) น. ด้านของลูกสกาที่มี ๒ แต้ม. |
ทาส, ทาส- | ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอำนาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาสการพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน, ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาสความรู้. |
บาศก์ | น. ลูกเต๋า, ลูกสกา, ใช้ว่า ลูกบาศก์. |
ปอด ๑ | ตัวสกาที่ข้ามเขตไปไม่ได้. |
ลูกเต๋า | น. ลูกเหลี่ยมมี ๖ หน้า แต่ละหน้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีแต้ม ใช้ในการเล่นพนันมีลูกเต๋า สกา และไฮโล เป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ขนมเปี๊ยะลูกเต๋า. |
ลูกบาศก์ | น. ลูกเหลี่ยมมี ๖ หน้า แต่ละหน้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส, เรียกลูกเต๋าที่ใช้ทอดในการเล่นสกา. |
สนม ๒ | (สะหฺนม) น. ข้าราชการในราชสำนัก ทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทำสุกำศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น, เจ้าพนักงานสนมพลเรือน ก็เรียก. |
สะแก ๒ | น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่งคล้ายสกา. |
สิ้นแต้ม | ก. หมดตาเดิน, ไม่มีตาเดิน, (มักใช้แก่การเล่นสกา), โดยปริยายหมายความว่า หมดหนทางคิดอ่าน เช่น พอมีปัญหาประดังกันเข้ามามาก ๆ เขาก็สิ้นแต้ม ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร. |
สูญสิ้น | ก. หมดไปโดยไม่มีอะไรเหลือ เช่น เขาสูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างเพราะเป็นทาสการพนัน. |
อักขะ ๒ | การพนันเล่นลูกเต๋าหรือสกา. |
Financial flow | กระแสการเงิน [เศรษฐศาสตร์] |
Controlled area | พื้นที่ควบคุม, พื้นที่ที่ต้องมีมาตรการป้องกันและข้อกำหนดด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะในการควบคุมการรับรังสีจากการทำงาน หรือจำกัดการเปื้อนของสารกัมมันตรังสีไม่ให้แพร่กระจายออกไปในระหว่างการทำงานเพื่อหลีกเลี่ยง หรือจำกัดโอกาสการได้รับรังสี, Example: [นิวเคลียร์] |
Pascal | ภาษาปาสกาล [คอมพิวเตอร์] |
Potential exposure | การรับรังสีไม่คาดหมาย, การรับรังสีเชิงศักย์, การรับรังสีที่ไม่ได้คาดไว้ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการดำเนินงานตามปกติ เช่น เกิดจากอุบัติเหตุของต้นกำเนิดรังสี เครื่องมือชำรุดเสียหาย หรือเกิดความผิดพลาดในการดำเนินงาน การรับรังสีนี้ สามารถวิเคราะห์ ประเมิน และกำหนดแนวทางป้องกัน เพื่อลดโอกาสการรับรังสี [นิวเคลียร์] |
Heavy water reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนัก, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอน และเป็นตัวทำให้เย็น น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอนที่ดีเยี่ยม จึงช่วยเพิ่มโอกาสการเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียส ทำให้สามารถใช้ยูเรเนียมธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงได้โดยไม่ต้องเสริมสมรรถนะ [นิวเคลียร์] |
Heavy water moderated reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนัก, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอน และเป็นตัวทำให้เย็น น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอนที่ดีเยี่ยม จึงช่วยเพิ่มโอกาสการเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียส ทำให้สามารถใช้ยูเรเนียมธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงได้โดยไม่ต้องเสริมสมรรถนะ, Example: [นิวเคลียร์] |
Alaska | อลาสกา [TU Subject Heading] |
Madagascar | มาดากัสการ์ [TU Subject Heading] |
Pascal (Computer program language) | ปาสกาล (ภาษาคอมพิวเตอร์) [TU Subject Heading] |
Ska | สกา [TU Subject Heading] |
Turbo Pascal (Computer program) | เทอร์โบ ปาสกาล (แฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์) [TU Subject Heading] |
Effectiveness of Migration Streams | ประสิทธิผลของกระแสการย้ายถิ่น, Example: การเปรียบเทียบค่าสมบูรณ์ของการย้ายถิ่น สุทธิกับค่าของการย้ายถิ่นรวม [สิ่งแวดล้อม] |
Migrantion Stream, Effectiveness of | ประสิทธิผลของกระแสการย้ายถิ่น, Example: การเปรียบเทียบค่าสมบูรณ์ของการย้ายถิ่นสุทธิ กับค่าของการย้ายถิ่นรวม (gross interchange) [สิ่งแวดล้อม] |
Cobra Gold | การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทยและกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ร่วมกันเป็น เจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกคอบร้าโกลด์พัฒนามาจากการฝึกผสมยกพลขึ้นบกระหว่างกองทัพเรือไทยกับกอง ทัพเรือสหรัฐอเมริกาและกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการฝึกร่วมกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ต่อมาใน พ.ศ. 2525 ได้รวมการฝึกหลายอย่างเข้าด้วยกันแล้วกำหนดชื่อรหัสการฝึกขึ้นใหม่ว่า "การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์" ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมฝึกรวม ทั้งร่วมสังเกตการณ์หลายประเทศ รวมทั้งได้ขยายการฝึกครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตอบโต้การก่อการร้ายด้วย [การทูต] |
Common Market for Eastern and Southern Africa | ตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2537 มีประเทศสมาชิกรวม 20 ประเทศ ได้แก่ แองโกลา บุรุนดี คอโมโรส สาธารณรัฐประชาธิปไตย คองโก จิบูตี อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา มาดากัสการ์ มาลาวี มอริเชียส นามิเบีย รวันดา เซเชลส์ ซูดาน สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว และยูกันดา " [การทูต] |
Francophonie (International Organization of the Francophony) | องค์การระหว่างประเทศกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษา ฝรั่งเศส ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2513 ที่เมือง Niamey ประเทศ Niger เพื่อเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสานนโยบายความร่วมมือต่าง ๆ เน้นการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นสื่อกลาง และส่งเสริมความร่วมมือพหุพาคีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีสมาชิก 53 ประเทศ (เบลเยียม บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก มอลโดวา โมนาโก โรมาเนีย สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา โดมินิกา เฮติ เซนต์ลูเซีย เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี แคเมอรูน เคปเวิร์ด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด คอโมโรส สาธารณรัฐคองโก โกตดิวัวร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จิบูตี อียิปต์ อิเควทอเรียลกินี กาบอง กินี กินีบิสเซา มาดากัสการ์ มาลี มอริเตเนีย มอริเซียส โมร็อกโก ไนเจอร์ รวันดา เซาตูเมและปรินซิปี เซเนกัล เชเชลส์ โตโก ตูนีเซีย กัมพูชา ลาว เลบานอน เวียดนาม วานูอาตู แอลเบเนีย มาซิโดเนีย สาธารณรัฐเช็ก ลิทัวเนีย สาธารณรัฐสโลวัก สาธารณรัฐโลวีเนีย และโปแลนด์) และ 3 มลรัฐ [ แคนาดา-นิวบรันสวิก แคนาดา- ควิเบก และชุมชนฝรั่งเศสในเบลเยียม (French Community in Belgium) ] [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Madagascar Action Plan | แผนปฏิบัติการมาดากัสการ์ เป็นแผนพัฒนาประเทศมาดากัสการ์ที่เป็นรูปธรรมฉบับแรก นับตั้งแต่มาดากัสการ์ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2503 รัฐบาลมาดากัสการ์ ได้รับงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ (ประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) มาจากแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เป้าหมายหลักของ MAP ได้แก่ การพัฒนาระบบคมนาคม การพัฒนาชนบท การปรับปรุงระบบสาธารณสุข และการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ [การทูต] |
Acidosis, Respiratory | กรดจากการหายใจ; ภาวะไม่สมดุลย์ของกรดและด่าง; กรดในเลือดเพิ่มขึ้นเนื่องจากการหายใจ; ความเป็นกรดในร่างกาย; ภาวะกรดสาเหตุจากการหายใจ; เลือดเป็นกรดจากการหายใจไม่พอ; อะศิโดสิสการหายใจ; เลือดเป็นกรดจากการหายใจ; กรดมากจากโรคปอด, ภาวะ; อะซิโดซิสจากการหายใจ; เลือดเป็นกรดจากการหายใจ; การเป็นกรดเนื่องจากการหายใจ [การแพทย์] |
Adhesive Binding | การไสสันทากาว, การเข้าเล่มแบบไสกาว, Example: การเข้าเล่มแบบไสกาว (Adhesive binding) เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะเข้าเล่มได้เรียบร้อยสวยงามและราคาถูก เหมาะสำหรับหนังสือเล่มที่มีความหนาปานกลางประมาณ 70 หน้าขึ้นไป วิธีเข้าเล่มแบบไสกาวจะนำกระดาษที่เรียงหน้าเป็นเล่มแล้ว มาเข้าเครื่องไสด้านข้างให้เป็นขุยก่อนแล้วจึงทากาวที่ขอบสันที่ผ่านการไสด้วยการเลื่อยแล้ว จากนั้นจึงปิดสันด้วยผ้าก๊อชเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้สัน แล้วจึงหุ้มด้วยปกหนังสือ การที่ต้องไสขอบสันก่อนก็เพื่อให้กาวแทรกซึมเข้าไปง่าย การยึดติดก็จะดีขึ้น นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “ไสกาว” การเข้าเล่มแบบนี้เป็นวิธีที่ทำได้เร็วและมีราคาไม่แพง ความทนทานก็พอใช้ได้ แต่กางหนังสือออกได้ไม่มาก โดยเฉพาะหนังสือที่หนามากๆ ถ้ากางหนังสือเต็มที่อาจจะหลุดได้ หนังสือที่นิยมเข้าเล่มแบบนี้ ได้แก่ หนังสือเรียน นิตยสาร และพ็อคเก็ตบุ๊ค นอกจากนี้การเข้าเล่มแบบไสกาวยังเหมาะกับการผลิตหนังสือจำนวนมากในระดับโรงพิมพ์ เนื่องจากมีราคาไม่แพง และมีเครื่องเข้าเล่มสันกาวร้อนช่วยในการเข้าเล่มด้วย [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Pascal's triangle | รูปสามเหลี่ยมปาสกาล, รูปสามเหลี่ยมของจำนวนเต็มที่จัดเรียงเป็นแถวจำนวนในแต่ละแถวแทนสัมประสิทธิ์ของตัวแปร x, y และผลคูณของ xy กำลังต่าง ๆ ที่ได้จากการกระจาย (x + y)n เมื่อ n = 0, 1, 2, 3, ..., n [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Skylab | สกายแลบ, ห้องปฏิบัติการอวกาศของสหรัฐอเมริกา ขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศรอบโลกเมื่อวันที่14 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และตกลมาสู่โลกบริเวณมหาสมุทรอินเดียและที่ว่างภาคเหนือของประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
space laboratory | ห้องปฏิบัติการอวกาศ, ยานอวกาศซึ่งมีอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกที่มนุษย์ส่งออกไปโคจรอยู่รอบโลกเพื่อทำการศึกษาวิจัยเรื่องต่าง ๆ ในอวกาศ เช่น ยานสกายแลบของสหรัฐอเมริกา ยานโซลยุตของสหภาพโซเวียต เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mollusk | มอลลัสก์, สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา มีลำตัวอ่อนนิ่ม ไม่มีข้อปล้อง รูปร่างค่อนข้างสั้น มีกล้ามเนื้อด้านหน้าท้องทำหน้าที่เป็นขาเดิน เช่น หอยต่าง ๆ หมึก เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Migration Streams | กระแสการย้ายถิ่น [การแพทย์] |
Postcard | โปสการ์ด, ไปรษณียบัตร, Example: <b>โปสการ์ด (Postcard) หรือไปรษณียบัตร </b>มีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลายขนาด ขนาดมาตรฐาน คือ 4 x 6 นิ้ว ด้านหนึ่งของแผ่นกระดาษเป็นรูปภาพ ภาพถ่าย หรือภาพตัดปะ ที่มีหรือไม่มีข้อความหรือคำอธิบายพิมพ์บนบัตรและตั้งใจส่งให้ทางไปรษณีย์โดยไม่ต้องมีซองจดหมาย อีกด้านหนึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนสำหรับให้ผู้ส่งกรอกชื่อและที่อยู่ของผู้รับ อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่สำหรับใส่ข้อความสั้นๆ โปสการ์ดที่เก่ามาก ๆ หรือเป็นโปสการ์ดที่หายากหรือเป็นโปสการ์ดเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่สำคัญอาจจะมีมูลค่าสำหรับผู้เก็บสะสม สำหรับโปสการ์ดที่นิยมสะสม ได้แก่ ภาพบุคคลสำคัญ นักกีฬา นักการเมือง นักแสดงและบาทหลวง ภาพสถานที่ต่างๆ สถานีรถไฟ ทิวทัศน์ เมืองและหมู่บ้านในชนบท ภาพการ์ตูนล้อเลียน ประเด็นร้อนในสังคม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
กระแสการเงิน | [krasaē kānngoen] (n, exp) EN: monetary flow ; currency flow ; money; currency movement FR: flux monétaire [ m ] |
นมัสการ | [namasakān] (x) EN: pray ; pay respects ; salute FR: prier ; rendre hommage ; rendre grâces |
เนแบรสกา | [Nēbraēskā] (n, prop) EN: Nebraska FR: Nebraska [ m ] |
เนสกาแฟ | [Nēskāfaē] (tm) EN: Nescafé FR: Nescafé |
ปาสกาล | [Pāskāl] (n, prop) EN: Pascal FR: Pascal [ m ] |
ภาษาปาสกาล | [phāsā Pāskāl] (tm) EN: Pascal language FR: langage Pascal [ m ] |
โปสการ์ด | [pōtsakāt] (n) EN: postcard ; card FR: carte postale [ f ] |
ประเทศมาดากัสการ์ | [Prathēt Mādākatkā] (n, prop) EN: Madagascar FR: Madagascar |
รูปสามเหลี่ยมปาสกาล | [rūp sāmlīem Pāskāl] (n, exp) EN: Pascal's triangle FR: triangle de Pasal [ m ] |
สายการบินแอร์ มาดากัสการ์ | [Sāikānbin Aē Mādākaskā] (tm) EN: Air Madagascar FR: Air Madagascar |
สกา | [sakā] (n) EN: backgammon-like game FR: jeu de dés [ m ] |
สาธารณรัฐมาดากัสการ์ | [Sāthāranarat Mādākatkā] (n, prop) EN: Republic of Madagascar FR: République de Madagascar [ f ] |
^ | <คำแปล> hat หมายถึง สัญลักษณ์ที่มีลักษณะคล้ายหมวก (^) ในภาษาไทยเราก็เรียกเครื่องหมายนี้ว่า "หมวก" ใช้แทน แป้นควบคุม (Control Key) เช่น กดแป้นควบคุมและแป้น K จะใช้ย่อ ๆ ว่า กด ^K ในภาษาเบสิกใช้หมายถึงการยกกำลัง เช่น 5^3 มีความหมายว่า 5 ยกกำลัง 3 ดู caret ประกอบ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>caretหมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น |
algol | (แอล' กอล) n. Algo (rithmic) L (anguge) เป็นภาษาหนึ่งในการทำ programming ของระบบคอมพิวเตอร์ ย่อมาจากคำว่า ALGOrithmic Language เป็นภาษาที่ใช้ ในการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันนี้ ภาษานี้เกือบจะไม่มีใช้แล้ว เพราะเป็นภาษาที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน แต่ก็ถือกันว่าเป็นต้นตระกูลของ ภาษาปาสกาล (Pascal) |
athapaskan | (แอธธะแพส'คัน) n. กลุ่มภาษาอินเดียแดง (ในแคนนาดา อาลาสกา ออริกอน แคลิฟอร์เนีย) . เช่น ภาษาอาปาเช่., Syn. Athapascan, Athabascan, Athabaskan |
c | (ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3, ตัวเลข100ของโรมัน, สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม |
caret | ^ (สัญลักษณ์) <เครื่องหมาย>หมายถึง สัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อกดแป้น Shift+6 (^) สัญลักษณ์นี้ใช้ในการเขียนโปรแกรมของบางภาษา โดยจะแทนคำสั่งเฉพาะบางคำสั่ง มีความหมายแตกต่างกันไป เช่น ^ ในภาษาปาสกาล (Pascal) ใช้แทนตัวชี้ (pointer) , ^ ใน ภาษาซี (C) ใช้แทนตัวดำเนินการ exclusive OR, ^ ใน ภาษาเบสิก (BASIC) ใช้แทนการยกกำลัง เป็นต้น |
current directory | สารบบปัจจุบัน <คำแปล>สารบบที่กำลังใช้อยู่ <คำแปล>หมายถึงสารบบ (directory) ที่กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้น ในขณะใดขณะหนึ่งจะมี สารบบปัจจุบันได้เพียงสารบบเดียว ในระบบดอสการย้ายเข้า/ออกจากสารบบปัจจุบัน ใช้คำสั่ง CD..... ดู cd |
extension | (อิคซฺเทน'เชิน) n. การขยายออก, การยืดออก, การแผ่ออก, สิ่งที่ขยายออก, โทรศัพท์พ่วง นามสกุลในระบบดอส หมายถึง ตัวอักษรสามตัวที่อยู่หลังชื่อแฟ้มข้อมูล เนื่องจากอยู่ในตอนท้ายของชื่อ จึงนิยมเรียกกันว่า"นามสกุล" โดยปกติ คอมพิวเตอร์จะใช้นามสกุลนี้เป็นตัวบอกประเภทของแฟ้มข้อมูล จะมีจุดคั่นระหว่างชื่อและนามสกุล เช่น ถ้าแฟ้มข้อมูลที่เป็นภาษาปาสกาล (Pascal) ก็จะมีนามสกุล .PAS ถ้าเป็นแฟ้มภาษาเบสิก ก็จะมีนามสกุล .BAS อย่างนี้เป็นต้น หรือถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลสำรอง ก็มักจะใช้นามสกุลว่า .BAK ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรต้องรู้ว่า นามสกุลอะไร บอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลประเภทไหน โดยเฉพาะนามสกุล .exe, .com, .bin, .doc, .bat ซึ่งจะต้องพบ บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน file type |
fulgent | adj. สุกสกาว, โชติช่วง, สว่างไสว. |
fulgurate | vi. สุกสกาว, เปล่งแสงวาบ (คล้ายฟ้าแลบ) vt. ทำลายด้วยไฟฟ้า., See also: fulguration n. |
hajj | (แฮจ) n. การเดินทางไปนมัสการสิ่งที่เคารพที่กรุงเมกกะซึ่งชาวมุสลิมทุกคนต้องไปครั้งหนึ่งอย่างน้อยในชีวิต -pl. hajjis, Syn. hadj |
hajji | (แฮจ'จี) n. มุสลิมทีเดินทางไปนมัสการ, สิ่งที่เคารพในกรุงเมกกะ -pl. hajjis, Syn. hadji, haji |
high level language | ภาษาระดับสูงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างภายในของเครื่องแต่อย่างใด ภาษาระดับสูงมีอยู่ด้วยกันหลายภาษา เช่น ภาษาซี (C) ภาษาเบสิก (BASIC) และภาษาปาสกาล (PASCAL) เป็นต้น ตรงข้ามกับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเรียกกันว่าเป็นภาษาระดับต่ำ ผู้เขียนจะต้องรู้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมเป็นภาษานั้นได้ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์จะยังไม่สามารถเข้าใจภาษาระดับสูงนี้ได้ แต่จะต้องใช้ตัวแปล (compiler) จัดการแปลเสียก่อน จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งได้ดู computer language ประกอบ |
hypercare | : ไฮเปอร์แคร์หมายถึง ชุดซอฟต์แวร์ของเครื่องแมคอินทอชที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมไม่เป็น สามารถเขียนโปรแกรมเองได้ แต่แล้วกลับปรากฏว่า การเรียนวิธีใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้ กลับยากเกินไป กับทั้งยังทำไม่ได้ดีเหมือนกับโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซี (C) หรือปาสกาล (Pascal) เมื่อผลิตขายใหม่ ๆ คนนิยมมาก แต่ปัจจุบันดูเหมือนจะหายไปจากตลาดแล้ว |
international organizatio | ISO <คำย่อ>องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานใช้ตัวย่อว่า ISO (อ่านว่า ไอเอสโอ) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท เป็นต้นว่า ภาษาปาสกาล, ภาษา Prolog |
iso | International Organization for Standardizationองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานใช้ตัวย่อว่า ISO (อ่านว่า ไอเอสโอ) มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท เป็นต้นว่า ภาษาปาสกาล, ภาษา Prolog |
modula-2 | (มอดูลา-ทู) เป็นภาษาโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งใกล้เคียงกับภาษาปาสกาล (Pascal) ภาษานี้ผู้สร้างชื่อ Niklaus Wirth คนเดียวกับที่สร้างภาษาปาสกาล |
pascal | ปาสกาลเป็นชื่อภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่นิยมใช้กันมากพอสมควร มักใช้ในการสอนวิชามโนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม ผู้คิดภาษานี้ชื่อ Niklaus Wirth แต่ตั้งชื่อภาษาตามชื่อของนักคณิตปรัชญาคนสำคัญคนหนึ่งคือ Blaise Pascalดู high level language ประกอบ |
resplendence | (ริสเพลน'เดินซฺ) n. ความรุ่งโรจน์, ความโชติช่วง, ความสุกปลั่ง, ความสุกสกาว, ความงามอร่าม, , Syn. resplendency |
resplendent | (รีสเพลน'เดินทฺ) adj. รุ่งโรจน์, โชติช่วง, สุกปลั่ง, สุกสกาว, งามอร่าม, Syn. gleaming |
sparkle | (สพาร์ค'เคิล) n., vi., vt. (ทำให้เกิด) ประกายไฟ, แสงแวววับ, แสงระยิบระยับ, ความสุกสกาว, ความมีชีวิตชีวา, Syn. glisten, glitter, flash, twinkle |
turbo pascal | เทอร์โบ ปาสกาล <คำอ่าน>เป็นชื่อตัวแปลภาษาปาสกาล (ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม) ที่ที่บริษัทบอร์แลนด์เป็นผู้พัฒนาขึ้นในราว ค.ศ.1984 ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันดู Pascal ประกอบ |
turing | (ทัวริ่ง) เป็นชื่อภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ได้รับการพัฒนามาจากภาษาปาสกาลที่มหาวิทยาลัย โตรอนโต ใช้ในระบบยูนิกซ์ (UNIX) |