ตกสนับ | ก. อาการที่หญ้าโทรมล้มทับหญ้าที่ขึ้นใหม่. |
ผู้สนับสนุน | น. ผู้กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม. |
สนับ ๑ | (สะหฺนับ) น. เสื้อ |
สนับ ๑ | เครื่องสวม |
สนับ ๑ | เครื่องรองอย่างเครื่องรองมือของช่างเย็บเพื่อกันเข็มแทงมือเป็นต้น. |
สนับ ๑ | (สะหฺนับ) ก. ทาบ, ซ้อน, เช่นหญ้าที่โทรมล้มทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก เรียกว่า ตกสนับ. |
สนับแข้ง | น. เครื่องสวมแข้ง. |
สนับงา | น. เนื้อหุ้มที่โคนงาช้าง. |
สนับนิ้ว, สนับนิ้วมือ | น. ปลอกโลหะสวมปลายนิ้วมือสำหรับดุนก้นเข็มเพื่อไม่ให้เจ็บนิ้วมือ. |
สนับเพลา | (-เพฺลา) น. กางเกงขายาวประมาณครึ่งแข้ง มีแถบผ้าปลายงอนหุ้มปลายขากางเกงทั้ง ๒ ข้าง นุ่งโจงทับ, ปัจจุบันยังหมายถึงกางเกงด้วย, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสนับเพลา. |
สนับมือ | น. เครื่องรองใบลานเพื่อจารหนังสือได้ถนัด |
สนับมือ | เครื่องสวมมือมักทำด้วยทองเหลืองเป็นรูปเหมือนแหวน ๔ วงติดกันสำหรับสวมนิ้วมือเวลาชก. |
สนับ ๒, สนับทึบ | ดู เพรียงหิน. |
สนับสนุน | ก. ส่งเสริม, ช่วยเหลือ, อุปการะ, เช่น สนับสนุนการกีฬา สนับสนุนการศึกษา. |
กองกลาง | ตำแหน่งในกีฬาฟุตบอลที่ผู้เล่นมีหน้าที่ประสานงาน สนับสนุนการเล่นระหว่างกองหน้ากับกองหลัง. |
กังหันน้ำชัยพัฒนา | น. ชื่อเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยแบบหนึ่ง เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากาศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นแล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนา ศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม. |
เกื้อ, เกื้อกูล | ก. ช่วยเหลือสนับสนุน เช่น ต้นไม้เล็กกับต้นไม้ใหญ่เกื้อกูลกัน บริษัทใหญ่เกื้อกูลบริษัทเล็กในเครือเดียวกัน. |
ข้ออ้าง | น. สิ่งที่นำมาอ้างสนับสนุนความคิดเห็นหรือการกระทำของตน. |
ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น | น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่นกว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึก แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้ |
คู่บารมี | น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญบารมีกันมาก่อนและมาสนับสนุนเกื้อกูลกันในปัจจุบัน, สิ่งประดับบารมี. |
คู่บุญบารมี | น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญกุศลกันมาในชาติก่อนและมาสนับสนุนเกื้อกูลกันในปัจจุบัน เช่น พระนางมัทรีเป็นคู่บุญบารมีของพระเวสสันดร. |
เครือข่าย | น. ระบบ เส้นทาง หรือการปฏิบัติงานที่ติดต่อประสานกันเป็นโยงใย เช่น เครือข่ายโทรคมนาคม เครือข่ายวิทยุชุมชน, กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่มีความเห็นใกล้เคียงกัน มีการติดต่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น เครือข่ายนักวิจัย. |
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินและพระราชทรัพย์สำหรับจัดทำแปลงเกษตรผสมผสาน สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อทดลองค้นคว้าหารูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และเป็นสถานที่ฝึกอบรมการเกษตรภาคปฏิบัติให้นักศึกษาและประชาชนที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ เช่น โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ชุมพร อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. |
เจือสม | ก. มีความสอดคล้องหรือสนับสนุนให้น่าเชื่อ เช่น คำให้การของพยานโจทก์กับพยานจำเลยเจือสมกัน. |
เชียร์ | ส่งเสริมหรือสนับสนุน เช่น เชียร์ให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง. |
นาวิน | น. คนเรือ, ทหารเรือที่ทำหน้าที่ทางเรือ และสนับสนุนการยุทธ์ทางเรือ. |
แนวร่วม | น. ประชาชนที่มีความคิดคล้อยตามและให้การสนับสนุนแก่พวกที่มีความคิดเห็นในแนวเดียวกัน. |
แนวหลัง | น. ผู้ที่ไม่ได้ไปรบด้วย ได้แก่พลเรือนผู้สนับสนุนอยู่ข้างหลัง. |
บวก | ว. ที่เป็นไปในทางสนับสนุน ทางดี หรือเชิงสร้างสรรค์ เช่น มองในทางบวก |
ปลอกนิ้ว | น. สนับนิ้วมือ, ปลอกมือ ก็ว่า. |
ปลอกมือ | น. สนับนิ้วมือ, ปลอกนิ้ว ก็ว่า. |
พรรคนาวิน | (พัก-) น. เหล่าของทหารเรือที่ทำหน้าที่ทางเรือ และสนับสนุนการยุทธ์ทางเรือ. |
เพรียง ๒ | (เพฺรียง) น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Cirripedie ส่วนใหญ่มีเปลือกหุ้มตัวซึ่งเป็นแผ่นหินปูน มีหลายพวก เช่น เพรียงหินหรือเพรียงสนับหรือสนับทึบ วงศ์ Balanidae, เพรียงก้านหรือเพรียงคอห่าน วงศ์ Lepadidae. |
เพรียงหิน | น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง ในวงศ์ Balanidae เปลือกหุ้มตัวเป็นแผ่นหินปูน ๖ แผ่น ประกบกันมีลักษณะคล้ายภูเขาไฟ ส่วนฐานเชื่อมติดกับวัตถุ ปากเปิดด้านบน เช่น ชนิด Balanus variegates Darnin, สนับ หรือ สนับทึบ ก็เรียก. |
แม้ | คำสนับสนุนข้ออ้างให้เห็นเด่นขึ้นโดยอาศัยการเปรียบเทียบ เช่น อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่เลย แม้เด็กก็เข้าใจ. |
ยุทโธปกรณ์ | น. วัสดุอุปกรณ์ทั้งปวงและยุทธภัณฑ์ทุกชนิดซึ่งใช้ในราชการทหาร รวมทั้งเครื่องมือยานยนต์ ชิ้นส่วนอะไหล่สาธารณูปโภคอันจำเป็นเพื่อปฏิบัติการรบหรือเพื่อดำรงและสนับสนุนกิจกรรมทางทหารโดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีความมุ่งหมายทางธุรการหรือทางการรบ. |
เรือประจัญบาน | น. เรือรบขนาดใหญ่ระวางขับน้ำประมาณ ๒๐, ๐๐๐ ตันขึ้นไป มีเกราะป้องกันตนเอง มีอาวุธสมัยใหม่หลายประเภท รวมทั้งอาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้น และพื้นสู่อากาศ มีหน้าที่หลักในการต่อตีเรือข้าศึก และระดมยิงฝั่งเพื่อสนับสนุนการรบสะเทินน้ำสะเทินบก. |
เรือลาดตระเวน | น. เรือรบขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำประมาณ ๖, ๐๐๐-๒๐, ๐๐๐ ตัน มีความเร็วและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากกว่าเรือประจัญบานมีหน้าที่ลาดตระเวน ตรวจการรุกล้ำทางฝั่งน้ำและทางอากาศยาน คุ้มกัน สนับสนุนกองเรือลำเลียงเป็นต้น. |
ลาดตระเวน | น. เรียกเรือรบขนาดใหญ่ประเภทหนึ่ง มีหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อค้นหา ทำลายเรือรบข้าศึก และให้ความคุ้มกันสนับสนุนกองเรือลำเลียงของฝ่ายตน ว่า เรือลาดตระเวน. |
ลุ้น | ก. เอาใจช่วยเต็มที่ เช่น นั่งลุ้นฟุตบอลอยู่ข้างสนาม, สนับสนุน เช่น ลุ้นให้ได้ตำแหน่ง. |
ลูกคู่ | น. คนร้องรับต้นเสียง เช่น ลูกคู่ละครร้อง ลูกคู่ละครรำ, คนร้องรับพ่อเพลงแม่เพลง เช่น ลูกคู่เพลงฉ่อย ลูกคู่ระบำชาวไร่, โดยปริยายหมายถึงผู้สนับสนุน เช่น พอนายพูด ลูกน้องก็รับเป็นลูกคู่. |
ลูกหนุน | น. ผู้สนับสนุนให้กำลังใจในการกีฬาหรือการต่อสู้เป็นต้น. |
วิ่งเต้น | ก. พยายามติดต่ออย่างเต็มที่เพื่อขอความสนับสนุนช่วยเหลือในกิจที่ต้องประสงค์ เช่น วิ่งเต้นฝากงาน. |
ส่งเสริม | ก. เกื้อหนุน, ช่วยเหลือสนับสนุนให้ดีขึ้น, เช่น ส่งเสริมการลงทุน ส่งเสริมการศึกษา. |
สอด ๑ | ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอดจดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับเพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น. |
สันนิบาตเทศบาล | น. องค์กรของเทศบาลทั่วประเทศรวมทั้งเทศบาลเมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายช่วยเหลือ สนับสนุน และติดต่อประสานงานเทศบาลทั่วประเทศ โดยไม่มีจุดประสงค์ทางการเมือง เรียกว่า สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย. |
เส้นแข็ง | ผู้มีอำนาจสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง. |
เสียงเงียบ | น. กลุ่มชนที่ยังไม่ออกเสียงแสดงความคิดเห็นของตนให้ปรากฏชัดว่าจะสนับสนุนฝ่ายใด. |
เสือป่า | น. ผู้ช่วยพลรบซึ่งมีหน้าที่สอดแนมเพื่อสนับสนุนกองทหาร. |
หนุนหลัง | สนับสนุนอยู่ข้างหลัง. |
Decision support system | ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Decision support system | ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Task related monitoring | การเฝ้าสังเกตตามภารกิจ, การตรวจติดตามปริมาณรังสีที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการเฉพาะ เพื่อให้ได้ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจอย่างเร่งด่วนสำหรับการบริหารจัดการในการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจเป็นการเฝ้าสังเกตรายบุคคล หรือ การเฝ้าสังเกตสถานปฏิบัติการ [นิวเคลียร์] |
system support | การสนับสนุนระบบ, Example: งานช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ [คอมพิวเตอร์] |
Accomplices | ผู้สนับสนุนการกระทำผิด [TU Subject Heading] |
Corporate sponsorship | การสนับสนุนเชิงธุรกิจ [TU Subject Heading] |
Decision support systems | ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ [TU Subject Heading] |
Income tax deductions for political contributions | การนำเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนทางการเมืองมาหักลดหย่อนภาษี [TU Subject Heading] |
Performing arts sponsorship | การสนับสนุนเชิงธุรกิจในการแสดง [TU Subject Heading] |
Sports sponsorship | การสนับสนุนเชิงธุรกิจในกีฬา [TU Subject Heading] |
Support services (Management) | บริการสนับสนุนปฏิบัติการ (การจัดการ) [TU Subject Heading] |
Supportive Industry | อุตสาหกรรมสนับสนุน, Example: อุตสาหกรรมผลิตสินค้าส่วนประกอบ ที่ใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค เช่น อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ถือเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน ที่จำเป็นของอุตสาหกรรมผลินชิ้นส่วนรถยนต์ และอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ ความพร้อมของอุตสาหกรรม ที่ผลิตสินค้าสนับสนุนที่จำเป็นนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติได้ [สิ่งแวดล้อม] |
ASEAN Cultural Fund | กองทุนวัฒนธรรมอาเซียน จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม/โครงการความ ร่วมมือของอาเซียนทางด้านวัฒนธรรมและสนเทศ โดยในปี พ.ศ. 2521 รัฐบาลญี่ปุ่นได้บริจาคเงินจำนวน 5, 000 ล้านเยน หรือประมาณ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้แก่กองทุนฯ เพื่อนำดอกผลไปใช้ในการสนับสนุนโครงการ/กิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ [การทูต] |
ASEAN Foundation | มูลนิธิอาเซียน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการสร้าง จิตสำนึกของความเป็นอาเซียนในหมู่ประชาชน และเพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรม/โครงการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกอาเซียนอย่างเท่าเทียมกัน มีสำนักงานอยู่ที่กรุงจาการ์ตา [การทูต] |
ASEM Trust Fund | กองทุนอาเซม " เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นในธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูและ การพัฒนา (World Bank) โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกอาเซม เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในเอเชียที่ประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ " [การทูต] |
ASEAN Industrial Cooperation Scheme | โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน เป็นมาตรการเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบการผลิตในรูปสินค้าสำเร็จ รูป/กึ่งสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรมระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในประเทศอาเซียน อันจะเป็นการสนับสนุนการแบ่งกันผลิตและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาค อุตสาหกรรมในอาเซียน โดยจะต้องเป็นความร่วมมือตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป และมีคนชาติประเทศสมาชิกอาเซียนมีหุ้นส่วนอยู่ในแต่ละบริษัทอย่างน้อยร้อยละ 30 สินค้าที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ในโครงการจะได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรใน อัตราร้อยละ 0-5 ในทันที โดยไม่ต้องรอให้เขตการค้าเสรีอาเซียนมีผลบังคับใช้ [การทูต] |
Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] |
Amnesty International | องค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
ASEAN Secretariat | สำนักเลขาธิการอาเซียน " ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา มีหน้าที่ให้การสนับสนุนงานการประชุม ประสานงาน และเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ และมีเลขาธิการอาเซียนเป็น หัวหน้าสำนักงาน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ทั้งนี้ นายแผน วรรณเมธี เป็นคนไทยคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งนี้ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2527-2529 " [การทูต] |
Bangkok Process | เป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Committee of Permanent Representatives to ASEAN | คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ประกอบด้วยผู้แทนถาวร (ระดับเอกอัครราชทูต) ประจำอาเซียนของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับสำนัก เลขาธิการอาเซียนสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนรวมทั้งองค์กร ระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาต่าง ๆ [การทูต] |
Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] |
Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] |
Friends of Young Ambassador of Virtue | เพื่อนยุวทูตความดี " หมายถึง สถานทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ สถานทูตต่าง ประเทศในประเทศไทย องค์กรหรือภาคเอกชนทั้งของไทยและของต่างประเทศ ที่ตอบรับเป็นผู้สนับสนุนและสนใจที่จะทำกิจกรรมร่วมกับโรงเรียนในโครงการยุว ทูตความดี " [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
International Conference on Financing for Development | การประชุมนานาชาติว่าด้วยการสนับสนุนทางการเงิน สำหรับการพัฒนา [การทูต] |
International Finance Corporation | บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ มีความเกี่ยวเนื่องกับธนาคารโลก แม้ว่าจะมีสถานะเป็นองค์กรแยก ต่างหาก IFC มีหน้าที่สนับสนุนภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ [การทูต] |
International Law Enforcement Academy | สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2541 เป็นโครงการ 3 ปี (ระหว่าง 2541-2544) โดยสหรัฐอเมริกาให้เงินสนับสนุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจัดการฝึกอบรมแก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินการตามกฎหมายในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ระหว่างประเทศ [การทูต] |
United Nations International Research and Training Institute for the Advancement of Women | สถาบันวิจัยและฝึกอบรมระหว่างประเทศเพื่อความก้าวหน้าของสตรีแห่งสหประชา ชาติ เป็นสถาบันที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินบริจาคโดยสมัครใจจากประเทศสมาชิก มีเป้าหมายที่จะเร่งรัดและช่วยเหลือให้สตรีสามารถมีบทบาทอย่างแข็งขันและ อย่างเท่าเทียมกันในกระบวนการพัฒนา [การทูต] |
Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] |
International Force in East Timor | กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1264 (1999) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2542 มีภารกิจหลัก 3 ประการ คือ ฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพในติมอร์ตะวันออก ป้องกันและสนับสนุนงานของเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ และอำนวยความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กองกำลังนานาชาติปฏิบัติหน้าที่ในติมอร์ตะวันออกจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
International Telecommunication Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านโทรคมนาคม สนับสนุนการพัฒนาในด้านดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชาติทั้งปวง [การทูต] |
Marshall Plan | แผนการมาร์แชล ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า?สหรัฐอเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะ สามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพร นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้?จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ไม่ยากว่า ไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง [การทูต] |
The New Partnership for Africa?s Development | หุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแอฟริกา มีวัตถุประสงค์ในการ ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศแอฟริกา การขจัดความยากจนและการขจัดความเสียเปรียบของประเทศแอฟริกาในยุคโลกาภิวัตน์ NEPAD พัฒนามาจากการประชุม สุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งในการประชุมนี้ ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ประธานาธิบดีไนจีเรีย และประธานาธิบดี แอลจีเรียได้เสนอต่อที่ประชุม ขอให้กลุ่มประเทศเหนือและประเทศใต้ร่วมกันแก้ปัญหาที่ทั้งสองกลุ่มประเทศ เผชิญอยู่ บนพื้นฐานของ ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเน้นการพัฒนาประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศ ในภูมิภาคแอฟริกา ต่อมาบรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศแอฟริกาได้ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาแอฟริกาสำหรับ ใช้ขอรับการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วในเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เรียกว่า New Africa Initiative (NAI) ที่ประชุมองค์การเอกภาพแอฟริกา หรือ OAU (ซึ่งต่อมากลายเป็น African Union ? AU) ได้เห็นชอบต่อแผน NAI ดังกล่าวในเดือนกรกฎาคม 2544 ผู้นำของประเทศแอฟริกาได้นำเสนอ NAI ต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 เมื่อปี พ.ศ. 2544 และได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนเป็น NEPAD ในปัจจุบัน [การทูต] |
Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] |
Open Diplomacy | คือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต] |
Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] |
Plan Puebla-Panama | สมาชิก เม็กซิโก เบลิซ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ นิการากัว คอสตาริกา และปานามา วัตถุประสงค์ ริเริ่มโดยประธานาธิบดี Vicente Fox ของเม็กซิโก เมื่อปี พ.ศ. 2543 เพื่อแสวงหาความร่วมมือและให้การสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ประเทศภูมิภาค อเมริกากลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมและสาธารณูปโภค เช่น ถนน สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซ ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจจากเม็กซิโกลงไปยังประเทศทางตอนใต้ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศร่วมกัน และเพื่อแก้ไขปัญหาการอพยพของแรงงานผิดกฎหมายจากประเทศในแถบอเมริกากลางเข้า สู่เม็กซิโก หมายเหตุ Puebla เป็นชื่อเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของเม็กซิโก และเป็นจุดเริ่มต้นโครงการ ซึ่งสิ้นสุดที่ปานามา [การทูต] |
Presentation of Credentials | หมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต] |
Regional Operate Center | ศูนย์ปฏิบัติการร่วม กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ROC เป็นโครงการนำร่อง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.พ.ร. และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2549 เพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่างเอกอัครราชทูตในประเทศเพื่อนบ้านกับผู้ว่า ราชการจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเอกอัครราชทูตกับผู้ว่าราชการ จังหวัด เพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศ รวมทั้งให้บริการข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและจังหวัดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและงานวิจัยในท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนนโยบายต่างประเทศ [การทูต] |
Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty | สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ลงนามในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2538 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาคและส่งเสริมความพยายามระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคใน การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่ง นอกจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของแผนงานว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Zone of Peace, Freedom and Neutrality - ZOPFAN) แล้ว ยังเป็นการสนับ สนุนกระบวนการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในเวทีระดับโลกอีกด้วย " [การทูต] |
second, support a proposal | รับรอง, สนับสนุนข้อเสนอ [การทูต] |
Third Country Training Program | โครงการฝึกอบรมประเทศที่สาม " เป็นรูปแบบการให้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิเทศสหการกับองค์การ ระหว่างประเทศและ/หรือรัฐบาลต่างประเทศในการจัด หลักสูตรการศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงานให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศกำลังพัฒนา โดยองค์การระหว่างประเทศหรือรัฐบาลต่างประเทศเป็น ผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้รับทุนและค่าใช้จ่ายในการศึกษา/ฝึกอบรม/ ดูงาน " [การทูต] |
Tokyo International Conference on African Development | การประชุมระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาแอฟริกา ณ กรุงโตเกียว " เป็นการริเริ่มของรัฐบาลญี่ปุ่น ร่วมกับองค์การสหประชาชาติและ องค์การ Global Coalition for Africa เพื่อสนับสนุนการพัฒนาใน ภูมิภาคแอฟริกา ในรูปของความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียกับ แอฟริกาอย่างเป็นรูปธรรมและมีเอกภาพ โดยเป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรี และมีการประชุมแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรก (TICAD I) มีขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม 2536 โดยมีการรับรองเอกสารปฏิญญา กรุงโตเกียว (Tokyo Declaration) ซึ่งเป็นสัญญาประชาคมที่ประเทศต่าง ๆ จะให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่แอฟริกา และครั้งที่ 2 (TICAD II) มีขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2541 โดยมีการรับรองแผนปฏิบัติการกรุงโตเกียว (Tokyo Agenda for Action) ซึ่งเป็น แนวทางในการพัฒนาแอฟริกาในด้านต่าง ๆ ทั้งสังคมและเศรษฐกิจ " [การทูต] |
Universal Declaration of Human Rights | ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยไทยออกเสียงสนับสนุน [การทูต] |
United Nations Mine Action Service | องค์กรสนับสนุนการปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งสห ประชาชาติ [การทูต] |
adherent | (n) พลพรรค, See also: พรรคพวก, ผู้ติดตาม, ผู้สนับสนุน, สาวก |
advocate | (n) ผู้ให้การสนับสนุน, See also: ผู้ให้ความช่วยเหลือ, Syn. supporter, backer |
advocate | (vt) สนับสนุน, Syn. support |
align | (vt) ประกาศสนับสนุน |
alignment | (n) แนวร่วม, See also: ผู้สนับสนุน |
alimentation | (n) สนับสนุน |
aline | (vt) ประกาศสนับสนุน |
alliance | (n) สมาชิก, See also: แนวร่วม, ผู้สนับสนุน |
aristocrat | (n) ผู้ที่สนับสนุนการปกครองโดยคนชั้นสูง |
assistance | (n) ความช่วยเหลือ, See also: การสนับสนุน, Syn. aid |
assistant | (adj) ซึ่งช่วยเหลือ, See also: ซึ่งคอยสนับสนุน, Syn. assisting, helping |
authoritative | (adj) ซึ่งมีอำนาจสนับสนุน, See also: ซึ่งแสดงถึงอำนาจ, Syn. well-supported |
auxiliary | (n) เครื่องสนับสนุน, See also: เครื่องช่วย, ผู้ที่ช่วยสนับสนุน, Syn. supplement, assistant, helper |
back | (vt) สนับสนุน, See also: หนุนหลัง, ผลักดัน, Syn. support |
backer | (n) พรรคพวก, See also: ผู้สนับสนุน, Syn. sponsor, benefactor |
backing | (n) ความช่วยเหลือ, See also: การสนับสนุน, Syn. encouragement, subsidy |
backing | (n) ผู้ช่วยเหลือ, See also: ผู้สนับสนุน |
backup | (n) สนับสนุน, See also: ตัวแทน, ผู้สนับสนุน, ผู้ช่วย, Syn. reinforcement, support |
behind | (prep) สนับสนุน, See also: อยู่เบื้องหลัง |
believer | (n) ผู้ที่เชื่อถือ, See also: ผู้ที่สนับสนุน, Syn. follower, supporter, Ant. opponent |
benefactor | (n) ผู้ที่สนับสนุนทางการเงิน, See also: อุปการี, ผู้มีพระคุณ, Syn. patron, sponsor |
bolster | (vt) สนับสนุน, See also: หนุนให้สูง, ค้ำจุน, เสริม, Syn. support, boost |
bolt | (vt) ไม่สนับสนุน |
booster | (n) การส่งเสริม, See also: เครื่องเพิ่มกำลัง, ผู้สนับสนุน, สิ่งกระตุ้น, Syn. auxiliary, helper |
bracer | (n) สิ่งค้ำ, See also: ผู้สนับสนุน |
buildup | (n) การเสริมกำลัง, See also: การรวมพล, การสร้างเสียงสนับสนุน, Syn. accumulation |
business | (n) ผู้สนับสนุน |
back up | (phrv) สนับสนุน, See also: ช่วยเหลือ |
be for | (phrv) สนับสนุน |
be with | (phrv) สนับสนุน, See also: ช่วยเหลือ, เข้าข้างฝ่าย |
boost up | (phrv) ทำให้แข็งแรง, See also: สนับสนุน, ส่งเสริม |
brace up | (phrv) หนุน, See also: เสริม, ช่วยพยุง, สนับสนุน |
buoy up | (phrv) สนับสนุน, See also: ค้ำจุน, ช่วยเหลือ, ให้กำลังใจ |
camp follower | (n) ผู้ที่สนับสนุนกลุ่มหรือพรรคการเมือง แต่ไม่ได้เป็นสมาชิก |
carry | (vt) สนับสนุน, See also: ค้ำจุน, Syn. sustain |
case | (n) เหตุผลสนับสนุน, See also: ข้อสนับสนุน |
champion | (vt) ปกป้อง, See also: สนับสนุน เพื่อปกป้อง, Syn. advocate, defend, maintain, support fight for, Ant. oppose |
champion | (n) ผู้ให้ความช่วยเหลือ, See also: ผู้สนับสนุน, Syn. admirer, booster, supporter, protagonist, Ant. adversary, opponent |
circumstantiate | (vt) ให้รายละเอียด, See also: ให้เหตุผลสนับสนุน |
campaign against | (phrv) รณรงค์เพื่อ, See also: หาเสียงสนับสนุน, Syn. agitate for, campaign against, crusade against, crusade for |
campaign for | (phrv) รณรงค์เพื่อ, See also: หาเสียงสนับสนุน, Syn. agitate for, campaign against, crusade against, crusade for |
canvass for | (phrv) ลงเสียงสนับสนุน (ก่อนการเลือกตั้งจริง), See also: ออกเสียงให้ |
carry someone with one | (idm) ชักจูง, See also: โน้มน้าว, ชักชวน, ชักนำความคิด, สนับสนุน |
count out | (phrv) ออกจากการเลือกตั้งเพราะเสียงสนับสนุนไม่ถูกต้อง |
decide for | (phrv) ตัดสินสนับสนุน (ทางกฎหมาย), See also: สนับสนุน, Syn. find for, Ant. decide against, find against |
encourage in | (phrv) ทำให้มีกำลังใจในเรื่อง, See also: สนับสนุนในเรื่อง |
fall away | (phrv) เลิกสนับสนุน, See also: ตีตัวออกห่าง, Syn. fall off |
fall off | (phrv) ตีตัวออกห่าง, See also: เลิกสนับสนุน, Syn. fall away |
deliver | (vt) ออกเสียง (คำไม่เป็นทางการ), See also: สนับสนุน, Syn. support, vote |
dissentient | (adj) ที่ไม่เห็นด้วย, See also: ที่ไม่สนับสนุน, Syn. opposed, contrary |
abet | (อะเบท') vt. ให้กำลังใจ, สนับสนุน -abetment, abettal n. |
acclaim | (อะเคลม') vt., n. เปล่งเสียงด้วยความ ยินดี, โห่ร้องต้อนรับ, สนับสนุนด้วยการโห่ร้อง, เสียงไชโยโห่ร้อง -acclamation n., Syn. hail |
adherent | (แอดเฮีย' เรินทฺ, -เฮอ' เรินทฺ) n. ผู้สนับสนุน, ผู้ยึดมั่น, สาวก, ผู้ติดตาม, Syn. follower |
advocacy | (แอด' โวคะซี) n. การเป็นทนาย, ทนาย, การสนับสนุน, ผู้สนับสนุน, การแก้ต่าง |
agree | (อะกรี') vt., vi. ตกลง, เห็นพ้อง, ยอมรับ, เห็นด้วย, ยินยอม, สนับสนุน, ตกลงกำหนด, เข้ากันได้, ลงรอย, เหมือน, เหมาะ สมกับ. -agreeingly adv., Syn. concur, comply, assent |
aliment | (n. แอล' ละเมินทฺ -v. แอล' ละเมินทฺ') n. อาหาร, สิ่งบำรุงเลี้ยง, สิ่งค้ำจุน. -vt. สนับสนุนค้ำจุน. -alimental adj., Syn. food, nutrition, support |
antigroupelos | (แอนทิกรอพ' พิลิส) n. สนับแข้งกันน้ำ |
appui | (แอพิว') n., Fr. หนุน, สนับสนุน |
aristocrat | (อะริส'โทแครท) n. คนชั้นสูง, ขุนนาง, ผู้นิยมและสนับสนุนระบอบการปกครองแบบคณาธิปไตย, Syn. noblewoman, nobleman, peer, Ant. plebeian, commoner |
assist | (อะซิสทฺ') vt., vi. ช่วยเหลือ, สงเคราะห์, สนับสนุน, สงเคราะห์, เข้าร่วม. -assister, assistor n., Syn. aid, help, support, tend, Ant. hinder, hamper |
auxiliary | (ออกซิล'เลียรี) adj. เป็นองค์ประกอบ, ช่วย, เพิ่ม, สนับสนุน, หนุน, สำรอง, อยู่ในสังกัด. -n. เครื่องช่วย, เครื่องสนับสนุน, ผู้ช่วย, ผู้สนับสนุน, บุคคลในสังกัด, Syn. assisting, subordinate, helper, Ant. principal |
back | (แบค) { backed, backing, backs } n., adj., vi., vt., adv. หลัง, ข้างหลัง, ส่วนหลัง, ด้านหลัง, กองหลัง, ที่เปลี่ยว, กลับคืน, ตรงกันข้าม, ค้างจ่าย, กลับ, ถอย, สนับสนุน, ถือหาง, วางเดิมพันใน, Syn. rear -Conf. re- |
backed | (แบคดฺ) adj. ซึ่งมีส่วนหลัง, ซึ่งได้รับการสนับสนุน |
backer | (แบค'เคอะ) n. ผู้สนับสนุน, ผ้าใบค้ำหรือหนุนส่วนหลัง, Syn. sponsor |
backing | (แบค'คิง) n. ความช่วยเหลือ, การสนับสนุน, ผู้สนับสนุน, สิ่งหนุน, Syn. support, Ant. ill-will |
backup | (แบค'อัพ) n. ผู้สนับสนุน, สิ่งค้ำจุน, การท่วมหรือสะสมเพราะอุดตัน, ตัวสำรอง, ตัวแทน |
behind | (บิไฮดฺ') adv., prep. ข้างหลัง, หลัง, ล้าหลังกว่า, ช้ากว่า n. ผู้สนับสนุน, ก้น, Syn. aback -Conf. at the back of |
bolster | (โบล'สเทอะ) { bolstered, bolstering, bolsters } n. หมอนรองชั้นล่าง, หมอนรอง, หมอนยาว, เหล็กคานรถ, ลูกยางแท่นเครื่อง, ที่หนุนยาว vt. หนุนค้ำ, รอง, ทำให้สูงขึ้น, ออกแรงหมุน, สนับสนุน, ค้ำ, ค้ำจุน, เสริม, See also: bolsterer n. ดูbolster |
bolt | (โบลทฺ) { bolted, bolting, bolts } n. ลูกกลอน, ลูกศร, ศร, ดาน, สลักประตู, สลักเกลียว, สลัก, พับ, ม้วน, การหนีอย่างรวดเร็ว, ไกปืน, สลักปืน vt. ใส่กลอน, ใส่สลัก, หยุดการสนับสนุน, ยิง (ลูกศร, ขีปนาวุธ) , พูดโพล่งออกมา, กลืนอย่างรีบเร่ง, กินโดยไม่ได้เคี้ยว, ทำให้เป็นม้วน, วิ่งอย่างรวด |
bonaparte | (โบ'นะพาร์ท) n. ชื่อสกุลของนะโปเลียน, See also: bonapartist n. ผู้สนับสนุนราชวงศ์ของนะโปเลียน, เกี่ยวกับราชวงศ์ของนะโปเลียน bonapartism n. ดูBonaparte bonapartean adj. ดูBonaparte |
boom | (บูม) { boomed, booming, booms } n. เสียงดังสนั่นหวั่นไหว, การขึ้นสูงอย่างรวดเร็วของราคาหรือการขาย, ระยะการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว vi., vt. (ทำให้) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว, มีเสียงดังสนั่น, (เจริญรุ่งเรืองพัฒนา) มีชื่อเสียงอย่างรวดเร็ว, ยกยอ, สนับสนุน |
boost | (บูสทฺ) { boosted, boosting, boosts } vt., n. (การ) ยกขึ้น, เลื่อนขึ้น, ส่งเสริม, พูดจาสนับสนุน, เผยแพร่, เลื่อนตำแหน่ง, เพิ่มขึ้น, Syn. lift, raise |
booster | (บูส'เทอะ) n. ผู้สนับสนุน, ผู้ยก, ผู้เลื่อน, สิ่งที่สนับสนุน, สิ่งกระตุ้น, ท่อนแรกของจรวดหลายท่อน, เครื่องเพิ่ม กำลัง -Phr. (booster dose, booster shot ขนาดยาหรือสารสร้างภูมิคุ้มกัน, ยาหรือสารเสริมฤทธิ์ยาตัวอื่น, เครื่องเสริมการขับดัน) |
bracer | (เบรส'เซอะ) n. สิ่งค้ำ, ผู้สนับสนุน, เครื่องดื่มที่กระตุ้น (โดยเฉพาะเหล้า) |
buoy | (บอย) { buoyed, buoying, buoys } n. ทุ่น, ทุ่นลอยน้ำ, ห่วงชูชีพ vt. ทำให้ลอยน้ำ, ทำให้ไม่จม, สนับสนุน, ค้ำจุน, ให้กำลังใจ vi. ลอย |
buttress | (บัท'ทริส) vt., n. (ส่วนที่) ยื่นค้ำ, สนับสนุน, ค้ำจุน, ให้กำลังใจ, Syn. prop |
carry | (แค'รี) { carries, carrying, carries } vt. ขนส่ง, แบก, ลำเลียง, หอบ, หาบ, อุ้ม, ยก, ถือติดตัว, นำติดตัว, นำไปสู่, สะพาย, บรรทุก, ส่ง, แพร่กระจาย, ออกข่าว, ประกอบด้วย, สนับสนุน, ค้ำจุน, ผลักดัน, ยืดได้, รับภาระ, วางตัว, ปฏิบัติ, ยกยอด, โอน, มีไว้ในร้าน. vi. ถือติดตัว, มีกำลังดัน, ดัน, ถู เลขทดตัวทดหมายถึง ค่าที่เกิดจากการบวกตัวเลขตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปในหลักเดียวกัน แล้วได้ผลมากกว่าหรือเท่ากับเลขฐาน ซึ่งจะนำไปบวกกับเลขในหลักถัดไป |
case | (เคส) { cased, casing, cases } n. เรื่อง, กรณี, สภาพ, ข้อเท็จจริง, หลักฐานพยาน, ตัวอย่างที่เป็นจริง, รูปการ, โรค, คนไข้, ราย, ข้อสนับสนุน, การฟ้องร้อง, คดี, กล่อง, ลัง, หีบ, ปลอกหุ้ม, ปลอก, ซอง, อุปกรณ์บรรจุ, ถาดซองตัวพิมพ์ vt. บรรจุในกล่อง (ลัง, หีบ ฯลฯ) ห่อหุ้ม, ล้อม, ตรวจสอบดู - |
champion | (แชม'เพียน) n. ผู้ชนะเลิศ, นักต่อสู้, นักรบ -vt. ป้องกัน, สนับสนุน, กระทำเป็นแชมเปี้ยน -adj. เป็นที่หนึ่งของคนแข่งขันทั้งหมด |
championship | (แชม'เพียนชิพ) n.ภาวะที่เป็นแชมเปี้ยน, ตำแหน่งผู้ชนะเลิศ, การป้องกัน, การเป็นทนาย, การสนับสนุน, การแข่งขันเพื่อได้ตัวผู้ชนะเลิศ, Syn. supremacy |
cheerless | adj. ไม่ร่าเริง, ไม่มีเสียงโห่ร้องสนับสนุน, เศร้าซึม, หดหู่ใจ. |
chirk | (เชิร์ค) { chirked, chirking, chirks } vt., vi. โห่ร้องสนับสนุน, โห่ร้อง adj. ร่าเริง, เป็นสุข, ดีอกดีใจ |
cite | (ไซทฺ) { cited, citing, cites } vt. อ้างอิง, กล่าวอ้าง, กล่าวสนับสนุน, ออกหมายเรียกตัวมาศาล, สดุดี, ชมเชย, กระตุ้นเรียกหา., See also: citable adj. ดู citatory adj. ดูcitation citeable adj. ดู citatory adj. ดูcitation citer n. ดู citatory adj. |
concur | (คันเคอร์') { concurred, concurring, concurs } vi. เกิดขึ้นพร้อมกัน อย่างบังเอิญ, ประจวบกัน, เห็นด้วย, เห็นพ้อง, ทำงานร่วมกัน, ให้ความร่วมมือ, สนับสนุน, รวมกัน, Syn. assent, Ant. contend, deny |
concurrence | (คันเคอ'เรินซฺ) n. การบังเกิดขึ้นพร้อมกัน, การประจวบกัน, การเห็นด้วย, การเห็นพ้อง, การให้ความร่วมมือ, การสนับสนุน, จุดบนเส้น 'เส้นหรือมากกว่านั้น, อำนาจร่วมหรือเท่ากัน, Syn. agreement |
concurrent | (คันเคอ'เรินทฺ) adj. ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันหรือร่วมกัน, พร้อมเพรียง, ซึ่งเห็นด้วย, ซึ่งมีอำนาจเท่ากัน, ซึ่งมีจุดร่วม, ซึ่งตัดกันที่จุดเดียวกัน. n. ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน, สิ่งสนับสนุน, คู่แข่ง, Syn. coexistent, compatible |
contribute | (คันทริบ'บิวทฺ) { contributed, contributing, contributes } vt., vi. ให้เงินช่วยเหลือ, ช่วยเหลือ, อุดหนุน, สนับสนุน, ส่งเรื่องเขียนตีพิมพ์, See also: contributive adj., Syn. give |
contribution | (คอนทระบิว'เชิน) n. การบริจาค, การช่วยเหลือ, การอุดหนุน, การสนับสนุน, เรื่องเขียนที่ส่งไปตีพิมพ์, สิ่งที่มอบ, สิ่งที่บริจาค, ภาษีพิเศษ, Syn. grant |
corroboration | (คะรอบบะเร'เชิน) n. การหาหลักฐานยืนยัน, การทำให้แน่ใจยิ่งขึ้น, ข้อเท็จจริงหรือคำพูดที่ยืนยันสนับสนุน, Syn. confirmation, proof |
countenance | (เคา'นะเนินซฺ) n. หน้าตา, สีหน้า, โฉมหน้า, หน้า, การสนับสนุน, การให้กำลังใจ, สีหน้าที่ใจเย็น, ความสุขุม vt. อนุญาต, ยอม, เห็นด้วย, สนับสนุน, ให้กำลังใจ, See also: countenancer n., Syn. appearance |
crutch | (ครัทชฺ) { crutched, crutching, crutches } n. ไม้เท้า, ไม้ยันรักแร้, เสาค้ำ, ง่ามค้ำ, สิ่งค้ำจุนการสนับสนุน. vt. ใช้ไม้ยันรักแร้, ค้ำ, พยุง, Syn. stay, prop, aid |
encourage | (เอนเคอ'ริจฺ) vt. ให้กำลังใจ, บำรุงน้ำใจ, ยุ, กระตุ้น, สนับสนุน, See also: encouragement n. ดูencourage encourager n. ดูencourage, Syn. inspirit |
espousal | (อีสเพา'เซิล) n. การรับหลักการ, การยอมรับ, การสนับสนุน, การยกให้เป็นภรรยา, พิธีสมรส, การหมั้น, พิธีหมั้น |
espouse | (อีสเพาซฺ') vt. รับหลักการ, รับ, สมรส, หมั้น, สนับสนุน -espouser n., Syn. marry |
exhort | (เอคซอร์ทฺ') v. เคี่ยวเข็ญ, แนะนำ, ตักเตือน, สนับสนุน., See also: exhortation n. exhorter n. |
exponent | (อิคซฺโพ'เนินทฺ) n. ผู้อธิบาย, ผู้ชี้แจง, สิ่งที่อธิบาย, ตัวแทน, แบบฉบับ, สัญลักษณ์, ผู้สนับสนุน, เลขกำลังที่อยู่เหนือสัญลักษณ์, Syn. spokeswoman |
facilitate | (ฟะซิล'ลิเทท) vt. ทำให้ง่ายขึ้น, ทำให้สะดวก, สนับสนุน, ส่งเสริม, ก่อให้เกิด., See also: facilitation n. facetiousness adj. facilitator n., Syn. expedite |
favor | (ฟะ'เวอะ) n. ความกรุณา, การกระทำที่กรุณา, ความสงเคราะห์, ความประทับใจ, ความนิยม, ความเข้าข้าง, ไมตรีจิต, บุญคุณ, การสนับสนุน, ความเห็นพ้อง, ของขวัญ, ของระลึก, เครื่องหมาย, โบ, สิทธิพิเศษ. -Phr. (in favo (u) r of สนับสนุน, เข้าข้าง) . -Phr. (in one's favo (u) r เพื่อผลประโยชน |
favored | (เฟ'เวอด) adj. ซึ่งเป็นที่โปรดปราน, ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษ, ซึ่งได้รับการสนับสนุน |
favorite | (เฟ'เวอริท) n. คนโปรด, ของโปรด, ผู้แข่งขันที่มีหวังชนะมากที่สุด. adj. ซึ่งเป็นที่โปรดปราน, ซึ่งได้รับการสนับสนุน |
adherent | (n) ผู้ติดตาม, พรรคพวก, ภาคี, สาวก, ผู้สนับสนุน |
advocacy | (n) การพูดสนับสนุน, การแก้ต่าง, ทนาย |
advocate | (n) ผู้สนับสนุน, ทนายความ, ผู้แก้ต่าง |
advocate | (vt) สนับสนุน, เป็นทนาย, พูดแก้ต่าง, โฆษณาชวนเชื่อ |
assist | (vt) ช่วยเหลือ, สงเคราะห์, สนับสนุน |
auxiliary | (n) ผู้ช่วย, เครื่องช่วย, เครื่องสนับสนุน, ความช่วยเหลือ |
back | (vt) สนับสนุน, หนุนหลัง, ถือหาง, วางเดิมพัน |
backer | (n) ผู้สนับสนุน, ผู้หนุนหลัง |
backing | (n) การสนับสนุน, ความช่วยเหลือ, การหนุน |
backup | (n) ผู้สนับสนุน, การค้ำจุน, การสะสม |
behind | (n) ผู้หนุนหลัง, ผู้สนับสนุน, ผู้อยู่เบื้องหลัง |
booster | (n) ผู้ยก, ผู้สนับสนุน, ผู้ดัน, สิ่งกระตุ้น |
bracer | (n) ยาบำรุงกำลัง, เครื่องเหนี่ยวรั้ง, สิ่งค้ำ, ผู้สนับสนุน |
champion | (n) ผู้ชนะเลิศ, แชมป์, ผู้สนับสนุน |
contribute | (vt) ช่วยเหลือ, อุดหนุน, สนับสนุน, ให้เงินช่วย, มีส่วนช่วย |
contribution | (n) การช่วยเหลือ, การบริจาค, การสนับสนุน, การอุดหนุน, การลงทุน |
contributor | (n) ผู้ช่วยเหลือ, ผู้สนับสนุน, ผู้ออกเงิน, ผู้บริจาค |
contributory | (adj) ที่มีส่วนช่วย, ที่อุดหนุน, ที่สนับสนุน |
corroborate | (vt) สนับสนุน, ทำให้แน่ใจ, ยืนยัน, ยืนกราน |
corroboration | (n) เครื่องสนับสนุน, การทำให้แน่ใจ, การยืนยัน, การยืนกราน |
countenance | (n) การเห็นด้วย, ใบหน้า, โฉมหน้า, สีหน้า, การสนับสนุน |
countenance | (vt) เห็นด้วย, เออออ, สนับสนุน, อนุญาต, ยอม, ให้กำลังใจ |
encourage | (vt) ส่งเสริม, ยุ, เร้าใจ, ให้กำลังใจ, สนับสนุน |
encouragement | (n) การให้กำลังใจ, ความเร้าใจ, การส่งเสริม, การสนับสนุน |
espouse | (vt) สมรส, แต่งงาน, หมั้น, สนับสนุน, เข้าครอง, รับหลักการ |
exhort | (vt) คะยั้นคะยอ, เคี่ยวเข็ญ, แนะนำ, สนับสนุน |
facilitate | (vt) ทำให้สะดวก, ทำให้ง่าย, สนับสนุน, ส่งเสริม |
favor | (n) ความชอบ, ความโปรดปราน, ความกรุณา, การสนับสนุน, การเข้าข้าง |
favour | (n) ความชอบ, ความโปรดปราน, ความกรุณา, การสนับสนุน, การเข้าข้าง |
favour | (vt) ชอบ, ให้, โปรดปราน, พอใจ, นิยม, เข้าข้าง, สนับสนุน |
favourably | (adv) อย่างเหมาะ, อย่างชื่นชอบ, โดยการสนับสนุน |
following | (adj) ที่ติดไป, ที่ตามมา, ที่สนับสนุน |
foster | (vt) เลี้ยง, อุปถัมภ์, ส่งเสริม, สนับสนุน |
gaiter | (n) ผ้าคลุมรองเท้า, สนับแข้ง |
impulsion | (n) การดัน, การกระตุ้น, การสนับสนุน, การหนุน, การยุ, แรงดลใจ |
incitement | (n) การยุยง, การส่งเสริม, การสนับสนุน |
indorse | (adj) ที่สลักหลัง, ที่สนับสนุน, ที่รับรอง |
indorsement | (n) การสลักหลัง, การรับรอง, การสนับสนุน |
knuckle | (n) ข้อนิ้ว, ข้อเท้าสัตว์, มะเหงก, ข้อต่อ, สนับมือ |
leggings | (n) สนับแข้ง |
pander | (n) ผู้สนับสนุน, ผู้ชักพา, แม่สื่อ |
pander | (vt) สนับสนุน, ส่งเสริม, ชักนำ |
patronise | (vt) ชุบเลี้ยง, อุปภัมภ์, อุปการะ, สนับสนุน |
patronize | (vt) ชุบเลี้ยง, อุปภัมภ์, อุปการะ, สนับสนุน |
premise | (n) หลักฐาน, สถานที่, สมมุติฐาน, ข้อสนับสนุน |
pro | (adj) เห็นด้วย, ซึ่งสนับสนุน, ชอบ |
pro | (n) ข้อสนับสนุน |
promote | (vt) สนับสนุน, ส่งเสริม, เลื่อนชั้น, ก่อตั้ง, กระตุ้น |
promoter | (n) ผู้ส่งเสริม, ผู้จัดตั้ง, ผู้สนับสนุน, ผู้จัด |
promotion | (n) การสนับสนุน, การส่งเสริม, การเลื่อนชั้น, การเลื่อนตำแหน่ง |