บทสังขยา | น. ชื่อโคลงแบบโบราณ. |
สังขยา ๑ | (-ขะหฺยา) น. การนับ, การคำนวณ. |
สังขยา ๒ | (-ขะหฺยา) น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง โดยมากทำด้วยไข่ขาว นํ้าตาล และกะทิ, ถ้าทำเป็นหน้าข้าวเหนียวไม่ใส่กะทิ |
สังขยา ๒ | ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่ น้ำตาลทราย กะทิหรือนมข้น บางทีมีน้ำใบเตยเล็กน้อย กวนในกระทะ กินกับขนมปัง. |
เต | ว. สาม, ใช้เติมหน้าศัพท์สังขยาที่เป็นหลักสิบ เช่น เต = ๓ วีสติ = ๒๐ เตวีสติ = ๒๓. |
นหุต ๒ | (นะหุด) น. ชื่อสังขยาจำนวนหนึ่ง คือ ๑๐, ๐๐๐, ๐๐๐๔ หรือ เลข ๑ มีเลข ๐ ตามหลัง ๒๘ ตัว. |
นินหุต | (นินนะหุด) น. ชื่อสังขยาหรือการนับ คือ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๓๕ ตัว. |
นิยุต ๑ | น. สังขยาจำนวนสูงเท่ากับล้าน. |
นิรัพพุท | (-รับพุด) น. สังขยาจำนวนสูง เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน. |
บาท ๔ | น. ช่วงเวลาเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่วโมง เท่ากับ ๖ นาที, โบราณเขียนเป็น บาตร ก็มี เช่น ย่ำรุ่งสองนาลิกา เสษสังขยาห้าบาตร (ตะเลงพ่าย). |
บุณฑริก | ชื่อสังขยา คือ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๑๑๒ ตัว |
ปัทมะ | (ปัดทะมะ) น. ชื่อสังขยาจำนวนสูง = ๑๐๐ โกฏิ. |
พฤนท์ | สังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิยกกำลัง ๗ หรือ ๑ มีศูนย์ ๔๙ ตัว. |
พินทุ ๒ | น. ชื่อสังขยาจำนวนสูงเท่ากับโกฏิกำลัง ๗ หรือเลขหนึ่งมีศูนย์ตามหลัง ๔๙ ตัว. |
ศิลปศาสตร์ | ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์. |
แสยง | (สะแหฺยง) ก. หวาดเกรง เช่น ตับตายหลายเหลือสังขยา ศพสูงเพียงผา แลดูพันฦกนิเห็นแสยง (สมุทรโฆษ), มักใช้ว่า แหยง. |
หน้า | ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ |
อัพพุท | น. ชื่อสังขยาจำนวนหนึ่ง คือ ร้อยแสนพินทุ เป็น ๑ อัพพุท หรือโกฏิยกกำลัง ๘ หรือเลข ๑ มีศูนย์ตามหลัง ๕๖ ตัว. |