กระซู่ | น. ชื่อแรดชนิด Dicerorhinus sumatrensis (Fischer) ในวงศ์ Rhinocerotidae เป็นแรดขนาดเล็กที่สุด มี ๒ นอ ขนดกกว่าแรดชนิดอื่น อาศัยอยู่ในแถบเอเชีย เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. |
กวางผา | (กฺวาง-) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral (Hardwicke) ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า เขาตัวผู้ยาวกว่าตัวเมีย ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. |
กูปรี | (-ปฺรี) น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ชนิด Bos sauveli Urbain ในวงศ์ Bovidae เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้สีดำ มีเขาขนาดใหญ่ ส่วนปลายบิดชี้ขึ้นข้างบน ใช้เขาขุดดินและแทงต้นไม้ทำให้ปลายแตกเป็นเส้น ๆ ร่นลงไปมองเห็นเป็นพู่ ตัวเมียสีน้ำตาลอมเทาหรือน้ำตาลเข้ม เขาเล็กกว่า ปลายไม่แตกเป็นพู่ มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณอีสานใต้ตามชายแดนไทย–กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทยที่ใกล้จะสูญพันธุ์, โคไพร ก็เรียก. |
โคร่ง ๑ | (โคฺร่ง) น. ชื่อเสือชนิด Panthera tigris (Linn.) ในวงศ์ Felidae เป็นเสือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวสีเหลือง มีลายดำตามขวาง ล่าสัตว์ป่าบนพื้นดิน มักอยู่ลำพังตัวเดียว ยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ ชอบเล่นนํ้า, ลายพาดกลอน ก็เรียก. |
ต่อ ๒ | นำสัตว์เลี้ยงไปล่อจับสัตว์ป่า ในคำว่า ต่อนก ต่อไก่ |
ต่อ ๒ | เรียกสัตว์เลี้ยงที่นำไปล่อจับสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ. |
เนื้อร้าย ๑ | น. สัตว์ป่าที่ดุร้าย เช่น หมี เสือ. |
เนื้อ ๒ | น. ชื่อสัตว์ป่าประเภทกวาง. |
เนื้อทราย | น. ชื่อกวางชนิด Cervus porcinus Zimmermann ในวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดกลาง ขนลำตัวสีนํ้าตาลเข้มแต่ตอนล่างสีจางกว่า ตามลำตัวมีจุดขาวจาง ๆ กระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะลูกที่เกิดใหม่จุดขาวนี้จะเห็นชัดเจนเช่นเดียวกับลูกกวางดาว ตัวผู้มีเขา ผลัดเขาปีละครั้ง อยู่เป็นฝูงตามทุ่งหญ้า กินหญ้าระบัด ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย, กวางแขม กวางทราย หรือ ตามะแน ก็เรียก. |
เบื้อ ๑ | น. สัตว์ป่าทั่วไป, คู่กับ สัตว์บ้าน เช่น เนื้อเบื้อนาเนกลํ้า หลายพรรณ (นิ. นรินทร์). |
ป่า | ว. ที่ได้มาจากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกลความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. |
ปากชนาง | น. เครื่องมือดักสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง ใช้ตาข่ายขึงทำเป็นลักษณะคล้ายปากของชนางที่เป็นเครื่องดักปลา เพื่อต้อนสัตว์เข้าไป เช่น บ้างวงข่ายรายรอบปากชนาง (ไชยเชฐ). |
พะยูน | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Dugong dugon (Müller) ในวงศ์ Dugongidae ลำตัวอ้วนกลม เรียวยาวไปทางหาง มีขนเฉพาะที่บริเวณใกล้ปาก รยางค์คู่หน้าเป็นแผ่นคล้ายใบพายไม่เห็นเป็นนิ้ว รยางค์คู่หลังไม่โผล่ให้เห็น หางเป็นแฉกแผ่กว้างแบนลง ตัวอาจยาวได้ถึง ๓ เมตร สีเทาดำแกมฟ้า อาศัยอยู่ในทะเลชายฝั่ง กินพืชนํ้าพวกหญ้าทะเล เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง, เงือก วัวทะเล หมูนํ้า หรือ ดูกอง ก็เรียก. |
มฤค, มฤค- | (มะรึก, มะรึกคะ-) น. สัตว์ป่ามีกวาง อีเก้ง เป็นต้น, ถ้าเป็นตัวเมีย ใช้ว่า มฤคี. |
มิค, มิค-, มิคะ | (มิคะ, มิกคะ-) น. สัตว์ป่ามีกวางอีเก้งเป็นต้น. |
ละองละมั่ง | น. ชื่อกวางชนิด Cervus eldi McClelland ในวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดกลาง ตัวสีนํ้าตาลอ่อน คอยาวกว่ากวางชนิดอื่น ตัวผู้เขาโค้งปลายชี้ไปด้านหน้า ตัวเมียไม่มีเขา ลูกเกิดใหม่มีจุดขาวตามลำตัว กินหญ้าและใบไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, บ้างเรียกเพศผู้ว่า ละอง เรียกเพศเมียว่า ละมั่ง. |
เลียงผา ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Capricornis sumatraensis (Bechstein) ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง รูปร่างคล้ายแพะ ขนสีดำ บางตัวมีสีขาวแซม มีต่อมนํ้ามันตรงส่วนหน้าของตาทั้ง ๒ ข้าง มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ขายาวและแข็งแรง อาศัยอยู่ตามภูเขาหรือหน้าผาสูง ๆ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, กูรำ โครำ เยือง หรือ เยียงผา ก็เรียก. |
สมเสร็จ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Tapirus indicus Desmarest ในวงศ์ Tapiridae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ จมูกและริมฝีปากบนยื่นยาวออกมาคล้ายงวงยืดหดเข้าออกได้ ขนลำตัวตั้งแต่หัว คอ ไหล่ และขาหน้าสีดำ ขาหลังไปจดก้นสีดำ ส่วนที่เหลือกลางลำตัวตั้งแต่สันหลังลงมาถึงท้องมีสีขาว ขอบหูสีขาว หางสั้น ลูกเกิดใหม่ตัวมีลายสีขาวขาดเป็นท่อน ๆ ทอดไปตามความยาวลำตัว กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, ผสมเสร็จ ก็เรียก. |
สมัน | (สะหฺมัน) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Cervus schomburgki (Blyth) ในวงศ์ Cervidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง ขนาดเล็กกว่ากวางป่า เขาสวยงามแตกแขนงมากกว่ากวางชนิดอื่น ขนสีนํ้าตาล หางสั้น มีถิ่นกำเนิดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เป็นสัตว์ป่าสงวน ซึ่งสูญพันธุ์แล้ว, เนื้อสมัน ก็เรียก. |
สวมวิญญาณ | ก. เอาวิญญาณของผู้อื่นหรือสัตว์อื่นเป็นต้นมาสวมใส่ในจิตใจของตน เช่น สวมวิญญาณนักรบ สวมวิญญาณสัตว์ป่า. |
สิงสาราสัตว์ | น. สัตว์ต่าง ๆ มักหมายถึงสัตว์ป่า เช่น ในป่าใหญ่มีสิงสาราสัตว์นานาชนิด. |
หมา ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Canidae มีรูปร่างและสีสันแตกต่างกัน ลำตัวมีขนปกคลุม หัวอาจยาวและแหลม หรือกลมและสั้น มีเขี้ยว ๒ คู่ ตีนหน้ามี ๕ นิ้ว ตีนหลังมี ๔ นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน ๑ ชิ้น หางค่อนข้างยาว ที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาใน [ Cuon alpinus (Pallas) ] ที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis familiaris (Linn.) บางพันธุ์สามารถนำมาฝึกหัดให้ช่วยงานของมนุษย์ได้ เช่นสุนัขสงครามหรือสุนัขตำรวจ. |
หมู ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ในวงศ์ Suidae เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วน จมูกและปากยื่นยาว ปลายจมูกบานใช้สำหรับดุนดินหาอาหาร อาการเช่นนี้เรียกว่า ดุด ขนลำตัวแข็งอาจยาวหรือสั้น มีเขี้ยว ๒ คู่ กินทั้งพืชและสัตว์ มีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและที่เป็นสัตว์ป่า หาอาหารโดยใช้จมูกดุด |
Wildlife conservation | การอนุรักษ์สัตว์ป่า [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Convention on international Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (1973) | อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (ค.ศ. 1973) [TU Subject Heading] |
Forest animals | สัตว์ป่าไม้ [TU Subject Heading] |
WIld animal trade | การค้าสัตว์ป่า [TU Subject Heading] |
Wildlife conservation | การอนุรักษ์สัตว์ป่า [TU Subject Heading] |
Wildlife films | ภาพยนตร์ชีวิตสัตว์ป่า [TU Subject Heading] |
Wildlife management | การจัดการสัตว์ป่า [TU Subject Heading] |
Wildlife photographers | นักถ่ายภาพสัตว์ป่า [TU Subject Heading] |
Wildlife photography | การถ่ายภาพสัตว์ป่า [TU Subject Heading] |
Wildlife refuges | เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า [TU Subject Heading] |
Wildlife research | วิจัยสัตว์ป่า [TU Subject Heading] |
Wildlife Sanctuary | เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า, Example: พื้นที่ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาให้เป็นพื้นที่ ที่คุ้มครองเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัย เป็นการรักษาไว้ซึ่งพันธุ์สัตว์ป่า และขยายจำนวน สัตว์ป่าให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงกำหนดให้เป็นพื้นที่ ที่ปลอดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่อาจรบกวนถิ่นที่อาศัยและการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า ทั้งนี้รวมไปถึงกิจกรรมนันทนาการและการท่องเที่ยวด้วย แต่อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปใช้พื้นที่ได้เฉพาะบริเวณที่เรียกว่า "ศูนย์ศึกษาธรรมชาติ (nature Education Cnter)" เท่านั้น ส่วนนักวิจัยที่ต้องเข้าไปทำการศึกษาในพื้นที่จะได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ เป็นรายๆ ไป [สิ่งแวดล้อม] |
Non-Hunting Area | เขตห้ามล่าสัตว์ป่า, Example: พื้นที่คุ้มครองประเภทหนึ่ง ซึ่งรัฐได้ประกาศขึ้น ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าบางชนิด หรือเป็นที่ที่สัตว์ป่าต้องการใช้สำหรับกิจกรรมบางอย่างในการดำรงชีวิต เช่น เป็นที่ผสมพันธุ์ วางไข่ เลี้ยงลูกอ่อน เป็นแหล่งอาหาร เป็นที่พักระหว่างเดินทางย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น เพื่อคุ้มครองสัตว์ป่าบางชนิดที่กำหนด [สิ่งแวดล้อม] |
Wildlife Management | การจัดการสัตว์ป่า, Example: การนำเอาหลักวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องของสัตว์ป่ามาประยุกต์ในการดำเนินการ จัดการกับสัตว์ป่าในพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เพื่อให้สัตว์ป่าในท้องที่นั้นๆ สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ มนุษย์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ วิชาการ และการพักผ่อนหย่อนใจให้มากที่สุด และให้เป็นไปโดยสม่ำเสมอตลอดไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด [สิ่งแวดล้อม] |
Wildlife Stuff | ซากของสัตว์ป่า, Example: ร่างกายหรือส่วนของร่างของสัตว์ป่าที่ตายแล้ว หรือเนื้อของสัตว์ป่า ไม่ว่าจะได้ปิ้ง ย่าง รม ตากแห้ง หมัก หรือทำอย่างอื่นเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย และไม่ว่าจะชำแหละ แยกออก หรืออยู่ในร่างของสัตว์ป่านั้นและหมายความรวมถึง เขา หนัง กระดูก ฟัน งา ขนาย นอ ขน เกล็ด เล็บ กระดอง เปลือก หรือส่วนต่างๆ ของสัตว์ป่าที่แยกออกจากร่างของสัตว์ป่าไม่ว่าจะยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว [สิ่งแวดล้อม] |
Wildlife Gate | ด่านตรวจสัตว์ป่า, Example: ด่านตรวจสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่า [สิ่งแวดล้อม] |
Wildlife | สัตว์ป่า, Example: ทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งที่สามารถเกิดทด แทนกันได้ ในความหมายทั่วไป สัตว์ป่าคือสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตลอดจนแมลงหรือแมงทุกชนิดที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ และอาศัยอยู่อย่างเสรีทั้งในน้ำหรือบนบก ปราศจากการควบคุมและการเลี้ยงดูจากมนุษย์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สัตว์ป่าคุ้มครอง และ สัตว์ป่าสงวน [สิ่งแวดล้อม] |
Wildlife Protection | สัตว์ป่าคุ้มครอง, Example: สัตว์ป่าตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่า คุ้มครอง แบ่งออกเป็น 7 จำพวก คือ สัตว์ป่าจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 189 ชนิด สัตว์ป่าจำพวกนก มี 181 ลำดับ จำนวน 771 ชนิด สัตว์ป่าจำพวกเลื้อยคลาน มี 64 ลำดับ จำนวน 91 ชนิด สัตว์ป่าจำพวกปลา จำนวน 4 ชนิด สัตว์ป่าจำพวกแมลง มี 19 ลำดับ สัตว์ป่าจำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง มี 19 ลำดับและสัตว์ป่าจำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 12 ชนิด [สิ่งแวดล้อม] |
Endangered Species | สัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์, Example: สัตว์ป่าทุกชนิดที่มีจำนวนลดน้อยลงจนอยู่ ในภาวะที่ล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์ไป และมักมีถิ่นกำเนิดในอาณาเขตจำกัด [สิ่งแวดล้อม] |
Wildlife Preservation | สัตว์ป่าสงวน, Example: สัตว์ป่าที่หายากและอาจจะสูญพันธุ์ หรือกำลังจะสูญพันธุ์ไปจากประเทศ ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และตามที่จะกำหนด โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ปัจจุบันมีกำหนดไว้ 15 ชนิด ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรีหรือโคไพร ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมันหรือเนื้อสมัน เสียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำ กวางผา นกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ พะยูนหรือหมูน้ำ [สิ่งแวดล้อม] |
Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] |
wetlands | พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยอาจเป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ประเทศต่าง ๆ สามารถที่จะกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ ระหว่างประเทศ เช่น ประเทศไทยได้ประกาศให้บริเวณเขตพรุควนขี้เสียน และบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากนี้ พื้นที่ชุ่มน้ำบางแห่งอาจอยู่ตามพรมแดนระหว่างประเทศด้วย [การทูต] |
natural resources conservation | การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, การสงวนรักษาและรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้ได้ประโยชน์มากที่สุดโดยไม่ให้เกิดการสูญเปล่า เช่น การอนุรักษ์น้ำ การอนุรักษ์ป่าไม้ การอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
bestial | (เบส'เชิล) adj. เกี่ยวกับสัตว์ป่า, เหมือนสัตว์ป่า, โหดร้าย, ทารุณ, ซึ่งไร้เหตุผล, ไร้ปัญญา, Syn. animalistic, Ant. human, humane |
bestiality | (เบสชชะแอล'ลิที) n. ลักษณะสัตว์ป่า, ความหื่นกระหายของสัตว์ป่า, การร่วมเพศระหว่างคนกับสัตว์, Syn. brutality |
brute | (บรุท) { bruted, bruting, brutes } n. สัตว์เดรัจฉาน, สัตว์ป่า, คนที่มีใจโหดเหี้ยมอย่างสัตว์, ลักษณะของสัตว์. adj. ไม่ใช่คน, เป็นสัตว์, ไร้เหตุผล, เป็นลักษณะของสัตว์, โหดเหี้ยม, ทารุณ vt. (เพชร) ตัดเพชร, See also: bruteness n. ดูbrute brutify vt., vi. กระทำกา |
catamount | n. สัตว์ป่าในตระกูลแมว, ผู้ที่ชอบทะเลาะวิวาท |
forester | (ฟอ'ริสเทอะ) n. ผู้เชี่ยวชาญการป่าไม้, เจ้าหน้าที่ป่าไม้, สัตว์ป่า |
fowl | (เฟาลฺ) n. สัตว์ปีก, สัตว์พวกเป็ดไก่, เนื้อของสัตว์ดังกล่าว, นก. vi. ล่าสัตว์ปีกที่เป็นสัตว์ป่า -pl. fowls, fowl |
game law | n. กฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าสงวน |
gamekeeper | n. ผู้รักษาสัตว์ป่าสงวนไม่ให้ถูกล่า., See also: gamekeeping n. |
lair | (แลร์) n. ถ้ำสัตว์, ที่หลบซ่อนของสัตว์ป่า, ที่หลบซ่อน, ที่นอน, เตียง vi. จมอยู่ในเลน, ปลักเลน, ติดอยู่ |
menagerie | (มะนาจ'จะรี) n. การรวบรวมสัตว์ป่าหรือสัตว์ประหลาด (โดยเฉพาะเพื่อเปิดให้ประชาชนชม) , สถานที่ที่เก็บสัตว์ดังกล่าว |
runway | (รัน'เว) n. ลานวิ่ง, ทางขึ้นของเครื่องบิน, ทางหนี, ทางเดิน, ทางเดินของสัตว์ป่า, ลำน้ำ |
salt lick | n. สถานที่สัตว์ป่าไปเลียเกลือธรรมชาติที่มีอยู่บนพื้นดิน, ก้อนเกลือสำหรับปศุสัตว์ไปเลียกิน |
sanctuary | (แรงค'ชุเออรี) n. สถานที่ศักดิ์สิทธิ์, ปูชนียสถาน, ที่ลี้ภัย, ที่หลบภัย, สิทธิในการให้ที่หลบภัย (เช่นในสถานทูต) และมิอาจถูกจับกุมได้, ถ้ำสัตว์, ที่ที่สัตว์ป่าสามารถผสมพันธุ์และหลบภัยจากการถูกล่า โดยนายพราน, Syn. shrine |
wildlife | (ไวดฺ'ไลฟฺ) n. สัตว์ป่า, Syn. game |
wildling | (ไวดฺ'ลิง) n., adj. (เกี่ยวกับ) พืชป่า, สัตว์ป่า, ดอกไม้ป่า |
beast | (n) สัตว์ป่า, สัตว์เดรัจฉาน, สิงสาราสัตว์ |
bestial | (adj) เยี่ยงสัตว์ป่า, อย่างสัตว์เดรัจฉาน, โหดร้าย |
bestiality | (n) ลักษณะสัตว์ป่า |
brute | (n) สัตว์เดรัจฉาน, สัตว์ป่า, สัตว์ร้าย |
brutish | (adj) โหดเหี้ยม, เหมือนสัตว์ร้าย, คล้ายสัตว์ป่า |
forester | (n) คนดูแลป่า, เจ้าหน้าที่ป่าไม้, ชาวป่า, สัตว์ป่า |
gamekeeper | (n) คนเฝ้าสัตว์ป่าที่ล่ามาได้ |