นันททายี | (นันทะ-) น. ชื่อโคลงโบราณอย่างหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทละ ๗ คำ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๒ คำ บังคับสัมผัสคำที่ ๗ ของบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๔ ของบาทที่ ๒ และคำที่ ๔ ของบาทที่ ๓ คำที่ ๗ ของบาทที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔ ไม่บังคับตำแหน่งคำเอกคำโท เช่น พระสุริยทรงเดช เสด็จฉาย หาวหนพรายพรายเรือง รุ่งเร้า ปทุมิกรผายกลีบ รสคลี่ เฉกพระพุทธเจ้า เตือนโลก, คู่กับ มหานันททายี. |
มหานันททายี | น. ชื่อโคลงโบราณอย่างหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ บาท ๓ บาทแรก บาทละ ๗ คำ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๒ คำ บาทที่ ๔ มี ๙ คำ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๔ คำ บังคับสัมผัสคำที่ ๗ ของบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๔ ของบาทที่ ๒ และคำที่ ๔ ของบาทที่ ๓ คำที่ ๗ ของบาทที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔ ไม่บังคับตำแหน่งคำเอกคำโท เช่น
คู่กับ นันททายี. |
ร่ายสุภาพ | น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๕ วรรคขึ้นไป วรรคหนึ่งมี ๕ คำ ส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสกับคำที่ ๑ ที่ ๒ หรือที่ ๓ ของวรรคถัดไป และจะต้องจบด้วยโคลง ๒ สุภาพ. |
สัมผัสใน | น. สัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเพื่อเพิ่มเสียงไพเราะ มีได้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร เช่น ถึงโคกฆ้องหนองสะพานบ้านกะเหรี่ยง เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา (ขุนช้างขุนแผน), ในโคลงหมายรวมถึงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรที่อยู่ระหว่างวรรคในบาทเดียวกันด้วย คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง เช่น อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข (ตะเลงพ่าย). |
อินทรวงศ์ | (อินทฺระ-) น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๗ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ เช่น
| (อิลราช). |
|
อินทรวิเชียร | (อินทฺระ-) น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น
| (อิลราช). |
แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น
|
Crazing | ลักษณะการเสื่อมสภาพของยางเมื่ออยู่ภายใต้สภาพอากาศทั่วไปนานๆ โดยเฉพาะในภาวะที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแตกขนาดเล็กต่อเนื่องกันแบบไร้ทิศทางที่แน่นอนบนพื้นผิว ของผลิตภัณฑ์ รอยแตกเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายผิวส้มที่เหี่ยวหรือผิวหนังช้าง [เทคโนโลยียาง] |
Fluorocarbon rubber | ยางฟลูออโรคาร์บอนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีฟลูออรีนเป็นองค์ ประกอบอยู่ในโมเลกุล ทำให้ยางมีความเป็นขั้วและมีความเสถียรสูงมาก ทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากสภาพอากาศ ความร้อน ปฏิกิริยาออกซิเดชัน เปลวไฟ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีเยี่ยม ถึงแม้ว่ายางชนิดนี้จะทนสารเคมีต่างๆ ได้ดีแต่ไม่แนะนำให้นำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่สัมผัสกับตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น คีโตน อีเทอร์และเอสเทอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ สารประกอบเอมีน กรดไฮโดรฟลูออริกและกรดคลอโรซัลโฟนิคที่ร้อน น้ำร้อนและไอน้ำ เมทานอล และน้ำมันเบรกที่มีไกลคอลเป็นองค์ประกอบ ยางฟลูออโรคาร์บอนมีหลายเกรดแตกต่างกันตามโครงสร้างทางเคมีและปริมาณของ ฟลูออรีนในยาง การใช้งานค่อนข้างจำกัดเนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก มักนำไปผลิตปลอกหุ้มสายไฟหรือสายเคเบิล โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการความทนทานต่อความร้อน โอโซน สารเคมี และเปลวไฟสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องบิน จรวด เช่น ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ยางโอริง ปะเก็น ยางซีล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Incorporation | ขั้นตอนหนึ่งของกลไกการผสมสารตัวเติมเข้าไปในยางแห้ง โดยจะเกิดจากการที่สารตัวเติมถูกรวมเข้าไปในเนื้อยางซึ่งเกิดผ่านกลไก 2 แบบ ได้แก่ กลไกที่หนึ่ง แรงเฉือนจะทำให้ยางเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ซึ่งทำให้ยางมีพื้นที่สัมผัสกับสารตัวเติมได้มากขึ้น เมื่อแรงเฉือนหมดไป ยางจะคลายตัวกลับคืนสู่สภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโอบล้อมเอาสาร ตัวเติมไว้ภายในยาง และกลไกที่สอง ยางชิ้นใหญ่ที่ได้รับแรงเฉือนสูงๆ จะเกิดการฉีกขาดจนได้ยางที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งเหล่านี้จะเข้าไปโอบล้อมสารตัวเติมไว้ภายในยางเช่นกัน [เทคโนโลยียาง] |
Nitrile rubber or Acrylonitrile butadiene | ยางไนไทรล์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นโคพอลิเมอร์ของอะไค รโลไนไทรล์และบิวทาไดอีน ประกอบด้วยอะไครโลไนไทรล์ตั้งแต่ร้อยละ 18-51 ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน ยางไนไทรล์เป็นยางที่มีความเป็นขั้วสูงมีสมบัติเด่น คือ ทนต่อน้ำมันปิโตรเลียมและตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อความร้อนและต้านทานต่อการขัดถูได้ดี จึงนิยมนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับน้ำมัน เช่น ปะเก็นน้ำมัน ยางโอริง ยางซีล ยางเชื่อมข้อต่อ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Polyurethane rubber | ยางพอลิยูรีเทนได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่ไอโซไซยาเนต (isocyanate, -N-C=O) และหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl, -OH) เกิดเป็นพันธะยูรีเทน (-NH-CO-O-) ขึ้น ถ้าหมู่ R ในพอลิออลเป็นพอลิเอสเทอร์ จะเรียกว่า พอลิเอสเทอร์ยูรีเทน (AU) และถ้าหมู่ R เป็นพอลิอีเทอร์ จะเรียกว่า พอลิอีเทอร์ยูรีเทน (EU) สมบัติทั่วไปของยางพอลิยูรีเทน คือ มีความทนต่อแรงดึง ความทนต่อการฉีกขาด ความแข็ง ความต้านทานต่อการขัดถู รวมทั้งมีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากสภาพอากาศ ออกซิเจน ความร้อน และโอโซนดีมาก แต่จะเสื่อมสภาพได้ง่ายถ้าใช้งานในที่ร้อนชื้นหรือในสภาวะที่ต้องสัมผัสกับ น้ำร้อน ไอน้ำ กรด หรือด่าง (เกิดการไฮโดรไลซิส) สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ท่อยาง ข้อต่อยาง ปลอกหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง ล้อสเก็ต ยางพื้นรองเท้า ยางซีล ปะเก็น เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Coitus Interruptus | ดึงองคชาตออกมาหลั่งภายนอกช่องคลอด, หลั่งน้ำกามภายนอกช่องคลอด, การหลั่งภายนอก, การให้น้ำกามหลั่งภายนอกโดยไม่ได้สัมผัสกับอวัยวะ, การร่วมเพศและให้น้ำอสุจิออกข้างนอก, การหลั่งน้ำอสุจินอกช่องคลอด, การให้น้ำกามหลั่งภายนอกโดยไม่ได้สัมผัสกับอวัยวะ, การให้น้ำกามหลั่งภายนอก [การแพทย์] |
Contamination | การสัมผัสกับสิ่งสกปรก, การติดเชื้อ, การปนเปื้อน, การเปรอะเปื้อน, การแทรกซ้อนจากเชื้อโรคอื่นที่มีอยู่ในอากาศ [การแพทย์] |
Exposure to Saliva | การสัมผัสกับน้ำลาย [การแพทย์] |
Liquid Gas Interface | ผิวหน้าของของเหลวส่วนที่สัมผัสกับอากาศ [การแพทย์] |