สัมมาทิฐิ | น. ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว. |
ทางสายกลาง | น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางสายเดียวที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง |
ทิฐิ | (ทิดถิ) น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด |
มรรค, มรรค-, มรรคา | ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ–ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ–ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา–การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ–การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ–การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ–ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ–ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ–ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. |
สัตบุรุษ | (สัดบุหฺรุด) น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คนดีน่านับถือ มีคุณธรรม ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม. |
สัปปุริส-, สัปปุรุษ | (สับปุริสะ-, สับปุหฺรุด) น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา, คนที่มีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม. |
สัมมา | ว. ชอบ, ดี, (มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส) เช่น สัมมาทิฐิ สัมมาชีพ. |
อริยมรรค | น. ทางอันประเสริฐอันเป็นทางแห่งความดับทุกข์ มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น, ทางสายกลาง ก็เรียก, ทางดำเนินของพระอริยะ |
อัษฎางคิกมรรค | (อัดสะดางคิกะมัก) น. ทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ตามหลักพระพุทธ-ศาสนา ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง. |