สารานุกรม | น. หนังสือที่รวบรวมความรู้ทุกแขนงหรือเฉพาะแขนงใดแขนงหนึ่ง มักเรียงตามลำดับอักษร. |
ตระการ | (ตฺระ-) ว. งาม เช่น ป่าดงพงหลวงตระการ เซราะเซราเขาธาร ชรลัดชรล่องดองไพร (อนิรุทธ์), น้ำพุพุ่งซ่า ไหลฉ่าฉาดฉาน เห็นตระการ (สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย เพลงเถา) |
ตัดตอน | ก. แบ่งหรือตัดเอามาบางส่วน เช่น ข้อความนี้ตัดตอนมาจากหนังสือสารานุกรมไทย. |
บทความ | น. ข้อเขียนซึ่งเป็นรายงานหรือการแสดงความคิดเห็น มักตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสาร สารานุกรม เป็นต้น. |
บวรโตฎก | (บอวอระโตดก) น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้ ๓ พยางค์ต้นวรรคแต่ละวรรคเป็นสะคณะคือพยางค์เบา ๒ พยางค์ พยางค์หนัก ๑ พยางค์ เช่น ชลเนตรไหลนองร้องร่ำรัก ชลไนยไหลหนักอาวรณ์หวาม ชนนีห้ามบุตรสุดไม่ตาม ชลนานองน้ำพระเนตรนอง (สารานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย ภาคฉันทลักษณ์). |
อนุกรม | (อะนุกฺรม) น. ลำดับ, ระเบียบ, ชั้น, เช่น โดยอนุกรม, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น พจนานุกรม ปทานุกรม นามานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม. |
Encyclopedia | สารานุกรม [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Encyclopedia | สารานุกรม, Example: คำว่า “สารานุกรม” เป็นคำสมาสจากคำ “สาร” และ “อนุกรม” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้นิยามของคำ “สาร” [ สาน, สาระ ] (น) หมายถึง แก่น, เนื้อแท้ มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็นแก่นสาระ; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว “อนุกรม” (น) หมายถึง ลำดับ, ระเบียบ, ชั้น, เช่น โดย อนุกรม, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น พจนานุกรม ปทานุกรม นามานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม เมื่อนำคำมาสมาสเป็นคำเดียวคือ “สารานุกรม” (น) หนังสือที่รวบรวมความรู้ทุกแขนงหรือเฉพาะแขนงใดแขนงหนึ่ง มักเรียงตามลำดับอักษร [ 1 ] <p>ดังนั้นอาจกล่าวโดยรวมได้ว่า สารานุกรมเป็นหนังสือที่อธิบายเรื่องราว ให้ความรู้พื้นฐานในเรื่องต่างๆ อย่างกว้างขวาง และให้ความรู้ทั่วๆ ไป เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชานั้นๆ ข้อมูลที่นำเสนอจะอยู่ในรูปบทความ เรียบเรียงตามลำดับอักษรของชื่อเรื่องหรือหัวเรื่องหรือกลุ่มเนื้อหา และมีดัชนีช่วยในการค้นเนื้อหา หนังสือสารานุกรมมีทั้งชนิดเล่มเดียวจบ และเป็นชุดหมายเล่มจบ <p>ความสำคัญของหนังสือสารานุกรม [ 2 ] <p>1. หนังสือสารานุกรมเป็นหนังสือซึ่งรวมวิชาความรู้ และเรื่องราวต่างๆ ที่มนุษย์เรียนรู้และได้คิดสร้างสรรค์ไว้ทั้งหมดจึงนับเป็นคลังทรัพย์สินทางปัญญาที่บริบูรณ์ในตัวเอง เปิดโอกาสให้ผู้ใฝ่รู้สามารถอ่านเพื่อแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้ทุกเวลาตามความสามารถของตน เหมือนห้องสมุดขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้ตามผู้เป็นเจ้าของความรู้ในหนังสือสารานุกรมที่สร้างขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัยจะทันสมัยที่สุดสำหรับยุคนั้นๆ <p>2. มีส่วนในการสร้างและพัฒนาวิธีการจัดระบบความรู้ต่างๆ มีการจัดหมวดหมู่ความรู้ เรียงลำดับความสำคัญของความรู้ ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ การสร้างคำแทนเนื้อเรื่อง และการเลือกคำสำคัญที่มีอยู่ในเรื่องแต่ละเรื่องมาจัดทำเป็นดัชนีค้นเรื่อง ท้ายเล่มหรือในเล่มสุดท้ายของชุดทั้งเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาเรื่องที่ต้องการ วิธีการเหล่านี้เป็นต้นเค้าส่วนหนึ่งของวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารนิเทศศาสตร์ในปัจจุบัน <p>ประเภทของสารานุกรม สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ <p>1. สารานุกรมทั่วไป (General encyclopedia) คือ สารานุกรมที่มีขอบเขตกว้างขวางครอบคลุมทุกสาขาวิชา ใช้ค้นหาเรื่องทั่วไป โดยมีการจัดทำโดยแบ่งกลุ่มกลุ่มผู้อ่านได้แก่สารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่ และสำหรับเด็ก เช่น <p>สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2498-ปัจจุบัน <p>สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2526-ปัจจุบัน. <p>สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2548-ปัจจุบัน <p>The Encyclopedia American. New York : American, [ c1971 ]. <p>2. สารานุกรมเฉพาะวิชา (Subject encyclopedia) คือ สารานุกรมที่ให้ความรู้ข้อเท็จจริงเฉพาะสาขาวิชาหนึ่งๆ อย่างลึกซึ่งกว้างขวางกว่าคำอธิบายในเรื่องเดียวกันในสารานุกรมทั่วไป เช่น <p>สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 12 สิงหาคม 2535. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2535. <p>เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์, บรรณาธิการ. สารานุกรมโทรคมนาคมไทย ฉบับพุทธศักราช 2552. กรุงเทพฯ : สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ (อีซีทีไอ), 2552. <p>Hunt, William Dudley. Encyclopedia of American architecture. New York : McGraw-Hill, 1980. <p>สารานุกรมที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ สารานุกรมบริเตนนิกา Encyclopedia Britannica สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการตีพิมพ์ฉบับแรกในภาษาอังกฤษในช่วงปี พ.ศ. 2311-2314 (ค.ศ. 1768–1771) ในเมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตีพิมพ์และจำหน่ายในฉบับซีดี [ 3 ] <p>ภาพตัวอย่างสารานุกรม <p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110301-encyclopedia-1.jpeg" alt="สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้"><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110301-encyclopedia-3.jpeg" alt="สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"><p><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110301-encyclopedia-4.jpeg" alt="สารบัญ"><img src="http://thaiglossary.org/sites/default/files/20110301-encyclopedia-5.jpeg" alt="ดัชนีเพื่อช่วยในการค้นหา"> <p>แหล่งข้อมูล <p>[ 1 ] ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546. <p>[ 2 ] แม้นมาส ชวลิต, คุณหญิง. “สารานุกรม.” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 12 Z2531) : 67-68. <p>[ 3 ] http://th.wikipedia.org/wiki/สารานุกรม [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Children's encyclopedia | สารานุกรมสำหรับเด็ก [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Subject encyclopedia | สารานุกรมเฉพาะวิชา [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Children's encyclopedias and dictionaries, Thai | สารานุกรมและพจนานุกรมไทยสำหรับเด็ก [TU Subject Heading] |
Encyclopedias and dictionaries | สารานุกรมและพจนานุกรม [TU Subject Heading] |
Encyclopedias and dictionaries, Thai | สารานุกรมและพจนานุกรมไทย [TU Subject Heading] |
Encyclopedias | สารานุกรม [การแพทย์] |
wikipedia | วิกิพีเดีย, สารานุกรมออนไลน์หลายภาษาที่แจกจ่ายในลักษณะเนื้อหาเสรี บริหารงานโดยมูลนิธิวิกิมีเดีย คำว่า "วิกิพีเดีย" มีที่มาของชื่อการผสมคำของคำว่า wiki ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่ร่วมกันปรับปรุง และคำว่า encyclopedia ที่แปลว่าสารานุกรม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
พจนานุกรมเชิงสารานุกรม | [photjanānukrom choēng sārānukrom] (n, exp) EN: encyclopaedic dictionary = encyclopedic dictionary (Am.) FR: dictionnaire encyclopédique [ m ] |
สารานุกรม | [sārānukrom] (n) EN: encyclopedia = encyclopaedia FR: encyclopédie [ f ] |
สารานุกรมออนไลน์ | [sārānukrom ǿnlai] (n, exp) FR: encyclopédie en ligne [ f ] |
สารานุกรมพืช | [sārānukrom pheūt] (n, exp) FR: encyclopédie des plantes [ f ] |
สารานุกรมสำหรับเยาวชน | [sārānukrom samrap yaowachon] (n, exp) FR: encyclopédie pour les jeunes [ f ] |
สารานุกรมสัตว์ | [sārānukrom sat] (n, exp) FR: encyclopédie animale [ f ] |
สารานุกรมเสรี | [sārānukrom sērī] (n, exp) EN: free encyclopedia FR: encyclopédie libre [ f ] |
cyclopaedic | (ไซ'คละพี'ดิค) adj. คล้ายหรือเกี่ยวกับสารานุกรม, คลุมกว้าง, ลึกซึ้ง |
cyclopedic | (ไซ'คละพี'ดิค) adj. คล้ายหรือเกี่ยวกับสารานุกรม, คลุมกว้าง, ลึกซึ้ง |
encylopaedia | (เอนไซคละพี'เดีย) n. สารานุกรม |
encylopedia | (เอนไซคละพี'เดีย) n. สารานุกรม |
thesaurus | (ธีซอ'รัส) n. พจนานุกรมคำพ้อง (synonyms) และคำที่มีความหมายตรงกันข้าม (antonyms) , พจนานุกรม, ปทานุกรม, อภิธาน, อภิธานชุดวรรณคดี, สารานุกรม, ขุมทรัพย์, ดัชนีข้อมูลของคอมพิวเตอร์ |