กรด ๓ | (กฺรด) น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C. B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่นํ้าท่วม เช่น ตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดำ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก |
กระเจียว | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma sessilis Gage ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย มีหัวใต้ดิน ขณะออกดอกไม่มีใบ ช่อดอกเป็นช่อตั้ง รูปคล้ายทรงกระบอก ดอกสีขาว อยู่ระหว่างกาบสีขาวปลายสีม่วง ใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก อาวแดง. |
กระโฉม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ). |
กระดาดแดง | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alocasia indica Schott var. metallica Schott ในวงศ์ Araceae โคนใบเว้าลึกและห่างไม่มาก ก้านใบสีม่วงแดง กาบหุ้มช่อดอกด้านในสีเหลืองหรือม่วงแดง ใช้ทำยาได้. |
กระดูกไก่ดำ | น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ได้แก่ชนิด J. gendarussa Burm. f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลำต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดำ ใช้ทำยาได้, กระดูกดำ เฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก และชนิด J. grossa C. B. Clarke ดอกสีขาวอมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว. |
กระดูกอึ่ง | และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง. |
กระทุ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk. ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พรวดใหญ่ หรือ พรวดกินลูก ก็เรียก. |
กระพังโหม | น. ชื่อไม้เถาชนิด Sarcostemma secamone (L.) Bennet ในวงศ์ Asclepiadaceae ทั้งต้นมียางขาว ใบแคบเรียวแหลม ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน มีนวล ดอกสีม่วงแกมชมพู ใช้ทำยาได้ ใบและเถาใช้เป็นอาหาร, จมูกปลาหลด จมูกปลาไหล หรือ ผักไหม ก็เรียก. |
กระพี้นางนวล | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia canaGraham ex Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลม ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีม่วงดำ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง ฝักแบน มีขน มี ๒ เมล็ด, จักจั่น ก็เรียก. |
กวาวเครือ | (กฺวาว-) น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria candollei Wall. ex Benth. var. mirifica (Airy Shaw et Suvat) Niyomdham ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน มีหัวกลม ๆ ออกที่โคนต้นและตามราก ใช้ทำยาได้. |
กะเม็ง | น. ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กชนิด Eclipta prostrata L. ในวงศ์ Compositae ขึ้นอยู่ทั่วไป ลำต้นสีม่วงคลํ้า ใบเขียวมีขนคาย ดอกสีขาว ใช้ทำยาได้, กะเม็งตัวเมีย หรือ คัดเม็ง ก็เรียก. |
กะหำแพะ | น. ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่งของชนิด Solanum melongena L. ผลมีสีม่วง สั้นและป้อมกว่ามะเขือยาว. |
กา ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Morulius chrysophekadion (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากงุ้มตํ่า ตาเล็ก ตลอดทั้งหัว ตัว และครีบมีสีม่วงเข้มถึงดำทึบ ครีบหลังเป็นแผนใหญ่ เฉพาะเกล็ดมีจุดสีเหลืองประปราย ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร, เพี้ย ก็เรียก. |
ก้ามปูหลุด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tradescantia zebrina Hort ex Bosse ในวงศ์ Commelinaceae ลำต้นเรียว และเป็นปล้อง ๆ เลื้อยไปตามดิน ใบสีเขียวหม่น ใบด้านบนมีแถบสีเทาคาดตามยาว ด้านล่างสีม่วงแดง ดอกสีชมพู. |
การบูรป่า | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Adenosma indiana (Lour.) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ขึ้นตามป่าเต็งรัง ต้นสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ขอบใบจักถี่ ใบมีกลิ่นคล้ายกลิ่นใบกะเพรา โหระพา แต่อ่อนกว่า ดอกเล็กสีม่วง ออกเป็นช่อเรียวยาวตามง่ามใบและที่ปลายยอด, กระต่ายจาม ข้าวคำ หรือ พริกกระต่าย ก็เรียก. |
กาสามปีก | ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria stricta Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเล็กมาก สีม่วง รูปดอกถั่ว ฝักมี ๘-๑๐ เมล็ด. |
กุ้งเหลือง | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus latisulcatus Kishinouye ในวงศ์ Penaeidae ขนาดเล็กกว่ากุ้งกุลาดำ ลำตัวสีเหลืองปนนํ้าตาล ขอบของส่วนท้องสีม่วง แพนหางสีฟ้า, กุ้งเหลืองหางฟ้า ก็เรียก. |
ขลู่ | (ขฺลู่) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Pluchea indica (L.) Less. ในวงศ์ Compositae มักขึ้นเป็นหมู่ตามชายทะเล ใบรูปไข่ขอบจักห่าง ๆ ใช้ทำยาได้ ดอกสีม่วงอ่อน, ขลู ก็เรียก. |
ขาเขียด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Monochoria vaginalis (Burm.f.) C. Presl ex Kunth ในวงศ์ Pontederiaceae ดอกสีม่วงนํ้าเงิน เกิดในนํ้าและปลักตม กินได้. |
ข้าวตอก ๒ | ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Callicarpa longifolia Lam. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็ก สีม่วง ผลกลมเล็ก สุกสีขาว ใช้ทำยาได้. |
เขียวพระอินทร์ ๑ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Thalassoma lunare (Linn.) ในวงศ์ Labridae ลำตัวยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร บริเวณหัวมีแถบ ลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็กมีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคนครีบหางมีจุดใหญ่สีดำ. |
ไข่เน่า ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดำ กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทำยาได้. |
คงคาเดือด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Arfeuillea arborescens Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง สูง ๘-๑๐ เมตร มีพุ่มใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓-๔ คู่ ดอกเล็ก สีม่วงดำ หอมมาก ผลมีปีกบาง ๆ ๓ ปีก เปลือกใช้ทำยาได้, ราชบุรีเรียก ตะไล, พายัพเรียก ช้างเผือก. |
เครือเทพรัตน์ | น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ชนิด Thepparatia thailandica Phuph. ในวงศ์ Malvaceae ใบเป็นใบเดี่ยว มี ๓-๕ แฉก ดอกสีม่วง ขอบเหลือง รูประฆัง ออกเป็นพวง ห้อยลง ผลมี ๕ ช่อง เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. |
แคฝรั่ง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Gliricidia sepium (Jacq.) Walp. ในวงศ์ Leguminosae แตกกิ่งก้านระเกะระกะ ออกดอกสีขาวหรือสีม่วงอ่อนตามกิ่ง. |
จั่น ๕ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Millettia brandisiana Kurz ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงหรือม่วงคราม ลักษณะคล้ายดอกถั่วแต่ขนาดเล็กกว่า เวลาออกดอกไม่ใคร่มีใบ เป็นไม้ประดับที่งาม. |
จิ้งเหลนด้วง ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งเหลนที่ไม่มีขาหรืออาจมีร่องรอยของขาคู่หลังเหลืออยู่เล็กน้อย ในวงศ์ Dibamidae และวงศ์ Scincidae ลำตัวเรียวยาว ขนาดยาวตั้งแต่ ๗-๒๕ เซนติเมตร เกล็ดลำตัวเรียบ อาศัยอยู่ใต้ผิวดินที่ร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายซึ่งมีซากผุพังของพืชปกคลุม, ในวงศ์ Dibamidae เฉพาะเพศผู้มีร่องรอยของขาคู่หลังเป็นแผ่นแบนให้เห็นเล็กน้อย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ จิ้งเหลนด้วงสีม่วง ( Dibamus alfrediTaylor) ซึ่งพบทางภาคใต้ และจิ้งเหลนด้วงสมศักดิ์ ( D. somsakiHonda, Nabhitabhata, Ota & Hikida) ซึ่งพบที่เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ส่วนในวงศ์ Scincidae ไม่มีขาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ที่พบในประเทศไทย ได้แก่ ชนิด Isopachys anguinoides (Boulenger) พบที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ชนิด I. roulei (Angel) พบที่จังหวัดชลบุรี, ชนิด I. gydenstolpeiLönnberg และ I. borealisLang & Bohme พบทางภาคตะวันตก ชนิด Davewakeum miriamaeHeyer พบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. |
เจ้าสามสี | น. พลอยชนิดหนึ่ง เมื่อโดนแสงอาทิตย์จะมีสีเขียวมรกต เมื่อโดนแสงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงอาทิตย์เช่นแสงจากหลอดไฟ จะมีสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง, พลอยสามสี ก็เรียก. |
เจ้าฟ้า ๒ | น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Phricotelphusa sirindhorn Naiyanetr ในวงศ์ Potamidae กระดองและขาก้ามสีขาว เบ้าตาและขาสีม่วงอมดำ อาศัยอยู่บริเวณน้ำตกตามซอกหินบนภูเขาระดับสูง พบในจังหวัดระนอง ราชบุรี และเพชรบุรี. |
ชนวน ๑ | (ชะ-) น. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่นและละเอียด มีสีต่าง ๆ กัน ตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ สีดำ สีน้ำเงิน ที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี |
ช้องนาง | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Thunbergia erecta (Benth.) T. Anderson ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีม่วงนํ้าเงินเข้มหรือขาว หลอดดอกด้านในสีเหลืองเข้ม. |
ช้าง ๒ | น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Rhynchostylis gigantea (Lindl.) Ridl. ในวงศ์ Orchidaceae กลีบดอกสีขาว มีประสีม่วงหรือแดง กลิ่นหอม พันธุ์ที่กลีบดอกชั้นในมีประที่โคน เรียก ช้างดำ, พันธุ์ที่มีประทั่วทุกกลีบดอก เรียก ช้างกระหรือช้างค่อม พันธุ์ที่กลีบดอกสีขาวสะอาด เรียก ช้างเผือก, พันธุ์ที่กลีบดอกสีแดง เรียก ช้างแดง. |
ช้ำเลือดช้ำหนอง | ว. มีเลือดและหนองคั่งอยู่, สีที่มีลักษณะคล้ายมีเลือดและหนองปนกันออกสีม่วง ๆ เรียกว่า สีชํ้าเลือดชํ้าหนอง. |
ชำมะเลียง | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh. ในวงศ์ Sapindaceae ใบยาว ผลสุกสีม่วงดำ กินได้ รสหวานปนฝาด, พุมเรียง ก็เรียก. |
ชิงชัน | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia oliveriGamble ในวงศ์ Leguminosae เนื้อไม้แข็ง แก่นสีแดงเข้มถึงสีม่วงแก่, ประดู่ชิงชัน ก็เรียก. |
ชิงชี่ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparis micracantha DC. ในวงศ์ Capparaceae สูง ๒-๔ เมตร มีหนามเล็กสั้น ๆ ขนาบโคนก้านใบข้างละอัน ดอกขาว โคนกลีบดอกสีเหลือง ใกล้โรยกลายเป็นสีม่วงแก่ ออกเป็นตับตามลำกิ่งเหนือง่ามใบตับละ ๒-๗ ดอก ผลกลม ๆ หรือรูปไข่ เมื่อสุกสีแดง ก้านผลยาว, กระโรกใหญ่ หรือ แส้ม้าทะลาย ก็เรียก. |
ดอกดิน | น. ชื่อพืชเบียน ๒ ชนิด ในสกุล Aeginetia วงศ์ Orobanchaceae คือ ชนิด A. pedunculata Wall. และชนิด A. indica L. ลำต้นเป็นปุ่มปมเกาะเบียนรากหญ้า ดอกสีม่วงดำ อยู่พ้นพื้นดินขึ้นมา ใช้ทำขนม, ดอกดินแดง ก็เรียก. |
ด่างทับทิม | น. ของสิ่งหนึ่งเป็นเกล็ด สีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้าจะออกเป็นสีทับทิม |
ด่างทับทิม | เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อโพแทสเซียมเพอร์แมงกาเนต มีสูตร KMnO4 เป็นของแข็ง ลักษณะเป็นผลึกสีม่วงแก่ ใช้ประโยชน์เป็นสารฆ่าเชื้อโรค ใช้ทำยาดับกลิ่น. |
ดาดตะกั่ว ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hemigraphis alternataT. Anderson ในวงศ์ Acanthaceae ใบสีเทา ด้านล่างสีแดง ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ปลูกเป็นไม้ประดับ. |
ดาวกระจาย ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Cosmos วงศ์ Compositae คือ ชนิด C. caudatusHumb. Bonpl. et Kunth ดอกสีม่วง ชมพู และขาว ขอบใบจัก กินได้ และชนิด C. sulphureus Cav. ดอกสีเหลือง. |
โด่ไม่รู้ล้ม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Elephantopus scaberL. ในวงศ์ Compositae ใบกระจุกซ้อนแนบอยู่กับพื้นดิน ดอกสีม่วงอ่อน ก้านช่อดอกตั้งตรงขึ้นไป ใช้ทำยาได้. |
ตบ ๑ | น. ชื่อไม้นํ้าในวงศ์ Pontederiaceae มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Monochoria hastata (L.) Solms ขึ้นตามท้องนาที่แฉะและนํ้านิ่ง ดอกสีนํ้าเงิน ยอดอ่อนและดอกกินได้, คำสุภาพเรียกว่า ผักสามหาว, ผักตบไทย ก็เรียก, และชนิด Eichhornia crassipes (Mart.) Solms ขึ้นตามลำนํ้าทั่วไป ดอกสีม่วงอ่อน เรียกว่า ผักตบชวา. |
ตรุษจีน ๒ | (ตฺรุด-) น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Bougainvillea glabra Choisy ในวงศ์ Nyctaginaceae ใบประดับสีม่วงแดง ดอกสีขาว ปลูกเป็นไม้ประดับ. |
ต้อยติ่ง | น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Acanthaceae คือ ชนิด Hygrophila erecta (Burm. f.) Hochr. ดอกเล็ก สีม่วงแดง เมล็ดใช้ทำยาพอกฝี, ต้อยติ่งไทย ก็เรียก และชนิด Ruellia tuberosa L. ดอกใหญ่ สีม่วงนํ้าเงิน, อังกาบฝรั่ง ก็เรียก. |
ตะขบ | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Flacourtia วงศ์ Flacourtiaceae เช่น ตะขบไทย ( F. rukam Zoll. et Moritzi) ต้นมีหนาม ผลกลม สุกสีม่วงแดงหรือแดงเข้ม รสหวาน รากใช้ทำยาได้. |
ตะขบ | ชื่อไม้ต้นชนิด Muntingia calabura L. ในวงศ์ Tiliaceae ต้นไม่มีหนาม ผลกลมเล็กกว่าตะขบไทย สุกสีม่วงแดง รสหวาน, ตะขบฝรั่ง ก็เรียก. |
ตะแบก | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Lagerstroemia วงศ์ Lythraceae ผิวเปลือกเรียบล่อนเป็นสะเก็ด ดอกสีม่วง เช่น ตะแบกนา ( L. floribunda Jack). |
ตัดกัน | ก. ขัดกัน, ตรงกันข้ามอย่างสีแสดกับสีครามหรือสีเหลืองกับสีม่วง, (ใช้แก่สี) |
ตับเต่า ๑ | น. ชื่อไม้นํ้าชนิด Mimulus orbicularis Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae ใบกลม ดอกสีม่วงอ่อน ใบใช้เป็นผัก, ผักอีแปะ ก็เรียก. |
Radiation warning symbol | สัญลักษณ์เตือนภัยจากรังสี, สัญลักษณ์สากลที่กำหนดขึ้นเพื่อเตือนให้ทราบว่ามีรังสี หรือให้ระวังรังสี ประกอบด้วยใบพัด 3 แฉก สีม่วง หรือสีดำ อยู่บนพื้นสีเหลือง สัญลักษณ์นี้ใช้ติดที่ภาชนะบรรจุวัสดุกัมมันตรังสี หรือบริเวณที่มีรังสี [นิวเคลียร์] |
Bacteria, Purple | แบคทีเรียสีม่วง [การแพทย์] |
Basophilic | ติดสีม่วง, สีน้ำเงินเข้ม, สีม่วงอ่อน [การแพทย์] |
Blue Violet | สีม่วงน้ำเงินเข้ม [การแพทย์] |
Bluish-Purple | สีม่วงน้ำเงิน [การแพทย์] |
Bordeaux Red Color | สีม่วงแดง [การแพทย์] |
Cinnabar | สีม่วงแดง [การแพทย์] |
Cullen's Sign | ผิวหนังบริเวณสะดือมีสีม่วงคล้ำ [การแพทย์] |
Discoloration, Bluish | ปากมดลูกมีสีคล้ำ, สีม่วงคล้ำ, สีคล้ำขึ้น [การแพทย์] |
ultraviolet rays [ black light ] | รังสีอัลตราไวโอเลต, แสงเหนือม่วง, รังสีที่มีแสงสีม่วงและรังสีเอกซ์ เป็นรังสีที่ตามองไม่เห็น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แสงดำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
spectrum | สเปกตรัม, แถบรังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน สเปกตรัมที่มองเห็นได้คือแสง เมื่อแสงขาวผ่านปริซึมจะเกิดการหักเหเป็นแสงสีต่าง ๆ ซึ่งเรียกสเปกตรัม ตั้งแต่ความยาวคลื่นน้อยไปหามากตามลำดับดังนี้ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
iodine | ไอโอดีน, ธาตุในหมู่ VII ของตารางธาตุมีเลขอะตอม 53 สัญลักษณ์ I เป็นของแข็งสีม่วงดำ และระเหิดได้ มีจุดหลอมเหลว 114°C จุดเดือด 184°C [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fluorite | ฟลูออไรต์, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกของสารประกอบแคลเซียมฟลูออไรต์ (CaF2) ที่พบในธรรมชาติมักมีสีต่างๆ เนื่องจากมีสิ่งเจือปน เช่น สีม่วง เขียว น้ำตาลอ่อน ฟ้ามีทั้งชนิดโปร่งใส โปร่งแสง หรือทึบแสง โดยทั่วไปเรียกว่า พลอยอ่อน มีความแข็ง 4 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
quartz | ควอรตซ์, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกของสารประกอบออกไซด์ของซิลิคอน (SiO2) ส่วนมากเป็นผลึกใส ไม่มีสี หรือสีขาวขุ่น อาจพบมีสีม่วง ชมพู เขียว เป็นต้น มีความแข็งประมาณ7 ความถ่วงจำเพาะ = 2.6 โดยทั่วไปเรียกว่า แร่เขี้ยวหนุมาน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Grape Juice Lees | กากองุ่นสีม่วง [การแพทย์] |
Lavender | สีม่วงแก่ [การแพทย์] |
Lupus Pernio | สีม่วง [การแพทย์] |
Magenta | สีม่วงแดง [การแพทย์] |
Magentas | สีแดงคล้ำ, สีม่วง [การแพทย์] |
actinic ray physics. | รังสีคลื่นสั้น, รังสีพันสีม่วง (which produces photochemical effects) |
african violet | ไม้ประดับชนิดหนึ่งที่มีดอกสีม่วง ชมพูหรือขาว |
amaranth | (แอม' มะแรนธฺ) n. ต้นบานไม่รู้โรย, สีย้อมสีม่วงแดงจำพวก azo dye |
amethyst | (แอม' มิธิสท) n. แร่ quartz สีม่วงใช้เป็นเครื่องประดับ, สีย้อมสีม่วง adj. ประกอบด้วย amethyst, -amethystine adj. |
anthocyanin | (แอนโธไซ' อะนิน) n. กลุ่มของสารสี (pigments) ที่ทำให้ดอกไม้และพืชมีสีม่วงแดง., Syn. -anthocyan |
arbutus | (อาร์บิว'ทัส) n., (pl. -tuses) ชื่อต้นไม้ในยุโรปมีผลสีม่วง (trailling arbutus) |
archil | (อาร์'คิล) n. สีย้อมสีม่วงที่ได้จาก lichens, พืชที่ให้ archil |
burgundy | n. เหล้าองุ่นแดงหรือขาว, สีม่วงแดง |
eggplant | n. ต้นมะเขือผลเป็นสีม่วง ขาวหรือเหลือง |
gram-positive | adj. ซึ่งติดสีม่วงเมื่อย้อมสีโดยวิธีของแกรม |
grape | (เกรพ) n. ผลองุ่น, ต้นองุ่น, สีม่วงอมแดง, เหล้าองุ่น |
hepatica | n. ชื่อพืชไม้ดอกสีม่วงหรือขาว |
indian mallow | พืชจำพวก Abutilon Theophrasti มีดอกเหลือง ใบสีม่วง, ต้นมะกล่ำตาหนู -Syn. Jequirity |
juniper | (จู'นะเพอะ) n. ต้นสนจำพวก Juniperus ให้ผลสีม่วงที่ให้เป็นยาขับปัสสาวะแต่งกลิ่นให้เหล้ายิน |
lavender | (แลฟ'เวินเดอะ) n. สีม่วงอ่อน, พืชไม้ดอกสีม่วงอ่อนที่มีกลิ่นหอมจำพวก Lavendula, ดอกไม้แห้งของพืชดังกล่าว, น้ำหอมกลิ่นลาเวนเดอร์, น้ำชำระล้างกลิ่นลาเวนเดอร์ |
lilac | (ไล'แลค) n. พืชไม้ดอกสีม่วงแดงหรือสีขาวที่มีกลิ่นหอมดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ (shrub) |
magenta | (มะเจน'ทะ) n. สีม่วงแดง |
mauve | (โมฟว) n. สีม่วงอมน้ำเงินซีด, สีย้อมสีม่วงที่ได้จากสาร aniline เป็นสีย้อมน้ำมันดิน |
pasqueflower | n. พืชดอกสีม่วงเป็นพืชไม้ดอกประจำรัฐ South Dakotaของอเมริกา |
peach blossom | n. ดอกท้อ, สีม่วงแดง |
peachblow | n. สีชมพูอมเหลือง, สีม่วงแดง |
pellagra | (พะเล'กระ, พะแลก'กระ) n. โรคที่เนื่องจากการขาดแคลนniacinในอาหารการกิน, ทำให้ผิวหนังเป็นจ้ำ ๆ มีสีม่วงและอาการท้องร่วง., See also: pellagrose adj. pellagrous adj. |
plum | (พลัม) n. ต้นพลัม, ผลพลัม, ลูกเกดชนิดหนึ่ง, สีม่วงเข้ม, สิ่งที่ดีเลิศ adj., adv. ตรงดิ่ง, แน่ชัด, โดยตรง, สมบูรณ์, เด็ดขาด, Syn. plumb |
puce | (พิวซฺ) n. สีม่วงดำหรือม่วงอมน้ำตาล |
purple | (เพอ'เพิล) n., adj. สีม่วง, ผ้าสีม่วง , ตำแหน่งพระราชา, ตำแหน่งที่สูงเด่น, ตำแหน่งพระราชาคณะ, สีแดงเข้ม, สีแดงสด, สำนวนสละสลวยเกินไป, vt., vi. ทำให้เป็นสีม่วง กลายเป็นสีม่วง, Syn. eminence |
purplish | (เพอ'พลิช) adj. สีม่วง, ค่อนข้างจะเป็นสีม่วง, Syn. purply |
raspberry | (แรซ'เบอรี) n. ผลไม้ (ต้นไม้) เล็ก ๆ /รสเปรี้ยวจำพวก Rubus, สีม่วงแดงอมดำ |
ultraviolet | (อัล'ทระไว โอลิท) adj. เกี่ยวกับรังสีอัลตราไวโอเลต, เลยแถบสีม่วง n. รังสีดังกล่าว |
violet | (ไว'อะลิท) n. สีม่วง, พืชไม้ดอกสกุลViolaที่มีสีม่วง/น้ำเงิน เหลือง/ขาวหรือสีผสม, ดอกสีม่วง. adj. สีม่วง, สีม่วงอมน้ำเงิน |