สุวรรณ, สุวรรณ- | (-วัน, -วันนะ-) น. ทอง. |
สุวรรณกระถอบ, สุวรรณกัญจน์ถอบ | น. แผ่นทองคำฉลุลายเป็นกิ่งต้นเครือวัลย์กระหนก สำหรับเสียบห้อยที่ชายพกลงมาในระหว่างช่องหน้าขาทั้ง ๒. |
สุวรรณภูมิ | (สุวันนะพูม) น. ดินแดนแหลมทองซึ่งเชื่อกันว่ามีอาณาบริเวณครอบคลุมพม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์. |
กมล | (กะมน) ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที (ม. คำหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. |
กรณฑ์ ๑ | ผอบ เช่น บรรจุพระบรมธาตุในสุวรรณกรณฑ์ (เทศนาพระราช-ประวัติ). |
กระถอบ | น. แผ่นทองคำฉลุลายเป็นกิ่งต้นเครือวัลย์กระหนก สำหรับเสียบห้อยที่ชายพกลงมาในระหว่างช่องหน้าขาทั้ง ๒ สามัญเรียกว่า ช่อทับชาย เช่น ที่ประดับเทวรูปทรงเครื่องทั่วไป เรียกกันว่า สุวรรณกระถอบ หรือ สุวรรณกัญจน์ถอบ. |
กัมพู | ทอง เช่น กัมพูหุ้มพู่พรรณจามรี (บุณโณวาท), ทองสุคนธ์ปนสุวรรณ์กัมพู (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ) เขียนเป็น กำพู หรือ กำภู ก็มี. |
ขยับ | โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนใกล้เข้ามา เช่น วันเปิดสนามบินสุวรรณภูมิขยับเข้ามาแล้ว. |
ช่องกุด | น. ประตูที่เจาะกำแพงพระราชวังหรือกำแพงเมือง เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพดานโค้งมนบ้าง โค้งแหลมบ้าง อยู่ใต้แนวใบเสมาลงมา เป็นช่องทางสำหรับคนสามัญเข้าออก, เขียนเป็น ช่องกุฎ ก็มี เช่น ซุ้มทวารบานสุวรรณชมพูนุท ประตูลักช่องกุฎสลับกัน (อิเหนา). |
ซ่าโบะ | น. ผ้าห่มอย่างผ้าสไบ เช่น ซ่าโบะกรองสุวรรณพรรณราย (ดาหลัง), อันซ่าโบะรอยทรงจงพระทัย จะขอเปลี่ยนสไบโฉมเฉลา (อิเหนา). |
ตกลูก | ก. ออกลูก (ใช้แก่สัตว์) เช่น ม้าขุนสุวรรณพินิจจัย ตกลูกศีรษะเดียว ตัวเป็น ๒ ตัว ๘ เท้า เดินชิงศีรษะกัน ไก่พระศรีมโหสธ ฟักฟองตกลูกตัวเดียว ๒ ศีรษะ (พงศ. จันทนุมาศ). |
เตือนตา | ก. ชวนดู เช่น สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม (กาพย์เห่เรือ). |
ว่าวอน | ก. อ้อนวอน เช่น ผ่านม่านสุวรรณซึ่งกั้นกาง เห็นนางบรรทมอยู่ในที่ พี่เลี้ยงโลมไล้ไม่ไยดี มะเดหวีจึงเข้าไปว่าวอน (อิเหนา). |
สินธุ์ | น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น เหาะข้ามสินธุ์ไปยังขุนยุคุนธร (สมบัติอัมรินทร์), สุวรรณหงส์เหินเห็จฟ้า ชมสินธุ์ (พยุหยาตรา), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธู ก็มี. |
Suwannabhumi (Kingdom) | สุวรรณภูมิ (อาณาจักร) [TU Subject Heading] |
Suwannasamajataka | สุวรรณสามชาดก [TU Subject Heading] |
Flexible Engagement | ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่น " ความเกี่ยวพันอย่างยืดหยุ่นเป็นข้อเสนอของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยที่เสนอในการประชุมรัฐมนตรีต่าง ประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting : AMM) ครั้งที่ 31 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการหารือและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ เปิดกว้างและเป็นกันเองในเรื่องหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกันหรือที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์และความ มั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของนานาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันสืบเนื่องจากการที่อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ และอยู่ในภาวะที่เผชิญปัญหาท้าทายต่าง ๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกัน " [การทูต] |
Ganga-Suwanabhumi-Mekong Cooperation | ความร่วมมือลุ่มน้ำคงคา-สุวรรณภูมิ-ลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย-ลาว-พม่า-เวียดนาม-กัมพูชา และอินเดีย เป็นกรอบความร่วมมือที่เสนอในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับ รัฐมนตรีต่างประเทศประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 33 เมื่อ 28 กรกฎาคม 2543 โดยมีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2543 [การทูต] |
The Great Wonders of Suwannabhumi | โครงการสิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ หมายถึง โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคที่นับถือศาสนาพุทธ อันประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า โดยร่วมกันจัดรายการนำเที่ยวในโบราณสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของ 4 ประเทศ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ นครวัดในกัมพูชา โบราณสถานในพุกาม/มัณฑะเลย์ในพม่า และแขวงหลวงพระบางในลาว เพื่อที่จะดึงดูดชาวต่างชาติให้มาสนใจในดินแดนแห่งนี้ และนำมาซึ่งการพัฒนาสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งยังจะเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 4 ประเทศอย่างสมบูรณ์ โครงการนี้เสนอโดย ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว กัมพูชา และพม่า เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา [การทูต] |