หน้าบัน | น. จั่ว (ใช้แก่ปราสาท โบสถ์ วิหาร เป็นต้น). |
ไขรา | น. ส่วนของหลังคาอาคารสถาปัตยกรรมไทย เฉพาะตอนที่ยื่นพ้นผนังอาคารออกไปยังขอบหลังคา, ถ้าส่วนที่ยื่นนั้นอยู่ตรงหน้าจั่ว เรียก ไขราหน้าจั่ว, ถ้าอยู่ปลายหน้าบัน เรียก ไขราหน้าบัน, ถ้าเป็นหลังคาปีกนก เรียก ไขราปีกนก, ถ้าเป็นหลังคาบังสาดตามขนาดยาวของเต้า เรียก ไขราจันทันเต้า หรือ ไขราเต้า. |
ช่อฟ้า | น. ชื่อตัวไม้เครื่องประกอบกรอบหน้าบัน รูปอย่างครุฑ มีอกใหญ่ คอเรียว ศีรษะเล็ก ปากเป็นจะงอย หงอนยาวเรียว ติดตั้งอยู่ตอนปลายสุดหน้าบัน. |
นาครวย | (นาก-รวย) น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดตรงลงมาจากอกไก่ถึงแปหาญ ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน. |
นาคสะดุ้ง | น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดต่อลงมาจากแปหาญถึงหางหงส์ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน โบราณเรียกว่า เครื่องสะดุ้ง. |
บัน ๑ | น. เรียกหน้าจั่วของปราสาท โบสถ์ วิหาร ว่า หน้าบัน. |
บันแถลง | (-ถะแหฺลง) น. หน้าบันขนาดเล็ก ใช้ประดับเป็นกระจัง. |
ใบระกา | น. ชื่อตัวไม้หรือปูนปั้นทำเป็นครีบ หรือลวดลายต่าง ๆ ติดกับตัวลำยองระหว่างช่อฟ้ากับหางหงส์ ประกอบ ๒ ข้างหน้าบันโบสถ์ วิหาร และปราสาท เป็นต้น. |
ปูนเพชร | น. ปูนชนิดหนึ่ง ทำด้วยปูนขาวผสมทรายละเอียด นํ้ากาวหนัง และนํ้าเชื้อนํ้าตาล ใช้ปั้นรูปต่าง ๆ เช่น หน้าบัน ลายกระหนก หัวนาค. |
รวงผึ้ง ๑ | องค์ประกอบของอาคาร มีลักษณะเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมเรียงกันใต้กระจังฐานพระที่หน้าบันโบสถ์ วิหาร หรือมุขเด็จ. |
สัตภัณฑ์ ๒ | (-พัน) น. ชื่อเชิงเทียน ทำเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วติดไม้กลึงเป็นเชิงเทียน ๗ เชิง กรอบมักทำเป็นรูปพญานาคเลื้อยลงมาคล้ายกรอบหน้าบัน. |
เสาหาน | เสาคู่ที่ตั้งอยู่หน้าสุดของมุขเด็จสำหรับรับหน้าบัน. |