หมายกำหนดการ | น. เอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีซึ่งต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า “นายกรัฐมนตรีหรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ สั่งว่า” เสมอไป. |
กฎหมาย | ออกหมายกำหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหมกฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่ว จะเอาตัวผู้กฎหมายลงโทษ (พระราชกำหนดเก่า) |
กรมธรรม์ | (กฺรมมะทัน) น. เอกสารสัญญาซึ่งทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เอกสารที่ทาสลูกหนี้ยินยอมให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน สัญญาขายฝากที่ไร่ที่สวน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน (สามดวง). |
กระทำ ๑ | ทำการใด ๆ ที่เกิดผลในทางกฎหมาย แต่การงดเว้นการกระทำใด ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องกระทำ ก็ถือว่าเป็นการกระทำด้วย เช่น บิดามารดามีหน้าที่ดูแลบุตรซึ่งยังเล็กอยู่ การที่บิดามารดาอยู่เฉยไม่หาอาหารให้ ก็อาจถือว่าเป็นการกระทำได้. |
กุญแจ ๒ | น. เครื่องหมายกำหนดระดับเสียงตัวโน้ตตามหลักดนตรีสากล ปรกติเขียนไว้ซ้ายสุดของบรรทัด ๕ เส้น. |
เขบ็ต | (ขะเบ็ด) น. เครื่องหมายกำหนดความสั้นยาวของตัวโน้ตและตัวหยุดชนิดหนึ่งในระบบดนตรีสากล เช่น เขบ็ตหนึ่งชั้น เขบ็ตสองชั้น เขบ็ตสามชั้น ตัวหยุดเขบ็ตหนึ่งชั้น ตัวหยุดเขบ็ตสองชั้น และตัวหยุดเขบ็ตสามชั้น. |
คดี | เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. |
ความผิดต่อส่วนตัว | น. ความผิดที่มีผลต่อผู้เสียหายเป็นการเฉพาะตัวโดยตรง และมีกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิดต่อส่วนตัว ในปัจจุบันประมวลกฎหมายอาญาเรียกว่า ความผิดอันยอมความได้. |
ความผิดอันยอมความได้ | น. ความผิดที่มีผลต่อผู้เสียหายเป็นการเฉพาะตัวโดยตรง และมีกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ในการดำเนินคดีอาญาในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องฟ้องหรือร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดและเมื่อฟ้องแล้วจะถอนฟ้อง หรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้. |
ค่าทดแทน | น. เงินหรือสิ่งอื่นที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระ หรือชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหายจากการผิดสัญญา การละเมิดสิทธิหรือการล่วงล้ำสิทธิของบุคคล หรือการอื่น เช่นในกรณีลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงาน. |
ค่าภาคหลวง | น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชำระให้แก่รัฐ เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม. |
จดทะเบียน | ก. ลงบันทึกข้อความไว้กับทางราชการเพื่อให้การใดเกิดผล บังคับกันได้ ได้รับการคุ้มครอง หรือเป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท จดทะเบียนเครื่องจักร. |
จารีตนครบาล | น. วิธีไต่สวนพิจารณาคดีนครบาลซึ่งเป็นคดีโจรผู้ร้ายหรือคดีที่มีโทษหลวง เมื่อคนร้ายจนต่อพยานหลักฐานแล้วแต่ยังไม่ยอมรับสารภาพ โดยให้ใช้ได้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น เฆี่ยน แต่ไม่ให้ถึงแก่ชีวิต. |
เจ้าหนี้บุริมสิทธิ | น. บุคคลผู้ซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด. |
ฉมบ ๒ | (ฉะมบ) น. ไม้ปักเป็นเครื่องหมายกำหนดแนวหรือตำแหน่งสำหรับขุดหลุมจะปลูกเรือน, ชะมบ ก็ว่า. |
ฉลาก | (ฉะหฺลาก) น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทำเป็นเครื่องหมายกำหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น |
ชะมบ | น. ไม้ปักเป็นเครื่องหมายกำหนดแนวหรือตำแหน่งสำหรับขุดหลุมจะปลูกเรือน, ฉมบ ก็ว่า. |
เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม | ก. เช่าที่ดินของผู้อื่นเพื่อการทำนา ทำสวน ทำไร่ ทำนาเกลือ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด. |
ทายาทโดยธรรม | น. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดกของผู้ตาย ได้แก่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลำดับและส่วนแบ่งที่กฎหมายกำหนดไว้. |
ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา | น. การประชุมของผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาทุกคนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด เช่น การวินิจฉัยปัญหาในคดีตามที่ประธานศาลฎีกาเห็นสมควร หรือการเลือกองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง. |
น่านน้ำไทย | น. บรรดาน่านน้ำที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย และในบางกรณีกฎหมายกำหนดให้หมายความรวมถึงน่านน้ำที่อยู่ในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยด้วย. |
นิรโทษกรรม | ในทางกฎหมายอาญา หมายถึง การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด. |
โน้ต ๑, โน้ตเพลง | น. เครื่องหมายกำหนดเสียงดนตรี. |
บรรลุนิติภาวะ | ก. มีอายุถึงกำหนดที่กฎหมายให้พ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์และให้มีความสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายทั้งปวงได้โดยสมบูรณ์ด้วยตนเอง โดยกฎหมายกำหนดให้บุคคลพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อผู้เยาว์ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย. |
บุริมสิทธิ | (บุริมมะสิด) น. สิทธิของเจ้าหนี้ที่มีเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด. |
เปรียบเทียบ | น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดค่าปรับผู้กระทำผิดในคดีอาญาที่กฎหมายกำหนดให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญาเป็นอันเลิกกัน. |
ผู้เสียหาย | น. ในทางอาญาหมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ตามที่กฎหมายกำหนด. |
ผูกหู | ก. ทำเครื่องหมายกำหนดไว้เพื่อกรรมสิทธิ์หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง, กำหนดไว้, จองไว้. |
พนักงานเจ้าหน้าที่ | น. บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ปฏิบัติการและบังคับการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด. |
ภาษี | น. เงินที่มีกฎหมายกำหนดให้รัฐหรือท้องถิ่นเรียกเก็บจากบุคคลในเหตุต่าง ๆ เช่น การมีรายได้ การมีทรัพย์สิน การประกอบกิจการ การบริโภค เพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศหรือท้องถิ่น เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ภาษีบำรุงท้องที่ | น. ภาษีที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บจากผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดินที่ไม่ใช่ของเอกชน โดยคำนวณตามจำนวนเนื้อที่ดินที่มีหรือครอบครองตามราคาปานกลางที่ทางราชการประกาศกำหนด. |
ภาษีสรรพสามิต | (-สับพะ-, -สันพะ-) น. ภาษีที่กรมสรรพสามิตเรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิตหรือนำเข้าและการให้บริการในทางธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีสุรา. |
สถานบริการ | น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในการค้า เช่น (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง เป็นปกติธุระประเภทที่มีและประเภทที่ไม่มีคู่บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือมีบริการเกี่ยวกับดนตรีหรือบริการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ลูกค้า เว้นแต่การให้บริการการนวดบางประเภท. |
สลาก ๑ | (สะหฺลาก) น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทำเป็นเครื่องหมายกำหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น เช่น สลากภัต |
สำนักงานวางทรัพย์ | น. สถานที่ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เอาเงินหรือทรัพย์ไปวางไว้เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้. |
เหตุบรรเทาโทษ | น. เหตุต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีอำนาจลดโทษให้แก่ผู้กระทำความผิด เช่น ความโฉดเขลาเบาปัญญา การตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา. |
อายุความ | น. ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้บังคับสิทธิเรียกร้อง บังคับคดี ฟ้องหรือร้องทุกข์ในคดีอาญา. |
program | (me) (โพร'แกรม) n. รายการ, กำ-หนดการ, หมายกำหนดการ, โปรแกรม, ระเบียบวาระ, การแสดง, แผน, โครงการ, ผัง vi., vt. กำหนดรายการ, กำหนดระเบียบวาระ, กำหนดแผน., See also: programmable adj. programable adj. |
quorum | (ควอ'รัม) n. องค์ประกอบ, องค์ประชุม, จำนวนบุคคลที่กฎหมายกำหนด |
schedule | (เชด'ดูล, สเคด'ดูล) n. รายการ, รายละเอียด, หมายกำหนดการ, ตารางเวลา, ตาราง, แผนการ, กำหนดการประจำวัน. vt. กำหนดการ, กำหนด, เรียงลำดับ, วางแผน, See also: schedular adj., Syn. timetable, agenda |
statute of limitations | n. อายุความ, กฎหมายกำหนดระยะเวลาการบังคับตามกฎหมาย |