หรดี | (หอระดี) น. ทิศตะวันตกเฉียงใต้. |
ทศทิศ | น. ทิศทั้ง ๑๐ คือ ทิศทั้ง ๘ คือ อุดร อีสาน บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม พายัพ รวมกับทิศเบื้องบน และทิศเบื้องล่าง. |
ทักษา | น. เรียกดาวพระเคราะห์เฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจำทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจำทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจำทิศอาคเนย์ ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจำทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจำทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจำทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจำทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้
|
ร | (รอ) พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เรียกว่า รอ เรือ เป็นอักษรตํ่า ใช้เป็นพยัญชนะต้น และเป็นตัวสะกดในมาตรากนหรือแม่กน เช่น การ วาร, เมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีพยางค์อื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียงประสมสระ ออ และตัว ร ออกเสียง ระ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี). |
อัฐเคราะห์ | น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจําทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจําทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจําทิศอาคเนย์ ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจําทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจําทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจําทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจําทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจําทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้
ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไปตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรี และศุกร์เป็นกาลกรรณี. |