หลักแหล่ง | น. ที่ซึ่งอยู่ประจำ เช่น ทำงานเป็นหลักแหล่ง ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง. |
กาหลงรัง | น. ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้วไม่ยอมกลับบ้านของตน, ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง. |
คนจร | น. คนแปลกหน้า, คนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง. |
จรจัด | (จอน-) ว. ร่อนเร่และไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง. |
เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด | น. ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง. |
นิคม | น. หมู่บ้านขนาดใหญ่, ถิ่นฐานหรือชุมชนที่เกิดขึ้นจากการตั้งหลักแหล่ง, หมู่บ้านใหญ่หรือตำบลที่ประชาชนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่เพื่อประกอบอาชีพเป็นหลักฐาน เช่น นิคมสร้างตนเอง นิคมอุตสาหกรรม. |
นิคมสร้างตนเอง | น. บริเวณที่ดินของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้ราษฎรที่ขาดแคลนที่ดินทำกินได้มีที่ตั้งเคหสถานและประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักแหล่งในที่ดินนั้น. |
เป็นที่ ๑, เป็นที่เป็นทาง | ว. มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน เช่น เขาอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง |
ผีไม่มีศาล | ว. ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง. |
พื้นเพ | น. หลักแหล่ง เช่น พื้นเพเป็นคนนครปฐม, อาชีพของวงศ์ตระกูล เช่น พื้นเพเป็นพ่อค้า. |
รกราก | น. ภูมิลำเนาเดิม, บ้านเกิด, หลักแหล่ง, เช่น คุณมีรกรากอยู่ที่ไหน |
ลงหลักปักฐาน | ก. ตั้งที่อยู่ทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง. |
ลอย | ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง, ไม่มีตำแหน่งหรือหน้าที่การงานเป็นหลักแหล่ง, เช่น เป็นพ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา |
สังกัด | น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมการศาสนาอยู่ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. |
หลักลอย | ว. ไม่มีหลักแหล่ง, ไม่อยู่เป็นที่, เชื่อถือไม่ได้, เช่น เขาเป็นคนหลักลอย. |
หัวนอนปลายตีน | น. หลักแหล่ง, เทือกเถาเหล่ากอ, เช่น คนคนนี้ไว้ใจยากเพราะไม่รู้หัวนอนปลายตีนของเขา. |
resident | (เรส'ซิเดินทฺ) n. ผู้อยู่อาศัย, แพทย์ที่กำลังฝึกหัดความชำนาญสาขาหนึ่งใดในโรงพยาบาล adj. ซึ่งอยู่อาศัย, ประจำอยู่, อยู่เป็นหลักแหล่ง, ในเนื้อแท้, See also: residentship n. |
unsettled | (อันเซท'เทิลดฺ) adj. ไม่เป็นหลักแหล่ง, ไม่อยู่กับ, ไม่มั่นคง, ไม่เป็นระเบียบ, ไม่ได้ชำระสะสาง, หลักลอย, ไม่มีผู้คนอยู่อาศัย, ไม่ตัดสินใจแน่นอน, ผันแปร., See also: unsettledness n. |