อสูร | (อะสูน) น. ยักษ์, ในบทกลอนใช้ว่า อสุรา อสุรี หรือ อสุเรศ ก็มี. |
กุมภัณฑ-, กุมภัณฑ์ | (-พันทะ-) น. ยักษ์ เช่น หนึ่งท่าทานพกุมภัณฑ์คันธอสูร โสรจสินธุสมบูรณ์ ณ สระ (สมุทรโฆษ) |
จระกล้าย | (จะระ-) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล (ม. คำหลวง กุมาร). |
ทานพ | (-นบ) น. อสูรจำพวกหนึ่งในนิยาย. |
แทตย์ | น. ยักษ์, อสูร. |
ยักษ์ | น. อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดำอำมหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จำแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคำว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี |
รากษส | (รากสด) น. ยักษ์ร้าย, ผีเสื้อนํ้า, ชื่อพวกอสูรชั้นต่ำ มีนิสัยดุร้าย ในคัมภีร์โลกทีปกสารว่า เป็นบริวารของพญายม, ในคัมภีร์โลกบัญญัติว่า เป็นบริวารของพระวรุณ, ใช้ รากโษส ก็มี. |
ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑ | น. ชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสเป็นเพราะดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ถูกราหูอมเอาไว้, ในตำราโหรว่า เป็นเทวดาพระเคราะห์ มีอาภรณ์และพาหนะสีคลํ้า |
ลาญทัก | ก. กระทืบจนแหลกลาญ เช่น อสูรแลงลาญทัก ททัคนิจรนาย (แช่งน้ำ). |
หน้าร่าหุ์, หน้าราหู | น. ชื่อลายไทยแบบหนึ่งอยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทำเป็นหน้าอสูรที่ชื่อราหู เช่นตรงกลางพัดยศพระราชาคณะชั้นสามัญหรือที่โล่, หน้าขบ ก็เรียก. |
อสุรา, อสุรี, อสุเรศ | น. อสูร, ยักษ์. |