กระตั้ว | น. ชื่อนกปากขอหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Psittacidae ลักษณะคล้ายนกแก้วแต่ตัวโตกว่า พบในทวีปออสเตรเลียและบริเวณใกล้เคียง เช่น กระตั้วหงอนเหลือง [ Cacatua galerita (Latham) ] กระตั้วดำ [ Probosciger aterrimus (Gmelin) ] . |
การเวก ๒ | (การะ-) น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Paradisaeidae แต่ละชนิดมีสีสันหลากหลาย อาจมี ๕-๑๐ สีในตัวเดียวกัน ตัวผู้สีสดกว่าตัวเมีย พบในเกาะนิวกินี เกาะใกล้เคียง และทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย ในประเทศไทยมีผู้นำมาเลี้ยงตามบ้าน เช่น ชนิด Paradisea apoda Linn. |
เครือจักรภพ, เครือรัฐ | (-จักกฺระพบ, -รัด) น. กลุ่มประเทศหรือรัฐที่มีการปกครองตนเอง แต่ยอมรับนับถือประมุขร่วมกัน เช่น ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ รัฐต่าง ๆ ในเครือรัฐออสเตรเลีย. |
จิงโจ้ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Macropodidae ขาคู่หน้าสั้น คู่หลังยาวและแข็งแรง ใช้กระโดดได้ไกล ๆ หางยาวและแข็งแรงใช้เป็นอวัยวะช่วยในการทรงตัว ตัวเมียออกลูกเป็นตัว ไม่มีรก มีถุงที่หน้าท้องสำหรับใส่ลูก มีหลายชนิด เช่น ชนิด Macropus rufus (Desmarest) มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย. |
ดอลลาร์ | น. ชื่อหน่วยเงินตราที่ใช้เรียกในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย. |
ทวีป | (ทะวีบ) น. เปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นดินซึ่งมีขนาดใหญ่โตกว้างขวาง มี ๗ ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดนํ้าล้อมรอบเป็นขอบเขต เช่น ทวีปออสเตรเลีย ทวีปแอนตาร์กติกา บางทวีปกำหนดภูเขา ทะเล แหล่งอารยธรรมเป็นต้น เป็นแนวแบ่งเขต เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป |
ทอร์นาโด | น. ชื่อพายุประจำถิ่นชนิดหนึ่ง มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒-๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมีความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลางพายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรืองวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของสหรัฐอเมริกาและทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก. |
โนรี ๑ | น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Psittacidae ตัวมีสีสันสวยงาม เช่น สีแดงสดหรือเลือดหมู นํ้าเงิน ม่วง เขียว ปีกสีเขียวหรือเหลือง หางสั้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะนิวกินี อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย มีหลายชนิด เช่น ชนิด Lorius chlorocercus Gould, L. lorry (Linn.), L. garrulus (Linn). |
พายุทอร์นาโด | น. พายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒-๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมีความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลางพายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรืองวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของสหรัฐอเมริกาและทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก. |
หงส์หยก | น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กชนิด Melopsittacus undulatus (Shaw) ในวงศ์ Psittacidae ตัวมีหลายสี เช่น เขียว เหลือง ฟ้า ขาว กินเมล็ดพืช เป็นนกที่นำเข้ามาในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย. |
อีมู ๑ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Dromaius novaehollandiae (Latham) ในวงศ์ Dromaiidae ลำตัวสีเทาอมดำ สูงประมาณ ๕ ฟุต ปีกเล็กมาก บินไม่ได้ มีนิ้วตีน ๓ นิ้ว เล็บแหลมคมใช้ในการต่อสู้ เป็นนกที่นำเข้ามาในประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปออสเตรเลีย. |
Art, Australian | ศิลปะออสเตรเลีย [TU Subject Heading] |
Arts, Australian | ศิลปกรรมออสเตรเลีย [TU Subject Heading] |
Australia | ออสเตรเลีย [TU Subject Heading] |
Australian aborigines | ชนพื้นเมืองออสเตรเลีย [TU Subject Heading] |
Investments, Australian | การลงทุนของออสเตรเลีย [TU Subject Heading] |
Painting, Australian | จิตรกรรมออสเตรเลีย [TU Subject Heading] |
Western Australia | ออสเตรเลีย (ภาคตะวันตก) [TU Subject Heading] |
ASEAN-Australia Development Cooperation Programme | โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาอาเซียน-ออสเตรเลีย เป็นกรอบความร่วมมือระยะ 5 ปี ที่ออสเตรเลียให้ความร่วมมือกับ อาเซียนในด้านโครงการพัฒนากับอาเซียน โดยจะเริ่มโครงการครั้งแรกระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2544-2549 มีมูลค่ารวม 45 ล้านเหรียญออสเตรเลีย ซึ่งอาเซียนต้องออกเงินสมทบโครงการอีกร้อยละ 20 อนึ่ง AADCP เป็นโครงการความร่วมมือที่เกิดขึ้นเพื่อทดแทน AAECP (ASEAN-Australia Economic Cooperation Programme หรือ โครงการร่วมมือด้านเศรษฐกิจอาเซียน-ออสเตรเลีย) ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2546 [การทูต] |
ASEAN-Australia Forum | การประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย เป็นการประชุมระดับอธิบดี จัดขึ้นทุกๆ 18 - 24 เดือน โดยหัวหน้าคณะ ผู้แทนของออสเตรเลียและประเทศผู้ประสานงานของอาเซียนจะเป็นระดับเจ้าหน้าที่ อาวุโส (ปลัดกระทรวงฯ) และเป็นประธานร่วมของการประชุม เพื่อหารือและกำกับดูแลความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้าน [การทูต] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
ASEAN Free Trade Area - Australia-New Zealand Closer Economic Relations Trade Agreement (ANZCERTA or CER) | ความร่วมมือระหว่างเขตการค้าเสรีอาเซียนและกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การค้าออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เป็นความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน ความร่วมมือทางวิชาการ ด้านศุลกากร การขนส่ง การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านมาตรฐานและการรับรองระหว่างกัน [การทูต] |
Australia Agency for International Development | หน่วยงานด้านความช่วยเหลือด้านการพัฒนาของออสเตรเลีย [การทูต] |
Australia-Thailand Business Council | สภาธุรกิจไทย-ออสเตรเลีย เป็นเวทีความร่วมมือด้านธุรกิจระหว่าง 2 ประเทศ [การทูต] |
Australia New Zealand Army Corps Day | วันที่ระลึกทหารผ่านศึกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2458 หน่วยปฏิบัติการร่วมของกองทัพบกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ยกพลขึ้นบกบนคาบ สมุทรกาลิโปลี (Gallipoli) ช่องแคบดาร์ดาแนล (Dardanelles) ประเทศตุรกีเพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรไปสู่ทะเลดำใน สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งสองประเทศจึงถือเอาวันที่ 25 เมษายนของทุก ๆ ปี เป็นวันที่ระลึกและจัดพิธีไว้อาลัยแก่ทหารผ่านศึกในสมรภูมิครั้งนั้นและทหาร ผ่านศึกที่เสียชีวิตในสมรภูมิอื่น ๆ ด้วย [การทูต] |
Australia-New Zealand-US | สนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์-สหรัฐอเมริกา " โดยตกลงให้มีการช่วยเหลือประเทศสมาชิกเมื่อถูกคุกคามจากประเทศนอกภาคี ปัจจุบัน ANZUS ยังคงสถานะอยู่แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ (non-operational) เนื่องจากความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับนิวซีแลนด์ยุติลง โดยนิวซีแลนด์ยังไม่ละทิ้งสนธิสัญญา ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีการรื้อฟื้นขึ้นอีก " [การทูต] |
Asia Pacific Economic Cooperation | ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก " เป็นกระบวนการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีเป้าหมายในการเปิดการค้าเสรีและการลงทุน ภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับสมาชิกพัฒนาแล้ว และปี พ.ศ. 2563 สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนา ขณะนี้มีสมาชิกประกอบด้วย ออสเตรเลีย บรูไน ดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกีนี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้ง " [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
ASEAN Dialogue Partners | คู่เจรจาอาเซียน " ประกอบด้วย 9 ประเทศ 1 กลุ่มประเทศ และ 1 องค์การระหว่างประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยคู่เจรจาเหล่านี้ (ยกเว้นโครงการพัฒนาแห่งสห- ประชาชาติ) จะเข้าร่วมการประชุม PMC ด้วย " [การทูต] |
Bangkok Process | เป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรี เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นระหว่างกันอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์เกี่ยวกับแนวทางในการสนับ สนุนกระบวนการสร้างความปรองดองภายในชาติและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าตาม ?Roadmap towards Democracy in Myanmar? เดิมเรียกว่า Forum on International Support for National Reconciliation in Myanmar ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งแรกเมื่อ 15 ธันวาคม 2546 ที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ และไทย รวมทั้งนาย Razali Ismail เป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยพม่าเข้าร่วม [การทูต] |
The Conference on Interaction and Confidence-Building Measures in Asia | การประชุมว่าด้วยการแสวงหามาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (ด้านความมั่นคง) ในเอเชีย " CICA ได้รับการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยความริเริ่มของคาซัคสถาน และมีสมาชิกเข้าร่วม 16 ประเทศ ได้แก่ คาซัคสถาน อินเดีย ปากีสถาน ปาเลสไตน์ รัสเซีย ตุรกี จีน อิสราเอล อิหร่าน อัฟกานิสถาน อียิปต์ อาเซอร์ไบจาน มองโกเลีย คีร์กิซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน และประเทศผู้สังเกตการณ์อีก 10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ยูเครน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไทย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และเลบานอน " [การทูต] |
Commonwealth of Nations | การรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต] |
East Asia Latin American Forum | เวทีหารือระหว่างภูมิภาคเอเชียตะวันออกและลาตินอเมริกา " ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศจาก ภูมิภาคลาตินอเมริกา 12 ประเทศ เม็กซิโก ปานามา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอลา เปรู บราซิล ชิลี อาร์เจนตินา อุรุกวัย ปารากวัย และโบลิเวีย " [การทูต] |
Forum for East Asia - Latin America Cooperation | เวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกและลาตินอเม ริกา สมาชิก 32 ประเทศ จากภูมิภาคเอเชียและลาตินอเมริกา โดยมีสมาชิก จากฝ่ายเอเชีย 15 ประเทศ คือ กลุ่ม ASEAN (10 ประเทศ) จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และจากฝ่ายลาตินอเมริกา 17 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก กัวเตมาลา เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา นิการากัว คิวบา ปานามา เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา บราซิล โบลิเวีย เอกวาดอร์ ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินา และชิลี วัตถุประสงค์ จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่าง -ประเทศทุก 2 ปี ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ปีละ 2 ครั้ง และคณะทำงาน 3 คณะ ปีละ 2 ครั้ง (คณะทำงานด้านการเมือง วัฒนธรรม และการศึกษา / ด้านเศรษฐกิจและสังคม / และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเวทีปรึกษาหารือและร่วมมือกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างประเทศเอเชียและ ลาตินอเมริกา โดยมีเป้าหมายไปที่การดำเนินโครงการความร่วมมือในทุกสาขาที่ประเทศสมาชิกมี ความสนใจร่วมกัน [การทูต] |
Five Power Defence Arrangement | ความตกลงด้านการป้องกันประเทศระหว่างสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอังกฤษ จัดให้มีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 [การทูต] |
High Commiissioner | ข้าหลวงใหญ่ หรือผู้แทนทางการทูตของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกสังกัดเครือจักรภพอังกฤษ (The Commonwealth of Nations) และประจำอยู่ ณ ประเทศของสมาคมนี้ด้วยกัน แท้ที่จริงแล้วตำแหน่งนี้ก็เท่ากับตำแหน่งเอกอัคร ราชทูตในกรณีของประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกสังกัดในเครือจักรภพนั่นเอง เช่น ในกรณีที่ผู้แทนทางการทูตของประเทศแคนาดาไปประจำ ณ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองเป็นประเทศในเครือจักรภพด้วยกัน เขาจะเรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า High Commissioner ไม่ใช้คำว่า Ambassador แต่ถ้าผู้แทนทางการทูตของแคนาดาไปประจำประเทศนอกเครือจักรภพ เช่น ประเทศไทย ก็จะเรียกผู้แทนทางการทูตของแคนาดานั้นว่า เอกอัครราชทูต (Ambassador) [การทูต] |
Ministry of Foreign Affairs | กระทรวงการต่างประเทศ ในแต่ละประเทศอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป อาทิ Department of State ของสหรัฐอเมริกา (Secretary of State รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ) Department of Foreign Affairs and Trade (DFAT) ของออสเตรเลีย Ministry of Foreign Affairs and Trade (MFAT) ของนิวซีแลนด์ เป็นต้น [การทูต] |
Pacific Islands Forum | PIF เป็นองค์กรระดับภูมิภาคของประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 เพื่อขยายความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาที่ยั่งยืน ธรรมาภิบาลและความมั่นคง ปัจจุบันมีสมาชิก 16 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นาอูรู หมู่เกาะคุก ตองกา ฟิจิ ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปาปัวนิวกีนี วานูอาตู ปาเลา ไมโครนีเซีย คิริบาส นีอูเอ และตูวาลู มีประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) จำนวน 12 ประเทศและ 1 กลุ่มเศรษฐกิจ ประกอบด้วย แคนาดา จีน ฝรั่งเศส อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ไทย และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังมีประเทศผู้สังเกตการณ์ (Observer Status) อีก 3 ประเทศ คือ ติมอร์เลสเต นิวแคลิโดเนีย และเฟรนซ์โปลินีเซีย สำนักเลขาธิการ PIF ตั้งอยู่ที่กรุงซูวา ประเทศฟิจิ [การทูต] |
Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] |
Southeast Asia Collective Defense Treaty (Mahila Pact) | สนธิสัญญาซีโต้ สนธิสัญญานี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ประเทศที่ลงนามในสนธิสัญญามีประเทศออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ประเทศไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สนธิสัญญาได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955ในภาคอารัมภบทของสัญญานี้ บรรดาประเทศสมาชิกต่างแสดงความปรารถนาที่จะประสานความพยายามของตนที่จะ ป้องกันร่วมกัน เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง โดยเฉพาะข้อ 4 ของสนธิสัญญาเป็นข้อสำคัญที่สุด คือ แต่ละประเทศภาคีคู่สัญญาตกลงเห็นพ้องกันว่า หากดินแดนของประเทศใดถูกรุกรานจาการโจมตีด้วยกำลังอาวุธ ประเทศภาคีทั้งหมดที่เหลือจะถือว่าเป็นอันตรายร่วมกัน และจะปฏิบัติการเพื่อเผชิญหน้ากับอันตรายร่วมกัน หรือถ้าหากพื้นที่ภายในเขตครอบคลุมของสนธิสัญญาถูกคุกคามด้วยประการใด ๆ ประเทศภาคีทั้งหมดจะปรึกษากันในทันที เพื่อตกลงในมาตรการเพื่อการป้องกันร่วมกันสำนักงานใหญ่ขององค์การซีโต้ตั้ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองของโลกได้เปลี่ยนไปมากทำให้องค์การซีโต้หมดความ จำเป็น และได้ยุบเลิกไปนานแล้ว [การทูต] |
South Pacific Forum | เวทีหารือของกลุ่มประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 ประเทศสมาชิกประกอบด้วย ออสเตรเลีย หมู่เกาะคุก ไมโครนีเซีย คีรีบาส หมู่เกาะมาร์แชล เนารู นิวซีแลนด์ นุย ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู ซามัวตะวันตก วานูอาตู ตองกา ฟิจิ " [การทูต] |
Antigens, Australia | ออสเตรเลียแอนติเจน [การแพทย์] |
Australian Red Cross | สภากาชาดออสเตรเลีย [การแพทย์] |
Australian Science and Technology Council | สภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งออสเตรเลีย [การแพทย์] |
Cockroaches, Australian | แมลงสาบออสเตรเลีย [การแพทย์] |
Encephalitis, Australian X | ออสเตรเลียนเอกซ์เอนเซฟาไลติส [การแพทย์] |
Skylab | สกายแลบ, ห้องปฏิบัติการอวกาศของสหรัฐอเมริกา ขึ้นไปโคจรอยู่ในอวกาศรอบโลกเมื่อวันที่14 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และตกลมาสู่โลกบริเวณมหาสมุทรอินเดียและที่ว่างภาคเหนือของประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
tornado | พายุทอร์เนโด, พายุที่เกิดจากการหมุนเวียนของอากาศภายใต้เมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้างยื่นปลายงวงลงมาจากฐานเมฆ ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 160-480 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นพายุที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เกิดมากในออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Aborigine | (n) ชนพื้นเมืองในทวีปออสเตรเลีย, See also: ชนเผ่าอะบอริจิน |
Australia | (n) ประเทศออสเตรเลีย |
Australia | (n) ออสเตรเลีย |
Australian | (n) ชาวออสเตรเลีย |
Australian | (adj) ที่เกี่ยวกับออสเตรเลีย |
Canberra | (n) เมืองหลวงของประเทศออสเตรเลีย, See also: เมืองแคนเบอรา |
cockatoo | (n) นกชนิดหนึ่งตระกูลเดียวกับนกแก้วมีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลีย |
Eastern hemisphere | (n) ครึ่งโลกด้านตะวันออก (ด้านตะวันออกของเส้นสมมติ Greenwich) ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลียและส่วนใหญ่ของยุโรป |
echidna | (n) ตัวตุ่น, See also: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมของออสเตรเลีย กินแมลง มีจมูกยาว มีขนหยาบและหนามยาว, Syn. spiny anteater |
emu | (n) นกชนิดหนึ่งในประเทศออสเตรเลียบินไม่ได้คล้ายกับนกกระจอกเทศ, See also: นกอีมู |
eucalyptus | (n) ต้นยูคาลิปตัส, See also: ต้นไม้ที่มีแหล่งกำเนิดในออสเตรเลียมีใบหยาบและมีกลิ่นหอม น้ำมันของต้นไม้ชนิดนี้สามารถ |
hail up | (phrv) พักค้างคืนในโรงแรม (ใช้ในภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย และเป็นคำไม่เป็นทางการ) |
lyrebird | (n) นกชนิดหนึ่งพบในประเทศออสเตรเลียตัวผู้มีหางยาว |
macadamia | (n) ถั่วออสเตรเลียจำพวก Macadamia ternifolia เปลือกแข็ง |
macadamia nut | (n) ถั่วออสเตรเลีย, Syn. macadamia |
Malay Archipelago | (n) หมู่เกาะมลายูอยู่ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย |
New South Wales | (n) รัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย |
Oceania | (n) หมู่เกาะทางแปซิฟิก, See also: ได้แก่ Mironesia, Melanesia, Polynesia และเกาะบางส่วนในออสเตรเลียและมาเลย์, Syn. Oceanica |
outback | (n) ชนบท (โดยเฉพาะในออสเตรเลีย), See also: พื้นที่ห่างไกลความเจริญ |
Oz | (n) ออสเตรเลีย (คำไม่เป็นทางการ) |
down under | (sl) ประเทศออสเตรเลีย, See also: ดินแดนในประเทศออสเตรเลีย |
Tasmania | (n) รัฐทัสมาเนีย (ของออสเตรเลีย) |
turps | (n) เหล้า (ใช้ในออสเตรเลีย), See also: เครื่องดื่มมีอัลกอฮอล์ |
walkabout | (n) การเดินทางในป่าของชนเผ่าอะบอริจิ้นในออสเตรเลีย |
washup | (n) ผลที่ได้ (เป็นคำที่ใช้กันในออสเตรเลีย), Syn. outcome |
watchband | (n) สายนาฬิกาข้อมือ, See also: เป็นคำที่ใช้กันในสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และออสเตรเลีย |
wombat | (n) สัตว์พื้นเมืองออสเตรเลียคล้ายหมีตัวเล็กหรือจิงโจ้, See also: สัตว์คล้ายจิงโจ้ที่มีถุงกระเป๋าหน้าท้องและกินพืชเป็นอาหาร ชื่อละตินคือ ombatus ursinus Lasiorhinus latifrons |
woodchop | (n) การแข่งขันตัดไม้, See also: จัดขึ้นตามงานในชนบทของประเทศออสเตรเลีย |
wowser | (n) ผู้เคร่งศาสนาเกินไป (ใช้ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์), Syn. puritan |
yabber | (vi) พูดรัว (แบบออสเตรเลีย-ไม่เป็นทางการ), See also: พูดอย่างเร็ว |
yabber | (vt) พูดรัว (แบบออสเตรเลีย-ไม่เป็นทางการ), See also: พูดอย่างเร็ว |
yabber | (n) การพูดที่เร็วและเข้าใจยาก (แบบออสเตรเลีย) |
yakka | (n) งาน (แบบออสเตรเลียและนิวซีแลนด์) (คำไม่เป็นทางการ), See also: การทำงาน |
aalii | (อะลี' อี) n. ชื่อต้นไม้จำพวก Dodonaea viscosa ในออสเตรเลีย ฮาวาย อาฟริกา และอเมริกากลาง (a bushy shrub) |
adductor | (อะดัค' เทอะ) n. กล้ามเนื้อที่ดึงAdelaide (แอด' ดิเลด) ชื่อเมืองในออสเตรเลีย |
arunta | (อะรัน'ทะ) n. คนป่าที่เป็นคนพื้นเมืองแต่แรกเริ่มในภาคกลางและเหนือของออสเตรเลีย |
arvo | (อาร์'โว) n. ตอนบ่าย (คำแสลงของภาษาออสเตรเลีย) (afternoon) |
aussie | (ออส'ซี) n. ชาวออสเตรเลีย |
australasia | (ออสทระเล'เชียะ, -ชะ) n. ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาะข้างเคียงใน |
australia | (ออสเทร'เลีย) n. ประเทศออสเตรเลีย |
australian | (ออสเทร'เลียน) adj. เกี่ยวกับออสเตรเลีย -n. ชาวออสเตรเลีย, ชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย, ภาษาออสเตรเลีย |
australian aborigine | ชาวพื้นเมืองออสเตรเลียมีผิวดำ |
australoid | (อสส'พระลอยด์) n. มนุษย์เผ่าพันธ์หนึ่งที่รวมทั้งชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย Papuans คนแระในฟิลิปปินส์ มาเลเซีย. -adj. เกี่ยวกับมนุษย์เผ่าพันธุ์ดังกล่าว |
blackfellow | n. คนป่าพื้นเมืองของออสเตรเลีย |
budgerigar | (บัดจะริกา') n. นกแก้วออสเตรเลียมีขนสีเขียวเป็นลายดำและเหลือง |
canberra | n. ชื่อเมืองหลวงของออสเตรเลีย |
papua | n. อาณาบริเวณหนึ่งของออสเตรเลียเมื่อก่อน |
phalanger | (ฟะแลน'เจอะ) n.สัตว์มีถุงหน้าท้องในตระกูล Phalangeridae พบในออสเตรเลีย |
victoria | (วิคโท'เรีย) n. กษัตริย์อังกฤษและครองอินเดีย (ค.ศ.1876-1901) , เทพธิดาโรมันโบราณแห่งชัยชนะ, ชื่อรัฐในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย, ชื่อเมืองหลวงและเมืองท่าของฮ่องกง, ชื่อเมืองท่าในแคนาดา, ชื่อเมืองในตอนใต้ของมลรัฐเท็กซัส, See also: victress n. หญิงผ |