Barn, b | บาร์น, หน่วยพื้นที่ภาคตัดขวางของอะตอม นิวเคลียส อิเล็กตรอน และอนุภาคอื่นๆ ที่แสดงโอกาสในการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ 1 บาร์น มีค่าเท่ากับ 10–24 ตารางเซนติเมตร (ดู cross section ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Burnable poison | สารพอยซันเสื่อมสภาพได้, สารดูดกลืนนิวตรอน เช่น โบรอน ที่ผสมไว้ในแท่งเชื้อเพลิงหรือเปลือกแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในระยะแรก ซึ่งมีปริมาณเชื้อเพลิงมาก หลังจากใช้งานไประยะหนึ่งจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสารที่ไม่ดูดกลืนนิวตรอน เป็นการชดเชยผลจากเชื้อเพลิงที่ถูกใช้ไป และการสะสมตัวของผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสที่ดูดกลืนนิวตรอนที่เกิดขึ้นในเชื้อเพลิง ทำให้อายุการใช้งานของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ยาวนานขึ้น [นิวเคลียร์] |
Chain reaction, Fission | ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียส, ปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสที่สามารถเกิดขึ้นซ้ำๆ ได้เอง โดยนิวเคลียสจะดูดกลืนนิวตรอนแล้วเกิดการแบ่งแยกของนิวเคลียสขึ้น พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอนใหม่เพิ่มขึ้นออกมา ซึ่งจะถูกนิวเคลียสอื่นๆ ดูดกลืนต่อไปอีก และทำให้เกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (ดู nuclear fission ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Control rod | แท่งควบคุม, อุปกรณ์ควบคุมกำลังของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีลักษณะเป็นแท่ง แผ่น หรือท่อ ประกอบด้วยสารดูดกลืนนิวตรอน เช่น แฮฟเนียม โบรอน อุปกรณ์นี้อยู่ภายในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และสามารถปรับการเคลื่อนที่เข้าหรือออกเพื่อลดหรือเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์, Example: [นิวเคลียร์] |
Core | แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, บริเวณส่วนกลางเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ประกอบด้วย เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แท่งควบคุม สารหน่วงนิวตรอน และโครงสร้างที่รองรับอุปกรณ์ต่างๆ [นิวเคลียร์] |
Delayed neutrons | ดีเลย์นิวตรอน, นิวตรอนที่ถูกปล่อยออกมาจากผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสในช่วงเวลาหลายวินาทีหรือหลายนาทีภายหลังการเกิดปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียส ดีเลย์นิวตรอนที่เกิดขึ้นนี้มีไม่เกินร้อยละ 1 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการออกแบบและควบคุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (ดู prompt neutrons ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Spallation Neutron Source | ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เครื่องผลิตนิวตรอนชนิดหนึ่ง โดยการเร่งโปรตอนพลังงานสูงกว่า 100 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เข้าชนเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน หรือ ยูเรเนียม ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีการปลดปล่อยนิวตรอนพลังงานเฉลี่ย 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชันเครื่องแรกมีชื่อว่า KENS ตั้งอยู่ที่สถาบัน KEK (Ko Enerugi Kenkyujo) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 [นิวเคลียร์] |
Poison | สารพอยซัน(ต่อปฏิกิริยานิวเคลียร์), วัสดุใดๆ ที่มีภาคตัดขวางการดูดกลืนนิวตรอนสูง ซึ่งจะดูดกลืนนิวตรอนบางส่วนจากปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นผลให้การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ลดลง [นิวเคลียร์] |
Nuclear safety | ความปลอดภัยทางนิวเคลียร์, มาตรการสำหรับป้องกันหรือลดอุบัติเหตุที่จะเกิดจากสถานปฏิบัติการ หรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ รวมทั้งมาตรการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติงาน ประชาชน และสิ่งแวดล้อม ภายหลังเกิดอุบัติเหตุ, Example: [นิวเคลียร์] |
Moderator | ตัวหน่วงความเร็ว(นิวตรอน), วัสดุที่ใช้ลดความเร็วของนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำให้โอกาสของการเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสเพิ่มขึ้น เช่น น้ำ น้ำมวลหนัก และแกรไฟต์ <br>(ดู reflector, absorber และ thermal neutron ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Heavy water reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนัก, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอน และเป็นตัวทำให้เย็น น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอนที่ดีเยี่ยม จึงช่วยเพิ่มโอกาสการเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียส ทำให้สามารถใช้ยูเรเนียมธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงได้โดยไม่ต้องเสริมสมรรถนะ [นิวเคลียร์] |
Heavy water moderated reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนัก, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอน และเป็นตัวทำให้เย็น น้ำมวลหนักเป็นตัวหน่วงความเร็วนิวตรอนที่ดีเยี่ยม จึงช่วยเพิ่มโอกาสการเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียส ทำให้สามารถใช้ยูเรเนียมธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงได้โดยไม่ต้องเสริมสมรรถนะ, Example: [นิวเคลียร์] |
neutron generato | เครื่องกำเนิดนิวตรอน, เป็นเครื่องผลิตนิวตรอนพลังงานสูง โดยการเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น ดิวเทอรอน (deuteron) ให้มีพลังงานจลน์ในช่วง 150-500 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ แล้วให้ชนกับเป้าบางๆ โดยทั่วไปปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใช้ในการผลิตนิวตรอน ได้จากการเร่งดิวเทอรอนให้ชนกับตริเตรียม(tritium) ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ดังสมการ [พลังงาน] |
radiolytic products | เรดิโอไลติกโปรดักส์, คือ สารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีอาหาร เมื่อรังสีทะลุผ่านอาหาร รังสีจะถ่ายเทพลังงานให้โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร เช่น น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า และเกิดปฏิกิริยาเรดิโอไลซิส ได้อนุมูลอิสระซึ่งไม่เสถียร และไปทำปฏิกิริยากับสารที่เป็นองค์ประกอบของอาหาร ได้สารประกอบต่างๆ ที่มีโมเลกุลเล็กลง ซึ่งเรียกโดยรวมว่า เรดิโอไลติก โปรดักส์ การเกิดอนุมูลอิสระนอกจากจะเกิดจากการใช้รังสีแล้ว ยังเกิดจากการใช้ความร้อน เช่น การต้ม การทอด การอบ การย่าง และการปิ้ง และอนุมูลอิสระที่เกิดจากการใช้ความร้อนนี้ทำให้เกิดสารประกอบต่างๆ ที่มี โมเลกุลเล็กลงได้เช่นกัน แต่เรียกโดยรวมว่าเทอร์โมไลติกโปรดักส์ และเมื่อเปรียบเทียบกับเรดิโอไลติกโปรดักส์ พบว่า สารประกอบส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกัน และเป็นสารประกอบที่ตรวจพบได้ในอาหารที่ไม่ได้ฉายรังสี [พลังงาน] |
spallation neutron source | ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เป็นต้นกำเนิดนิวตรอนรุ่นใหม่ จัดเป็นเครื่องผลิตนิวตรอนพลังงานสูงชนิดหนึ่ง มีหลักการทำงานคือ เมื่อยิงโปรตรอนพลังงานสูง (มากกว่า 100 ล้าน อิเล็กตรอนโวลต์) เข้าไปในเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน และยูเรเนียม จะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบสปอลเลชั่น และมีการปลดปล่อยนิวตรอน พร้อมทั้งอนุภาคชนิดอื่นๆ เช่นโปรตรอน และเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องหลั่นกันไป (cascade) ต้นกำเนิดนิวตรอนชนิดนี้ ให้นิวตรอนพลังงานเฉลี่ยประ มาณ 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ จำนวนประมาณ 10-30 เท่าของการยิงโปรตรอน 1 อนุภาค นิวตรอนที่ผลิตขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยด้านต่างๆ ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบ สปอลเลชันเครื่องแรกมีชื่อว่า KENSตั้งอยู่ที่สถาบัน KEK (National Laboratory for High Energy Physics) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ.2523 สำหรับต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน ที่ให้นิวตรอนเข้มข้นสูงสุดในปัจจุบันคือ ISIS ของ Rutherford Appleton Laboratory ประเทศอังกฤษ เริ่มเดินเครื่องในปี พ.ศ. 2527 และให้นิวตรอนฟลักซ์เฉลี่ยประมาณ 1015นิวตรอน/ ตร.ซม.-วินาที และมีฟลักซ์สูงสุดมากกว่า 40 เท่าของฟลักซ์เฉลี่ย [พลังงาน] |
Accelerator | สารเคมีที่เติมลงไปในยางปริมาณเล็กน้อยเพื่อเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยา ให้ยางคงรูปเร็วขึ้น ทำให้ลดเวลาที่ใช้ในการคงรูปยางลง [เทคโนโลยียาง] |
Activator | สารเคมีหรือส่วนผสมของสารเคมีทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตัว เร่งปฏิกิริยาให้สามารถเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น ตัวอย่างของสารกระตุ้นปฏิกิริยาที่ใช้กันมากที่สุดในอุตสาหกรรมยาง ได้แก่ ซิงก์ออกไซด์และกรดสเตียริก [เทคโนโลยียาง] |
Antiozonant | สารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อป้องกันหรือลดการเกิดรอยแตกของยางจากการ เกิดปฏิกิริยาระหว่างโอโซนกับยาง [เทคโนโลยียาง] |
Blowing agent | สารที่มีความเสถียรที่อุณหภูมิห้อง แต่จะสลายตัวที่อุณหภูมิสูงและปล่อยก๊าซออกมา โดยการเกิดปฏิกิริยาเคมี และ/หรือปฏิกิริยาทางความร้อน ทำให้เกิดช่องว่างหรือรูพรุนขึ้นในผลิตภัณฑ์ เช่น การผลิตยางฟองน้ำ (Sponge) ตัวอย่างสารในกลุ่มนี้ได้แก่ โซเดียมไบคาร์บอเนต [เทคโนโลยียาง] |
Cure rate | อัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยาวัลคาไนเซชันของยาง วัดจากการเปลี่ยนแปลงสมบัติของวัลคาไนเซต (vulcanizate) ต่อหนึ่งหน่วยเวลา [เทคโนโลยียาง] |
Cure time | เวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาวัลคาไนเซชันที่อุณหภูมิที่กำหนด ซึ่งสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้โดยขึ้นกับชนิดของยางผสมและความหนาของผลิตภัณฑ์ [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene diene rubber | ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา [เทคโนโลยียาง] |
Hydrogenated acrylonitrile-butadiene rubber | ยางไฮโดรจิเนตอะไครโลไนไทรล์บิวทาไดอีน หรือยาง HNBR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการเกิดปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน (Hydrogenation) ของยาง NBR สมบัติของยาง HNBR มีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน รังสีที่มีพลังงานสูง และโอโซนสูงมาก ใกล้เคียงกับยาง EPDM และเนื่องจากมี CN อยู่ในโมเลกุลทำให้ยางชนิดนี้ทนต่อน้ำมันได้ดี ยาง HNBR มีสมบัติทั่วไปอยู่ระหว่างยาง NBR และยางฟลูออโรคาร์บอน เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูง จึงนิยมใช้ยาง HNBR แทนยาง NBR เฉพาะกรณีที่ต้องการใช้งานในสภาวะที่รุนแรงหรือที่อุณหภูมิสูงเท่านั้น นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีข้อดีเหนือกว่ายางฟลูออโรคาร์บอน คือ มีความทนทานต่อสารตัวเติมที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น สารประกอบเอมีน ได้ดี จึงนิยมใช้ในการผลิตชิ้นส่วนยางที่ใช้ในแท่นขุดเจาะน้ำมัน [เทคโนโลยียาง] |
Kicker | คิกเกอร์ คือ สารกระตุ้นหรือสารตัวเร่งการเกิดเป็นฟอง ทำหน้าที่ลดอุณหภูมิการสลายตัวของสารที่ทำให้เกิดฟอง ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาการเกิดฟองได้เร็วขึ้น มักใช้คู่กับสารทำให้เกิดฟอง ตัวอย่างของคิกเกอร์ ได้แก่ ซิงก์ออกไซด์ เกลือของซิงก์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Optimum cure | สภาวะของยางที่เกิดปฏิกิริยาวัลคาไนเซชันแล้วมีสมบัติตามต้องการ ซึ่งปกติมักจะใช้เวลาที่ 90% ของการเกิดปฏิกิริยาวัลคาไนเซชันเต็มที่ เนื่องจากการรอให้เกิดปฏิกิริยาวัลคาไนเซชั่นเต็มที่ (100%) ใช้เวลานานเกินไป และอาจจะทำให้สมบัติทางฟิสิกส์ด้านอื่นของยางด้อยลง [เทคโนโลยียาง] |
Overcure | สภาวะของยางที่เกิดปฏิกิริยาวัลคาไนเซชันมากกว่าสภาวะที่เหมาะสม (ยางสุก) อาจเกิดจาการใช้เวลาที่นานเกินไปและ/หรืออุณหภูมิสูงเกินไปในการวัลคาไนซ์ และ/หรือมีสารทำให้ยางคงรูปมากเกินไป ซึ่งยางที่ได้มักจะมีสมบัติทางฟิสิกส์ที่ไม่ดี [เทคโนโลยียาง] |
Retarder | สารหน่วงปฏิกิริยา คือ สารเคมีซึ่งลดอัตราเร็วการเกิดปฏิกิริยาเคมี เมื่อนำมาใส่ในยางจะช่วยเพิ่มระยะเวลาก่อนที่ยางจะเริ่มเกิดปฏิกิริยาคงรูป ช่วยลดโอกาสของการเกิดยางตายทั้งในระหว่างการเก็บรักษาและระหว่างกระบวนการ ขึ้นรูป [เทคโนโลยียาง] |
Undercure | สภาวะของยางที่เกิดปฏิกิริยาวัลคาไนเซชันต่ำกว่าสภาวะที่เหมาะสม (ยางไม่สุก) อาจเกิดจาการใช้เวลาที่สั้นเกินไปและ/หรืออุณหภูมิที่ต่ำเกินไปในการวัลคาไน ซ์ และ/หรือสารทำให้ยางคงรูปมีไม่เพียงพอ ซึ่งยางที่ได้มักจะมีสมบัติทางฟิสิกส์ที่ไม่ดี [เทคโนโลยียาง] |
neutralisation | การทำให้เป็นกลาง, การเกิดปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรเนียมไอออนกับไฮดรอกไซด์ไอออนแล้วได้น้ำ ดังตัวอย่างสมการ H3O+ (aq) + OH- (aq) ® 2H2O (l) หรือการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสได้เกลือกับน้ำหรือเกลือเพียงอย่างเดียว เช่น H2SO4(aq) + Ba(OH)2(aq) ® BaSO4(s) + H2O(l) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrode | ขั้วไฟฟ้า, ตัวนำไฟฟ้าที่จุ่มอยู่ในอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งจะเป็นส่วนที่เกิดปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ไฟฟ้าเคมีหรือเซลล์อิเล็กโทรไลต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrochemical cell [ cell ] | เซลล์ไฟฟ้าเคมี, ระบบที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มอยู่ในอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งเมื่อเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์จะให้พลังงานไฟฟ้าออกมา เซลล์ไฟฟ้าเคมีแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เซลล์ไฟฟ้าปฐมภูมิและเซลล์ไฟฟ้าทุติยภูมิ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrolytic cell | เซลล์อิเล็กโทรไลต์, อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มอยู่ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ จะเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ก็ต่อเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสนั่นเอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
inhibitor | ตัวยับยั้ง, สารเคมีที่เติมลงไปในปฏิกิริยาเคมีหนึ่งแล้วทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง หรือหยุดนิ่ง เมื่อปฏิกิริยาเคมีสิ้นสุดแล้วก็ยังคงมีสารนั้นในระบบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
reducing agent | ตัวรีดิวซ์, ตัวให้อิเล็กตรอน, อะตอม โมเลกุล หรือไอออนที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในปฏิกิริยารีดอกซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
catalyst | ตัวเร่งปฏิกิริยา, สารเคมีที่เติมลงไปในปฏิกิริยาเคมีหนึ่งแล้วทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น และเมื่อปฏิกิริยาเคมีสิ้นสุด สารนั้นก็ยังคงมีสมบัติทางเคมีและมีปริมาณคงเดิม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
oxidizing agent | ตัวออกซิไดส์, อะตอมหรือโมเลกุลหรือไอออนที่เกิดปฏิกิริยารีดักชันในปฏิกิริยารีดอกซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chemical reaction | ปฏิกิริยาเคมี, การเปลี่ยนแปลงของสารเกิดเป็นสารใหม่ที่มีสมบัติแตกต่างไปจากเดิม ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานด้วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
charge | การประจุไฟ, การผ่านไฟฟ้ากระแสตรงเข้าไปในเซลล์ไฟฟ้าแบบทุติยภูมิเพื่อทำให้แผ่นโลหะที่ใช้เป็นขั้วไฟฟ้าอยู่ในสภาพที่จะสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีได้เองและให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
activation energy | พลังงานก่อกัมมันต์, พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่โมเลกุลของสารตั้งต้นจำเป็นต้องมีหรือได้รับ จึงจะสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
polymerization | พอลิเมอไรเซชัน, การเกิดพอลิเมอร์, กระบวนการทางเคมีที่สารชนิดเดียวกันหลาย ๆ โมเลกุล (อาจมีตั้งแต่พันถึงหมื่นโมเลกุล) เกิดปฏิกิริยารวมตัวกันภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง ๆ ได้สารที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้นซึ่งเรียกว่า พอลิเมอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photolysis | โฟโตลิซิส, กระบวนการแยกสลายสารประกอบ หรือการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาเคมีโดยพลังงานแสง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
reduce | รีดิวซ์, ทำให้เกิดปฏิกิริยารีดักชัน หรือทำให้รับอิเล็กตรอน หรือทำให้มีเลขออกซิเดชันลดลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
valence electron | เวเลนซ์อิเล็กตรอน, อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานนอกสุดของอะตอมเป็นอิเล็กตรอนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีของธาตุนั้น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
oxidize | ออกซิไดส์, ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน หรือทำให้เสียอิเล็กตรอน หรือทำให้มีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
rate of reaction | อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี, ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นหรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงต่อหน่วยเวลาอัตราการเกิดปฏิกิริยามี 2 ลักษณะ คือ อัตราการเกิดปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่งกับอัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
saturated hydrocarbon | ไฮโดรคาร์บอนประเภทอิ่มตัว, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนประเภทที่พันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอนทั้งหมดในโมเลกุลเป็นพันธะเดี่ยว สามารถเกิดปฏิกิริยาแทนที่ได้ แต่เกิดปฏิกิริยารวมตัวไม่ได้ ได้แก่ สารพวกแอลเคน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fission reaction | ปฏิกิริยาฟิชชัน, ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจากนิวตรอนวิ่งไปชนนิวเคลียสของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม 235 พลูโตเนียม 239 เป็นต้น แล้วทำให้นิวเคลียสแตกตัวเป็นธาตุใหม่ที่เบากว่าเดิม และเกิดนิวตรอนใหม่ 2-3 ตัวพร้อมกับพลังงานจำนวนหนึ่งนิวตรอนใหม่นี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chain reaction | ปฏิกิริยาลูกโซ่, ปฏิกิริยาที่ 1 ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 2 และจากปฏิกิริยาที่ 2 ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 3 เป็นดังนี้เรื่อย ๆ ไป เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งเกิดจากนิวตรอนวิ่งไปชนนิวเคลียสทำให้นิวเคลียสแตกตัว และเกิดนิวตรอนใหม่ และนิวตรอนใหม่นี้จะทำให้นิวเคลียสอื่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heat of reaction | ความร้อนของปฏิกิริยา, ปริมาณความร้อนที่ระบบคายออกหรือดูดเข้าเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
catalysis | คะตะลิซิส, กระบวนการที่ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมีการเปลี่ยนแปลงโดยการเติมตัวเร่งปฏิกิริยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |