Magazine | นิตยสาร, นิตยสาร เขียนทับศัพท์ว่า แมกาซีน, Example: นิตยสาร (Magazine) คือสิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไปผู้อ่านสามารถบอรับเป็นสมาชิกได้ <p>คำว่านิตยสาร มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่านิตยสารโดยทั่วไปอาจมีความหมาย คาบเกี่ยวกับคำว่า วารสารซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอน แต่ในทางบรรณารักษ์ศาสตร์ปัจจุบันเมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มี นิตยสารในอินเทอร์เน็ตซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ยังเรียกกันว่า นิตยสาร <p>เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น อนุสารอสท. ของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิดมีความก้ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่มมีทั้งข่าว วิเคราห์ข่าว และบันเทิงในสัดส่วนที่ พอๆกัน โดยทั่วไปนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่องไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม นิตยสารสำหรับคนอ่านเฉพาะกลุ่มฉบับแรกของโลกตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2274 (สมัยพระเจ้าท้ายสระ) ชื่อนิตยสาร สุภาพบุรุษ (The Gentlemen's Magazine) เลิกกิจการไปเมื่อ พ.ศ.2450 นิตยสารสำหรับผู้บริโภคฉบับแรกของโลกคือ นิตยสารสกอต (The Scots Magazine) ตีพิมพ์ในสกอตแลนด์ เมื่อปี พ.ศ.2282 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และยังคงตีพิมพ์จนถึงปัจจุบันการตีพิมพ์ <p>นิตยสาร เป็นสิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์ออกเผยแพร่ตามกำหนดเวลา หรือคาบเวลาที่แน่นอน เช่น ออกทุกสัปดาห์ หรือออกทุกเดือน ลักษณะโดยทั่วไปเป็นสิ่งพิมพ์ เข้าเล่มแบบเดียวกับหนังสือ<p> <p>วารสารคือ วารสาร เป็นสิ่งพิมพ์ จัดพิมพ์ออกเผยแพร่เป็นคราวๆ หรือเป็นวาระ ซึ่งอาจมีกำหนดเวลาหรือไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนก็ได้ วารสารและนิตยสาร จัดอยู่ในสิ่งพิมพ์ประเภทออกตามรายคาบ หรือออกต่อเนื่องตามลำดับ เนื่องจากสิ่งพิมพ์ประเภทนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ทั้งใน ภาษา ไทยและภาษาอังกฤษ บางคำมีความหมายกว้างๆ ใช้แทนกันได้ แต่บางคำมีความหมายแคบ แสดงถึงลักษณะเฉพาะบางอย่าง จนไม่อาจใช้แทนคำอื่นได้ เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ในที่นี้จึงขอใช้คำว่า "วารสาร" เป็นคำเรียก แทนสิ่งพิมพ์ประเภทนี้ทั้งหมด <p>ลักษณะของวารสาร จาก ความหมายดังกล่าว วารสาร จึงเป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกต่อเนื่องตามกำหนดหรือ ออกตามวาระ สามารถนำมาพิจารณากำหนดเป็นลักษณะของวารสารได้ดังนี้<p> <p> 1. เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Periodical or Serial) มีกำหนดเวลาออก แน่นอนระยะเวลาที่นิยมกำหนดออก เช่น ( วราวุธ ผลานันต์ 2536 : 5-6)<p> -รายสัปดาห์ (Weekly) กำหนดออกสัปดาห์ละครั้ง ปีละ 52 ฉบับ<p> -รายปักษ์ (Fortnightly) กำหนดออกทุก 2 สัปดาห์ ปีละ 26 ฉบับ<p> -รายครึ่งเดือน (Semimonthly) กำหนดออกเดือนละ 2 ครั้ง ปีละ 24 ฉบับ<p> -รายเดือน (monthly) กำหนดออกเดือนละครั้ง ปีละ 12 ฉบับ<p> -รายหกเดือนหรือรายครึ่งปี (Semiannually) กำหนดออกทุก 6 เดือน<p> -รายปี (Annually) กำหนดออกปีละฉบับ<p> นอกจากนี้บางฉบับอาจมีการกำหนดระยะเวลาออกที่แตกต่างออกไปจากที่กล่าวมาแล้ว เช่น รายครึ่งสัปดาห์ (Semiweekly) กำหนดออกสัปดาห์ละ 2 ฉบับ ปีละ 104 ฉบับ รายทศกำหนดออกทุก 10 วัน ปีละ 36 ฉบับ และรายสะดวกมีกำหนดออกไม่แน่นอน ลักษณะความต่อเนื่องของวารสารไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงในฉบับใด<p> <p>2. มีเลขกำกับประจำฉบับ ได้แก่ เลขปีที่ (Volume) เลขฉบับที่ ( Issue Number) และวัน เดือน ปี (Date) การนับลำดับฉบับที่อาจนับเป็นปีๆ เช่น วารสารรายเดือน แต่ละปีจะมีตั้งแต่ฉบับที่ 1-12 หรืออาจนับต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เช่นวารสารรายเดือน ฉบับแรกของปีที่ 2 ก็นับเป็นฉบับที่ 13 นอกจากเลขปีที่ ฉบับที่ และวันเดือนปี ซึ่งเป็นเลขที่ต้องต่อเนื่องเป็นลำดับกันไปแล้วยังมีเลขอีกชุดหนึ่งเป็นเลข เฉพาะที่แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงถือเป็นรหัสประจำวารสารแต่ละชื่อ เพื่อการควบคุมทางบรรณานุกรม ในระบบข้อมูลวารสารระหว่างชาติ เรียกว่า เลขสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number-ISSN) ซึ่งศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติระดับสากล มอบให้ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติ ประจำประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ เป็นผู้กำหนดให้แก่วารสารแต่ละชื่อในประเทศของตน สำหรับประเทศไทยมีหอสมุดแห่งชาติ เป็นศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทย เป็นผู้กำหนดวารสารแต่ละชื่อให้ได้รับหมายเลขสากลประจำวารสาร และจะต้องพิมพ์ไว้ที่หน้าปกหรือหน้าปกใน หรือสันวารสารใกล้ ๆ กับชื่อวารสาร มีอักษร ISSN ตามด้วยเลข อารบิค 8 ตัว มีเครื่องหมายยติภังค์ (-) คั่นระหว่าง เลข 4 ตัวแรก กับเลข 4 ตัวหลัง เช่น วารสาร ซีเนแม็ก ISSN 0858-9305 <p>3. รูปเล่ม มักทำให้มีบางส่วนมีลักษณะเหมือนกันทุกฉบับ เพื่อให้ผู้อ่านสังเกตและจำได้ง่าย เช่น ขนาดความกว้าง ยาว รูปแบบและสีของตัวอักษร ชื่อวารสารที่หน้าปก และสัญลักษณ์ประจำวารสาร <p>4. เนื้อหา ประกอบด้วยบทความหลายบทความ จากผู้เขียนหลาย ๆ คน ถ้าเป็นวารสารมักจะเป็นวิชาการเฉพาะแขนงวิชา ถ้าเป็นนิตยสารมักจะมีบทความทั่ว ๆ ไป สารคดี หรือบันเทิง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ลงติดต่อกันเป็นหลายๆ มีคอลัมน์บรรณาธิการ คอลัมน์ประจำ วารสารบางชื่อเนื้อหาอาจเป็นรูปภาพ เป็นบทวิจารณ์ สรุปข่าวและวิเคราะห์ เหตุการณ์บ้านเมือง ฯลฯ ทั้งนี้เป็นไปตามประเภทและวัตุประสงค์ของวารสาร แต่ละฉบับ <p>5. ผู้จัดพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์วารสารอาจเป็นเอกชน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบัน องค์การ สมาคม ชมรม โดยมีวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ประชา-สัมพันธ์หน่วยงาน ให้ความบันเทิง ความรู้ทั่วไป หรือเพื่อธุรกิจการค้า เป็นต้น <p>6. การเผยแพร่ มีทั้งการจำหน่ายและแจกฟรี การจำหน่ายอาจวางจำหน่ายตามร้านขายหนังสือ การให้ผู้อ่านบอกรับเป็นสมาชิกประจำ ชำระค่าวารสารล่วงหน้าแล้วผู้จัดพิมพ์เป็นผู้ส่งวารสารไปให้สมาชิก [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Optical Character Recognition | การรู้จำอักขระด้วยแสง, การรู้จำอักขระด้วยแสง เขียนทับศัพท์เป็น โอซีอาร์ [คอมพิวเตอร์] |
Wi-Fi | Wireless Fidelity - ระบบแลนไร้สาย มักจะเขียนทับศัพท์เป็น ไว-ไฟ หรือ ไว-ไฟ้ [คอมพิวเตอร์] |
Wireless Fidelity | ระบบแลนไร้สาย มักจะเขียนทับศัพท์เป็น ไว-ไฟ หรือ ไว-ไฟ้ [คอมพิวเตอร์] |
Download | บรรจุลง, การส่งข้อมูลจากแม่ข่ายไปยังเครือข่าย <p>เขียนทับศัพท์เป็น ดาวน์โหลด [คอมพิวเตอร์] |
Jack | เต้ารับ, เต้ารับ เขียนทับศัพท์เป็น แจ็ก [คอมพิวเตอร์] |
socket | เต้ารับ, เต้ารับ [ มีความหมายเหมือนกับ jack ] สามารถเขียนทับศัพท์เป็น ซ็อกเก็ต [คอมพิวเตอร์] |
upload | บรรจุขึ้น, บรรจุขึ้น คือการถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง เครื่องที่ส่งข้อมูล เรียกว่า ตัวที่ทำการ "บรรจุขึ้น" หรือการส่งข้อมูลจากเครือข่ายไปยังแม่ข่าย <p>เขียนทับศัพท์เป็น อัปโหลด [คอมพิวเตอร์] |
optical character reader | เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง, เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง เขียนทับศัพท์เป็น โอซีอาร์ [คอมพิวเตอร์] |
treatment | การบำบัด (โรค), การรักษา (โรค), การบำบัด (โรค), การรักษา (โรค) <p>เขียนทับศัพท์เป็น ทรีตเมนต์ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
geostationary orbit | วงโคจรค้างฟ้า, วงโคจรค้างฟ้า เขียนทับศัพท์เป็น จีอีโอ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
reflection | การสะท้อน เขียนทับศัพท์เป็น รีเฟลกชัน [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Intrend | อยู่ในสมัยนิยม, อยู่ในสมัยนิยม เขียนทับศัพท์เป็น อินเทร็นด์, Example: อินเทร็นด์ หมายความว่า อยู่ในสมัยนิยม คำนี้มาจากคำภาษาอังกฤษว่า in แปลว่า ใน กับ trend แปลว่า แนวโน้ม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือสถานการณ์ที่คนส่วนมากนิยม มักเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการที่เกิดขึ้นแก่การแต่งกาย แฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เป็นต้น คนที่มีลักษณะอินเทร็นด์ คือ คนที่ทำตนตามสมัย ตามแฟชั่นอย่างใกล้ชิด หรืออยู่ในแนวของแฟชั่น คนที่ไม่ตามแฟชั่น ไม่ทันสมัย คำแสลงใช้ว่า เอาต์ [ศัพท์วัยรุ่น] |